ฉบับที่ 2/2559
ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือในไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ขับเคลื่อนหลักจากภาคการท่องเที่ยว การลงทุนของภาครัฐ การค้าชายแดนที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง และการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้สัมพันธ์กับภาคท่องเที่ยว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนทรงตัวในระดับต่า โดยเฉพาะหมวดภาคการก่อสร้าง รายได้เกษตรกรลดลงต่อเนื่องทั้งด้านผลผลิตและราคา ผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอจากภาวะส่งออกไปประเทศคู่ค้าชะลอลงและบางส่วนได้สูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งขัน ส่าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อติดลบน้อยลงจากไตรมาสก่อน ส่วนส่าคัญมาจากราคาขายปลีกน่ามัน และอัตราการว่างงานทรงตัวในระดับต่า ด้านเงินให้สินเชื่อและเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ มีดังนี้ ปัจจัยหลักที่ยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือได้แก่ ภาคการท่องเที่ยว โดยขยายตัวต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวจีนมีจ่านวนมากขึ้นโดยส่วนใหญ่เดินทางด้วยเที่ยวบินตรงและเช่าเหมาล่าเพิ่มขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปเริ่มกลับเข้ามาท่องเที่ยวในภาคเหนือเพิ่มขึ้น ส่วนนักท่องเที่ยวไทยนอกจากท่องเที่ยวมากขึ้นตามฤดูกาลแล้วยังเดินทางเข้าร่วมประชุมสัมมนาและท่องเที่ยวในช่วงสิ้นปี เครื่องชี้ท่องเที่ยวส่าคัญเพิ่มขึ้นทั้งจ่านวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน อัตราเข้าพักของโรงแรม ราคาห้องพักเฉลี่ย และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร
การเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 โดยต่อเนื่องในการก่อสร้างและการปรับปรุงซ่อมแซมของโครงการในงบประมาณปกติและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมีการเบิกจ่ายตามโครงการของกรมชลประทาน กรมทางหลวง และอาคารของสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาลต่าง ๆ รวมถึงความคืบหน้าในการเบิกจ่ายในโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน่าและระบบขนส่งทางถนน
ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยการใช้จ่ายสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้นชัดเจนในหมวดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์เพื่อการพาณิชย์และรถจักรยานยนต์ ที่อาจเป็นผลของการเร่งซื้อก่อนการปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 1,500 ซีซีในต้นปีหน้า ด้านสินค้าจ่าเป็นในการอุปโภคบริโภค สินค้าหมวดน่ามันเชื้อเพลิงและการใช้ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและวัสดุก่อสร้างยังขยายตัวได้นอกจากนี้ การใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยบางประเภทปรับตัวดีขึ้นทั้งเครื่องส่าอางและเครื่องประดับ สอดคล้องกับภาวะการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี การลงทุนของภาครัฐและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การอุปโภคบริโภคโดยทั่วไปในภาคเหนือตอนล่างบางจังหวัดยังซบเซา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะตกต่าในภาคเกษตร
อย่างไรก็ตาม ภาคเศรษฐกิจที่ยังไม่คืบหน้ามากนัก ได้แก่ การลงทุนภาคเอกชน ที่ดัชนีลดลงร้อยละ 2.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลสะท้อนจากภาคการก่อสร้าง ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ยังซบเซา การผลิตอุตสาหกรรมบางประเภทยังไม่ได้เพิ่มก่าลังการผลิต เนื่องจากมีสต๊อกสินค้ามากอยู่และความต้องการสินค้าทั้งในและต่างประเทศที่โดยรวมยังอ่อนแออยู่ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงรอจังหวะให้มีความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเห็นผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐชัดเจนก่อน โดยภาพรวมเครื่องชี้การลงทุนส่าคัญลดลงทั้งพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลและยอดขายวัสดุก่อสร้าง
รายได้เกษตรกร ลดลงต่อเนื่องร้อยละ 15.6 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปริมาณน่าฝนมีน้อยกว่าปกติและการกระจายของฝนไม่สม่าเสมอ ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ท่าให้พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ลดลง ผลผลิตสินค้าเกษตร จึงลดลงร้อยละ 12.2 ในพืชหลัก ได้แก่ ข้าวนาปี อ้อยและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ทั้งสุกร ไก่เนื้อและไข่ไก่ มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการบริโภค ท่าให้ราคาปศุสัตว์ลดลง เป็นผลให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ลดลงร้อยละ 3.9 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 11.2 โดยเป็นการลดลงของการผลิตเพื่อการส่งออกในเกือบทุกประเภทสินค้า ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เซรามิก เลนส์กล้องถ่ายภาพและส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ จากการชะลอตัวของความต้องการของประเทศคู่ค้า ภาวะคู่แข่งขันมากขึ้น นอกจากนี้ สินค้าเกษตรแปรรูปทั้งการสีข้าวและน่าตาลทรายก็ผลิตลดลง เนื่องจากวัตถุดิบลดลงจากภาวะแห้งแล้งและปริมาณน่าน้อยกว่าปกติ อย่างไรก็ดี การผลิตที่ขยายตัวในไตรมาสนี้ ได้แก่ การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพื่อรองรับเทศกาลช่วงสิ้นปี ผลิตภัณฑ์ที่ท่าจากไม้ การแปรรูปผักและผลไม้ชนิดไม่บรรจุกระป๋อง
การส่งออก ลดลงร้อยละ 2.6 โดยหลัก ๆ ลดลงในสินค้าประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปประเทศคู่ค้าส่าคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเลเซียและสิงค์โปร์ อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคไปเมียนมาขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกสินค้าไป สปป.ลาวและจีนปรับลดลง ส่วนหนึ่งตามการส่งออกน่ามันเชื้อเพลิงที่ลดลงทั้งปริมาณและราคา และทางการจีนยังคงเข้มงวดการน่าเข้าสินค้าบางประเภทจากไทยอยู่ ด้านมูลค่าการนำเข้า ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ตามการน่าเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส่าหรับส่งออก
เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ติดลบน้อยลงเหลือลดลงร้อยละ 1.5 เป็นผลจากราคาน่ามันขายปลีกในประเทศหดตัวน้อยลง ส่วนราคาอาหารสดประเภทสัตว์น่า ผักและผลไม้ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ปรับลดลงเล็กน้อย ด้านอัตราการว่างงาน ยังทรงตัวที่ร้อยละ 0.7 โดยการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภาคบริการและค้าปลีกค้าส่ง โดยแรงงานที่ออกมาสู่ภาคก่อสร้างบางส่วนได้เคลื่อนย้ายกลับเข้าสู่ภาคเกษตรตามฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปีในไตรมาสนี้
ภาคการเงิน ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2558 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อ 630,942 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่าของภาครัฐทยอยเห็นผล สะท้อนให้เห็นจากสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นกระจายตัวในหลายธุรกิจ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โรงแรม การก่อสร้างและธุรกิจการเงิน นอกจากนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยังขยายตัวได้ ด้านเงินฝากมียอดคงค้าง 622,485 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากเงินฝากออมทรัพย์ของส่วนราชการ ทั้งนี้ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากยังทรงตัวร้อยละ 101.4 จากไตรมาสก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย ส่านักงานภาคเหนือ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทร. 0 5393 1164 e-mail: Kusolc@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย