ฉบับที่ 51/2558
ในเดือนกันยายน 2558 เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการบริโภคและการลงทุน ภาคเอกชนที่กระเตื้องขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน รวมทั้งการใช้จ่ายของภาครัฐที่ทำได้ต่อเนื่องแม้จะแผ่วลงบ้างหลังจากที่เร่งใช้จ่ายไปในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัวในอัตราที่ต่ำลงต่อเนื่องและมีส่วนทำให้แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาคบริการชะลอตัว สำหรับการส่งออกสินค้าหดตัวในเกือบทุกหมวดตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอาเซียน
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงเพราะผลของฐานราคาน้ำมันใน ตลาดโลกที่สูงทยอยหมดลงเป็นสาคัญ อัตราการว่างงานทรงตัว โดยแรงงานย้ายกลับเข้าสู่ภาคเกษตร อย่างต่อเนื่องหลังปริมาณน้ำเอื้อต่อการเพาะปลูกมากขึ้น ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องตามการนำเข้าที่อยู่ในระดับต่ำ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
การใช้จ่ายภาคเอกชนปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน สะท้อนจากเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ปรับสูงขึ้นบ้าง ตามการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนกลุ่มสินค้าจำเป็น และหมวดบริการ ขณะที่การใช้จ่ายหมวดสินค้าคงทนลดลงจากเดือนก่อน สะท้อนถึงความระมัดระวังในการใช้จ่ายของครัวเรือน สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ต่ำลงตามราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะราคายางพารา และรายได้ของครัวเรือนนอก ภาคเกษตรที่ทรงตัว อีกทั้งสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือน นอกจากนี้ เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามการลงทุนในกลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น แต่ยังจำกัดอยู่เฉพาะการนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมและยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในภาพรวม การลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากกาลังการผลิตเพียงพอต่ออุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ
การใช้จ่ายภาครัฐทาได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการด้านคมนาคมและชลประทาน แม้จะแผ่วลงบ้างหลังจากเร่งเบิกจ่ายไปมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ด้านรายได้จัดเก็บของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเร่งนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ ทั้งนี้ มาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมาในเดือนนี้มีส่วนช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชนที่มีต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในระยะข้างหน้า
ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าที่ผ่านมา โดยขยายตัวร้อยละ 8.7 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน เทียบกับร้อยละ 39.4 ในเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้เป็นการชะลอลงของนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ
การส่งออกสินค้าของไทยซบเซาตามเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวและเศรษฐกิจอาเซียนที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ ราคาสินค้าส่งออกบางหมวดยังคงอยู่ในระดับต่ำตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในหลายหมวดสินค้าสำคัญหดตัวต่อเนื่อง อาทิ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี และสินค้าเกษตร ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมทองคาหดตัวร้อยละ 7.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน แม้การส่งออกสินค้าในหมวดรถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงขยายตัวดี
อุปสงค์ต่างประเทศที่ซบเซา ประกอบกับการผลิตรถยนต์และการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ ชะลอลงหลังเร่งผลิตสินค้ารุ่นใหม่ไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ด้านการนำเข้าสินค้ายังคงสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าทุน และสินค้าอุปโภคบริโภคที่หดตัว เมื่อประกอบกับการนำเข้าหมวดเชื้อเพลิงที่หดตัวสูงจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้าสินค้าไม่รวมทองคำจึงหดตัวร้อยละ 17.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ -1.07 เพราะผลของฐานราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงทยอยหมดลง ขณะที่แรงกดดันจากอุปสงค์ในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ ด้านอัตราการว่างงานทรงตัวจากเดือนก่อน โดยแรงงานบางส่วนทยอยเคลื่อนย้ายกลับเข้าสู่ภาคเกษตรหลังปริมาณน้าเอื้อต่อการเพาะปลูกมากขึ้น สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าที่อยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลตามการออกไปลงทุนในต่างประเทศของธุรกิจไทย ประกอบกับการขายหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจจีน โดยรวมดุลการชำระเงินเกินดุล
เศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 ปี 2558 ฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากไตรมาสก่อน ตามการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจาวันและหมวดบริการ รวมทั้ง การลงทุนภาคเอกชนกระเตื้องขึ้นบ้างในบางจุด โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้านการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้จะแผ่วลงบ้างหลังจากที่เร่งเบิกจ่ายไปมากในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าอ่อนแอลงจากไตรมาสก่อนเพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอาเซียนมากขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวหลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพฯ และส่งผลให้ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวชะลอลงเช่นกัน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานทรงตัว อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบ เงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก แต่โดยรวมเคลื่อนไหวสอดคล้องไปกับเงินสกุลภูมิภาค ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงต่อเนื่องตามการนำเข้าที่อยู่ในระดับต่ำ และเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในเกณฑ์มั่นคง
ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค
โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648
e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย