สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday August 4, 2015 15:33 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 15/2558

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ภาพรวมปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายงบลงทุนของภาครัฐขยายตัวดี ส่วนรายได้เกษตรกรแม้จะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำตามราคาสินค้าเกษตรประกอบกับภาคเอกชนรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจน ท่าให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่แม้จะปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวในปลายไตรมาส สะท้อนจากก่าลังซื้อยังอ่อนแอ โดยเฉพาะยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่อง เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราว่างงานใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงต่อเนื่องตามราคาพลังงานและอาหารสด

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้มีดังนี้

การผลิตภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามผลผลิตปาล์มน้ำมันและกุ้งขาว ด้านราคาหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนตามการหดตัวของราคายางพารา เนื่องจากยังคงอยู่ในระดับต่ำตามราคาสินค้า โภคภัณฑ์โลก และราคากุ้งขาวได้รับผลกระทบจากการที่ประเทศคู่แข่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นและราคาถูกกว่า ส่งผลให้รายได้เกษตรกรยังอยู่ในระดับต่ำ

ภาพรวมการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะการผลิตยางแปรรูปปรับดีขึ้นหลังจากหดตัวติดต่อกันมา 4 ไตรมาสเป็นการเพิ่มขึ้นจากการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำยางข้นไปตลาดจีนและมาเลเซียส่วนสินค้าอุตสาหกรรมอื่นทั้งอาหารทะเลกระป๋อง อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ไม้ยางแปรรูป และน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและราคาไม่สูงจูงใจคู่ค้าให้มีค่าสั่งซื้อต่อเนื่อง ขณะที่การผลิตถุงมือยางลดลง

อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ตามมูลค่าการส่งออกยาง ถุงมือยาง อาหารทะเลบรรจุกระป๋องและสัตว์น้ำที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาที่ลดลง ขณะที่มูลค่าการส่งออกไม้ยางพาราเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการนาเข้าลดลงจากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์ก่อสร้าง สัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม

การท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่อง และยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนส่าคัญของเศรษฐกิจภาคใต้ โดยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 32.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวมาเลเซียและจีนเป็นส่าคัญ แม้ส่วนหนึ่งจะเป็นผลจากฐานต่ำที่ไตรมาสเดียวกันปีก่อนได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบทางการเมือง รวมทั้งเหตุระเบิดในพื้นที่อ่าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่การประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

การเบิกจ่ายภาครัฐปรับดีขึ้นโดยเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นในด้านคมนาคม ขนส่ง รวมถึงด้านชลประทานตามมาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณการลงทุนของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ด้านรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรลดลงจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่หดตัวตามผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ยังไม่กระเตื้องขึ้น นอกจากนี้ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ลดลงเช่นกัน ส่วนรายได้ที่จัดเก็บจากส่านักงานสรรพสามิตลดลงตามการจัดเก็บภาษีสุรา ภาษีนน้ำมันและภาษีเครื่องดื่ม

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนตามการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้จากธุรกิจขายส่งขายปลีก และราคาน้ำมันที่ลดลงมากสนับสนุนให้ปริมาณการใช้จ่ายในหมวดเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต่าและผู้บริโภคยังมีความไม่มั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจึงระมัดระวังการใช้จ่าย โดยหมวดยานยนต์ยังคงหดตัวต่อเนื่องและยอดจ่าหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคยังอยู่ในระดับต่า และเห็นสัญญาณชะลอตัวในช่วงปลายไตรมาสส่วนการลงทุนภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่องทั้งภาคการผลิตและการก่อสร้าง โดยภาคอสังหาริมทรัพย์ยังมีอุปทานส่วนเกินสอดคล้องกับการจ่าหน่ายปูนซีเมนต์ที่ลดลง

ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2558 เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หดตัวร้อยละ 5.2 ตามการหดตัวของสินเชื่ออุปโภคบริโภค เนื่องจากสถาบันการเงินบางแห่งมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบันทึกบัญชีโดยโอนสินเชื่อไปบันทึกบัญชีที่ส่านักงานใหญ่ ส่วนสินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวจากสินเชื่อการผลิตโดยเฉพาะจากธุรกิจยางและน้ำมันปาล์ม ส่วนสินเชื่อการก่อสร้างขยายตัวเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งลงทุนในโครงการภาครัฐ ขณะที่สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ด้านเงินฝากขยายตัวร้อยละ 0.2

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับร้อยละ 1.0 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 1.57 ตามราคาอาหารสดและพลังงาน เป็นส่าคัญส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงมากตามต้นทุนในกลุ่มอาหารที่ลดลง

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 074272000 ต่อ 4716

e-mail :Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ