ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากและ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ผ่านการพิจารณาของ สนช.แล้วนายสมหมาย ภาษี
รมช.ก.คลัง เปิดเผยว่า พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วานนี้ (28 พ.ย.50) เป็น
วาระแรกแล้ว และจะพิจารณาในขั้นกรรมาธิการเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเสนอให้ สนช.พิจารณาวาระ 2 และ 3 เพื่อให้กฎหมายออกมาบังคับใช้
ได้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ ทั้งนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของกฎหมาย โดยในปีที่ 1 ที่กฎหมายบังคับใช้ยังคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน
ปีที่ 2 คุ้มครอง 100 ล้านบาท ปีที่ 3 คุ้มครอง 50 ล้านบาท ปีที่ 4 คุ้มครอง 20 ล้านบาท และปีที่ 5 คุ้มครอง 1 ล้านบาท และ พ.ร.บ.
ฉบับนี้ยังได้เปิดช่องให้คณะกรรมสถาบันคุ้มครองเงินฝากและรัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเพิ่มหรือลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากได้เอง นอกจากนี้
ที่ประชุม สนช.ยังมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินในวาระ 2 และ 3 ด้วย ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวที่มีการแก้ไข
คือ กำหนดให้สถาบันการเงินต้องมีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และมีกรรมการที่เป็นคนไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 แต่ในกรณีที่เห็นสมควร
ธปท.อาจจะอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 49 และเป็นกรรมการได้หนึ่งในสี่ แต่ไม่เกินครึ่งหนึ่ง (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, มติชน, แนวหน้า)
2. ธปท.ขอดูความจำเป็นก่อนผ่อนผัน ธ.กรุงเทพขายหุ้น ธ.สินเอเชียให้จีน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ธปท.จะพิจารณาอีกครั้งเกี่ยวกับกรณีที่กำหนดให้ ธ.กรุงเทพ (BBL) ขายหุ้น ธ.สินเอเชีย (ACL) ให้แก่ ธ.อินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล
แบงก์ (ไอซีบีซี) ประเทศจีน จำเป็นต้องผ่อนผันระยะเวลาที่กำหนดให้ดำเนินการภายในสิ้นปีนี้ออกไปหรือไม่ เนื่องจากว่า กฎหมายธุรกิจสถาบัน
การเงินฉบับใหม่ที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะสามารถบังคับใช้อีกประมาณ 3 เดือน ขณะที่ ผอส.ฝ่ายกฎหมายและคดี
ธปท.กล่าวว่า หลังจากกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินผ่าน สนช.แล้ว ตามขั้นตอนจะต้องมีการผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมก่อนที่กฎหมายจะมี
ผลบังคับใช้อีก 180 วัน ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้จริงประมาณครึ่งหลังของปี 51 ดังนั้น จึงไม่น่าจะบังคับใช้ได้ทันกำหนดขายหุ้น ACL ของ
BBL ส่วนจะพิจารณาขยายเวลาให้กับ BBL หรือไม่ เป็นอำนาจของ รมว.คลังเป็นผู้ตัดสิน (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์,
ไทยรัฐ, บ้านเมือง)
3. ธปท.หารือ ก.คลังเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาของ ธ.ไทยธนาคาร รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้
(28 พ.ย.) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้ารายงานและหารือกับ รมว.คลัง เพื่อหาทางแก้ไขฐานะของ ธ.ไทยธนาคาร
ที่เกิดความเสียหายจากการไปลงทุนตราสารต่างประเทศประเภท CDO เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็น CDO ที่เป็นการลงทุนในซับไพรม์และไม่ใช่ซับไพรม์
และมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนให้กับ ธ.ไทยธนาคารเป็นการเร่งด่วน ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท.ยังไม่ได้หารือกับ รมว.คลังเรื่องการเปลี่ยนแปลงตัว
ผู้บริหารของธนาคาร เพื่อรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยขณะนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่
ธ.ไทยธนาคาร เตรียมซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา (แนวหน้า, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 พ.ย.50
The Ministry of Economy, Trade and Industry เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
จากเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของตลาดซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สะท้อนความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรม
และการส่งออก สอดคล้องกับการประเมินของ ธ.กลางญี่ปุ่น ซึ่งมีความเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับที่ดี อย่างไรก็ตาม ธ.กลางญี่ปุ่น
ไม่มั่นใจเพียงพอที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่ง
เป็นประเทศคู่ค้าหลักของญี่ปุ่น โดยเห็นว่า สรอ. ยังคงมีความไม่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาซับไพร์ม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อญี่ปุ่นและประเทศต่างๆ
ทั่วโลก สำหรับผลผลิตโรงงานซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของผลผลิตอุตสาหกรรมคาดว่า จะลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือน พ.ย.50 ก่อนที่จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.2 ในเดือน ธ.ค. อนึ่ง เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.6 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 50 (ก.ค.-ก.ย.) โดยได้รับแรงสนับสนุน
หลักจากการส่งออกและการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่แข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่อเดือนสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ
28 พ.ย.50 ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในเดือน ต.ค.50 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 หลังจากลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ย.50 ทั้งนี้ จากผลสำรวจของทั้งสภาอุตสาหกรรม
ของเกาหลีใต้หรือ FKI และหอการค้าของเกาหลีใต้หรือ KCCI แสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจในเกาหลีใต้มีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
ในอนาคตจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในขณะนี้จนอยู่ในระดับใกล้ 100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลและความวุ่นวายในตลาดการเงิน
จากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มใน สรอ.ซึ่งส่งผลให้ภาคธุรกิจทั่วโลกตัดสินใจชะลอการลงทุนออกไป โดยดัชนีจากผลสำรวจความเห็นของ
ภาคธุรกิจโดย FKI ลดลงหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 109.4 ในเดือน ธ.ค.50 จากระดับ 111.4 ในเดือน พ.ย.50
ในขณะที่ดัชนีจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจโดย KCCI สำหรับไตรมาสแรกปีหน้า ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีที่ 99 จากระดับ 105
ในไตรมาสปัจจุบัน ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและผลกระทบด้านเงินเฟ้อที่ตามมาจะส่งผลกระทบต่อรายได้และการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
3. ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 46 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 29 พ.ย.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค. ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้น
สูงถึง 1.14 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่เกินดุล 782 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.ย. และช่วยทดแทนจากที่ขาดดุลร้อยละ 55 ในเดือน
ก.ย. นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้เกาหลีใต้ได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากที่ลดลงร้อยละ 22 ในเดือน ก.ย. โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก
การส่งออกรถยนต์และเครื่องจักรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. ที่เป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่จะชะลอตัวก็ตาม ทั้งนี้ ในช่วง
10 เดือนแรกของปีนี้เกาหลีใต้มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วรวมทั้งสิ้น 6.93 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ได้ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่ายอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้จะลดลง 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากยอดเกินดุล 6.09 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ในปี 49 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นมาก แต่จากผลสำรวจดัชนีชี้วัดทางธุรกิจของ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศเริ่มมีมุมมองในแง่ลบเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ
ของตนเองในเดือน ธ.ค. รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน (รอยเตอร์)
4. ในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจมาเลเซียเติบโตจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.7 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 28 พ.ย.50
ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจมาเลเซียเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบกว่า 3 ปี นับตั้งแต่ที่เคยขยายตัวร้อยละ 7.9
เมื่อไตรมาสที่ 2 ปี 47 ทั้งนี้ GDP ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.7
เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ส่วนหนึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ใช้จ่ายในด้านการพัฒนา
และการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรมบริการ ภาวะดังกล่าวได้สร้างความประหลาดใจให้แก่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้เคยคาดการณ์
ไว้ว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะเติบโตเพียงร้อยละ 5.8 จากสัญญานที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซียกำลังอยู่
ในช่วงตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ธ.กลางมาเลเซียยังคงคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้ว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 6.0 และคาดการณ์ในปีหน้าว่าเศรษฐกิจ
จะยังคงเติบโตในอัตราเดียวกันกับปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 พ.ย. 50 28 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.835 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6238/33.9549 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38938 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 820.52/17.21 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 12,900/13,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 86.24 88.24 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.89*/29.34* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 23 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากและ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ผ่านการพิจารณาของ สนช.แล้วนายสมหมาย ภาษี
รมช.ก.คลัง เปิดเผยว่า พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วานนี้ (28 พ.ย.50) เป็น
วาระแรกแล้ว และจะพิจารณาในขั้นกรรมาธิการเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเสนอให้ สนช.พิจารณาวาระ 2 และ 3 เพื่อให้กฎหมายออกมาบังคับใช้
ได้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ ทั้งนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของกฎหมาย โดยในปีที่ 1 ที่กฎหมายบังคับใช้ยังคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน
ปีที่ 2 คุ้มครอง 100 ล้านบาท ปีที่ 3 คุ้มครอง 50 ล้านบาท ปีที่ 4 คุ้มครอง 20 ล้านบาท และปีที่ 5 คุ้มครอง 1 ล้านบาท และ พ.ร.บ.
ฉบับนี้ยังได้เปิดช่องให้คณะกรรมสถาบันคุ้มครองเงินฝากและรัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเพิ่มหรือลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากได้เอง นอกจากนี้
ที่ประชุม สนช.ยังมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินในวาระ 2 และ 3 ด้วย ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวที่มีการแก้ไข
คือ กำหนดให้สถาบันการเงินต้องมีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และมีกรรมการที่เป็นคนไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 แต่ในกรณีที่เห็นสมควร
ธปท.อาจจะอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 49 และเป็นกรรมการได้หนึ่งในสี่ แต่ไม่เกินครึ่งหนึ่ง (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, มติชน, แนวหน้า)
2. ธปท.ขอดูความจำเป็นก่อนผ่อนผัน ธ.กรุงเทพขายหุ้น ธ.สินเอเชียให้จีน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ธปท.จะพิจารณาอีกครั้งเกี่ยวกับกรณีที่กำหนดให้ ธ.กรุงเทพ (BBL) ขายหุ้น ธ.สินเอเชีย (ACL) ให้แก่ ธ.อินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล
แบงก์ (ไอซีบีซี) ประเทศจีน จำเป็นต้องผ่อนผันระยะเวลาที่กำหนดให้ดำเนินการภายในสิ้นปีนี้ออกไปหรือไม่ เนื่องจากว่า กฎหมายธุรกิจสถาบัน
การเงินฉบับใหม่ที่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะสามารถบังคับใช้อีกประมาณ 3 เดือน ขณะที่ ผอส.ฝ่ายกฎหมายและคดี
ธปท.กล่าวว่า หลังจากกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินผ่าน สนช.แล้ว ตามขั้นตอนจะต้องมีการผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมก่อนที่กฎหมายจะมี
ผลบังคับใช้อีก 180 วัน ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้จริงประมาณครึ่งหลังของปี 51 ดังนั้น จึงไม่น่าจะบังคับใช้ได้ทันกำหนดขายหุ้น ACL ของ
BBL ส่วนจะพิจารณาขยายเวลาให้กับ BBL หรือไม่ เป็นอำนาจของ รมว.คลังเป็นผู้ตัดสิน (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์,
ไทยรัฐ, บ้านเมือง)
3. ธปท.หารือ ก.คลังเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาของ ธ.ไทยธนาคาร รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้
(28 พ.ย.) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้ารายงานและหารือกับ รมว.คลัง เพื่อหาทางแก้ไขฐานะของ ธ.ไทยธนาคาร
ที่เกิดความเสียหายจากการไปลงทุนตราสารต่างประเทศประเภท CDO เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็น CDO ที่เป็นการลงทุนในซับไพรม์และไม่ใช่ซับไพรม์
และมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนให้กับ ธ.ไทยธนาคารเป็นการเร่งด่วน ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท.ยังไม่ได้หารือกับ รมว.คลังเรื่องการเปลี่ยนแปลงตัว
ผู้บริหารของธนาคาร เพื่อรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยขณะนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่
ธ.ไทยธนาคาร เตรียมซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา (แนวหน้า, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 พ.ย.50
The Ministry of Economy, Trade and Industry เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
จากเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของตลาดซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สะท้อนความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรม
และการส่งออก สอดคล้องกับการประเมินของ ธ.กลางญี่ปุ่น ซึ่งมีความเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับที่ดี อย่างไรก็ตาม ธ.กลางญี่ปุ่น
ไม่มั่นใจเพียงพอที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่ง
เป็นประเทศคู่ค้าหลักของญี่ปุ่น โดยเห็นว่า สรอ. ยังคงมีความไม่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาซับไพร์ม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อญี่ปุ่นและประเทศต่างๆ
ทั่วโลก สำหรับผลผลิตโรงงานซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของผลผลิตอุตสาหกรรมคาดว่า จะลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือน พ.ย.50 ก่อนที่จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.2 ในเดือน ธ.ค. อนึ่ง เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.6 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 50 (ก.ค.-ก.ย.) โดยได้รับแรงสนับสนุน
หลักจากการส่งออกและการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่แข็งแกร่ง (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่อเดือนสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ
28 พ.ย.50 ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในเดือน ต.ค.50 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 หลังจากลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ย.50 ทั้งนี้ จากผลสำรวจของทั้งสภาอุตสาหกรรม
ของเกาหลีใต้หรือ FKI และหอการค้าของเกาหลีใต้หรือ KCCI แสดงให้เห็นว่าภาคธุรกิจในเกาหลีใต้มีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
ในอนาคตจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในขณะนี้จนอยู่ในระดับใกล้ 100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลและความวุ่นวายในตลาดการเงิน
จากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มใน สรอ.ซึ่งส่งผลให้ภาคธุรกิจทั่วโลกตัดสินใจชะลอการลงทุนออกไป โดยดัชนีจากผลสำรวจความเห็นของ
ภาคธุรกิจโดย FKI ลดลงหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 109.4 ในเดือน ธ.ค.50 จากระดับ 111.4 ในเดือน พ.ย.50
ในขณะที่ดัชนีจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจโดย KCCI สำหรับไตรมาสแรกปีหน้า ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีที่ 99 จากระดับ 105
ในไตรมาสปัจจุบัน ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและผลกระทบด้านเงินเฟ้อที่ตามมาจะส่งผลกระทบต่อรายได้และการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภค (รอยเตอร์)
3. ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 46 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 29 พ.ย.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ในเดือน ต.ค. ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้น
สูงถึง 1.14 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่เกินดุล 782 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.ย. และช่วยทดแทนจากที่ขาดดุลร้อยละ 55 ในเดือน
ก.ย. นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้เกาหลีใต้ได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากที่ลดลงร้อยละ 22 ในเดือน ก.ย. โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก
การส่งออกรถยนต์และเครื่องจักรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. ที่เป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่จะชะลอตัวก็ตาม ทั้งนี้ ในช่วง
10 เดือนแรกของปีนี้เกาหลีใต้มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วรวมทั้งสิ้น 6.93 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ได้ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่ายอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้จะลดลง 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากยอดเกินดุล 6.09 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ในปี 49 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นมาก แต่จากผลสำรวจดัชนีชี้วัดทางธุรกิจของ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า บริษัทผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศเริ่มมีมุมมองในแง่ลบเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ
ของตนเองในเดือน ธ.ค. รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน (รอยเตอร์)
4. ในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจมาเลเซียเติบโตจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.7 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 28 พ.ย.50
ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจมาเลเซียเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบกว่า 3 ปี นับตั้งแต่ที่เคยขยายตัวร้อยละ 7.9
เมื่อไตรมาสที่ 2 ปี 47 ทั้งนี้ GDP ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.7
เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ส่วนหนึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ใช้จ่ายในด้านการพัฒนา
และการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรมบริการ ภาวะดังกล่าวได้สร้างความประหลาดใจให้แก่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้เคยคาดการณ์
ไว้ว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะเติบโตเพียงร้อยละ 5.8 จากสัญญานที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซียกำลังอยู่
ในช่วงตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ธ.กลางมาเลเซียยังคงคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้ว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 6.0 และคาดการณ์ในปีหน้าว่าเศรษฐกิจ
จะยังคงเติบโตในอัตราเดียวกันกับปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 พ.ย. 50 28 พ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.835 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6238/33.9549 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38938 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 820.52/17.21 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,750/12,850 12,900/13,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 86.24 88.24 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.89*/29.34* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 23 พ.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--