ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันพร้อมยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า หากรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งมีความต้องการที่จะยกเลิกมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ
นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ธปท.ก็พร้อมที่จะดำเนินการ หากอยู่ในช่วงเวลาและปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธปท.ได้
ผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวมาเป็นระยะๆ ต่อเนื่อง จนเกือบจะไม่เป็นอุปสรรคในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติแล้ว
และ ธปท.ยืนยันมาตลอดว่า เป็นมาตรการระยะสั้น สามารถยกเลิกได้เมื่อปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม (โลกวันนี้)
2. ยอดเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินช่วงไตรมาส 3 ปี 50 เพิ่มขึ้น 77,395 ล.บาท รายงานข่าวจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทั้งระบบสถาบันการเงิน ในช่วงไตรมาส 3 ปี 50 ว่า
เพิ่มขึ้น 77,395 ล.บาท โดยในจำนวนนี้เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่ 49,714 ล.บาท เอ็นพีแอลที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอล
อีก (รี-เอนทรี) 18,956 ล.บาท และเอ็นพีแอลอื่นๆ 8,725 ล.บาท ทั้งนี้ เอ็นพีแอลดังกล่าวเป็นของภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด 28,113 ล.บาท
ซึ่งเป็นเอ็นพีแอลใหม่ 7,777 ล.บาท และสาเหตุอื่น 4,769 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
3. ธปท.-ธพ.สำรองเงินสดในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ นางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการธนบัตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงเดือน ธ.ค.50 ธปท.ได้สำรองธนบัตรชนิดต่างๆ มูลค่ารวม 300,400 ล.บาท เพื่อ
รองรับความต้องการเบิกจ่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ โดย ธปท.ประมาณการว่า ธพ.จะมีการเบิกจ่ายธนบัตรรวมทั้งเดือนเป็น
มูลค่า 192,500 ล.บาท เพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน 8% หรือมียอดการเบิกใช้จริงที่ 187,000 ล.บาท ด้าน ธพ. 8 แห่ง ได้สำรองเงินสด
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ วันที่ 29 ธ.ค.50 — 1 ม.ค.51 เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนประมาณ 115,100 ล.บาท ใกล้เคียงกับปีที่
ผ่านมา เนื่องจากวันหยุดน้อยกว่าและคาดว่าประชาชนยังระมัดระวังการใช้จ่าย ทั้งนี้ ธ.ไทยพาณิชย์แจ้งว่า ธนาคารสำรองเงินสดจำนวน
30,000 ล.บาททั่วประเทศ ธ.กรุงไทยสำรองเงินสด 20,000 ล.บาท ธ.กรุงเทพและ ธ.กสิกรไทย สำรอง 15,000 ล.บาท
ธ.นครหลวงไทยสำรอง 5,000 ล.บาท ธ.ทหารไทยสำรอง 8,000 ล.บาท และ ธ.กรุงศรีอยุธยาสำรอง 2,800 ล.บาท (ไทยโพสต์,
กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
4. ภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน พ.ย.50 ยังคงขยายตัวได้ดี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงภาวะ
เศรษฐกิจการคลังประจำเดือน พ.ย.50 ว่า เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้ดี โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ขยายตัวระดับสูงอย่าง
ต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนเร่งตัวขึ้น เห็นได้จากรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือน พ.ย.
ที่มีจำนวน 111.4 พัน ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้และฐานการบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 13 เดือน มาอยู่ที่ 69.3 จุด จากเดือนก่อนหน้า
ที่อยู่ที่ 68.6 จุด ซึ่งมีปัจจัยหลักจากการเมืองมีความชัดเจนขึ้น ประชาชนมั่นใจต่อรายได้ในอนาคตจากการปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้าง อย่างไร
ก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มเป็น 3% สำหรับในปี 51 อัตราเงินเฟ้อจะยังคงเป็นความเสี่ยงหลัก หากราคาน้ำมันตลาดโลก
อยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล และราคาสินค้าซึ่งอาจมีการปรับขึ้นหลังปีใหม่ จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ระดับ 4% (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายของผู้ค้าปลีกใน สรอ.ในช่วงเทศกาลจับจ่ายปีนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.6 ต่อปีต่ำสุดในรอบ 5 ปี รายงานจาก
นิวยอร์ค เมื่อ 25 ธ.ค.50 บริษัทบัตรเครดิต MasterCard รายงานยอดขายของผู้ค้าปลีกใน สรอ.ในช่วงเทศกาลจับจ่ายปีนี้ซึ่งเริ่มตั้งแต่
วันศุกร์ที่ 23 พ.ย.หรือที่เรียกว่า Black Friday จนถึงเที่ยงคืนของวันที่ 24 ธ.ค.รวมเป็นเวลา 32 วันเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี ต่ำสุด
ในรอบ 5 ปี เป็นไปตามที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 3.5 ถึง 4.0 ต่อปี แต่หากไม่รวมยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมี
ราคาแพงขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 30 แล้ว ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.4 ต่อปี โดยเป็นผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อ ภาวะตกต่ำของ
ตลาดบ้านและราคาอาหารและน้ำมันที่สูงขึ้น นักวิเคราะห์บางคนจึงคาดว่าเศรษฐกิจ สรอ.อาจไม่ขยายตัวหรือขยายตัวเพียงร้อยละ 1
ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ทั้งนี้ ตัวเลขยอดค้าปลีกข้างต้นไม่รวมยอดขายในช่วง 7 วันหลังเที่ยงคืนวันที่ 24 ธ.ค.จนถึงสิ้นปีซึ่งเมื่อปีที่แล้วมียอด
รวมถึง 58 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือประมาณร้อยละ 15 — 16 ของยอดขายตั้งแต่ Black Friday จนถึงสิ้นปี (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในญี่ปุ่นลดลงในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 25 ธ.ค.50 ดัชนีชี้วัดความ
เชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในภาคการผลิตในญี่ปุ่นจากผลสำรวจโดยรัฐบาลญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BSI ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +5.2 ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้
จากระดับ +7.7 ในไตรมาสก่อน ในขณะที่ความเชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในภาคที่ไม่ใช่การผลิตลดลงมาอยู่ในระดับ —2.2 จากระดับ +5.3
ในไตรมาสก่อน ส่งผลให้ภาพรวมความเชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ที่ระดับ +0.5 จากระดับ +6.2 ในไตรมาสก่อน โดยดัชนี BSI
คำนวณจากการนำร้อยละของธุรกิจที่คาดว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนจะดีขึ้นมาลบกับร้อยละของธุรกิจที่คาดว่าสถานการณ์จะเลวลง สอดคล้อง
กับผลสำรวจโดย ธ.กลางญี่ปุ่นก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในภาคการผลิตลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ทั้งนี้
เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในตลาดการเงินและความกังวลว่าเศรษฐกิจ สรอ.อาจชะลอตัวลงในขณะที่ราคาน้ำมันและวัตถุดิบสูงขึ้น
นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนกว่าจะถึงไตรมาสที่ 3 ปีหน้า โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการ
นโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่นมีมติเป็นเอกฉันท์ทั้ง 9 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีโดยยอมรับว่าเศรษฐกิจ
กำลังชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
3. คาดว่าบ้านสร้างใหม่ของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. จะชะลอตัวลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว รายงานจากโตเกียว เมื่อ
วันที่ 26 ธ.ค. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 29 คนคาดว่าบ้านสร้างใหม่ของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. จะชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีที่
แล้วร้อยละ 28.0 โดยคาดการณ์อยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 15.8 — 39.8 เนื่องจากเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางการญี่ปุ่นได้ใช้กฎหมาย
การก่อสร้างที่เข้มงวดขึ้นเพื่อชะลอการขยายตัวของตลาดบ้านในไตรมาสที่ 3 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อที่ไม่นับ
รวมราคาอาหารและพลังงานในเดือน ต.ค. สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ
10 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสูงขึ้นของราคาอาหารและพลังงาน ซึ่งธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะชะลอการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนถึงปีหน้าเนื่องจากภาวะตลาดโลกและยัง
ไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะแข็งแกร่งหรือไม่ (รอยเตอร์)
4. เงินหยวนเมื่อเทียบต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าทำสถิติสูงสุดเนื่องจากทางการส่งสัญญานปรับค่าเงินอย่างต่อเนื่อง รายงาน
จากเชียงไฮ้ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 50 ทางการจีนได้กำหนดค่ากลางเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นซึ่งเป็นการส่งสัญญานการปรับค่าเงินหยวนให้อยู่
ในระดับที่เหมาะสมเร็วขึ้น ส่งผลให้เมื่อวานนี้ เงินหยวนเมื่อเทียบต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นวันที่ 3
โดยเงินหยวนเมื่อปิดตลาดอยู่ที่ 7.3297 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 7.3475 เมื่อวันจันทร์ หรือเพิ่มขึ้นจากเมื่อ
2 วันที่ผ่านมาร้อยละ 0.54 และเป็นการสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการปรับค่าเงินหยวนเมื่อเดือน ก.ค. 48 ทั้งนี้ทางการได้กำหนดค่าเงิน
อยู่ที่ 7.3261 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 7.3315 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันจันทร์ ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่า การที่ทางการจีน
กำหนดค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้เป็นการส่งสัญญานว่า ธ.กลางจีนกำลังเตรียมที่จะปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นอีกในปีหน้า
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ธ.ค. 50 25 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.702 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4862/33.8318 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.36406 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 843.28/19.31 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,800/12,900 12,800/12,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.06 87.06 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.49/28.94 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 26 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันพร้อมยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า หากรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งมีความต้องการที่จะยกเลิกมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ
นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ธปท.ก็พร้อมที่จะดำเนินการ หากอยู่ในช่วงเวลาและปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธปท.ได้
ผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวมาเป็นระยะๆ ต่อเนื่อง จนเกือบจะไม่เป็นอุปสรรคในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติแล้ว
และ ธปท.ยืนยันมาตลอดว่า เป็นมาตรการระยะสั้น สามารถยกเลิกได้เมื่อปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม (โลกวันนี้)
2. ยอดเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินช่วงไตรมาส 3 ปี 50 เพิ่มขึ้น 77,395 ล.บาท รายงานข่าวจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทั้งระบบสถาบันการเงิน ในช่วงไตรมาส 3 ปี 50 ว่า
เพิ่มขึ้น 77,395 ล.บาท โดยในจำนวนนี้เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่ 49,714 ล.บาท เอ็นพีแอลที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอล
อีก (รี-เอนทรี) 18,956 ล.บาท และเอ็นพีแอลอื่นๆ 8,725 ล.บาท ทั้งนี้ เอ็นพีแอลดังกล่าวเป็นของภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด 28,113 ล.บาท
ซึ่งเป็นเอ็นพีแอลใหม่ 7,777 ล.บาท และสาเหตุอื่น 4,769 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
3. ธปท.-ธพ.สำรองเงินสดในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ นางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการธนบัตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงเดือน ธ.ค.50 ธปท.ได้สำรองธนบัตรชนิดต่างๆ มูลค่ารวม 300,400 ล.บาท เพื่อ
รองรับความต้องการเบิกจ่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ โดย ธปท.ประมาณการว่า ธพ.จะมีการเบิกจ่ายธนบัตรรวมทั้งเดือนเป็น
มูลค่า 192,500 ล.บาท เพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน 8% หรือมียอดการเบิกใช้จริงที่ 187,000 ล.บาท ด้าน ธพ. 8 แห่ง ได้สำรองเงินสด
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ วันที่ 29 ธ.ค.50 — 1 ม.ค.51 เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนประมาณ 115,100 ล.บาท ใกล้เคียงกับปีที่
ผ่านมา เนื่องจากวันหยุดน้อยกว่าและคาดว่าประชาชนยังระมัดระวังการใช้จ่าย ทั้งนี้ ธ.ไทยพาณิชย์แจ้งว่า ธนาคารสำรองเงินสดจำนวน
30,000 ล.บาททั่วประเทศ ธ.กรุงไทยสำรองเงินสด 20,000 ล.บาท ธ.กรุงเทพและ ธ.กสิกรไทย สำรอง 15,000 ล.บาท
ธ.นครหลวงไทยสำรอง 5,000 ล.บาท ธ.ทหารไทยสำรอง 8,000 ล.บาท และ ธ.กรุงศรีอยุธยาสำรอง 2,800 ล.บาท (ไทยโพสต์,
กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
4. ภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน พ.ย.50 ยังคงขยายตัวได้ดี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงภาวะ
เศรษฐกิจการคลังประจำเดือน พ.ย.50 ว่า เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้ดี โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ขยายตัวระดับสูงอย่าง
ต่อเนื่อง ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนเร่งตัวขึ้น เห็นได้จากรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือน พ.ย.
ที่มีจำนวน 111.4 พัน ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้และฐานการบริโภคขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 13 เดือน มาอยู่ที่ 69.3 จุด จากเดือนก่อนหน้า
ที่อยู่ที่ 68.6 จุด ซึ่งมีปัจจัยหลักจากการเมืองมีความชัดเจนขึ้น ประชาชนมั่นใจต่อรายได้ในอนาคตจากการปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้าง อย่างไร
ก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มเป็น 3% สำหรับในปี 51 อัตราเงินเฟ้อจะยังคงเป็นความเสี่ยงหลัก หากราคาน้ำมันตลาดโลก
อยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล และราคาสินค้าซึ่งอาจมีการปรับขึ้นหลังปีใหม่ จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ระดับ 4% (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายของผู้ค้าปลีกใน สรอ.ในช่วงเทศกาลจับจ่ายปีนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.6 ต่อปีต่ำสุดในรอบ 5 ปี รายงานจาก
นิวยอร์ค เมื่อ 25 ธ.ค.50 บริษัทบัตรเครดิต MasterCard รายงานยอดขายของผู้ค้าปลีกใน สรอ.ในช่วงเทศกาลจับจ่ายปีนี้ซึ่งเริ่มตั้งแต่
วันศุกร์ที่ 23 พ.ย.หรือที่เรียกว่า Black Friday จนถึงเที่ยงคืนของวันที่ 24 ธ.ค.รวมเป็นเวลา 32 วันเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี ต่ำสุด
ในรอบ 5 ปี เป็นไปตามที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 3.5 ถึง 4.0 ต่อปี แต่หากไม่รวมยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมี
ราคาแพงขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 30 แล้ว ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.4 ต่อปี โดยเป็นผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อ ภาวะตกต่ำของ
ตลาดบ้านและราคาอาหารและน้ำมันที่สูงขึ้น นักวิเคราะห์บางคนจึงคาดว่าเศรษฐกิจ สรอ.อาจไม่ขยายตัวหรือขยายตัวเพียงร้อยละ 1
ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ทั้งนี้ ตัวเลขยอดค้าปลีกข้างต้นไม่รวมยอดขายในช่วง 7 วันหลังเที่ยงคืนวันที่ 24 ธ.ค.จนถึงสิ้นปีซึ่งเมื่อปีที่แล้วมียอด
รวมถึง 58 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือประมาณร้อยละ 15 — 16 ของยอดขายตั้งแต่ Black Friday จนถึงสิ้นปี (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในญี่ปุ่นลดลงในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ รายงานจากโตเกียว เมื่อ 25 ธ.ค.50 ดัชนีชี้วัดความ
เชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในภาคการผลิตในญี่ปุ่นจากผลสำรวจโดยรัฐบาลญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BSI ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +5.2 ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้
จากระดับ +7.7 ในไตรมาสก่อน ในขณะที่ความเชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในภาคที่ไม่ใช่การผลิตลดลงมาอยู่ในระดับ —2.2 จากระดับ +5.3
ในไตรมาสก่อน ส่งผลให้ภาพรวมความเชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ที่ระดับ +0.5 จากระดับ +6.2 ในไตรมาสก่อน โดยดัชนี BSI
คำนวณจากการนำร้อยละของธุรกิจที่คาดว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนจะดีขึ้นมาลบกับร้อยละของธุรกิจที่คาดว่าสถานการณ์จะเลวลง สอดคล้อง
กับผลสำรวจโดย ธ.กลางญี่ปุ่นก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าความเชื่อมั่นของธุรกิจรายใหญ่ในภาคการผลิตลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ทั้งนี้
เป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในตลาดการเงินและความกังวลว่าเศรษฐกิจ สรอ.อาจชะลอตัวลงในขณะที่ราคาน้ำมันและวัตถุดิบสูงขึ้น
นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนกว่าจะถึงไตรมาสที่ 3 ปีหน้า โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการ
นโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่นมีมติเป็นเอกฉันท์ทั้ง 9 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีโดยยอมรับว่าเศรษฐกิจ
กำลังชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
3. คาดว่าบ้านสร้างใหม่ของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. จะชะลอตัวลงจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว รายงานจากโตเกียว เมื่อ
วันที่ 26 ธ.ค. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 29 คนคาดว่าบ้านสร้างใหม่ของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย. จะชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีที่
แล้วร้อยละ 28.0 โดยคาดการณ์อยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 15.8 — 39.8 เนื่องจากเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางการญี่ปุ่นได้ใช้กฎหมาย
การก่อสร้างที่เข้มงวดขึ้นเพื่อชะลอการขยายตัวของตลาดบ้านในไตรมาสที่ 3 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อที่ไม่นับ
รวมราคาอาหารและพลังงานในเดือน ต.ค. สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1และเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ
10 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสูงขึ้นของราคาอาหารและพลังงาน ซึ่งธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะชะลอการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนถึงปีหน้าเนื่องจากภาวะตลาดโลกและยัง
ไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะแข็งแกร่งหรือไม่ (รอยเตอร์)
4. เงินหยวนเมื่อเทียบต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าทำสถิติสูงสุดเนื่องจากทางการส่งสัญญานปรับค่าเงินอย่างต่อเนื่อง รายงาน
จากเชียงไฮ้ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 50 ทางการจีนได้กำหนดค่ากลางเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นซึ่งเป็นการส่งสัญญานการปรับค่าเงินหยวนให้อยู่
ในระดับที่เหมาะสมเร็วขึ้น ส่งผลให้เมื่อวานนี้ เงินหยวนเมื่อเทียบต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นวันที่ 3
โดยเงินหยวนเมื่อปิดตลาดอยู่ที่ 7.3297 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 7.3475 เมื่อวันจันทร์ หรือเพิ่มขึ้นจากเมื่อ
2 วันที่ผ่านมาร้อยละ 0.54 และเป็นการสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการปรับค่าเงินหยวนเมื่อเดือน ก.ค. 48 ทั้งนี้ทางการได้กำหนดค่าเงิน
อยู่ที่ 7.3261 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 7.3315 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันจันทร์ ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่า การที่ทางการจีน
กำหนดค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้เป็นการส่งสัญญานว่า ธ.กลางจีนกำลังเตรียมที่จะปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นอีกในปีหน้า
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ธ.ค. 50 25 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.702 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4862/33.8318 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.36406 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 843.28/19.31 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,800/12,900 12,800/12,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.06 87.06 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.49/28.94 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 26 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--