ฉบับที่ 05/2559
เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลงจากการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์ที่เร่งขึ้นไปมากแล้วในช่วงปลายปี ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าจำเป็นปรับดีขึ้นเล็กน้อย และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกับกำลังซื้อจากรายได้เกษตรกรที่หดตัวต่อเนื่อง สำหรับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายงบลงทุนภาครัฐชะลอลงจากการเร่งใช้จ่ายไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวตามภาคการก่อสร้างเป็นสำคัญ สำหรับอัตราเงินเฟอทั่วไปติดลบใกล้เคียงกับเดือนก่อน ทั้งนี้ เงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์เดือนมกราคม 2559 ขยายตัวตามเงินฝากของส่วนราชการ ส่วนสินเชื่อคงค้างชะลอลงเล็กน้อย
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอลงหลังจากที่เร่งขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐในช่วงปลายปี โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.9 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีการเร่งซื้อไปมากแล้วในช่วงปลายปี ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าจำเป็นปรับดีขึ้นเล็กน้อย สะท้อนจากยอดขายปลีกอาหารและเครื่องดื่ม และยอดขายในห้างสรรพสินค้าที่ขยายตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ 41.5 ส่วนหนึ่งเนื่องจากประชาชนยังคงมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ และปญหาภัยแล้งที่ขยายวงกว้าง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้กำลังซื้อของเกษตรกรหดตัว ด้านภาคบริการ รายได้ภาคบริการสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงจากหมวดภัตตาคารและร้านอาหาร โรงแรมและรีสอร์ท รวมถึงเกสต์เฮ้าส์ ส่วนอัตราเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 37.7 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 41.3
สำหรับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายงบลงทุนภาครัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการเบิกจ่ายในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างจากมาตรการกระตุ้นการลงทุนในโครงการขนาดเล็กที่เร่งขึ้นสูงในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การเบิกจ่ายงบลงทุนตามงบปกติเพิ่มขึ้นในส่วนของกรมทางหลวง กรมชลประทาน และกรมทางหลวงชนบท อีกทั้งยังมีการโอนเงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการเบิกจ่ายงบประจำในหมวดรายจ่ายอื่นๆ เพื่อใช้ดำเนินงานตามโครงการในมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) จำนวน 1,895.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เบิกจ่าย 672 ล้านบาท ทำให้การใช้จ่ายภาครัฐโดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.6
ในส่วนของการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณในการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนมีการเบิกจ่าย 1,088.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เบิกจ่าย 203.7 ล้านบาท โดยกรมชลประทานมีการเบิกจ่ายมากที่สุด รองลงมาเป็น กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ตามลำดับ
ด้านการลงทุนภาคเอกชน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.8 และหดตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ตามภาคการก่อสร้างเป็นสำคัญ เห็นได้จากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่หดตัวทั้งการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย การพาณิชย์ และการบริการ ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวในทิศทางเดียวกับยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างของภาครัฐที่ทยอยลงทุนหลังการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงก่อนหน้า
สำหรับเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการลดลงจากเม็ดเงินลงทุนในโรงงานขนาดใหญ่ ขณะที่โรงงานขนาดเล็กยังขยายตัว อย่างไรก็ดี ยังมีโรงงานขนาดใหญ่ที่สนใจลงทุนในเดือนนี้ ได้แก่ โรงงานผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟาจากเชื้อเพลิงชีวมวล โรงงานผลิตแปงมันสำปะหลัง และโรงงานผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟาที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซชีวภาพ ส่วนเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เพิ่มขึ้น จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 90.0 ในเดือนนี้ โดยเป็นโครงการลงทุนในกิจการผลิต Hard Disk Drive (HDD)/Head Stack Assembly (HSA)/Head Gimbal Assembly (HGA)/Head Disk Assembly (HDA) เงินลงทุน 10,721 ล้านบาท และกิจการผลิตเยื่อกระดาษ เงินลงทุน 6,460 ล้านบาท
การผลิตภาคเกษตรกรรม ดัชนีมูลค่าผลผลิตพืชสำคัญหดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.2 และหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเป็นผลจากราคาพืชสำคัญส่วนใหญ่ที่หดตัว ตามทิศทางราคาในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวที่ชะลอลงจากเดือนก่อน สำหรับผลผลิตพืชสำคัญทรงตัว โดยผลผลิตอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูก ส่วนหนึ่งจากการสนับสนุนของโรงงานน้ำตาล และผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นตามพื้นที่เปิดกรีดใหม่ ขณะที่ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับลดลง ส่วนหนึ่งจากปญหาภัยแล้งที่ขยายวงกว้าง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.2 แต่หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อน ตามการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลทรายดิบที่ขยายตัว เนื่องจากมีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานมากขึ้นจากการส่งเสริมการปลูกของโรงงานน้ำตาล ส่วนการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปรับดีขึ้นตามคำสั่งซื้อของผู้ค้าส่ง ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่ม Hard Disk Drive (HDD) ยังลดลงตามความต้องการจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 79.9 ลดลงต่อเนื่องจากเดือนมกราคม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.7
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟอทั่วไปติดลบร้อยละ 0.32 และติดลบใกล้เคียงกับเดือนก่อน ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาค่าไฟฟา (FT) และราคาเชื้อเพลิงในบ้านที่ลดลง ขณะที่ราคาอาหารสด ได้แก่ ผักสด และเนื้อสัตว์มีราคาสูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟอพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.15 สูงขึ้นจากเดือนก่อน ตามราคาผลิตภัณฑ์ยาสูบที่สูงขึ้นเป็นสำคัญสำหรับอัตราการว่างงาน ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2559 ธนาคารพาณิชย์ เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 และขยายตัวจากเดือนธันวาคม ตามเงินฝากออมทรัพย์ของส่วนราชการ ด้านสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.5 แต่ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ทั้งจากสินเชื่อภาคธุรกิจประเภทตั๋วเงินและเงินเบิกเกินบัญชี ส่วนสินเชื่อภาคครัวเรือนยังชะลอลงต่อเนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และการฟนตัวของเศรษฐกิจที่ยังค่อยเป็นค่อยไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทร. 04333 3000 ต่อ 3415
E-mail: PornnipT@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย