ฉบับที่ 9/2558
ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือ เดือนเมษายน 2558 ภาพรวมชะลอลงจากเดือนก่อนจากการบริโภคของภาคครัวเรือนและการลงทุนของภาคธุรกิจที่ยังอ่อนแอ โดยรายได้เกษตรกร ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการลงทุนภาคธุรกิจปรับลดลงต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกในเดือนนี้หดตัวตามอุปสงค์จากต่างประเทศ ด้านปัจจัยบวกยังเป็นภาคการท่องเที่ยวและการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐเช่นเดียวกับเดือนก่อนหน้าแม้ชะลอตัวบ้าง อีกทั้งผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากผลผลิตน้าตาลและเครื่องดื่ม ส้าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจในภาคเหนือโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต้าและอัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นเดือนที่ 4 ด้านเงินให้สินเชื่อและเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เดือนมีนาคมปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือมีดังนี้ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังอ่อนแอและฟื้นตัวช้า ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าในหมวดยานยนต์ลดลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากก้าลังซื้อของครัวเรือนยังอยู่ในระดับต้า รายได้เกษตรกรและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลงต่อเนื่อง ผนวกกับความกังวลในภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ครัวเรือนมีแนวโน้มยังชะลอการใช้จ่าย สถาบันการเงินก็ยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่ออยู่ แม้การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในหมวดสินค้าจ้าเป็นยังคงขยายตัว และปัจจัยราคาน้ามันที่ลดลงมากในช่วงก่อนหน้า ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคได้มากนัก
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 5.5 ด้วยเหตุผลเดิมเช่นเดียวกับเดือนก่อนคือผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีการลงทุนใหม่ ส่งผลให้เครื่องชี้ส้าคัญลดลงทั้งปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ปริมาณการจ้าหน่ายวัสดุก่อสร้าง การน้าเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ อย่างไรก็ดี เงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจาก BOI เพิ่มขึ้นมากในหมวดอุตสาหกรรมเบา
รายได้เกษตรกร ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนเป็นร้อยละ 15.7 เป็นผลจากทั้งปริมาณผลผลิตและราคาโดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ลดลงร้อยละ 12.8 เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรังได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งและพื้นที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากราคาไม่จูงใจและภาครัฐไม่ส่งเสริมให้เพาะปลูก อย่างไรก็ดี ผลผลิตอ้อยโรงงานและมันส้าปะหลังเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ลดลงร้อยละ 3.4 ตามราคาอ้อย มันส้าปะหลังและถั่วเหลือง ประกอบกับราคาปศุสัตว์ทั้งสุกร ไก่พันธุ์เนื้อและไข่ไก่ลดลง เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตค่อนข้างมาก
ด้านการส่งออก มีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.6 ตามการส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ ยานยนต์และกล้องถ่ายรูปไปญี่ปุ่น และชิ้นส่วนอุปกรณ์ในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟไปฮ่องกง ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและการแข่งขันด้านราคา อย่างไรก็ดี ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านด่านชายแดนยังขยายตัวแม้ชะลอลงบ้าง จากที่ได้เร่งส่งออกในเดือนก่อน ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แผ่วลง ท้าให้มูลค่าการนำเข้า ลดลงร้อยละ 10.6 จากการน้าเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส้าหรับส่งออกประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเป็นส้าคัญ
ปัจจัยบวกที่เป็นแรงส่งส้าคัญแม้ชะลอตัวบ้างยังมาจากภาคการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวดีจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนส้าคัญมาจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ยังนิยมเดินทางเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นจากจ้านวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานและอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
การเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 โดยเฉพาะงานปรับปรุงซ่อมสร้างและงานบ้ารุงทางของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และงานพัฒนาระบบชลประทานแหล่งน้าของกรมชลประทาน ซี่งเม็ดเงินที่อัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น ท้าให้อัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนและค่าเฉลี่ยใน 4 ปีงบประมาณหลังสุด
ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม กลับมาเพิ่มขึ้นในเดือนนี้ร้อยละ 2.1 จากผลผลิตหมวดอาหาร เช่น การผลิตน้าตาล การแปรรูปผักและผลไม้ ตามปริมาณอ้อยเข้าหีบและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการผลิตเครื่องดื่มยังเพิ่มขึ้นแม้ชะลอลงบ้าง จากที่ได้เร่งผลิตไปมากในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงในเดือนนี้ ได้แก่ การผลิตวัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบเป็นเดือนที่ 4 และต้าสุดในรอบ 5 ปี โดยยังเป็นผลจากราคาขายปลีกน้ามันในประเทศที่อยู่ในระดับต้า ประกอบกับราคาอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ ไก่และไข่ไก่ลดลง ตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ด้านอัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ตามการลดลงของการจ้างงานในภาคเกษตร สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ลดลงและการจ้างงานภาคการก่อสร้างลดลงตามภาคอสังหาริมทรัพย์
ภาคการเงิน เงินให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2558 มียอดคงค้าง 602,396 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต ค้าปลีกค้าส่ง การก่อสร้างและสินเชื่อภาคครัวเรือนโดยเฉพาะเพื่อที่อยู่อาศัย ด้านเงินฝาก มียอดคงค้าง 613,958 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ส่วนหนึ่งจากเงินงบประมาณของส่วนราชการและสถาบันการศึกษาที่ฝากไว้ชั่วคราวก่อนน้าไปใช้ในโครงการต่างๆ ในช่วงต่อไป รวมทั้งการระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง ทั้งนี้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคเหนือ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทร. 0 5393 1164 e-mail: Kusolc@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย