ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมประชุมพิจารณาปัญหาซีดีโอของ ธ.ไทยธนาคาร นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธปท.
ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กล่าวว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ จะมีการประชุมในวันที่ 29 พ.ย.นี้ ซึ่งคงจะพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
กับ ธ.ไทยธนาคาร จากการเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง (ซีดีโอ) รวมถึงการลงทุนในซีดีโอที่มีสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ
ใน สรอ. หนุนหลัง (ซับไพรม์) ที่ขณะนี้ได้ส่งผลให้ธนาคารต้องตั้งสำรองจำนวนมากและนำไปสู่การเพิ่มทุนครั้งล่าสุด ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ตั้ง
คณะกรรมการขึ้นตรวจสอบเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารจากปัญหาเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาจากการลงทุนในซีดีโอและซับไพรม์
ของธนาคารไม่ควรจะกล่าวโทษผู้ใด เนื่องจากซีดีโอไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสียทั้งหมด เพียงแต่ในระยะหลังเกิดภาวะที่คนตื่นกลัวจึงส่งผลให้ราคา
ตลาดของซีดีโอที่ลงทุนลดต่ำลงเหลือร้อยละ 63 และขณะนี้ก็ยังไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับธนาคาร โดยเข้าดีว่าเงินชดเชยความเสียหาย
จากการบริหารเอ็นพีแอลที่ ธ.ไทยธนาคารได้รับไปจากกองทุนฟื้นฟูฯ มีจำนวนกว่า 5 หมื่นล้านบาท จึงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถนำไปปล่อย
สินเชื่อได้หมด เพราะฉะนั้น การลงทุนในซีดีโอจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ธ.ไทยธนาคารได้กันสำรองหนี้เสียจากการลงทุนในซีดีโอ
และซับไพรม์เกือบเต็มจำนวนแล้ว โดยขาดอีกประมาณร้อยละ 3 ดังนั้น หลังจากนี้ธนาคารจะไม่ต้องกันสำรองจากการลงทุนในซับไพรม์อีก
ส่วนปัญหาซีดีโอน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว (มติชน, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดส่งออกเดือน ต.ค. สูงสุดเป็นประวัติการณ์มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดี
กรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า การส่งออกเดือน ต.ค.50 มีมูลค่า 14,516.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 13,017.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้า
1,499.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 137.2 ทั้งนี้ ยอดการส่งออกใน 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค. — ต.ค.50) มีมูลค่ารวม
125,114.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 115,160.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
ทำให้ 10 เดือนแรกไทยเกินดุลการค้ารวม 9,953.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปีนี้ที่วางไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5
คาดว่าจะทำได้แน่แม้จะเหลือเวลาอีก 2 เดือนสุดท้าย และหวังว่าตัวเลขสุดท้ายทั้งปีการส่งออกอาจสูงกว่าเป้าขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 14 — 15
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. คาดว่าจะมีเอกชนออกหุ้นกู้ในปี 51 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 แสนล้านบาท นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กก.ผจก. สมาคมตราสารหนี้
ไทย กล่าวว่า ในปี 51 คาดว่าจะมีเอกชนออกหุ้นกู้คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับปีนี้ที่คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ
2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับเพิ่มจากก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท โดยสาเหตุที่มีบริษัทเอกชนออกหุ้นกู้ใน
ปีนี้มากเพราะบริษัทขนาดใหญ่ไม่สามารถออกหุ้นกู้ในต่างประเทศได้ตามแผน ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ใน สรอ. จึงต้องหันมาระดมทุน
ในประเทศแทน โดยประเมินว่าบริษัทส่วนใหญ่นิยมใช้ตลาดตราสารหนี้เพื่อระดมทุนมากกว่า เนื่องจากมีต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้น
ที่ยังซบเซาและการกู้ยืมเงินผ่าน ธ.พาณิชย์ที่มีต้นทุนดอกเบี้ยในระดับสูง (แนวหน้า)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือน ต.ค.50 พบว่า ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยไปอยู่ที่ 81.9
จาก 81.0 ในเดือน ก.ย. ส่งผลให้ดัชนียังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 นับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 บ่งชี้ถึงภาพความเชื่อมั่น
ที่ยังคงไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร โดยสาเหตุเนื่องจากแม้จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ แต่นโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคการเมืองยังไม่ชัดเจน
ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เงินบาทแข็งค่าขึ้น และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งผู้ประกอบการได้เสนอแนะต่อรัฐบาลต้องการ
ให้หลังการเลือกตั้งมีการมุ่งเน้นนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการดูแลปัญหาน้ำมันและระบบการขนส่งหรือลอจิสติกส์เพื่อลดต้นทุน
ภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจมองว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าปัจจัยต่าง ๆ ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราแลกเปลี่ยน เศรษฐกิจโลก
และสถานการณ์ทางการเมืองน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นช่วยทำให้ผลประกอบการฟื้นตัวดีขึ้น (ไทยรัฐ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. นายธนาคารในเยอรมนีเห็นด้วยที่ ธ.กลางยุโรปไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 21 พ.ย.50
สมาคมธนาคาร BDB ของเยอรมนีแสดงความเห็นด้วยที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อใน
Euro zone ในเดือน ต.ค.50 ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.48 และสูงกว่าเป้าหมายของ ECB
ที่พยายามรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีก็ตาม ทั้งนี้ กลุ่มนายธนาคารดังกล่าวเห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้
จะทำให้เงินยูโรมีค่าสูงขึ้นอีกเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจได้ ในขณะที่การขาดสภาพคล่องใน
ตลาดการเงินในขณะนี้จากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มใน สรอ.ก็ทำหน้าที่เหมือนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่แล้ว (รอยเตอร์)
2. การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายร้อยละ 13.9 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 21 พ.ย.50
ก.คลัง เปิดเผยว่า การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.50 มีมูลค่า 7.5155 ล้านล้านเยน (68.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9
แม้ว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นก็ตาม และเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 สำหรับการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 สาเหตุหลักจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 1.0186 ล้านล้านเยน
(9.27 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การที่มูลค่าส่งออกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงในเดือน ต.ค. ได้รับแรง
สนับสนุนจากความต้องการของประเทศในยุโรปและเอเชียเป็นหลัก โดยมูลค่าการส่งออกไปยังยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 ส่วนการส่งออกไปยัง
เอเชียเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 โดยที่การส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นสูงมากร้อยละ 19.2 เทียบต่อปี ส่งผลให้จีนเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นแทนที่
สรอ. สำหรับการส่งออกของญี่ปุ่นไปยัง สรอ. ในเดือน ต.ค. ได้ชะลอตัว จนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อภาวะ
เศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยมูลค่าการส่งออกไปยัง สรอ. ลดลงร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี นำโดยการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าประเภทรถยนต์และ
เครื่องจักรสำหรับการก่อสร้าง ถือเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ในเดือนก่อนหน้าการส่งออกไปยัง สรอ.ลดลงถึงร้อยละ 9.3
ซึ่งเป็นอัตราการชะลอตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 อนึ่ง การส่งออกของญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค.ดังกล่าว นับเป็นปัจจัยผลักดัน
ให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หรือเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 2.6 อย่างไรก็ตาม
บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นอาจขยายตัวชะลอลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจากการส่งออกอาจชะลอตัว
ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. และภาวะราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. จีนไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 22 พ.ย.50 ผู้ว่าการ ธ.กลางจีนให้สัมภาษณ์
นสพ.ซินหัวของจีนหลังการประชุม รมต.คลังของกลุ่ม G — 20 ที่ประเทศอัฟริกาใต้ว่ายอดส่งออกของจีนไปยังตลาด สรอ.อาจลดลงจากผลกระทบ
ของปัญหาซับไพร์มใน สรอ.แต่คาดว่ายอดส่งออกรวมของจีนจะไม่ลดลงเนื่องจากผู้ส่งออกของจีนมองหาตลาดใหม่อยู่เสมอ นอกจากนี้ ธ.พาณิชย์
ในจีนยังรายงานว่าได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ.เช่นเดียวกับ ธ.กลางจีนที่รายงานว่าไม่ได้นำทุนสำรองของประเทศ
ไปลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าวแต่อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่านโยบายควบคุมเงินทุนไหลเข้าออกของจีนได้ช่วยให้จีนรอดพ้นจาก
ปัญหาสินเชื่อที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้จากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มใน สรอ. (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 21 พ.ย.50
ทางการมาเลเซีย เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของมาเลเซียในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี สูงกว่าเล็กน้อยจาก
เดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า CPI จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามการปรับตัว
เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทั้งนี้ การที่ CPI ในเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร สาธารณูปโภค และการขนส่ง
สำหรับ CPI ในเดือน ต.ค. เมื่อเทียบต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 พ.ย. 50 21 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.821 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6198/33.9486 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 807.58/19.71 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 12,750/12,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 90.26 87.27 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94** 32.49*/28.94** 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 17 พ.ย. 50 ** ปรับเพิ่มเมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กองทุนฟื้นฟูฯ เตรียมประชุมพิจารณาปัญหาซีดีโอของ ธ.ไทยธนาคาร นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธปท.
ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กล่าวว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ จะมีการประชุมในวันที่ 29 พ.ย.นี้ ซึ่งคงจะพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
กับ ธ.ไทยธนาคาร จากการเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง (ซีดีโอ) รวมถึงการลงทุนในซีดีโอที่มีสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ
ใน สรอ. หนุนหลัง (ซับไพรม์) ที่ขณะนี้ได้ส่งผลให้ธนาคารต้องตั้งสำรองจำนวนมากและนำไปสู่การเพิ่มทุนครั้งล่าสุด ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ตั้ง
คณะกรรมการขึ้นตรวจสอบเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารจากปัญหาเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาจากการลงทุนในซีดีโอและซับไพรม์
ของธนาคารไม่ควรจะกล่าวโทษผู้ใด เนื่องจากซีดีโอไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสียทั้งหมด เพียงแต่ในระยะหลังเกิดภาวะที่คนตื่นกลัวจึงส่งผลให้ราคา
ตลาดของซีดีโอที่ลงทุนลดต่ำลงเหลือร้อยละ 63 และขณะนี้ก็ยังไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับธนาคาร โดยเข้าดีว่าเงินชดเชยความเสียหาย
จากการบริหารเอ็นพีแอลที่ ธ.ไทยธนาคารได้รับไปจากกองทุนฟื้นฟูฯ มีจำนวนกว่า 5 หมื่นล้านบาท จึงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถนำไปปล่อย
สินเชื่อได้หมด เพราะฉะนั้น การลงทุนในซีดีโอจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ธ.ไทยธนาคารได้กันสำรองหนี้เสียจากการลงทุนในซีดีโอ
และซับไพรม์เกือบเต็มจำนวนแล้ว โดยขาดอีกประมาณร้อยละ 3 ดังนั้น หลังจากนี้ธนาคารจะไม่ต้องกันสำรองจากการลงทุนในซับไพรม์อีก
ส่วนปัญหาซีดีโอน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว (มติชน, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดส่งออกเดือน ต.ค. สูงสุดเป็นประวัติการณ์มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดี
กรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า การส่งออกเดือน ต.ค.50 มีมูลค่า 14,516.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 เทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 13,017.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 ทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้า
1,499.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 137.2 ทั้งนี้ ยอดการส่งออกใน 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค. — ต.ค.50) มีมูลค่ารวม
125,114.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 115,160.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
ทำให้ 10 เดือนแรกไทยเกินดุลการค้ารวม 9,953.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปีนี้ที่วางไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5
คาดว่าจะทำได้แน่แม้จะเหลือเวลาอีก 2 เดือนสุดท้าย และหวังว่าตัวเลขสุดท้ายทั้งปีการส่งออกอาจสูงกว่าเป้าขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 14 — 15
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. คาดว่าจะมีเอกชนออกหุ้นกู้ในปี 51 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 แสนล้านบาท นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กก.ผจก. สมาคมตราสารหนี้
ไทย กล่าวว่า ในปี 51 คาดว่าจะมีเอกชนออกหุ้นกู้คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับปีนี้ที่คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ
2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับเพิ่มจากก่อนหน้าที่คาดว่าจะมีการออกหุ้นกู้ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท โดยสาเหตุที่มีบริษัทเอกชนออกหุ้นกู้ใน
ปีนี้มากเพราะบริษัทขนาดใหญ่ไม่สามารถออกหุ้นกู้ในต่างประเทศได้ตามแผน ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ใน สรอ. จึงต้องหันมาระดมทุน
ในประเทศแทน โดยประเมินว่าบริษัทส่วนใหญ่นิยมใช้ตลาดตราสารหนี้เพื่อระดมทุนมากกว่า เนื่องจากมีต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้น
ที่ยังซบเซาและการกู้ยืมเงินผ่าน ธ.พาณิชย์ที่มีต้นทุนดอกเบี้ยในระดับสูง (แนวหน้า)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือน ต.ค.50 พบว่า ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยไปอยู่ที่ 81.9
จาก 81.0 ในเดือน ก.ย. ส่งผลให้ดัชนียังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 นับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 บ่งชี้ถึงภาพความเชื่อมั่น
ที่ยังคงไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร โดยสาเหตุเนื่องจากแม้จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ แต่นโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคการเมืองยังไม่ชัดเจน
ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เงินบาทแข็งค่าขึ้น และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งผู้ประกอบการได้เสนอแนะต่อรัฐบาลต้องการ
ให้หลังการเลือกตั้งมีการมุ่งเน้นนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการดูแลปัญหาน้ำมันและระบบการขนส่งหรือลอจิสติกส์เพื่อลดต้นทุน
ภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจมองว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าปัจจัยต่าง ๆ ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราแลกเปลี่ยน เศรษฐกิจโลก
และสถานการณ์ทางการเมืองน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นช่วยทำให้ผลประกอบการฟื้นตัวดีขึ้น (ไทยรัฐ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. นายธนาคารในเยอรมนีเห็นด้วยที่ ธ.กลางยุโรปไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 21 พ.ย.50
สมาคมธนาคาร BDB ของเยอรมนีแสดงความเห็นด้วยที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อใน
Euro zone ในเดือน ต.ค.50 ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.48 และสูงกว่าเป้าหมายของ ECB
ที่พยายามรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีก็ตาม ทั้งนี้ กลุ่มนายธนาคารดังกล่าวเห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้
จะทำให้เงินยูโรมีค่าสูงขึ้นอีกเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจได้ ในขณะที่การขาดสภาพคล่องใน
ตลาดการเงินในขณะนี้จากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มใน สรอ.ก็ทำหน้าที่เหมือนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่แล้ว (รอยเตอร์)
2. การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมายร้อยละ 13.9 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 21 พ.ย.50
ก.คลัง เปิดเผยว่า การส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.50 มีมูลค่า 7.5155 ล้านล้านเยน (68.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9
แม้ว่าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นก็ตาม และเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 สำหรับการ
นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 สาเหตุหลักจากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 1.0186 ล้านล้านเยน
(9.27 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การที่มูลค่าส่งออกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงในเดือน ต.ค. ได้รับแรง
สนับสนุนจากความต้องการของประเทศในยุโรปและเอเชียเป็นหลัก โดยมูลค่าการส่งออกไปยังยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 ส่วนการส่งออกไปยัง
เอเชียเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 โดยที่การส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นสูงมากร้อยละ 19.2 เทียบต่อปี ส่งผลให้จีนเป็นประเทศคู่ค้าใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นแทนที่
สรอ. สำหรับการส่งออกของญี่ปุ่นไปยัง สรอ. ในเดือน ต.ค. ได้ชะลอตัว จนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อภาวะ
เศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยมูลค่าการส่งออกไปยัง สรอ. ลดลงร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี นำโดยการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าประเภทรถยนต์และ
เครื่องจักรสำหรับการก่อสร้าง ถือเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ในเดือนก่อนหน้าการส่งออกไปยัง สรอ.ลดลงถึงร้อยละ 9.3
ซึ่งเป็นอัตราการชะลอตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 อนึ่ง การส่งออกของญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค.ดังกล่าว นับเป็นปัจจัยผลักดัน
ให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หรือเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 2.6 อย่างไรก็ตาม
บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นอาจขยายตัวชะลอลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจากการส่งออกอาจชะลอตัว
ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. และภาวะราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. จีนไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 22 พ.ย.50 ผู้ว่าการ ธ.กลางจีนให้สัมภาษณ์
นสพ.ซินหัวของจีนหลังการประชุม รมต.คลังของกลุ่ม G — 20 ที่ประเทศอัฟริกาใต้ว่ายอดส่งออกของจีนไปยังตลาด สรอ.อาจลดลงจากผลกระทบ
ของปัญหาซับไพร์มใน สรอ.แต่คาดว่ายอดส่งออกรวมของจีนจะไม่ลดลงเนื่องจากผู้ส่งออกของจีนมองหาตลาดใหม่อยู่เสมอ นอกจากนี้ ธ.พาณิชย์
ในจีนยังรายงานว่าได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ.เช่นเดียวกับ ธ.กลางจีนที่รายงานว่าไม่ได้นำทุนสำรองของประเทศ
ไปลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าวแต่อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่านโยบายควบคุมเงินทุนไหลเข้าออกของจีนได้ช่วยให้จีนรอดพ้นจาก
ปัญหาสินเชื่อที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้จากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มใน สรอ. (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 21 พ.ย.50
ทางการมาเลเซีย เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของมาเลเซียในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี สูงกว่าเล็กน้อยจาก
เดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า CPI จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามการปรับตัว
เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทั้งนี้ การที่ CPI ในเดือน ต.ค.เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร สาธารณูปโภค และการขนส่ง
สำหรับ CPI ในเดือน ต.ค. เมื่อเทียบต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 พ.ย. 50 21 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.821 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6198/33.9486 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 807.58/19.71 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 12,750/12,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 90.26 87.27 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94** 32.49*/28.94** 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 17 พ.ย. 50 ** ปรับเพิ่มเมื่อ 14 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--