ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย แล้ว รายงานข่าวจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ทาง สนช.
ได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว โดยหลังจากนี้จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลง
พระปรมาภิไธย และหลังจากนั้นจะใช้เวลา 180 วัน ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ธนาคาร
แห่งประเทศไทยยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในบางประเด็น โดยเฉพาะกรณีที่กำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสามารถ
เข้าช่วยแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินได้ใน 4 ปีแรก หลังจากนั้น จะปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯ ลง เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันคุ้มครองเงินฝากภายใต้มติของ
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ การเสนอร่างแก้ไขกฎหมายการเงินในส่วนของ ธปท.ที่เสนอไปทั้งสิ้น
4 ฉบับ ได้ผ่านร่างการพิจารณาแล้ว 3 ฉบับ ประกอบด้วย พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก และล่าสุด พ.ร.บ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, มติชน)
2. ยอดหนี้เอ็นพีแอลของระบบ ธพ.ไทยในไตรมาส 3 ปี 50 ลดลง 11,142 ล้านบาทจากไตรมาสก่อนหน้า ฝ่ายนโยบายสถาบัน
การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบ ธพ.ไทย ในช่วงไตรมาส 3 ปี 50
พบว่า ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ ธพ.และบริษัทปล่อยสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ปล่อยสินเชื่อใหม่ลดลง ประกอบ
กับมีการติดตามทวงถามหนี้ที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะเดียวกัน พบว่ากำลังใช้จ่ายและชำระหนี้ของภาคเอกชนในไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น โดยใน
ไตรมาส 3 หนี้เอ็นพีแอลของระบบ ธพ.เพิ่มขึ้นเพียง 77,395 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ที่มีหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นถึง 98,437 ล้านบาท
หรือลดลง 11,142 ล้านบาท สำหรับภาคธุรกิจที่มีการเพิ่มขึ้นของหนี้เอ็นพีแอลมากที่สุด คือ ภาคอุตสาหรกรรม ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อรายใหญ่โดย
มีหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 28,113 ล้านบาท (แนวหน้า)
3. การส่งออกเดือน พ.ย.50 มีมูลค่า 1.47 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออก
เดือน พ.ย.50 มีมูลค่า 14,720 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือขยายตัวร้อยละ 24.4 การนำเข้ามูลค่า
12,815.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 17.4 แต่เทียบกับเดือน ต.ค.ลดลงร้อยละ 1.5 ทำให้เดือน พ.ย.ไทยเกินดุลการค้า
1,904.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการส่งออก 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า 139,211 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 นำเข้า
มูลค่า 127,969.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 8.7 ทำให้ 11 เดือนแรกปีนี้เกินดุลการค้า 11,241.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. คาดว่าตราสารหนี้ไทยปี 51 ขยายตัวร้อยละ 8 กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มของตลาด
ตราสารหนี้ในปี 51 ว่า คาดว่าตราสารหนี้ทุกประเภทจะมีทั้งสิ้น 7.26 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากปี 49 ที่มีการออกตราสารหนี้รวม
6.75 ล้านล้านบาท โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงมีการออกตราสารหนี้ใหม่มากที่สุด ขณะที่ภาคเอกชนคาดว่าจะมีการ
ออกหุ้นประมาณ 2 แสนล้านบาท และเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น (Commercial Paper) 1.6 ล้านล้านบาท ขณะที่ต่างประเทศคาดว่าจะออกหุ้นกู้
ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท จากที่ยื่นขอวงเงินไว้ 5 หมื่นล้านบาท (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
5. คาดว่าแนวโน้มผลประกอบการของ บจ.ในตลาดหุ้นไทยปี 51 จะขยายตัวร้อยละ 14-15 ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหุ้นไทยปีหน้าจะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน โดยคาดการณ์
กำไรเฉลี่ย บจ.จะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 14-15 โดยถือว่าเป็นภาพรวมที่ดี แต่การลงทุนนักลงทุนควรจะพิจารณาเป็นรายบริษัทอย่างรอบคอบ
ประกอบด้วย (มติชน, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเฉลี่ยต่อ 4 สัปดาห์ของ สรอ.เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีในช่วงสัปดาห์
สิ้นสุดวันที่ 15 ธ.ค.50 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 ธ.ค.50 กรมแรงงานของ สรอ.รายงานจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ
สรอ.ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ธ.ค.50 มีจำนวน 346,000 คน เพิ่มขึ้นจำนวน 12,000 คนจากช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า (8 ธ.ค.50) ซึ่งมี
จำนวน 334,000 คน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 335,000 คน ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยต่อ 4 สัปดาห์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่จำนวน 343,000 คน สูงสุด
นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ซึ่งมีจำนวน 358,250 คน โดยค่าเฉลี่ยดังกล่าวในสัปดาห์ก่อนหน้า (8 ธ.ค.50) อยู่ที่ 338,750 คน นอกจากนี้
ยังมีรายงานว่าคนที่ยังว่างงานอยู่หลังจากยื่นขอสวัสดิการครั้งแรกในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ธ.ค.50 ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดมีจำนวน 2.65 ล้านคน
เพิ่มขึ้น 12,000 คนจากช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 2.60 ล้านคน โดยค่าเฉลี่ยต่อ 4 สัปดาห์ของ
สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ธ.ค.50 เพิ่มขึ้น 23,000 คนมีจำนวน 2.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน (รอยเตอร์)
2. ไตรมาสที่ 3 ปี 50 จีดีพีของ สรอ.ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.9 สูงสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 ธ.ค.50
ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 50 ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.9 ต่อปี หลังจากขยายตัว
ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อน นับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 46 ซึ่งจีดีพีอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.5 โดยได้รับ
แรงสนับสนุนหลักจากการส่งออกที่แข็งแกร่งและการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างแสดงความเห็นว่า ในช่วง
ไตรมาสสุดท้ายของปี จีดีพีอาจขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 1 หรือต่ำกว่า อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของตลาดบ้าน ประกอบกับผลกระทบจาก
ปัญหาด้านสินเชื่อ โดยการใช้จ่ายเพื่อการซื้อบ้านใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ลดลงถึงร้อยละ 20.5 ลดลงในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 16 ปี
นับตั้งแต่ปี 34 ที่การใช้จ่ายลดลงร้อยละ 21.7 (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีในเดือน ม.ค.51 มีแนวโน้มดีขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 20 ธ.ค.50 ดัชนีชี้วัด
แนวโน้มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีสำหรับเดือน ม.ค.51 จากผลสำรวจความเห็นของชาวเยอรมนีประมาณ 2,000 คนเพิ่มขึ้นหลังจาก
ลดลงต่อเนื่อง 5 เดือนติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 4.5 จากระดับ 4.4 ในเดือน ธ.ค.50 สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.0 โดยคาดว่า
การจับจ่ายซื้อของในช่วงเทศกาลคริสต์มาสในเดือน ธ.ค.50 ช่วยให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้น ทั้งนี้ ยอดขายสินค้าในช่วงเทศกาลคริสต์มาส
คิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ของยอดค้าปลีกทั้งปีในเยอรมนี แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับเศรษฐกิจกลับลดลงมาอยู่
ที่ระดับ 23.6 จากระดับ 24.1 ในเดือน ธ.ค.50 โดยเป็นผลมาจากความกังวลว่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและความ
วุ่นวายในตลาดการเงินจะส่งผลเสียต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกในเยอรมนีในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประสบปัญหาในการเพิ่ม
ยอดขายเนื่องจากคนเยอรมนีมีแนวโน้มที่จะออมเพิ่มขึ้น โดยอัตราการออมในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลาง
ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมาที่ระดับสูงกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ จากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม
นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.1
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปีหน้าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0 โดยมีการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเป็นตัวขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 51 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 21 ธ.ค.50 สำนักงานวิจัยประจำ
People’s Bank of China เปิดเผยรายงานการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของจีนในปี 51 ว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.5 ลดลง
จากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 50 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.7 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจคาดว่าจะขยายตัวลดลงที่ระดับ
ร้อยละ 10.9 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 51 คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 5.9 ลดลงจากช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 ซึ่งคาดว่า
จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.2 ทั้งนี้ จากการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ทำให้ปริมาณการส่งออกลดลง ประกอบกับการเข้มงวดด้านการส่งออกและนโยบาย
ด้านการเงิน จะเป็นปัจจัยเสริมให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวในระดับที่เหมาะสม อนึ่ง ทางการจีนได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 6
ในรอบปีนี้ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน อีกทั้งเพื่อป้องกันภาวะเศรษฐกิจไม่ให้
ขยายตัวร้อนแรงจนเกินไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ธ.ค. 50 20 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.659 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4494/33.7844 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.35281 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.71/13.36 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,700/12,800 12,700/12,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 92.30 86.33 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับลด 40 สตางค์เมื่อ 5 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย แล้ว รายงานข่าวจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ทาง สนช.
ได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว โดยหลังจากนี้จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลง
พระปรมาภิไธย และหลังจากนั้นจะใช้เวลา 180 วัน ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ธนาคาร
แห่งประเทศไทยยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในบางประเด็น โดยเฉพาะกรณีที่กำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสามารถ
เข้าช่วยแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินได้ใน 4 ปีแรก หลังจากนั้น จะปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯ ลง เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันคุ้มครองเงินฝากภายใต้มติของ
คณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทั้งนี้ การเสนอร่างแก้ไขกฎหมายการเงินในส่วนของ ธปท.ที่เสนอไปทั้งสิ้น
4 ฉบับ ได้ผ่านร่างการพิจารณาแล้ว 3 ฉบับ ประกอบด้วย พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก และล่าสุด พ.ร.บ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, มติชน)
2. ยอดหนี้เอ็นพีแอลของระบบ ธพ.ไทยในไตรมาส 3 ปี 50 ลดลง 11,142 ล้านบาทจากไตรมาสก่อนหน้า ฝ่ายนโยบายสถาบัน
การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบ ธพ.ไทย ในช่วงไตรมาส 3 ปี 50
พบว่า ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ ธพ.และบริษัทปล่อยสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ปล่อยสินเชื่อใหม่ลดลง ประกอบ
กับมีการติดตามทวงถามหนี้ที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะเดียวกัน พบว่ากำลังใช้จ่ายและชำระหนี้ของภาคเอกชนในไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้น โดยใน
ไตรมาส 3 หนี้เอ็นพีแอลของระบบ ธพ.เพิ่มขึ้นเพียง 77,395 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ที่มีหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นถึง 98,437 ล้านบาท
หรือลดลง 11,142 ล้านบาท สำหรับภาคธุรกิจที่มีการเพิ่มขึ้นของหนี้เอ็นพีแอลมากที่สุด คือ ภาคอุตสาหรกรรม ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อรายใหญ่โดย
มีหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 28,113 ล้านบาท (แนวหน้า)
3. การส่งออกเดือน พ.ย.50 มีมูลค่า 1.47 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออก
เดือน พ.ย.50 มีมูลค่า 14,720 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หรือขยายตัวร้อยละ 24.4 การนำเข้ามูลค่า
12,815.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 17.4 แต่เทียบกับเดือน ต.ค.ลดลงร้อยละ 1.5 ทำให้เดือน พ.ย.ไทยเกินดุลการค้า
1,904.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการส่งออก 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า 139,211 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 นำเข้า
มูลค่า 127,969.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 8.7 ทำให้ 11 เดือนแรกปีนี้เกินดุลการค้า 11,241.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. คาดว่าตราสารหนี้ไทยปี 51 ขยายตัวร้อยละ 8 กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มของตลาด
ตราสารหนี้ในปี 51 ว่า คาดว่าตราสารหนี้ทุกประเภทจะมีทั้งสิ้น 7.26 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากปี 49 ที่มีการออกตราสารหนี้รวม
6.75 ล้านล้านบาท โดยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงมีการออกตราสารหนี้ใหม่มากที่สุด ขณะที่ภาคเอกชนคาดว่าจะมีการ
ออกหุ้นประมาณ 2 แสนล้านบาท และเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น (Commercial Paper) 1.6 ล้านล้านบาท ขณะที่ต่างประเทศคาดว่าจะออกหุ้นกู้
ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท จากที่ยื่นขอวงเงินไว้ 5 หมื่นล้านบาท (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
5. คาดว่าแนวโน้มผลประกอบการของ บจ.ในตลาดหุ้นไทยปี 51 จะขยายตัวร้อยละ 14-15 ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหุ้นไทยปีหน้าจะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน โดยคาดการณ์
กำไรเฉลี่ย บจ.จะเติบโตอยู่ที่ระดับร้อยละ 14-15 โดยถือว่าเป็นภาพรวมที่ดี แต่การลงทุนนักลงทุนควรจะพิจารณาเป็นรายบริษัทอย่างรอบคอบ
ประกอบด้วย (มติชน, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเฉลี่ยต่อ 4 สัปดาห์ของ สรอ.เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีในช่วงสัปดาห์
สิ้นสุดวันที่ 15 ธ.ค.50 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 ธ.ค.50 กรมแรงงานของ สรอ.รายงานจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ
สรอ.ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ธ.ค.50 มีจำนวน 346,000 คน เพิ่มขึ้นจำนวน 12,000 คนจากช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า (8 ธ.ค.50) ซึ่งมี
จำนวน 334,000 คน สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 335,000 คน ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยต่อ 4 สัปดาห์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่จำนวน 343,000 คน สูงสุด
นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ซึ่งมีจำนวน 358,250 คน โดยค่าเฉลี่ยดังกล่าวในสัปดาห์ก่อนหน้า (8 ธ.ค.50) อยู่ที่ 338,750 คน นอกจากนี้
ยังมีรายงานว่าคนที่ยังว่างงานอยู่หลังจากยื่นขอสวัสดิการครั้งแรกในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ธ.ค.50 ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดมีจำนวน 2.65 ล้านคน
เพิ่มขึ้น 12,000 คนจากช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 2.60 ล้านคน โดยค่าเฉลี่ยต่อ 4 สัปดาห์ของ
สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ธ.ค.50 เพิ่มขึ้น 23,000 คนมีจำนวน 2.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8 ติดต่อกัน (รอยเตอร์)
2. ไตรมาสที่ 3 ปี 50 จีดีพีของ สรอ.ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.9 สูงสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 ธ.ค.50
ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 50 ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.9 ต่อปี หลังจากขยายตัว
ร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อน นับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 46 ซึ่งจีดีพีอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.5 โดยได้รับ
แรงสนับสนุนหลักจากการส่งออกที่แข็งแกร่งและการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างแสดงความเห็นว่า ในช่วง
ไตรมาสสุดท้ายของปี จีดีพีอาจขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 1 หรือต่ำกว่า อันเนื่องมาจากการชะลอตัวของตลาดบ้าน ประกอบกับผลกระทบจาก
ปัญหาด้านสินเชื่อ โดยการใช้จ่ายเพื่อการซื้อบ้านใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ลดลงถึงร้อยละ 20.5 ลดลงในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 16 ปี
นับตั้งแต่ปี 34 ที่การใช้จ่ายลดลงร้อยละ 21.7 (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีในเดือน ม.ค.51 มีแนวโน้มดีขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 20 ธ.ค.50 ดัชนีชี้วัด
แนวโน้มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีสำหรับเดือน ม.ค.51 จากผลสำรวจความเห็นของชาวเยอรมนีประมาณ 2,000 คนเพิ่มขึ้นหลังจาก
ลดลงต่อเนื่อง 5 เดือนติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 4.5 จากระดับ 4.4 ในเดือน ธ.ค.50 สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.0 โดยคาดว่า
การจับจ่ายซื้อของในช่วงเทศกาลคริสต์มาสในเดือน ธ.ค.50 ช่วยให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้น ทั้งนี้ ยอดขายสินค้าในช่วงเทศกาลคริสต์มาส
คิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 5 ของยอดค้าปลีกทั้งปีในเยอรมนี แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับเศรษฐกิจกลับลดลงมาอยู่
ที่ระดับ 23.6 จากระดับ 24.1 ในเดือน ธ.ค.50 โดยเป็นผลมาจากความกังวลว่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและความ
วุ่นวายในตลาดการเงินจะส่งผลเสียต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกในเยอรมนีในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประสบปัญหาในการเพิ่ม
ยอดขายเนื่องจากคนเยอรมนีมีแนวโน้มที่จะออมเพิ่มขึ้น โดยอัตราการออมในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลาง
ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมาที่ระดับสูงกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ จากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม
นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.1
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปีหน้าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0 โดยมีการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเป็นตัวขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 51 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 21 ธ.ค.50 สำนักงานวิจัยประจำ
People’s Bank of China เปิดเผยรายงานการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของจีนในปี 51 ว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.5 ลดลง
จากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 50 ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.7 ขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจคาดว่าจะขยายตัวลดลงที่ระดับ
ร้อยละ 10.9 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปี 51 คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 5.9 ลดลงจากช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 ซึ่งคาดว่า
จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.2 ทั้งนี้ จากการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้น ทำให้ปริมาณการส่งออกลดลง ประกอบกับการเข้มงวดด้านการส่งออกและนโยบาย
ด้านการเงิน จะเป็นปัจจัยเสริมให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวในระดับที่เหมาะสม อนึ่ง ทางการจีนได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 6
ในรอบปีนี้ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพื่อชะลอภาวะเงินเฟ้อซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน อีกทั้งเพื่อป้องกันภาวะเศรษฐกิจไม่ให้
ขยายตัวร้อนแรงจนเกินไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ธ.ค. 50 20 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.659 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4494/33.7844 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.35281 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.71/13.36 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,700/12,800 12,700/12,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 92.30 86.33 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับลด 40 สตางค์เมื่อ 5 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--