ฉบับที่ 11/2559
เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกรกฎาคม 2559
ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือเดือนกรกฎาคม ภาพรวมเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญมีทิศทางไม่แตกต่างจากเดือนก่อน โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกไปเมียนมายังขยายตัวดี การใช้จ่ายภาคเอกชนปรับดีขึ้นโดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐแผ่วลงในเดือนนี้ แต่คาดว่าจะกลับมาเร่งเบิกจ่ายก่อนสิ้นปีงบประมาณ ทั้งนี้ ปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจยังมาจากรายได้ภาคเกษตรทรงตัวอยู่ในระดับต่าผลผลิตเกษตรลดลงในพืชส่าคัญทั้งข้าวและล่าไย ภาคการผลิตและการส่งออกโดยเฉพาะในหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงหดตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังซบเซาโดยเฉพาะการลงทุนใหม่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจของภาคเหนือทั่วไป โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่า แม้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเป็นช่วงที่รอท่างานเข้าสู่ภาคเกษตร ส่วนอัตราเงินเฟ้อชะลอลงเล็กน้อย จากราคาอาหารสดที่ชะลอลง ด้านเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่เงินให้สินเชื่อชะลอลงต่อเนื่อง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ มีดังนี้ ภาคการท่องเที่ยว ขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดไว้ โดยเครื่องชี้ท่องเที่ยวส่าคัญส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด ได้แก่ จ่านวนเที่ยวบินตรง นักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่ ผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานที่ส่าคัญ อัตราเข้าพักของโรงแรม รวมถึงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร ส่วนส่าคัญมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนที่เดินทางเข้ามากกว่าคาด รวมทั้งนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภาคเหนือช่วงหยุดยาว ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรมของภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.1 โดยการใช้จ่ายสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจ่าวันเริ่มปรับดีขึ้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับดีขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 7 เดือน จากภาวะแล้งเริ่มคลี่คลายลง ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดน่ามันเชื้อเพลิงและไฟฟ้ายังขยายตัวดี อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสินค้าในหมวดยานยนต์กลับมาหดตัว หลังจากเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ สะท้อนก่าลังซื้อยังอ่อนแอทั้งรายได้ภาคเกษตรที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่าและรายได้นอกภาคเกษตรโดยเฉพาะภาคการผลิตที่ปรับลดลง โดยภาวะหนี้ครัวเรือนระดับสูงและสถาบันการเงินเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อยังถือเป็นปัจจัยส่าคัญ
การส่งออกสินค้าผ่านด่านชายแดนไปเมียนมายังขยายตัวสูงต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถชดเชย การส่งออกโดยรวม ที่หดตัวมากขึ้นถึงร้อยละ 8.7 ส่วนส่าคัญมาจากการส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปตลาดจีน สิงคโปร์ ฮ่องกงและญี่ปุ่น จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าฟื้นตัวช้าและเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งขัน รวมทั้งการส่งออกสินค้าไป สปป. ลาวและจีนตอนใต้ที่ในเดือนนี้หดตัวมากขึ้น จากทั้งความเข้มงวดของทางการจีนและส่วนหนึ่งมาจากฐานสูงในปีก่อน ด้านมูลค่าการนำเข้า ขยายตัวสูงร้อยละ 43.7 จากการน่าเข้ากระแสไฟฟ้ามาจาก สปป. ลาว รวมถึงพืชผักและผลไม้จากจีนตอนใต้
บทบาทของภาครัฐผ่านการเบิกจ่ายงบลงทุน แผ่วลงในเดือนนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง หลังจากที่ได้เร่งเบิกจ่ายมากในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้ คาดว่าจะกลับมาเร่งเบิกจ่ายก่อนสิ้นปีงบประมาณ เพื่อให้โครงการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานระบบถนนและชลประทานของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทและกรมชลประทาน แล้วเสร็จตามระยะเวลา ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐมีบทบาทน้อยลงตามคาด ภายหลังได้เบิกจ่ายไปมากแล้ว
ภาคเศรษฐกิจที่ยังซบเซายังเป็นภาคเกษตรที่รายได้เกษตรกร ทรงตัวอยู่ในระดับต่า โดยหดตัวร้อยละ 16.6 ส่วนส่าคัญจากผลผลิตสินค้าเกษตร ลดลงร้อยละ 16.0 เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้พืชหลักลดลงทั้งข้าวนาปรังและล่าไย ส่วนผลผลิตปศุสัตว์ทั้งสุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่และไก่เพิ่มขึ้น จากการขยายพื้นที่เลี้ยงและมีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่าหรับราคาสินค้าเกษตร ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยยังลดลงจากราคาไก่เนื้อและมันส่าปะหลัง อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาข้าว ล่าไยและสับปะรด เป็นผลจากผลผลิตลดลงและมีความต้องการที่มากขึ้น
ผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 17.7 จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า การแข่งขันด้านราคาและเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งขัน ส่งผลให้การผลิตเพื่อส่งออกในกลุ่มส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และหลายหมวดในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ การผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปลดลงทั้งการสีข้าว การแปรรูปผักและผลไม้ เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้ง ทั้งนี้ แม้ภาพรวมการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังหดตัว แต่เริ่มเห็นการลงทุนเพิ่มในเครื่องจักรเพื่อปรับสายการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าประเภทชิ้นส่วนในเครื่องปรับอากาศ ยานยนต์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงมีการปรับตัวโดยให้ความส่าคัญกับการพัฒนาและวิจัยมากขึ้น
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 4.2 จากก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว ส่วนหนึ่งจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการยังไม่ดีขึ้น ขณะที่การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมไม่ชัดเจน สะท้อนจากเครื่องชี้การลงทุนส่าคัญลดลงทั้งพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลโดยเฉพาะประเภทเพื่อที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ รวมถึงปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ ยอดการน่าเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ อย่างไรก็ดี ยอดขายวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากโครงการภาครัฐ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 0.03 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากราคาอาหารสดประเภทไข่ไก่ ผักและผลไม้สดที่ชะลอตัว เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ราคาน่ามันขายปลีกในประเทศยังลดลง ด้านอัตราการว่างงาน ยังอยู่ในระดับต่า แม้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 เนื่องจากแรงงานส่วนหนึ่งรอท่างานในภาคเกษตร
ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559 สาขาธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้างเงินฝาก 639,888 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 จากเงินฝากออมทรัพย์ของส่วนราชการเป็นส่าคัญ ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 581,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ชะลอลงต่อเนื่อง จากการช่าระหนี้คืนบางส่วนของภาคธุรกิจ ส่วนหนึ่งเป็นการบริหารวงเงินสินเชื่อให้สอดคล้องกับปริมาณธุรกรรม ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวในอัตราชะลอลงทั้งภาคค้าปลีกค้าส่ง อุตสาหกรรมการผลิต ก่อสร้าง โรงแรม ภาคเกษตรและสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ยังหดตัว ทั้งนี้ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 90.8 ปรับลดลงจากเดือนก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค
โทร. 0 5393 1164
e-mail: Kusolc@bot.or.th
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย