ฉบับที่ 07/2559
เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 1 ปี 2559
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ตามการบริโภคภาคเอกชนที่มีทิศทางทรงตัว หลังจากปจจัยชั่วคราวของมาตรการกระตุ้นการบริโภคในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2558 หมดลง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่อยู่ในระดับต่ำ และรายได้ภาคเกษตรยังลดลง จากทั้งผลผลิตที่ลดลงจากภัยแล้งและราคาที่ตกต่ำตามราคาตลาดโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านการลงทุนภาคเอกชนหดตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอัตราเงินเฟอติดลบน้อยลง ส่วนอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.9
การบริโภคภาคเอกชน ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากไตรมาสก่อนโดยการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์ชะลอลงหลังจากเร่งซื้อไปมากในไตรมาสที่แล้วก่อนการปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ด้านการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันชะลอลง ขณะที่ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงยังขยายตัว อย่างไรก็ตาม รายได้ภาคเกษตรยังคงหดตัว จากปญหาภัยแล้งและราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับลดลงและยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง ประกอบกับสถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อ ด้านภาคบริการ รายได้ภาคบริการสาขาโรงแรมและภัตตาคารลดลง สำหรับอัตราเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 40.4 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังมีแรงส่งจากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.3 และขยายตัวจากไตรมาสก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินของโครงการในมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ที่มีการเบิกจ่ายถึง 6,387.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีการเบิกจ่ายเพียง 274.8 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีเม็ดเงินนอกงบประมาณในโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและถนนที่ยังมีการเบิกจ่ายต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายลงทุนในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างแผ่วลงหลังจากที่ขยายตัวไปมากแล้วในไตรมาสก่อน
สำหรับการลงทุนภาคเอกชน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.7 และลดลงใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยการลงทุนก่อสร้างของภาคเอกชนยังหดตัว สะท้อนจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล โดยเฉพาะการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยที่หดตัว อย่างไรก็ดี ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ยังขยายตัว ส่วนหนึ่งจากการทยอยลงทุนก่อสร้างของภาครัฐ หลังจากที่มีการเร่งเบิกจ่ายในช่วงก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง
ด้านเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการยังลดลง ในไตรมาสนี้มีกิจการขนาดใหญ่ที่ได้รับอนุญาต อาทิ กิจการผลิตแผ่นใยไม้อัด และกิจการผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟาโดยชีวมวล ขณะที่เงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับกำลังซื้อของภาคเอกชน และการส่งออกที่ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ที่ปรับลดลง อย่างไรก็ดี ยังมีกิจการขนาดใหญ่ที่สนใจเข้ามาลงทุนในภาค ได้แก่ กิจการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟและส่วนประกอบ (เงินทุน 10,721 ล้านบาท) กิจการผลิตเยื่อกระดาษ (เงินทุน 6,460 ล้านบาท) กิจการผลิตอาหารสัตว์ (เงินทุน 1,591 ล้านบาท) กิจการผลิตยางแท่ง (เงินทุน 933 ล้านบาท) และกิจการผลิตเอทานอล (เงินทุน 748 ล้านบาท) เป็นต้น
การผลิตภาคเกษตรกรรม ดัชนีมูลค่าผลผลิตพืชสำคัญหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.9 และหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากผลทั้งด้านราคาและผลผลิตโดยราคาพืชสำคัญหดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อน ทั้งราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ยางพารา และมันสำปะหลัง ส่วนหนึ่งเนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อ กอปรกับราคาในตลาดโลกยังอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นราคาข้าวเปลือกเหนียวที่ชะลอลง ขณะที่ราคาอ้อยโรงงานหดตัวน้อยลงตามทิศทางราคาน้ำตาลทรายดิบโลกที่เริ่มฟนตัว สำหรับผลผลิตพืชสำคัญส่วนใหญ่หดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เนื่องจากปญหาภัยแล้ง ยกเว้นยางพาราที่เพิ่มขึ้นตามพื้นที่เปิดกรีดใหม่
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.4 และหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปรับลดลง ตามคำสั่งซื้อของผู้ค้าส่งที่ชะลอลง ด้านการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลลดลง จากปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานเริ่มลดลงในเดือนมีนาคม เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนเร่งตัดอ้อยไปมากในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับผลผลิตอ้อยลดลงจากปญหาภัยแล้ง และการผลิตเพื่อส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่ม Hard Disk Drive (HDD) ลดลงต่อเนื่อง ตามความต้องการจากต่างประเทศ
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟอทั่วไป ติดลบร้อยละ 0.30 แต่ติดลบน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง และราคาค่าไฟฟา (Ft) ที่หดตัวน้อยลง ขณะที่ราคาอาหารสำเร็จรูปบริโภคในบ้านและผลิตภัณฑ์ยาสูบปรับสูงขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟอพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.14 สูงขึ้นเล็กน้อย ตามราคาผลิตภัณฑ์ยาสูบที่สูงขึ้น จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่เริ่มมีผลในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.9
ภาคการเงิน เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.3 และขยายตัวจากไตรมาสก่อน ตามเงินฝากออมทรัพย์ และกระแสรายวัน ด้านสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.1 แต่ชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ทั้งสินเชื่อที่ให้แก่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดยสินเชื่อภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ ส่วนสินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์ หดตัวน้อยลง สำหรับสินเชื่อภาคธุรกิจชะลอลงในหลายธุรกิจ โดยมีเพียงสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจก่อสร้างตามโครงการภาครัฐที่เร่งตัว
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทร. 04333 3000 ต่อ 3415 E-mail: PornnipT@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย