ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.คาดการณ์ว่าอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายปี 51 ไว้ที่ระดับเดิม เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหลัก
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีความกังวลปัญหาเงินเฟ้อในปี 51 ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายคงไม่ลดลง
ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือน ธ.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน พธบ. (อาร์/พี) ระยะ 1 วัน (ดอกเบี้ยนโยบาย)
ไว้ที่ 3.25% ถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ติดต่อกันตั้งแต่เดือน ก.ค. เนื่องจากเป็นห่วงปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับ
เพิ่มขึ้น หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนี้ลงมา 5 ครั้งแล้วในปีนี้ ส่วนในปี 51 ธปท.ยังคงจะดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบที่วางไว้ เนื่องจาก
จะช่วยให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์ต้นทุนของธุรกิจในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม ธปท. กำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานไว้ที่ไม่เกิน 0-3.5%
ขณะที่คาดการณ์ปี 51 เงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 1.5-2.8% ด้านการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ได้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นแล้วในไตรมาส 3
ที่ผ่านมา แต่ต้องจับตาปัจจัยดังกล่าวในปีหน้าว่าจะมีทิศทางอย่างไร รวมถึงปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และประเทศที่พัฒนาแล้ว ว่า
จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด (ข่าวสด 22, กรุงเทพธุรกิจ 22, ผู้จัดการรายวัน 22-23, ไทยโพสต์ 23)
2. ธปท.รายงานผลจากมาตรการกันสำรอง 30% สะท้อนความสามารถในการดูแลการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน รายงานข่าว
จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท.ได้ออกมาตรการดำรงเงินสำรองสำหรับเงินตราต่างประเทศที่นำเข้ามาแลก
เงินบาทในประเทศไทยในสัดส่วน 30% (มาตรการกันสำรอง) เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมาตรการมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.49
ที่ผ่านมา พบว่า มียอดคงค้างของเงินทุนนำเข้าที่เข้าข่ายต้องกันสำรองจำนวนทั้งสิ้น 794 ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยเงินในส่วนที่ถูกกันไว้ 30%
นั้น คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 238 ล.ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี ในส่วนของนักลงทุนที่ต้องการนำเงินออกก่อนครบกำหนดหนึ่งปี ทำให้ต้องเสียค่า
ปรับตามข้อกำหนดของมาตรการเป็นสัดส่วน 10% คิดเป็นจำนวนเงิน 256,674 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.03% ของเงินทุน
ที่เข้าข่ายกันสำรองทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก สะท้อนว่ามาตรการดังกล่าวได้ผลตามที่ ธปท.ต้องการ เนื่องจากสามารถดูแลให้เงินทุน
ที่เข้ามา ไม่ได้เป็นเพียงแค่เงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ดังเช่นช่วงก่อนที่ ธปท.
จะมีมาตรการควบคุม (มติชน, ไทยโพสต์)
3. นักวิชาการชี้แนวโน้มค่าเงินบาทปี 51 จะเคลื่อนไหวที่ระดับ 32-33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. สำนักข่าวรอยเตอร์ เปิดเผย
ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารโลก
กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ บล.ไทยพาณิชย์ ถึงทิศทางค่าเงินบาทในปี 51 โดยสรุปว่ายังมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องจากปีนี้ และจะเผชิญกับความผันผวน
ขึ้นลงเป็นระยะ โดยประเมินเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32-33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากปัจจัยดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่า ปัญหาสินเชื่อ
ด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพร์ม) ของสหรัฐฯ ซึ่งยังคงยืดเยื้อ การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างชาติ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
อย่างต่อเนื่องของไทย (กรุงเทพธุรกิจ 22)
4. สศค.ประเมินอัตราเงินเฟ้อปี 51 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 4% สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินอัตราเงินเฟ้อในปี 51
คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.2% เป็น 4.0% ต่อปี เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุน
สินค้าเพิ่มขึ้น และเพิ่มแรงกดดันต่อราคาสินค้า ประกอบกับการปรับขึ้นค่าจ้างทั้งประเทศ ซึ่งถือเป็นต้นทุนสำคัญ จะส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปปรับตัว
สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทยังแข็งค่าและการบริหารจัดการราคาสินค้าของ ก.พาณิชย์ จะช่วยลดผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อได้ระดับหนึ่ง
(กรุงเทพธุรกิจ 24)
5. การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยของไทยในเดือน ม.ค.-พ.ย.50 ขยายตัว 25% เทียบต่อปี รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผย
ถึงสถิติการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยจำนวนทั้งสิ้น 28 รายการของไทยในช่วง 11 เดือนแรกปี 50 (ม.ค.-พ.ย.) ว่า มีมูลค่าทั้งสิ้น
10,683 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 25% หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 372,535 ล.บาท ขยายตัว 13%
สำหรับสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูงสุด 3 รายการแรก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขยายตัวเพิ่มขึ้น 37% เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้น 22%
และผลิตภัณฑ์เวชกรรมเพิ่มขึ้น 24.5% (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จีนจะขยายการลงทุนในต่างประเทศในปี 51 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 50 ทางการจีนเปิดเผยว่า เพื่อเป็น
การผ่อนคลายปัญหาดุลการชำระเงินของประเทศที่เกินดุลเป็นจำนวนมหาศาลและส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินหยวน ทางการจีนโดย Qualified
Domestic International Investor (QDII) จึงได้อนุญาตให้กิจการ และสถาบันการเงินต่างๆ สามารถลงทุนในต่างประเทศในปีหน้า
ได้เป็นจำนวน 20 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สำหรับ 4 โบรกเกอร์ และอนุญาตวงเงินลงทุนจำนวน 42.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สำหรับ ธพ.
กองทุนรวม และบริษัทประกันเพื่อลงทุนในพอร์ทการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้กิจการต่างๆ ในจีนมีเป้าหมายที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ
รวมทั้งเร่งที่จะสำรวจการลงทุนในตลาดโลกด้วย โดยเงื่อนไขดังกล่าวที่เกิดขึ้นนาย Wei Benhua ประธาน State Administration of
Foreign Exchange (SAFE) กล่าวว่าจะทำให้ปัญหาดุลการชำระเงินของจีนผ่อนคลายลงได้ในปีหน้า และ SAFE จะดำเนินการต่อไปเพื่อ
ที่จะทำให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของจีนมีความลึกขึ้น และช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนดีขึ้น รวมทั้งการขยายการลงทุนในต่างประเทศ
ของกิจการที่ลงทุนด้านอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามปัจจุบัน ธพ. ต่างๆ สามารถที่จะซื้อหุ้นในฮ่องกง อังกฤษ ได้ และยังมีเป้าหมายที่จะขยาย
ไปยังที่อื่นๆเช่น นิวยอร์ก แฟร้งค์เฟิร์ต และสิงคโปร์ในเร็ววันนี้ (รอยเตอร์)
2. ในไตรมาสที่ 4 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นลดลง รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 50
ผลการสำรวจผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นชี้ว่า ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะธุรกิจ
ลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และปัญหาความยุ่งยากในตลาดการเงินที่ได้รับผลกระทบจากสินเชื่อด้อยคุณภาพใน
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ Business Survey Index — BSI ที่สำรวจความ
เชื่อมั่นของผู้ประกอบการในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ลดลงอยู่ที่ +5.2 จาก + 7.7 ในไตรมาสที่ 3 โดยกิจการคาดว่าการใช้จ่ายลงทุนใน
งบการเงินปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 51 จะลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสำรวจครั้งก่อน (รอยเตอร์)
3.ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ในไตรมาสสุดท้ายลดลงจากไตรมาสก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 24 ธ.ค.50 ดัชนีชี้วัด
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้จากผลสำรวจความเห็นของชาวเกาหลี 2,500 ครัวเรือนทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 3 — 14 ธ.ค.50
โดย ธ.กลางเกาหลีใต้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 106 จากระดับ 112 ในไตรมาสก่อนซึ่งเป็นระดับสูงสุด 5 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 45 และนับ
เป็นการลดลงครั้งแรกหลังจากเพิ่มขึ้น 4 ไตรมาสติดต่อกัน โดยดัชนีดังกล่าวเป็นผลสรุปของ 6 ดัชนีย่อยซึ่งสำรวจความเห็นของผู้บริโภคต่อ
มาตรฐานการครองชีพในปัจจุบันและอนาคต รายได้ในอนาคตและแผนการใช้จ่าย และภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและในอนาคต รายงาน
ดังกล่าวสร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะได้ผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ. แต่อย่างไรก็ดี ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียจะขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีในปีหน้าจากการฟื้นตัวของ
ความต้องการในประเทศและการส่งออก (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อปีสูงสุดในรอบ 25 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
24 ธ.ค.50 อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อปีในเดือน พ.ย.50 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.25 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี
ในเดือนก่อน โดยรัฐบาลได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปีหน้าเพิ่มขึ้นเป็นระหว่างร้อยละ 3.5 — 4.5 ต่อปี โดยคาดว่าในต้นปีหน้า
อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดที่ร้อยละ 5 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนอกจากเป็นผลจากราคาอาหารและน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นซึ่งเป็น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้วยังเป็นผลจากราคาบ้านที่สูงขึ้นด้วย โดยราคาอาหารซึ่งมีสัดส่วนมากสุดในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 5.2 ในขณะที่ราคาบ้านในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบต่อปี ทั้งนี้ ธ.กลางสิงคโปร์ได้พยายามลดผลกระทบของราคา
อาหารและน้ำมันโดยการปล่อยให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นเพื่อให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกลง ในขณะที่ไม่สามารถทำอะไรได้มากนักกับ
ราคาบ้านนอกจากการปล่อยบ้านในทำเลใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะยังไม่มีผลให้ราคาบ้านในตลาดลดลงทันที (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ธ.ค. 50 21 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.697 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4780/33.8053 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.36922 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 813.60/13.10 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,800/12,900 12,700/12,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.06 85.11 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับลด 40 สตางค์เมื่อ 5 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.คาดการณ์ว่าอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายปี 51 ไว้ที่ระดับเดิม เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหลัก
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีความกังวลปัญหาเงินเฟ้อในปี 51 ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายคงไม่ลดลง
ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือน ธ.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน พธบ. (อาร์/พี) ระยะ 1 วัน (ดอกเบี้ยนโยบาย)
ไว้ที่ 3.25% ถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ติดต่อกันตั้งแต่เดือน ก.ค. เนื่องจากเป็นห่วงปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับ
เพิ่มขึ้น หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนี้ลงมา 5 ครั้งแล้วในปีนี้ ส่วนในปี 51 ธปท.ยังคงจะดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบที่วางไว้ เนื่องจาก
จะช่วยให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์ต้นทุนของธุรกิจในอนาคตได้ อย่างไรก็ตาม ธปท. กำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานไว้ที่ไม่เกิน 0-3.5%
ขณะที่คาดการณ์ปี 51 เงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 1.5-2.8% ด้านการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน ได้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นแล้วในไตรมาส 3
ที่ผ่านมา แต่ต้องจับตาปัจจัยดังกล่าวในปีหน้าว่าจะมีทิศทางอย่างไร รวมถึงปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และประเทศที่พัฒนาแล้ว ว่า
จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใด (ข่าวสด 22, กรุงเทพธุรกิจ 22, ผู้จัดการรายวัน 22-23, ไทยโพสต์ 23)
2. ธปท.รายงานผลจากมาตรการกันสำรอง 30% สะท้อนความสามารถในการดูแลการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน รายงานข่าว
จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท.ได้ออกมาตรการดำรงเงินสำรองสำหรับเงินตราต่างประเทศที่นำเข้ามาแลก
เงินบาทในประเทศไทยในสัดส่วน 30% (มาตรการกันสำรอง) เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมาตรการมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.49
ที่ผ่านมา พบว่า มียอดคงค้างของเงินทุนนำเข้าที่เข้าข่ายต้องกันสำรองจำนวนทั้งสิ้น 794 ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยเงินในส่วนที่ถูกกันไว้ 30%
นั้น คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 238 ล.ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี ในส่วนของนักลงทุนที่ต้องการนำเงินออกก่อนครบกำหนดหนึ่งปี ทำให้ต้องเสียค่า
ปรับตามข้อกำหนดของมาตรการเป็นสัดส่วน 10% คิดเป็นจำนวนเงิน 256,674 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.03% ของเงินทุน
ที่เข้าข่ายกันสำรองทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก สะท้อนว่ามาตรการดังกล่าวได้ผลตามที่ ธปท.ต้องการ เนื่องจากสามารถดูแลให้เงินทุน
ที่เข้ามา ไม่ได้เป็นเพียงแค่เงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ดังเช่นช่วงก่อนที่ ธปท.
จะมีมาตรการควบคุม (มติชน, ไทยโพสต์)
3. นักวิชาการชี้แนวโน้มค่าเงินบาทปี 51 จะเคลื่อนไหวที่ระดับ 32-33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. สำนักข่าวรอยเตอร์ เปิดเผย
ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารโลก
กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ บล.ไทยพาณิชย์ ถึงทิศทางค่าเงินบาทในปี 51 โดยสรุปว่ายังมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องจากปีนี้ และจะเผชิญกับความผันผวน
ขึ้นลงเป็นระยะ โดยประเมินเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32-33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากปัจจัยดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่า ปัญหาสินเชื่อ
ด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพร์ม) ของสหรัฐฯ ซึ่งยังคงยืดเยื้อ การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างชาติ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
อย่างต่อเนื่องของไทย (กรุงเทพธุรกิจ 22)
4. สศค.ประเมินอัตราเงินเฟ้อปี 51 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 4% สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินอัตราเงินเฟ้อในปี 51
คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.2% เป็น 4.0% ต่อปี เนื่องจากคาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุน
สินค้าเพิ่มขึ้น และเพิ่มแรงกดดันต่อราคาสินค้า ประกอบกับการปรับขึ้นค่าจ้างทั้งประเทศ ซึ่งถือเป็นต้นทุนสำคัญ จะส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วไปปรับตัว
สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทยังแข็งค่าและการบริหารจัดการราคาสินค้าของ ก.พาณิชย์ จะช่วยลดผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อได้ระดับหนึ่ง
(กรุงเทพธุรกิจ 24)
5. การนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยของไทยในเดือน ม.ค.-พ.ย.50 ขยายตัว 25% เทียบต่อปี รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผย
ถึงสถิติการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยจำนวนทั้งสิ้น 28 รายการของไทยในช่วง 11 เดือนแรกปี 50 (ม.ค.-พ.ย.) ว่า มีมูลค่าทั้งสิ้น
10,683 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 25% หรือคิดเป็นเงินบาทเท่ากับ 372,535 ล.บาท ขยายตัว 13%
สำหรับสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูงสุด 3 รายการแรก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขยายตัวเพิ่มขึ้น 37% เครื่องใช้เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้น 22%
และผลิตภัณฑ์เวชกรรมเพิ่มขึ้น 24.5% (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จีนจะขยายการลงทุนในต่างประเทศในปี 51 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 50 ทางการจีนเปิดเผยว่า เพื่อเป็น
การผ่อนคลายปัญหาดุลการชำระเงินของประเทศที่เกินดุลเป็นจำนวนมหาศาลและส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินหยวน ทางการจีนโดย Qualified
Domestic International Investor (QDII) จึงได้อนุญาตให้กิจการ และสถาบันการเงินต่างๆ สามารถลงทุนในต่างประเทศในปีหน้า
ได้เป็นจำนวน 20 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สำหรับ 4 โบรกเกอร์ และอนุญาตวงเงินลงทุนจำนวน 42.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. สำหรับ ธพ.
กองทุนรวม และบริษัทประกันเพื่อลงทุนในพอร์ทการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้กิจการต่างๆ ในจีนมีเป้าหมายที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ
รวมทั้งเร่งที่จะสำรวจการลงทุนในตลาดโลกด้วย โดยเงื่อนไขดังกล่าวที่เกิดขึ้นนาย Wei Benhua ประธาน State Administration of
Foreign Exchange (SAFE) กล่าวว่าจะทำให้ปัญหาดุลการชำระเงินของจีนผ่อนคลายลงได้ในปีหน้า และ SAFE จะดำเนินการต่อไปเพื่อ
ที่จะทำให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของจีนมีความลึกขึ้น และช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนดีขึ้น รวมทั้งการขยายการลงทุนในต่างประเทศ
ของกิจการที่ลงทุนด้านอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามปัจจุบัน ธพ. ต่างๆ สามารถที่จะซื้อหุ้นในฮ่องกง อังกฤษ ได้ และยังมีเป้าหมายที่จะขยาย
ไปยังที่อื่นๆเช่น นิวยอร์ก แฟร้งค์เฟิร์ต และสิงคโปร์ในเร็ววันนี้ (รอยเตอร์)
2. ในไตรมาสที่ 4 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นลดลง รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 50
ผลการสำรวจผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นชี้ว่า ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะธุรกิจ
ลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และปัญหาความยุ่งยากในตลาดการเงินที่ได้รับผลกระทบจากสินเชื่อด้อยคุณภาพใน
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ Business Survey Index — BSI ที่สำรวจความ
เชื่อมั่นของผู้ประกอบการในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ลดลงอยู่ที่ +5.2 จาก + 7.7 ในไตรมาสที่ 3 โดยกิจการคาดว่าการใช้จ่ายลงทุนใน
งบการเงินปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 51 จะลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากการสำรวจครั้งก่อน (รอยเตอร์)
3.ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ในไตรมาสสุดท้ายลดลงจากไตรมาสก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 24 ธ.ค.50 ดัชนีชี้วัด
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้จากผลสำรวจความเห็นของชาวเกาหลี 2,500 ครัวเรือนทั่วประเทศในระหว่างวันที่ 3 — 14 ธ.ค.50
โดย ธ.กลางเกาหลีใต้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 106 จากระดับ 112 ในไตรมาสก่อนซึ่งเป็นระดับสูงสุด 5 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 45 และนับ
เป็นการลดลงครั้งแรกหลังจากเพิ่มขึ้น 4 ไตรมาสติดต่อกัน โดยดัชนีดังกล่าวเป็นผลสรุปของ 6 ดัชนีย่อยซึ่งสำรวจความเห็นของผู้บริโภคต่อ
มาตรฐานการครองชีพในปัจจุบันและอนาคต รายได้ในอนาคตและแผนการใช้จ่าย และภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและในอนาคต รายงาน
ดังกล่าวสร้างความกังวลว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะได้ผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ. แต่อย่างไรก็ดี ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียจะขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปีในปีหน้าจากการฟื้นตัวของ
ความต้องการในประเทศและการส่งออก (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อปีสูงสุดในรอบ 25 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
24 ธ.ค.50 อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ต่อปีในเดือน พ.ย.50 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.25 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี
ในเดือนก่อน โดยรัฐบาลได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปีหน้าเพิ่มขึ้นเป็นระหว่างร้อยละ 3.5 — 4.5 ต่อปี โดยคาดว่าในต้นปีหน้า
อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดที่ร้อยละ 5 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนอกจากเป็นผลจากราคาอาหารและน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นซึ่งเป็น
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกแล้วยังเป็นผลจากราคาบ้านที่สูงขึ้นด้วย โดยราคาอาหารซึ่งมีสัดส่วนมากสุดในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 5.2 ในขณะที่ราคาบ้านในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบต่อปี ทั้งนี้ ธ.กลางสิงคโปร์ได้พยายามลดผลกระทบของราคา
อาหารและน้ำมันโดยการปล่อยให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นเพื่อให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกลง ในขณะที่ไม่สามารถทำอะไรได้มากนักกับ
ราคาบ้านนอกจากการปล่อยบ้านในทำเลใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะยังไม่มีผลให้ราคาบ้านในตลาดลดลงทันที (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ธ.ค. 50 21 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.697 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4780/33.8053 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.36922 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 813.60/13.10 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,800/12,900 12,700/12,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.06 85.11 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับลด 40 สตางค์เมื่อ 5 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--