ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สศอ.ประเมินผลกระทบจากการเปิดเอฟทีเอกับจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ทำการประเมินผลกระทบอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย หลังทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี
(เอฟทีเอ) กับจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ พบว่า ไทยไม่มีศักยภาพในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดทั้ง 4 ประเทศ ขณะที่คู่ค้าเอฟทีเอ
กลับมีศักยภาพสามารถส่งสินค้าเหล่านี้มาไทย ยกเว้นจีนที่ไม่มีศักยภาพส่งอาหารและเครื่องดื่มมาไทย และนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงสุด
ในการส่งอาหารและเครื่องดื่มมาเจาะตลาดในไทยได้เกือบทุกรายการ จะเห็นได้ว่า ทั้ง 4 ประเทศส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์จากการทำเอฟทีเอ
กับไทย โดยดุลการค้าของไทยเกินดุลลดลงต่อเนื่องหลังทำเอฟทีเอ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเร่งพัฒนาศักยภาพในการผลิต คุณภาพและ
มาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ฟิทช์คงอันดับความน่าเชื่อถือ ธ.ก.ส., ธ.อ.ส., ธ.ออมสิน และ ธ.นครหลวงไทย ฟิทช์ เรตติ้งส์ บริษัทจัดอันดับชั้นนำของ
โลก เผยแพร่ผลการพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารภายใต้การดูแลของรัฐ 3 แห่ง ประกอบด้วย ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร,
ธ.อาคารสงเคราะห์ และ ธ.ออมสิน รวมทั้ง ธพ.อีก 1 แห่งคือ ธ.นครหลวงไทย ระบุว่า ยังคงเรทติ้งสนับสนุนธนาคารในความดูแลของรัฐทั้ง
3 แห่งไว้ที่ระดับ “2” ส่วน ธ.นครหลวงไทยยังคงเรทติ้งทุกประเภทไว้ที่ระดับเดิม ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของฟิทช์สะท้อนว่า ธนาคารรัฐทั้ง 3 แห่ง
ซึ่งอยู่ในความดูแลและมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ มีบทบาทดำเนินไปตามนโยบายของรัฐ และมีความเป็นไปได้สูงหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับ
รัฐบาลในฐานะเจ้าของและผู้ให้การสนับสนุนธนาคารทั้ง 3 แห่ง อาจส่งผลกระทบต่อเรทติ้งของธนาคารเหล่านี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสนับสนุนให้ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนปี 50 เกินเป้าหมาย รองเลขาธิการคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์และชิ้นส่วน ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่จะส่งผลให้ยอดขอรับการ
ส่งเสริมการลงทุนในปี 50 นี้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 500,000 ล.บาท โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ต.ค.50) มีมูลค่าการลงทุน
รวมของอุตสาหกรรมประมาณ 148,700 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 49 ประมาณ 36% นอกจากนี้ ในปี 51 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ยานยนต์ และชิ้นส่วน จะยังคงเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญที่บีโอไอมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุน โดยสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและอากรอยู่ในระดับ
ที่สามารถจูงใจผู้ประกอบการให้เข้ามาลงทุน และภายหลังการเลือกตั้งคาดว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติมายื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น
เพราะไทยมีความพร้อมในการเป็นฐานการผลิตทั้งในด้านระบบสาธารณูปโภคและแรงงาน (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. ยอดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยช่วง 10 เดือนแรกปี 50 เพิ่มขึ้น 22% รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยยอดการนำเข้า
สินค้าฟุ่มเฟือย 28 รายการของไทยช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.50) ว่า มีมูลค่ารวม 9,480 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 22% หรือคิดเป็น
331,321 ล.บาท เพิ่มขึ้น 10% โดยสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูงสุด 3 รายการแรก คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีมูลค่า 2,331 ล.ดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น 33% เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดมีมูลค่า 1,821 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 21% และผลิตภัณฑ์เวชกรรม-เภสัชกรรมมีมูลค่า 1,432 ล.ดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้น 23% (โลกวันนี้, ข่าวสด)
5. ตลาดบ้านมือสองปี 50 เติบโตชะลอลงจากปีก่อนหน้า ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เรียลตี้ เวิล์ด อัลไลแอนซ์ จำกัด
เปิดเผยว่า ตลาดบ้านมือสองในปีนี้ มีอัตราการเติบโตที่ติดลบจากปีที่ผ่านมา 10-15% เนื่องจากภาวะการชะละการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ที่ได้รับ
ผลกระทบจากภาวะการเมือง การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ทำให้ผู้บริโภค
หันไปซื้อบ้านใหม่มากกว่าบ้านมือสอง ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา ตลาดบ้านมือสองยังคงมีอัตราการขยายตัวต่ำกว่าประมาณการในช่วงต้นปี
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงเดือน ธ.ค.นี้ ตลาดบ้านมือสองจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคที่ชะลอดูสถานการณ์ตลาดและแนวโน้มการเมือง
เศรษฐกิจ ในช่วงก่อนหน้านี้ จะเร่งตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น เนื่องจากช่วงสิ้นปีมาตรการส่งเสริมตลาดบ้านมือสองที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอยู่
จะสิ้นสุดลง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของ Euro zone ในเดือน ต.ค.50 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 5 ธ.ค.50 Eurostat
ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดค้าปลีกในเดือน ต.ค.50 ของ 13 ประเทศซึ่งใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักลดลงร้อยละ 0.7 ต่อเดือน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อปี ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.3 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปี ในเวลาเดียวกัน Eurostat
ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวของยอดค้าปลีกในเดือน ก.ย.50 ลงร้อยละ 0.1 เป็นขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อเดือนและร้อยละ 1.5 ต่อปี ทั้งนี้
เป็นผลจากวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงินซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อในตลาดสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจซึ่งคาดว่า
เศรษฐกิจในปีหน้าจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกลดลงในทุกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Euro zone
ลดลงมากสุดถึงร้อยละ 3.3 ต่อเดือน นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีในการ
ประชุมในวันที่ 6 ธ.ค.50 นี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงนี้ได้พุ่งสูงขึ้นก็ตาม โดยนักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ ECB
อาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและค่าเงินยูโรที่สูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ร้อยละ 0.6 และ 3.3 เทียบต่อเดือนและ
ต่อปีตามลำดับ รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 4 ธ.ค.50 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน
ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 และ 3.1 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนพลังงาน อาหารและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น โดยราคาพลังงานในเดือน
ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และราคาสินค้าบริโภคที่ไม่คงทน (ซึ่งนับรวมราคาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อย่างไรก็ตาม
แม้ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาด้านสินเชื่อโลก และภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง แต่ภาวะการส่งออก (ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ
ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ) ที่แข็งแกร่ง ทำให้สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหภาพยุโรปกล่าวคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปี 51 จะขยายตัวร้อยละ 2.1 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปีนี้ ทั้งนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปต้องการ
รักษาระดับเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี สูงสุดใน
รอบ 6 ปีครึ่ง เนื่องจากต้นทุนอาหารและพลังงานพุ่งทะยานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้
ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ (เมื่อวันที่ 26-28 พ.ย.) ทั้งหมด 72 คน คาดการณ์ว่า ธ.กลางสหภาพยุโรปจะยังคงระดับอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 4.0 ในการประชุมวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ปีหน้าจะชะลอตัวเล็กน้อย แต่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นมาก รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 5 ธ.ค..50 ธ.กลางเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปีหน้าจะเติบโตร้อยละ 4.7 ซึ่งจะเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 10 แต่
ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.8 ในปีนี้และร้อยละ 5.0 ในปี 49 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงสุด
ในรอบ 4 ปี ไปอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากที่คาดไว้ในปีนี้ที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจชะลอตัวลง ซึ่งความ
ผันผวนหลายประการที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยลบภายนอกจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ แต่มีความเป็นไปได้น้อยที่เศรษฐกิจ
ในประเทศจะหดตัวอย่างมีนัยสำคัญ ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าข้อมูลหลายอย่างดูเหมือนว่าจะสนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
แต่ความผันผวนของตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ไปจนถึงกลางปีหน้า
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า แต่คงต้องดูความชัดเจนและสถานการณ์โดยรวมก่อน
ที่จะตัดสินใจดำเนินการใดๆ (รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ระดับ 53.8 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 4 ธ.ค.50
The Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า Purchasing Managers’ Index (PMI) ของสิงคโปร์
ซึ่งเป็นเครื่องชี้นำอุตสาหกรรมภาคการผลิต ในเดือน พ.ย.50 อยู่ที่ระดับ 53.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.9 ในเดือน ต.ค.50 นับเป็นการเพิ่มขึ้น
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ยังคงขยายตัว เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิต
อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมภาคอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิต
สิงคโปร์ อยู่ที่ระดับ 53.7 ลดลงจากระดับ 54.9 ในเดือนก่อนหน้า และสะท้อนว่าขยายตัวในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 สำหรับอุตสาหกรรม
หมวดเทคโนโลยีของสิงคโปร์ยังคงชะลอตัวในปีนี้ เนื่องจากการส่งออกชะลอลง ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 50
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ธ.ค. 50 4 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.841 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6250/33.9587 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 833.34/14.23 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,650/12,750 12,650/12,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.23 83.01 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.89/29.34 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับลด 40 สตางค์เมื่อ 5 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สศอ.ประเมินผลกระทบจากการเปิดเอฟทีเอกับจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ทำการประเมินผลกระทบอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย หลังทำข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี
(เอฟทีเอ) กับจีน อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ พบว่า ไทยไม่มีศักยภาพในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดทั้ง 4 ประเทศ ขณะที่คู่ค้าเอฟทีเอ
กลับมีศักยภาพสามารถส่งสินค้าเหล่านี้มาไทย ยกเว้นจีนที่ไม่มีศักยภาพส่งอาหารและเครื่องดื่มมาไทย และนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงสุด
ในการส่งอาหารและเครื่องดื่มมาเจาะตลาดในไทยได้เกือบทุกรายการ จะเห็นได้ว่า ทั้ง 4 ประเทศส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์จากการทำเอฟทีเอ
กับไทย โดยดุลการค้าของไทยเกินดุลลดลงต่อเนื่องหลังทำเอฟทีเอ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเร่งพัฒนาศักยภาพในการผลิต คุณภาพและ
มาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ฟิทช์คงอันดับความน่าเชื่อถือ ธ.ก.ส., ธ.อ.ส., ธ.ออมสิน และ ธ.นครหลวงไทย ฟิทช์ เรตติ้งส์ บริษัทจัดอันดับชั้นนำของ
โลก เผยแพร่ผลการพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารภายใต้การดูแลของรัฐ 3 แห่ง ประกอบด้วย ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร,
ธ.อาคารสงเคราะห์ และ ธ.ออมสิน รวมทั้ง ธพ.อีก 1 แห่งคือ ธ.นครหลวงไทย ระบุว่า ยังคงเรทติ้งสนับสนุนธนาคารในความดูแลของรัฐทั้ง
3 แห่งไว้ที่ระดับ “2” ส่วน ธ.นครหลวงไทยยังคงเรทติ้งทุกประเภทไว้ที่ระดับเดิม ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของฟิทช์สะท้อนว่า ธนาคารรัฐทั้ง 3 แห่ง
ซึ่งอยู่ในความดูแลและมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ มีบทบาทดำเนินไปตามนโยบายของรัฐ และมีความเป็นไปได้สูงหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับ
รัฐบาลในฐานะเจ้าของและผู้ให้การสนับสนุนธนาคารทั้ง 3 แห่ง อาจส่งผลกระทบต่อเรทติ้งของธนาคารเหล่านี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสนับสนุนให้ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนปี 50 เกินเป้าหมาย รองเลขาธิการคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์และชิ้นส่วน ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่จะส่งผลให้ยอดขอรับการ
ส่งเสริมการลงทุนในปี 50 นี้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 500,000 ล.บาท โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ต.ค.50) มีมูลค่าการลงทุน
รวมของอุตสาหกรรมประมาณ 148,700 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 49 ประมาณ 36% นอกจากนี้ ในปี 51 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ยานยนต์ และชิ้นส่วน จะยังคงเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญที่บีโอไอมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุน โดยสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและอากรอยู่ในระดับ
ที่สามารถจูงใจผู้ประกอบการให้เข้ามาลงทุน และภายหลังการเลือกตั้งคาดว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติมายื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น
เพราะไทยมีความพร้อมในการเป็นฐานการผลิตทั้งในด้านระบบสาธารณูปโภคและแรงงาน (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. ยอดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยช่วง 10 เดือนแรกปี 50 เพิ่มขึ้น 22% รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยยอดการนำเข้า
สินค้าฟุ่มเฟือย 28 รายการของไทยช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.50) ว่า มีมูลค่ารวม 9,480 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 22% หรือคิดเป็น
331,321 ล.บาท เพิ่มขึ้น 10% โดยสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูงสุด 3 รายการแรก คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมีมูลค่า 2,331 ล.ดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้น 33% เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดมีมูลค่า 1,821 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 21% และผลิตภัณฑ์เวชกรรม-เภสัชกรรมมีมูลค่า 1,432 ล.ดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้น 23% (โลกวันนี้, ข่าวสด)
5. ตลาดบ้านมือสองปี 50 เติบโตชะลอลงจากปีก่อนหน้า ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เรียลตี้ เวิล์ด อัลไลแอนซ์ จำกัด
เปิดเผยว่า ตลาดบ้านมือสองในปีนี้ มีอัตราการเติบโตที่ติดลบจากปีที่ผ่านมา 10-15% เนื่องจากภาวะการชะละการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ที่ได้รับ
ผลกระทบจากภาวะการเมือง การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ทำให้ผู้บริโภค
หันไปซื้อบ้านใหม่มากกว่าบ้านมือสอง ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา ตลาดบ้านมือสองยังคงมีอัตราการขยายตัวต่ำกว่าประมาณการในช่วงต้นปี
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงเดือน ธ.ค.นี้ ตลาดบ้านมือสองจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคที่ชะลอดูสถานการณ์ตลาดและแนวโน้มการเมือง
เศรษฐกิจ ในช่วงก่อนหน้านี้ จะเร่งตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น เนื่องจากช่วงสิ้นปีมาตรการส่งเสริมตลาดบ้านมือสองที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอยู่
จะสิ้นสุดลง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของ Euro zone ในเดือน ต.ค.50 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 5 ธ.ค.50 Eurostat
ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดค้าปลีกในเดือน ต.ค.50 ของ 13 ประเทศซึ่งใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักลดลงร้อยละ 0.7 ต่อเดือน
และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อปี ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.3 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปี ในเวลาเดียวกัน Eurostat
ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวของยอดค้าปลีกในเดือน ก.ย.50 ลงร้อยละ 0.1 เป็นขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อเดือนและร้อยละ 1.5 ต่อปี ทั้งนี้
เป็นผลจากวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงินซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อในตลาดสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจซึ่งคาดว่า
เศรษฐกิจในปีหน้าจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกลดลงในทุกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Euro zone
ลดลงมากสุดถึงร้อยละ 3.3 ต่อเดือน นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีในการ
ประชุมในวันที่ 6 ธ.ค.50 นี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงนี้ได้พุ่งสูงขึ้นก็ตาม โดยนักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ ECB
อาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและค่าเงินยูโรที่สูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ต.ค.50 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ร้อยละ 0.6 และ 3.3 เทียบต่อเดือนและ
ต่อปีตามลำดับ รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 4 ธ.ค.50 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน
ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 และ 3.1 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนพลังงาน อาหารและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น โดยราคาพลังงานในเดือน
ต.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และราคาสินค้าบริโภคที่ไม่คงทน (ซึ่งนับรวมราคาอาหารและเครื่องนุ่งห่ม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อย่างไรก็ตาม
แม้ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาด้านสินเชื่อโลก และภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง แต่ภาวะการส่งออก (ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ
ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ) ที่แข็งแกร่ง ทำให้สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหภาพยุโรปกล่าวคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปี 51 จะขยายตัวร้อยละ 2.1 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปีนี้ ทั้งนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปต้องการ
รักษาระดับเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี สูงสุดใน
รอบ 6 ปีครึ่ง เนื่องจากต้นทุนอาหารและพลังงานพุ่งทะยานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้
ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ (เมื่อวันที่ 26-28 พ.ย.) ทั้งหมด 72 คน คาดการณ์ว่า ธ.กลางสหภาพยุโรปจะยังคงระดับอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ ร้อยละ 4.0 ในการประชุมวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ปีหน้าจะชะลอตัวเล็กน้อย แต่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นมาก รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 5 ธ.ค..50 ธ.กลางเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปีหน้าจะเติบโตร้อยละ 4.7 ซึ่งจะเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 10 แต่
ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.8 ในปีนี้และร้อยละ 5.0 ในปี 49 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงสุด
ในรอบ 4 ปี ไปอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากที่คาดไว้ในปีนี้ที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจชะลอตัวลง ซึ่งความ
ผันผวนหลายประการที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยลบภายนอกจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ แต่มีความเป็นไปได้น้อยที่เศรษฐกิจ
ในประเทศจะหดตัวอย่างมีนัยสำคัญ ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าข้อมูลหลายอย่างดูเหมือนว่าจะสนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
แต่ความผันผวนของตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ไปจนถึงกลางปีหน้า
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า แต่คงต้องดูความชัดเจนและสถานการณ์โดยรวมก่อน
ที่จะตัดสินใจดำเนินการใดๆ (รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ระดับ 53.8 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 4 ธ.ค.50
The Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า Purchasing Managers’ Index (PMI) ของสิงคโปร์
ซึ่งเป็นเครื่องชี้นำอุตสาหกรรมภาคการผลิต ในเดือน พ.ย.50 อยู่ที่ระดับ 53.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 52.9 ในเดือน ต.ค.50 นับเป็นการเพิ่มขึ้น
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ยังคงขยายตัว เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่และผลผลิต
อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ดัชนีอุตสาหกรรมภาคอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิต
สิงคโปร์ อยู่ที่ระดับ 53.7 ลดลงจากระดับ 54.9 ในเดือนก่อนหน้า และสะท้อนว่าขยายตัวในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 สำหรับอุตสาหกรรม
หมวดเทคโนโลยีของสิงคโปร์ยังคงชะลอตัวในปีนี้ เนื่องจากการส่งออกชะลอลง ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 50
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ธ.ค. 50 4 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.841 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6250/33.9587 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 833.34/14.23 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,650/12,750 12,650/12,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.23 83.01 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.89/29.34 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับลด 40 สตางค์เมื่อ 5 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--