ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมธนบัตรสำรองในเดือน ธ.ค.จำนวน 300,400 ล้านบาท ผอส.ฝ่ายจัดการธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.ประมาณการว่า ในช่วงเดือน ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงฉลองเทศกาลปีใหม่ ประกอบกับในวันที่ 23 ธ.ค.นี้จะมีการเลือกตั้ง ทำให้
ความต้องการใช้ธนบัตรของประชาชนอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ โดย ธปท.คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายธนบัตรทั้งสิ้น 192,500 ล้านบาท จากปีก่อน
ที่มีการจ่ายแลก 178,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยข้างต้นทำให้
ธปท.ได้มีการเตรียมธนบัตรสำรองชนิดราคาต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการเบิกจ่ายธนบัตรดังกล่าว โดย ณ สิ้นเดือน พ.ย.50 มีธนบัตรสำรอง
ทั้งสิ้น 300,400 ล้านบาท ซึ่งจะมีการสำรองเงินไว้ 2-4 เดือน ตามเกณฑ์มาตรฐานของฝ่ายออกบัตรธนาคาร ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ต.ค.ถึง
26 พ.ย.50 มีธนบัตรออกใช้หมุนเวียนทั้งประเทศเพิ่มขึ้นและในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในเดือน ต.ค.มีมูลค่าธนบัตรจำนวน
736.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และล่าสุดในเดือน พ.ย.มีมูลค่าธนบัตรออกใช้ 740.4 พันล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.4 (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, แนวหน้า)
2. พันธบัตรออมทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ยังมียอดคงเหลือ 7 พันล้านบาท ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) และในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า หลังจากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้เปิดจองซื้อพันธบัตร
ออมทรัพย์วงเงิน 80,000 ล้านบาท อายุ 2 ปี และ 4 ปี ผ่านตัวแทนขาย ธพ.ทั้ง 11 แห่งนั้น ล่าสุดในช่วง 12.00 น.ของวานนี้ (27 พ.ย.)
ยังมียอดคงเหลืออยู่ทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ในวันแรก ธพ.รายใหญ่ส่วนใหญ่มียอดจองซื้อเต็มตามจำนวนที่จัดสรรให้ แต่มีบางธนาคาร
ที่ยังมียอดจัดสรรเหลืออยู่ ดังนั้น ยอดพันธบัตรออมทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่เหลืออยู่ จึงได้มีการกระจายให้แก่ ธพ.ทั้ง 11 แห่ง
ซึ่งประชาชนที่สนใจสามารถจองผ่านสาขา ธพ.ที่เป็นตัวแทนขายได้จนถึงวันที่ 29 พ.ย.นี้ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ก.คลังปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 เป็นร้อยละ 4.5 รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังปรับ
ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 จากเดิมที่อยู่ระหว่างร้อยละ 3.8-4.3 หรือเฉลี่ยร้อยละ 4.0 ด้าน
ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงว่า ปัจจัยการส่งออกในช่วงที่ผ่านมาดีกว่าที่เคยคาดไว้ จึงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำคัญและ
การใช้จ่ายภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งมีบทบาทช่วยรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน ส่วนเศรษฐกิจในปี 51 มีแนวโน้ม
ขยายตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5-5.5 ตามการใช้จ่ายภายในประเทศที่ฟื้นตัวขึ้นฐานที่ต่ำในปี 50 และการ
ส่งออกที่คาดว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 และ 0.2 ตามลำดับ เนื่องจาก
ขาดความเชื่อมั่นจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ด้านการเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐได้เข้ามาช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ในช่วงที่การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอลง โดยการบริโภคและการลงทุนภาครัฐขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 และ 2.9 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้อง
กับการเร่งเบิกจ่าย งปม.ประจำปี 50 ที่สามารถเบิกจ่ายได้สูงถึงร้อยละ 93.9 ของกรอบวงเงิน งปม.จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 93
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, มติชน, ข่าวสด)
4. ก.พลังงานประกาศปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันของดีเซลและไบโอดีเซลบี 5 อีก 20 สตางค์/ลิตร ผอ.สำนักงาน
นโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ก.พลังงานจำเป็นจะต้องประกาศปรับลดการจัดเก็บอัตราการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เฉพาะน้ำมันดีเซลและไบโอดีเซล (บี 5) จากบริษัทผู้ค้าน้ำมันลง 20 สตางค์/ลิตร เพื่อบรรเทาการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศของ
บริษัทผู้ค้าน้ำมันดีเซล จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นไปอยู่ในระดับ 98 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ล่าสุดราคา
น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 29.34 บาทต่อลิตร และไบโอดีเซล (บี 5) อยู่ที่ 28.34 บาทต่อลิตร ทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันมีค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์
อยู่ที่ 58 สตางค์ต่อลิตร อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราการจัดเก็บเงินนำเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในครั้งนี้ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะลดลง
315 ล้านบาทต่อเดือน โดยปัจจุบัน กองทุนน้ำมันฯ มีภาระหนี้สินอยู่ประมาณ 2,393 ล้านบาท (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
5. ครม.อนุมัติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามพื้นที่ 1-7 บาท เริ่ม 1 ม.ค.51 นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 51 ตามที่ ก.แรงงานเสนอ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.51 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้อง
กับราคาสินค้าที่ได้ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันทำให้เกิดผลกระทบกับค่าครองชีพ โดยค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นครั้งปรับตามพื้นที่ อัตราที่ปรับขึ้นสูงสุด
คือ วันละ 7 บาท และต่ำสุดวันละ 1 บาท โดยจังหวัดที่มีการปรับสูงสุด คือ จ.ภูเก็ต 7 บาท อยู่ที่วันละ 193 บาท รองลงมา ฉะเชิงเทรา
อยุธยา ปรับ 5 บาท อยู่ที่วันละ 165 บาท ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมุ่งจะคุ้มครองแรงงานผู้มีรายได้ขั้นต่ำที่มีอยู่ 4-5 แสนคน
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, บ้านเมือง, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน ต.ค. จะลดลง รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 50 ผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 45 คนโดยรอยเตอร์คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน ต.ค.จะอยู่ที่ 750,000 หลังลดลงจาก 770,000
หลังเมื่อเดือน ก.ย. โดยผลการสำรวจคาดการณ์ระหว่าง 705,000 -785,000 หลัง ทั้งนี้ยอดขายในเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ใน
ขณะที่ตัวเลขของ 3 เดือนก่อนหน้าถูกปรับลดลงอย่างมาก ปัจจุบันผู้กู้ซื้อบ้านต้องเผชิญกับอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากผู้ให้สินเชื่อ เนื่องจาก
ผู้ให้สินเชื่อจำนองต่างก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพและต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม the National Association of Home Builders ของสรอ. กล่าวว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเดือน พ.ย.
ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องรับภาระบ้านที่ยังขายไม่ได้ และการยกเลิกคำสั่งซื้อจำนวนมาก ซึ่ง
นักเศรษฐศาสตร์บางคนได้ให้ความเห็นว่าผู้ที่มีความสามารถซื้อบ้านเป็นของตนเองต่างก็เกรงว่าหากซื้อบ้านในขณะนี้แล้วราคาบ้านอาจจะ
ลดลงอีกในไม่ช้า ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ สรอ. มีกำหนดที่จะเปิดเผยยอดการขายบ้านใหม่ในวันพฤหัสบดีนี้เวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
(รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีและฝรั่งเศสเพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ย.50 ผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากโรม เมื่อ
27 พ.ย.50 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีจากผลสำรวจโดย Ifo เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ย.50 มาอยู่ที่ระดับ 104.2 จาก
ระดับ 103.9 เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจของฝรั่งเศสในเดือนเดียวกันที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 110 จากระดับ 108 สร้าง
ความประหลาดใจให้นักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีทั้งสองจะลดลงจากผลกระทบของราคาน้ำมันและค่าเงินยูโรที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังคาดว่า
เศรษฐกิจ สรอ.อาจเผชิญภาวะถดถอย ในขณะที่ในตลาดการเงินยังมีปัญหาเกี่ยวกับสินเชื่อจากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มใน สรอ.
โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone จะชะลอตัวลงมากในไตรมาสสุดท้ายปีนี้เมื่อภาคธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหา
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเกือบ 100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลและค่าเงินยูโรที่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.49 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดใน Euro zone เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ในเดือน พ.ย.50 จากร้อยละ 2.4
ในเดือนก่อน สูงกว่าที่คาดไว้และอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า
ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีไปจนถึงสิ้นปีหน้าแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อใน Euro zone
จะแตะร้อยละ 2.6 ต่อปีในเดือน ต.ค.50 ที่ผ่านมา สูงกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ต้องการให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0
ต่อปี (รอยเตอร์)
3.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีที่เร่งตัวเพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเขตยูโรเพิ่มขึ้นด้วย รายงานจากกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 27 พ.ย.50 สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนีประมาณการตัวเลขเบื้องต้นจากข้อมูลของ 6 แคว้นในเยอรมนี ว่า
อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน พ.ย. จะเร่งตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี
นับตั้งแต่เดือน ก.พ.2534 โดยมีสาเหตุจากต้นทุนราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะนี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าตัวเลขอัตรา
เงินเฟ้อของเยอรมนีอาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือนนี้เพิ่มขึ้นถึงระดับร้อยละ 3.0 ด้วยเช่นกัน โดยค่าเฉลี่ยจาก
ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ก่อนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน พ.ย.จะ
เร่งตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากร้อยละ 2.6 ในเดือน ต.ค. ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราเงินเฟ้อจะสร้างความอึดอัดให้กับ
เหล่าสมาชิกของสภาผู้ว่าการ ธ.กลางสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ที่มีความกังวลต่อการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งปัจจุบัน
เขตเศรษฐกิจยุโรปกำลังเผชิญกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงอยู่บ้างแล้ว ขณะที่ภาวะสมดุลของอัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวอย่างรวดเร็ว อนึ่ง สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรปกำหนดจะเผยแพร่ประมาณการเบื้องต้นตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ
เขตเศรษฐกิจยุโรปของเดือน พ.ย. ในวันศุกร์นี้ (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 50
รมว.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.8
ฟื้นตัวจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 เมื่อเดือน ก.ย. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น
ว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 แต่หากเทียบต่อเดือนตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 พ.ย. 50 27 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.848 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6359/33.9710 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38500 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 822.99/12.13 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,900/13,000 13,100/13,200 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 88.24 90.20 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.89*/29.34* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 23 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เตรียมธนบัตรสำรองในเดือน ธ.ค.จำนวน 300,400 ล้านบาท ผอส.ฝ่ายจัดการธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.ประมาณการว่า ในช่วงเดือน ธ.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงฉลองเทศกาลปีใหม่ ประกอบกับในวันที่ 23 ธ.ค.นี้จะมีการเลือกตั้ง ทำให้
ความต้องการใช้ธนบัตรของประชาชนอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ โดย ธปท.คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายธนบัตรทั้งสิ้น 192,500 ล้านบาท จากปีก่อน
ที่มีการจ่ายแลก 178,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยข้างต้นทำให้
ธปท.ได้มีการเตรียมธนบัตรสำรองชนิดราคาต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการเบิกจ่ายธนบัตรดังกล่าว โดย ณ สิ้นเดือน พ.ย.50 มีธนบัตรสำรอง
ทั้งสิ้น 300,400 ล้านบาท ซึ่งจะมีการสำรองเงินไว้ 2-4 เดือน ตามเกณฑ์มาตรฐานของฝ่ายออกบัตรธนาคาร ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ต.ค.ถึง
26 พ.ย.50 มีธนบัตรออกใช้หมุนเวียนทั้งประเทศเพิ่มขึ้นและในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในเดือน ต.ค.มีมูลค่าธนบัตรจำนวน
736.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และล่าสุดในเดือน พ.ย.มีมูลค่าธนบัตรออกใช้ 740.4 พันล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.4 (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, แนวหน้า)
2. พันธบัตรออมทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ยังมียอดคงเหลือ 7 พันล้านบาท ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) และในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า หลังจากที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้เปิดจองซื้อพันธบัตร
ออมทรัพย์วงเงิน 80,000 ล้านบาท อายุ 2 ปี และ 4 ปี ผ่านตัวแทนขาย ธพ.ทั้ง 11 แห่งนั้น ล่าสุดในช่วง 12.00 น.ของวานนี้ (27 พ.ย.)
ยังมียอดคงเหลืออยู่ทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ในวันแรก ธพ.รายใหญ่ส่วนใหญ่มียอดจองซื้อเต็มตามจำนวนที่จัดสรรให้ แต่มีบางธนาคาร
ที่ยังมียอดจัดสรรเหลืออยู่ ดังนั้น ยอดพันธบัตรออมทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่เหลืออยู่ จึงได้มีการกระจายให้แก่ ธพ.ทั้ง 11 แห่ง
ซึ่งประชาชนที่สนใจสามารถจองผ่านสาขา ธพ.ที่เป็นตัวแทนขายได้จนถึงวันที่ 29 พ.ย.นี้ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ก.คลังปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 เป็นร้อยละ 4.5 รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังปรับ
ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 จากเดิมที่อยู่ระหว่างร้อยละ 3.8-4.3 หรือเฉลี่ยร้อยละ 4.0 ด้าน
ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงว่า ปัจจัยการส่งออกในช่วงที่ผ่านมาดีกว่าที่เคยคาดไว้ จึงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักสำคัญและ
การใช้จ่ายภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น ซึ่งมีบทบาทช่วยรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน ส่วนเศรษฐกิจในปี 51 มีแนวโน้ม
ขยายตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.5-5.5 ตามการใช้จ่ายภายในประเทศที่ฟื้นตัวขึ้นฐานที่ต่ำในปี 50 และการ
ส่งออกที่คาดว่าจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 และ 0.2 ตามลำดับ เนื่องจาก
ขาดความเชื่อมั่นจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ด้านการเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐได้เข้ามาช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ในช่วงที่การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอลง โดยการบริโภคและการลงทุนภาครัฐขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 และ 2.9 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้อง
กับการเร่งเบิกจ่าย งปม.ประจำปี 50 ที่สามารถเบิกจ่ายได้สูงถึงร้อยละ 93.9 ของกรอบวงเงิน งปม.จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 93
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, มติชน, ข่าวสด)
4. ก.พลังงานประกาศปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันของดีเซลและไบโอดีเซลบี 5 อีก 20 สตางค์/ลิตร ผอ.สำนักงาน
นโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ก.พลังงานจำเป็นจะต้องประกาศปรับลดการจัดเก็บอัตราการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เฉพาะน้ำมันดีเซลและไบโอดีเซล (บี 5) จากบริษัทผู้ค้าน้ำมันลง 20 สตางค์/ลิตร เพื่อบรรเทาการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศของ
บริษัทผู้ค้าน้ำมันดีเซล จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นไปอยู่ในระดับ 98 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ล่าสุดราคา
น้ำมันดีเซลอยู่ที่ 29.34 บาทต่อลิตร และไบโอดีเซล (บี 5) อยู่ที่ 28.34 บาทต่อลิตร ทำให้บริษัทผู้ค้าน้ำมันมีค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์
อยู่ที่ 58 สตางค์ต่อลิตร อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราการจัดเก็บเงินนำเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในครั้งนี้ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะลดลง
315 ล้านบาทต่อเดือน โดยปัจจุบัน กองทุนน้ำมันฯ มีภาระหนี้สินอยู่ประมาณ 2,393 ล้านบาท (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์)
5. ครม.อนุมัติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามพื้นที่ 1-7 บาท เริ่ม 1 ม.ค.51 นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปี 51 ตามที่ ก.แรงงานเสนอ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.51 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้อง
กับราคาสินค้าที่ได้ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันทำให้เกิดผลกระทบกับค่าครองชีพ โดยค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นครั้งปรับตามพื้นที่ อัตราที่ปรับขึ้นสูงสุด
คือ วันละ 7 บาท และต่ำสุดวันละ 1 บาท โดยจังหวัดที่มีการปรับสูงสุด คือ จ.ภูเก็ต 7 บาท อยู่ที่วันละ 193 บาท รองลงมา ฉะเชิงเทรา
อยุธยา ปรับ 5 บาท อยู่ที่วันละ 165 บาท ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมุ่งจะคุ้มครองแรงงานผู้มีรายได้ขั้นต่ำที่มีอยู่ 4-5 แสนคน
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, บ้านเมือง, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน ต.ค. จะลดลง รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 50 ผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 45 คนโดยรอยเตอร์คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน ต.ค.จะอยู่ที่ 750,000 หลังลดลงจาก 770,000
หลังเมื่อเดือน ก.ย. โดยผลการสำรวจคาดการณ์ระหว่าง 705,000 -785,000 หลัง ทั้งนี้ยอดขายในเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ใน
ขณะที่ตัวเลขของ 3 เดือนก่อนหน้าถูกปรับลดลงอย่างมาก ปัจจุบันผู้กู้ซื้อบ้านต้องเผชิญกับอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากผู้ให้สินเชื่อ เนื่องจาก
ผู้ให้สินเชื่อจำนองต่างก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพและต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
อย่างไรก็ตาม the National Association of Home Builders ของสรอ. กล่าวว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเดือน พ.ย.
ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากผู้ประกอบการต้องรับภาระบ้านที่ยังขายไม่ได้ และการยกเลิกคำสั่งซื้อจำนวนมาก ซึ่ง
นักเศรษฐศาสตร์บางคนได้ให้ความเห็นว่าผู้ที่มีความสามารถซื้อบ้านเป็นของตนเองต่างก็เกรงว่าหากซื้อบ้านในขณะนี้แล้วราคาบ้านอาจจะ
ลดลงอีกในไม่ช้า ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ สรอ. มีกำหนดที่จะเปิดเผยยอดการขายบ้านใหม่ในวันพฤหัสบดีนี้เวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น
(รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีและฝรั่งเศสเพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ย.50 ผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากโรม เมื่อ
27 พ.ย.50 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีจากผลสำรวจโดย Ifo เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ย.50 มาอยู่ที่ระดับ 104.2 จาก
ระดับ 103.9 เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจของฝรั่งเศสในเดือนเดียวกันที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 110 จากระดับ 108 สร้าง
ความประหลาดใจให้นักวิเคราะห์ที่คาดว่าดัชนีทั้งสองจะลดลงจากผลกระทบของราคาน้ำมันและค่าเงินยูโรที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังคาดว่า
เศรษฐกิจ สรอ.อาจเผชิญภาวะถดถอย ในขณะที่ในตลาดการเงินยังมีปัญหาเกี่ยวกับสินเชื่อจากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มใน สรอ.
โดยนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจ Euro zone จะชะลอตัวลงมากในไตรมาสสุดท้ายปีนี้เมื่อภาคธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหา
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเกือบ 100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลและค่าเงินยูโรที่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.49 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดใน Euro zone เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ในเดือน พ.ย.50 จากร้อยละ 2.4
ในเดือนก่อน สูงกว่าที่คาดไว้และอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า
ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีไปจนถึงสิ้นปีหน้าแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อใน Euro zone
จะแตะร้อยละ 2.6 ต่อปีในเดือน ต.ค.50 ที่ผ่านมา สูงกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ต้องการให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0
ต่อปี (รอยเตอร์)
3.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีที่เร่งตัวเพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเขตยูโรเพิ่มขึ้นด้วย รายงานจากกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 27 พ.ย.50 สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนีประมาณการตัวเลขเบื้องต้นจากข้อมูลของ 6 แคว้นในเยอรมนี ว่า
อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน พ.ย. จะเร่งตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนและเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี
นับตั้งแต่เดือน ก.พ.2534 โดยมีสาเหตุจากต้นทุนราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะนี้ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าตัวเลขอัตรา
เงินเฟ้อของเยอรมนีอาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือนนี้เพิ่มขึ้นถึงระดับร้อยละ 3.0 ด้วยเช่นกัน โดยค่าเฉลี่ยจาก
ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ก่อนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน พ.ย.จะ
เร่งตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากร้อยละ 2.6 ในเดือน ต.ค. ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอัตราเงินเฟ้อจะสร้างความอึดอัดให้กับ
เหล่าสมาชิกของสภาผู้ว่าการ ธ.กลางสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ที่มีความกังวลต่อการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งปัจจุบัน
เขตเศรษฐกิจยุโรปกำลังเผชิญกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและอัตราเงินเฟ้อในระดับสูงอยู่บ้างแล้ว ขณะที่ภาวะสมดุลของอัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวอย่างรวดเร็ว อนึ่ง สำนักงานสถิติของสหภาพยุโรปกำหนดจะเผยแพร่ประมาณการเบื้องต้นตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ
เขตเศรษฐกิจยุโรปของเดือน พ.ย. ในวันศุกร์นี้ (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 50
รมว.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.8
ฟื้นตัวจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 เมื่อเดือน ก.ย. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) และมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น
ว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 แต่หากเทียบต่อเดือนตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 พ.ย. 50 27 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.848 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6359/33.9710 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38500 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 822.99/12.13 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,900/13,000 13,100/13,200 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 88.24 90.20 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.89*/29.34* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 23 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--