แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมีนาคม 2559

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday April 29, 2016 13:22 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 06/2559

เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมีนาคม 2559

ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมีนาคม 2559 ทรงตัวจากเดือนก่อน ตามการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ทรงตัว โดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าจำเป็นแผ่วลงบ้าง ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าคงทนในหมวดรถยนต์หดตัว หลังจากที่เร่งขึ้นไปมากแล้วในช่วงปลายปีก่อน ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำ ผนวกกับรายได้ภาคเกษตรที่ลดลง ทำให้ครัวเรือนใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังมีแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านการลงทุนภาคเอกชนหดตัวน้อยลง สำหรับอัตราเงินเฟอทั่วไปติดลบน้อยลง ส่วนอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ ด้านยอดเงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ยังขยายตัว ส่วนสินเชื่อคงค้างชะลอลงเล็กน้อย

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าจำเป็นแผ่วลงบ้าง และการใช้จ่ายสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์หดตัวหลังจากที่เร่งซื้อรถยนต์ไปมากในช่วงปลายปีก่อน ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับต่ำและปรับลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 37.9 เนื่องจากภาคครัวเรือนยังกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ปญหาภัยแล้ง และรายได้ภาคเกษตรที่ยังลดลงตามราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ครัวเรือนใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ด้านภาคบริการ รายได้ภาคบริการสาขาโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามรายได้ในหมวดที่พัก และหมวดภัตตาคารและร้านอาหาร ขณะที่หมวดบริการเครื่องดื่มและโรงอาหารยังเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 41.7 ปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อน

อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐยังเป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจในเดือนนี้ โดยการใช้จ่ายในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.4 และขยายตัวจากเดือนก่อน จากรายจ่ายค่าดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ที่ขยายตัวต่อเนื่อง กอปรกับยังมีการโอนเงินอุดหนุนทั่วไปให้กับสถาบันการศึกษาเพิ่มขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างลดลงหลังจากที่เร่งใช้จ่ายไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า

นอกจากนี้ ยังมีแรงส่งจากการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณในการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยกรมชลประทานมีการเบิกจ่ายมากที่สุด รองลงมาเป็นกรมทางหลวง และกรมทรัพยากรน้ำ ตามลำดับ

สำหรับการลงทุนภาคเอกชน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.1 แต่หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อน โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากการก่อสร้างในทุกประเภท ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ยังขยายตัว สอดคล้องกับการค้าปลีกวัสดุก่อสร้างที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงค์จากการก่อสร้างของภาครัฐที่เริ่มทยอยก่อสร้างหลังการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงก่อนหน้า ในส่วนของยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวน้อยลง

ด้านเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการลดลง ตามเงินลงทุนในโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กเป็นสำคัญ สำหรับเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ปรับเพิ่มขึ้นในหมวดบริการและสาธารณูปโภค ประกอบด้วย กิจการผลิตพลังงานไฟฟาจากเชื้อเพลิงชีวมวลและไอน้ำที่จังหวัดบุรีรัมย์เงินลงทุน 607 ล้านบาท และกิจการเขตอุตสาหกรรมที่จังหวัดอุดรธานีเงินลงทุน 559 ล้านบาท และหมวดเกษตรและผลิตผลทางการเกษตรในกิจการผลิตอาหารสัตว์ 2 โครงการที่จังหวัดบุรีรัมย์ เงินลงทุนรวม 1,058 ล้านบาท

การผลิตภาคเกษตรกรรม ดัชนีมูลค่าผลผลิตพืชสำคัญลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.2 และลดลงเท่ากับเดือนก่อน จากทั้งผลผลิตและราคาที่ลดลง โดยราคาพืชสำคัญลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามทิศทางราคาในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ มันสำปะหลัง ยางพารา และอ้อยโรงงาน ยกเว้นราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวที่ชะลอลงจากเดือนก่อน สำหรับดัชนีผลผลิตพืชสำคัญหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนเกือบทุกพืชหลัก จากปญหาภัยแล้ง ขณะที่ผลผลิตยางพารายังเพิ่มขึ้นตามพื้นที่เปิดกรีดใหม่

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.8 และหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลทั้งน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายดิบ เป็นผลจากปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานที่เริ่มลดลง เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนเร่งตัดอ้อยไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับผลผลิตอ้อยลดลงจากปญหาภัยแล้ง ส่วนการผลิตเพื่อส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่ม Hard Disk Drive (HDD) ลดลงต่อเนื่อง ตามความต้องการจากต่างประเทศ ขณะที่การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปรับดีขึ้น ตามคำสั่งซื้อของผู้ค้าส่ง ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 77.2 ลดลงต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งอยู่ที่ระดับ 79.9

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟอทั่วไป ติดลบร้อยละ 0.26 แต่ติดลบน้อยลงจากเดือนก่อน ตามราคาอาหารสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ยาสูบที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟา (Ft) และเชื้อเพลิงในบ้านยังลดลง ส่วนอัตราเงินเฟอพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.25 สูงขึ้นจากเดือนก่อนตามราคาอาหารสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ยาสูบ สำหรับอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0 ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ธนาคารพาณิชย์ เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.3 และขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนมกราคม ตามเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากกระแสรายวัน ส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากของนักลงทุนบางส่วนที่นำเงินมาฝากเพื่อรอดูทิศทางผลตอบแทนจากการลงทุนอื่นๆ ด้านสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.9 แต่ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามเงินให้กู้ยืมและตั๋วเงิน เนื่องจากเศรษฐกิจยังฟนตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังในการให้สินเชื่อ

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร. 04333 3000 ต่อ 3415 E-mail: PornnipT@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ