ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 จาก 529 ตัวอย่าง ครอบคลุม 35 กลุ่มอุตสาหกรรมว่า ดัชนีฯ
ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 82.3 จากระดับ 81.9 ในเดือนก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 6 เดือน และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจาก
ผู้ประกอบการมีความหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นจากการเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค. ทำให้คาดว่ายอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศ
จะดีขึ้น นอกจากนี้ ตลาดส่งออกสำคัญโดยเฉพาะตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง จีน เป็นต้น ขยายตัวได้ดี ทำให้คาดว่ายอดคำสั่งซื้อและยอดขาย
ในต่างประเทศจะปรับตัวดีตาม ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ในเดือน พ.ย.50 ลดลง 5.78% อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย.50
ผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ทั่วประเทศจำนวน 3,372 ราย ลดลง 207 ราย หรือลดลง 5.78% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยนิติบุคคล 3 อันดับแรกที่มีการจดทะเบียนสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการให้คำปรึกษา
ทางธุรกิจและการจัดการ ทั้งนี้ การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ที่ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการจัดตั้งบริษัทเพื่อรอดูสถานการณ์ด้าน
เศรษฐกิจและความชัดเจนด้านนโยบายของรัฐบาลใหม่ อีกทั้งต้องการจดทะเบียนในช่วงต้นปีหน้าเพื่อสะดวกต่อการทำงบบัญชีประจำปี สำหรับ
การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.50) มีจำนวน 38,730 ราย ลดลง 12.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันปีก่อน ส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกกิจการทั่วประเทศมีจำนวน 1,804 ราย เพิ่มขึ้น 3.14% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น
55 ราย (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
3. ก.คลังอนุมัติให้สถาบันการเงินต่างประเทศ 10 แห่งออกบาทบอนด์ ผอ.สำนักเงินกู้ตลาดเงินทุนต่างประเทศ สำนักงาน
บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ก.คลังโดย สบน. ได้หารือกับ ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออนุมัติให้มีการออก
พธบ.สกุลเงินบาท (บาทบอนด์) โดยสถาบันการเงินต่างประเทศ 10 แห่ง วงเงิน 50,000 ล.บาทนั้น ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันให้มีการออก
พธบ.สกุลเงินบาทในวงเงินดังกล่าวได้ โดย สบน.อยู่ระหว่างเสนอ รมว.คลัง ลงนามให้ความเห็นชอบก่อนมีผลบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ สถาบันการ
เงินต่างประเทศ 10 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารโลก, ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย, Swedish Export Credit Corporation (SEK),
ธนาคารนอร์ดิค (Nordic Investment Bank : NIB), ดอยทช์แบงก์ (Deutsche Bank), สถาบันเครดิตเพื่อการพัฒนาแห่งสหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมนี (KfW), ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC), ซิตี้กรุ๊ป, กองทุนเพื่อการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อม
(Agence Francaise de Development : AFD) ของฝรั่งเศส และ KBN แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยยื่นขอออกบาทบอนด์รายละ 5,000 ล.บาท
และนำเงินที่ได้ไปปล่อยกู้ให้กับบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยที่เป็นบริษัทสัญชาติเดียวกับสถาบันการเงินแห่งนั้น นอกจากนี้ จะนำไป
ปล่อยกู้เพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย สำหรับอายุ พธบ.จะมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (มติชน)
4. ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเชื่อว่าผลประกอบการในปี 51 จะดีขึ้น ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “การคาดการณ์ผลประกอบการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปี 2551” ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อประเมินทิศทาง
ผลประกอบการของเอกชนปี 51 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่า ผลการดำเนินงานจะดีขึ้น เนื่องจากหลังเลือกตั้ง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
จะกลับคืนมา และการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐจะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ขณะเดียวกัน เอกชนได้พัฒนาสินค้าชนิดใหม่ๆ
เข้าสู่ตลาด จะช่วยกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคได้อีกทาง สำหรับแผนการลงทุนในประเทศปี 51 เอกชนส่วนใหญ่มีแผนจะลงทุนเพิ่ม
หากการเมืองหลังการเลือกตั้งมีเสถียรภาพ แต่การลงทุนต่างประเทศ ได้รับคำตอบว่ายังไม่มีแผน แต่หากจะลงทุน ประเทศที่เลือกคือ เวียดนาม
จีน ญี่ปุ่น กัมพูชา และสหรัฐฯ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ยอดการผลิตรถยนต์เดือน ม.ค.-พ.ย.50 เพิ่มขึ้น 7.85% โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เปิดเผยว่า ช่วง 11 เดือนแรกของปี (ม.ค.-พ.ย.50) ยอดการผลิตรถยนต์มีจำนวน 1,182,322 คัน เพิ่มขึ้น 7.85% เช่นเดียวกับการ
ส่งออกรถยนต์ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 623,580 คัน เพิ่มขึ้น 28.82% (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจ สรอ. ในไตรมาสที่ 4 จะเติบโตร้อยละ 0.9 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 50 ผลการสำรวจ
นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ไตรมาสสุดท้ายปีนี้เศรษฐกิจ สรอ. จะชะลอตัวอย่างมากเนื่องจากปัญหา sub-prime ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
สรอ. ทำให้ปีหน้าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ สรอ. จะถดถอยมีความเป็นไปได้สูงถึงร้อยละ 40 นอกจากนั้นยังได้คาดการณ์ว่า ธ.กลาง สรอ.
จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 2 ครั้งครั้งละร้อยละ 0.25 ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่ 2 ปีหน้า ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกปีหน้า
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย สรอ. อยู่ที่ร้อยละ 3.75 เนื่องจากปัญหาดังกล่าว ส่วนคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีหน้าอยู่ที่
ร้อยละ 1.2 และจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ทั้งปี 08 (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ย. ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 50 สำนักงานสถิติ
แห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วอัตราเงินเฟ้อไม่
เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 2.1 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าอัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ
พื้นฐานที่ไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.4 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบปี ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมันในรอบ
1 เดือนที่ผ่านมาสูงขึ้น 3.5 เพนนีต่อลิตร ขณะที่เมื่อเทียบกับปีที่แล้วน้ำมันมีราคาลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อของน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในระดับสูง
ที่สุดในรอบมากกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการสูงขึ้นของราคาแก๊ส และไฟฟ้าลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อ
ปีที่แล้ว โดยเงินเฟ้อของไฟฟ้าและแก๊สอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เดือน ม.ค. 40 อย่างไรก็ตาม ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเดือนที่แล้วเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว (รอยเตอร์)
3. เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.50 จำนวน 6.1 พัน ล.ยูโร เนื่องจากมีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่านำเข้า
รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 18 ธ.ค.50 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค.50 เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าทั้งสิ้น
จำนวน 6.1 พัน ล.ยูโร (8.75 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เทียบต่อปี (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) เพิ่มขึ้นจากจำนวน 2.4 พัน ล.ยูโร
ในปีก่อนหน้า และ 3.7 พัน ล.ยูโรในเดือน ก.ย.50 ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะเกินดุลจำนวน 4.1 พัน ล.ยูโร
ในเดือน ต.ค. เนื่องจากการส่งออกในเดือน ต.ค.50 ขยายตัวร้อยละ 11 เทียบต่อปี ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เทียบต่อปี ทั้งนี้
หากเทียบต่อเดือน เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าจำนวน 4 พัน ล.ยูโร (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว)หลังจากที่เกินดุลจำนวน
3.6 พัน ล.ยูโรในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 อนึ่ง ตัวเลขดุลการค้าของประเทศ
สมาชิกในเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ต.ค.50 ยังไม่สามารถจำแนกเป็นแต่ละประเทศได้ แต่หากพิจารณาตัวเลขดุลการค้าในรอบ 9 เดือนแรก
ปี 50 จะพบว่า ตัวเลขเกินดุลการค้าของอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ประเทศรัสเซียเกินดุลการค้าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ
ปี 49 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 51/52 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 19 ธ.ค. 50 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 51/52 (เริ่มเดือน เม.ย.51) จะ
ขยายตัวร้อยละ 2.0 เนื่องจากความต้องการของภาคธุรกิจในประเทศที่เพิ่มขึ้นภายใต้ความมีเสถียรภาพด้านราคา ส่วน GDP Deflator
ในปีงบประมาณ 51/52 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบมากกว่าทศวรรษ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคโดย
รวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในปีงบประมาณ 50/51 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ธ.ค. 50 18 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.658 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4409/33.7824 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.34969 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 813.90/18.79 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,700/12,800 12,600/12,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 86.33 87.15 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับลด 40 สตางค์เมื่อ 5 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 จาก 529 ตัวอย่าง ครอบคลุม 35 กลุ่มอุตสาหกรรมว่า ดัชนีฯ
ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ระดับ 82.3 จากระดับ 81.9 ในเดือนก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 6 เดือน และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจาก
ผู้ประกอบการมีความหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นจากการเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค. ทำให้คาดว่ายอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศ
จะดีขึ้น นอกจากนี้ ตลาดส่งออกสำคัญโดยเฉพาะตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง จีน เป็นต้น ขยายตัวได้ดี ทำให้คาดว่ายอดคำสั่งซื้อและยอดขาย
ในต่างประเทศจะปรับตัวดีตาม ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ในเดือน พ.ย.50 ลดลง 5.78% อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย.50
ผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ทั่วประเทศจำนวน 3,372 ราย ลดลง 207 ราย หรือลดลง 5.78% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน โดยนิติบุคคล 3 อันดับแรกที่มีการจดทะเบียนสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการให้คำปรึกษา
ทางธุรกิจและการจัดการ ทั้งนี้ การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ที่ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการจัดตั้งบริษัทเพื่อรอดูสถานการณ์ด้าน
เศรษฐกิจและความชัดเจนด้านนโยบายของรัฐบาลใหม่ อีกทั้งต้องการจดทะเบียนในช่วงต้นปีหน้าเพื่อสะดวกต่อการทำงบบัญชีประจำปี สำหรับ
การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.50) มีจำนวน 38,730 ราย ลดลง 12.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันปีก่อน ส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกกิจการทั่วประเทศมีจำนวน 1,804 ราย เพิ่มขึ้น 3.14% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น
55 ราย (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
3. ก.คลังอนุมัติให้สถาบันการเงินต่างประเทศ 10 แห่งออกบาทบอนด์ ผอ.สำนักเงินกู้ตลาดเงินทุนต่างประเทศ สำนักงาน
บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ก.คลังโดย สบน. ได้หารือกับ ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออนุมัติให้มีการออก
พธบ.สกุลเงินบาท (บาทบอนด์) โดยสถาบันการเงินต่างประเทศ 10 แห่ง วงเงิน 50,000 ล.บาทนั้น ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันให้มีการออก
พธบ.สกุลเงินบาทในวงเงินดังกล่าวได้ โดย สบน.อยู่ระหว่างเสนอ รมว.คลัง ลงนามให้ความเห็นชอบก่อนมีผลบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ สถาบันการ
เงินต่างประเทศ 10 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารโลก, ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย, Swedish Export Credit Corporation (SEK),
ธนาคารนอร์ดิค (Nordic Investment Bank : NIB), ดอยทช์แบงก์ (Deutsche Bank), สถาบันเครดิตเพื่อการพัฒนาแห่งสหพันธ์
สาธารณรัฐเยอรมนี (KfW), ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC), ซิตี้กรุ๊ป, กองทุนเพื่อการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อม
(Agence Francaise de Development : AFD) ของฝรั่งเศส และ KBN แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยยื่นขอออกบาทบอนด์รายละ 5,000 ล.บาท
และนำเงินที่ได้ไปปล่อยกู้ให้กับบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยที่เป็นบริษัทสัญชาติเดียวกับสถาบันการเงินแห่งนั้น นอกจากนี้ จะนำไป
ปล่อยกู้เพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย สำหรับอายุ พธบ.จะมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (มติชน)
4. ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเชื่อว่าผลประกอบการในปี 51 จะดีขึ้น ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง “การคาดการณ์ผลประกอบการของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปี 2551” ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อประเมินทิศทาง
ผลประกอบการของเอกชนปี 51 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่า ผลการดำเนินงานจะดีขึ้น เนื่องจากหลังเลือกตั้ง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
จะกลับคืนมา และการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐจะกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ขณะเดียวกัน เอกชนได้พัฒนาสินค้าชนิดใหม่ๆ
เข้าสู่ตลาด จะช่วยกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคได้อีกทาง สำหรับแผนการลงทุนในประเทศปี 51 เอกชนส่วนใหญ่มีแผนจะลงทุนเพิ่ม
หากการเมืองหลังการเลือกตั้งมีเสถียรภาพ แต่การลงทุนต่างประเทศ ได้รับคำตอบว่ายังไม่มีแผน แต่หากจะลงทุน ประเทศที่เลือกคือ เวียดนาม
จีน ญี่ปุ่น กัมพูชา และสหรัฐฯ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
5. ยอดการผลิตรถยนต์เดือน ม.ค.-พ.ย.50 เพิ่มขึ้น 7.85% โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เปิดเผยว่า ช่วง 11 เดือนแรกของปี (ม.ค.-พ.ย.50) ยอดการผลิตรถยนต์มีจำนวน 1,182,322 คัน เพิ่มขึ้น 7.85% เช่นเดียวกับการ
ส่งออกรถยนต์ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 623,580 คัน เพิ่มขึ้น 28.82% (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าเศรษฐกิจ สรอ. ในไตรมาสที่ 4 จะเติบโตร้อยละ 0.9 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 50 ผลการสำรวจ
นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดว่า ไตรมาสสุดท้ายปีนี้เศรษฐกิจ สรอ. จะชะลอตัวอย่างมากเนื่องจากปัญหา sub-prime ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
สรอ. ทำให้ปีหน้าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ สรอ. จะถดถอยมีความเป็นไปได้สูงถึงร้อยละ 40 นอกจากนั้นยังได้คาดการณ์ว่า ธ.กลาง สรอ.
จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 2 ครั้งครั้งละร้อยละ 0.25 ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่ 2 ปีหน้า ส่งผลให้ในช่วงครึ่งแรกปีหน้า
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย สรอ. อยู่ที่ร้อยละ 3.75 เนื่องจากปัญหาดังกล่าว ส่วนคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีหน้าอยู่ที่
ร้อยละ 1.2 และจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ทั้งปี 08 (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ย. ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 50 สำนักงานสถิติ
แห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วอัตราเงินเฟ้อไม่
เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 2.1 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าอัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ
พื้นฐานที่ไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.4 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบปี ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมันในรอบ
1 เดือนที่ผ่านมาสูงขึ้น 3.5 เพนนีต่อลิตร ขณะที่เมื่อเทียบกับปีที่แล้วน้ำมันมีราคาลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อของน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในระดับสูง
ที่สุดในรอบมากกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการสูงขึ้นของราคาแก๊ส และไฟฟ้าลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อ
ปีที่แล้ว โดยเงินเฟ้อของไฟฟ้าและแก๊สอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เดือน ม.ค. 40 อย่างไรก็ตาม ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เมื่อเดือนที่แล้วเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว (รอยเตอร์)
3. เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.50 จำนวน 6.1 พัน ล.ยูโร เนื่องจากมีการส่งออกเพิ่มขึ้นมากกว่านำเข้า
รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 18 ธ.ค.50 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค.50 เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าทั้งสิ้น
จำนวน 6.1 พัน ล.ยูโร (8.75 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เทียบต่อปี (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) เพิ่มขึ้นจากจำนวน 2.4 พัน ล.ยูโร
ในปีก่อนหน้า และ 3.7 พัน ล.ยูโรในเดือน ก.ย.50 ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะเกินดุลจำนวน 4.1 พัน ล.ยูโร
ในเดือน ต.ค. เนื่องจากการส่งออกในเดือน ต.ค.50 ขยายตัวร้อยละ 11 เทียบต่อปี ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เทียบต่อปี ทั้งนี้
หากเทียบต่อเดือน เขตเศรษฐกิจยุโรปเกินดุลการค้าจำนวน 4 พัน ล.ยูโร (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว)หลังจากที่เกินดุลจำนวน
3.6 พัน ล.ยูโรในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 อนึ่ง ตัวเลขดุลการค้าของประเทศ
สมาชิกในเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ต.ค.50 ยังไม่สามารถจำแนกเป็นแต่ละประเทศได้ แต่หากพิจารณาตัวเลขดุลการค้าในรอบ 9 เดือนแรก
ปี 50 จะพบว่า ตัวเลขเกินดุลการค้าของอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ประเทศรัสเซียเกินดุลการค้าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ
ปี 49 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 51/52 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 19 ธ.ค. 50 รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 51/52 (เริ่มเดือน เม.ย.51) จะ
ขยายตัวร้อยละ 2.0 เนื่องจากความต้องการของภาคธุรกิจในประเทศที่เพิ่มขึ้นภายใต้ความมีเสถียรภาพด้านราคา ส่วน GDP Deflator
ในปีงบประมาณ 51/52 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบมากกว่าทศวรรษ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคโดย
รวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในปีงบประมาณ 50/51 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ธ.ค. 50 18 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.658 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4409/33.7824 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.34969 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 813.90/18.79 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,700/12,800 12,600/12,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 86.33 87.15 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับลด 40 สตางค์เมื่อ 5 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--