ฉบับที่ 12/2558
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนเมษายน 2558 ภาพรวมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยรายได้เกษตรกรปรับดีขึ้นจากด้านผลผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งปาล์มน้ำมันและกุ้งขาว ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐยังเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส้าคัญ อย่างไรก็ตาม แม้การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นแต่ยังมีความเสี่ยงจากอุปสงค์คู่ค้าชะลอลงส่งผลกระทบต่อการส่งออก เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเล็กน้อยจากนักท่องเทียวจีนและมาเลเซีย ขณะที่นักท่องเที่ยวตลาดยุโรปและรัสเซียลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานลดลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงลดลงต่อเนื่องตามราคาพลังงานเป็นสำคัญ
เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมขยายตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยดัชนีรายได้เกษตรกรปรับฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้น หากเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหดตัวน้อยลงจากปัจจัยด้านผลผลิต ทั้งผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ออกสู่ตลาดมากและผลผลิตกุ้งขาวเร่งตัวหลังคลี่คลายจากปัญหาโรคระบาด อย่างไรก็ตามผลผลิตกุ้งขาวจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้นเช่นกันกดดันให้ราคาลดลง ส่วนราคายางยังหดตัวต่อเนื่อง ถึงแม้ผลผลิตจะลดลงจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งท้าให้การเปิดกรีดล่าช้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการหยุดรับซื้อยางขององค์การสวนยางและความต้องการจากจีนชะลอลง
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน ตามการผลิตเพื่อส่งออกอาหารทะเลบรรจุกระป๋องไปตลาดอื่นเพิ่มขึ้นซึ่งสามารถชดเชยตลาดตะวันออกกลางที่ลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศและภาวะสงคราม ขณะเดียวกันการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปเพิ่มขึ้นจากความต้องการของตลาดสหรัฐอเมริกา และการผลิตไม้ยางพาราเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาต่ำจูงใจให้ตลาดจีนยังมีค้าสั่งซื้อต่อเนื่อง ส่วนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบเข้าโรงงาน อย่างไรก็ตามการผลิตยางแปรรูปยังทรงตัวในระดับต่ำ เป็นผลจากตลาดหลักจีนมีค้าสั่งซื้อลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจจีนยังคงชะลอตัว
การท่องเที่ยวขยายตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย หากเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนขยายตัวทั้งฝั่ง อันดามัน อ่าวไทย และภาคใต้ชายแดน จากนักท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41.2 โดยเฉพาะจีนและมาเลเซีย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 สร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมา และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรุกจากภาครัฐและเอกชน ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวยุโรปและรัสเซียลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย หากเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเร่งตัวขึ้น สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวสูง โดยเฉพาะการค้าปลีกค้าส่งและการใช้จ่ายจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังไม่กระเตื้องขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังรอประเมินทิศทางเศรษฐกิจ ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะเอื้อต่อการลงทุน โดยเครื่องชี้การลงทุนทั้งการขออนุญาตพื้นที่ก่อสร้างและการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลยังหดตัวต่อเนื่อง
สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในหมวดที่ดินสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ ตามการเบิกจ่ายเงินของกรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง และกรมทรัพยากรน้า ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นที่น่าสังเกตว่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากกิจการก่อสร้างเร่งตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านงบลงทุน ขณะที่ภาษีสรรพาสามิตลดลงตามการชะลอการผลิตสุราหลังจากเร่งผลิตในช่วงก่อนที่จะมีการปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในวันที่ 27 มีนาคม 2558 การส่งออกยังไม่กระเตื้องขึ้น โดยมีมูลค่า 916.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนตามมูลค่าการส่งออกยางแปรรูป ถุงมือยาง สัตว์น้า และอาหารบรรจุกระป๋อง มีเพียงมูลค่าการส่งออกไม้ยางพาราที่เพิ่มขึ้น
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 1.50 ตามราคาพลังงานที่ลดลงต่อเนื่องตามราคาน้ามันดิบในตลาดโลก และราคาอาหารสดที่ลดลง ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.12 ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.27 ในเดือนเดียวกันปีก่อน โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภาคการค้าและบริการเงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 ตามการลดลงของสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถหดตัวสูง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถาบันการเงินบางแห่งมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบันทึกบัญชีไปที่ส้านักงานใหญ่ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขยายตัว ด้านเงินฝากลดลงร้อยละ 1.5 ปรับดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 3.1 ในเดือนก่อน เนื่องจากมีเงินของส่วนราชการโอนเข้าบัญชีตามมาตรการเร่งการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐ
ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคใต้
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716
E-mail : Arunyas@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย