ฉบับที่ 14/2558
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนมิถุนายน 2558 ภาพรวมชะลอตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากการใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงอ่อนแอจากกำลังซื้อที่ลดลง และความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวชะลอจากเดือนก่อนเล็กน้อยจากการลดลงของนักท่องเที่ยวมาเลเซียซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลอด อย่างไรก็ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งภาครัฐยังมีบทบาทในการใช้จ่ายงบลงทุน ด้านอัตราเงินเฟ้อลดลงตามราคาพลังงานและอาหารสด
การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ เนื่องจากรายได้ครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำและความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากหมวดยานยนต์ และยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่กระเตื้องขึ้น รวมทั้งการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชะลอลงเช่นกัน ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนยังคงลดลง โดยเฉพาะการลงทุนด้านการก่อสร้าง จะเห็นได้จากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง เนื่องจากยังมีจำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการเปิดโครงการใหม่
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงจากเดือนก่อนโดยเฉพาะผลผลิตยางที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแล้ง ทำให้เกษตรกรเปิดกรีดยางได้ล่าช้าผลผลิตจึงออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับนโยบายภาครัฐส่งเสริมให้โค่นต้นยางเก่าเพื่อลดอุปทาน ขณะเดียวกันผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงตามฤดูกาล แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นตามผลผลิตกุ้งขาวที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นหลังจากปัญหาโรคระบาดคลี่คลายลง ทางด้านดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนทั้งราคายาง ปาล์มน้ำมันและ กุ้งขาว แม้จะยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
จำนวนนักท่องเที่ยวชะลอลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ในช่วงถือศีลอดที่ปีนี้เริ่มช่วงกลางเดือน ขณะที่ปีก่อนเริ่มถือศีลอดปลายเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนจำนวนนักท่องเที่ยวเร่งตัวถึงร้อยละ 53.2 จากฐานต่ำที่เดือนเดียวกันปีก่อนการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองทำให้หลายประเทศประกาศยกระดับค่าเตือนการเดินทางเข้ามาไทย ประกอบกับการปรับเปลี่ยนจุดหมายของนักท่องเที่ยวเอเชียจากที่หลีกเลี่ยงการเดินทางไปเกาหลีใต้ เพราะกังวลการระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS)
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ตามการส่งออกสินค้าสาคัญไปยังตลาดหลัก ทั้งการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ถุงมือยาง และไม้ยางแปรรูป ขณะเดียวกันการผลิตอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นตามคาสั่งซื้อที่เร่งขึ้นก่อนเข้าสู่ช่วงการห้ามใช้อุปกรณ์บางประเภทจับปลาในเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมซึ่งจะทาให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ส่วนการผลิตยางแปรรูปและน้ามันปาล์มดิบลดลงตามปริมาณวัตถุดิบเข้าโรงงาน
มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในเกือบทุกประเภทสินค้า แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนการส่งออกลดลงจากผลด้านราคาที่ลดลงเป็นสาคัญ โดยสินค้าที่มูลค่าการส่งออกลดลงได้แก่ ยางแปรรูปไม้ยางพารา ถุงมือยาง สัตว์น้ำ และอาหารบรรจุกระป๋อง ส่วนการนำเข้าลดลงทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์น้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์ก่อสร้าง และยางสังเคราะห์
ปัจจัยที่ยังเป็นแรงส่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป คือ การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ยังขยายตัวต่อเนื่องในหมวดที่ดินสิ่งก่อสร้าง ตามการเบิกจ่ายเงินของกรมชลประทาน กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนตามการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงตามการจัดเก็บภาษีสุราที่ผู้ประกอบการชะลอการผลิต หลังจากเร่งผลิตในช่วงต้นปีก่อนมีการปรับภาษีเพิ่มขึ้น
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบต่อเนื่องจากปัจจัยด้านอุปทานทั้งจากราคาพลังงานและอาหารสดเป็นสำคัญ โดยราคาพลังงานยังหดตัวสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สาหรับราคาอาหารสดหดตัวต่อเนื่องตามราคาเนื้อสัตว์เป็ดไก่และสัตว์น้าด้านอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานในภาคบริการและภาคการค้า
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2558 เงินให้สินเชื่อ ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศทั้งด้านการบริโภคและการลงทุนยังไม่แข็งแกร่ง ประกอบกับธนาคารพาณิชย์เน้นคุณภาพสินเชื่อมากขึ้น ด้านเงินฝากขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากออมทรัพย์
ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716
E-mail : Arunyas@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย