ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ห่วงราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
เป็นห่วงเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะขณะนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวอยู่หลายด้าน ทั้งราคาน้ำมัน ราคา
สินค้าเกษตร และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้เป็นแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า
จะเท่ากับที่ ก.คลังประเมินไว้ในปี 51 ที่ระดับ 4% หรือไม่ เนื่องจากความผันผวนยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะปัจจัยราคาน้ำมัน (โลกวันนี้,
โพสต์ทูเดย์)
2. โกลด์แมนแซคส์ระบุการเมืองเป็นแรงหนุนตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวดีขึ้นเพียงชั่วคราว นายไมเคิล บูคานัน และนายมาร์ค ตัน
นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐฯ ระบุในบทวิเคราะห์ของบริษัทซึ่งรอยเตอร์นำเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.50 ว่า
ทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงินของไทยอาจปรับตัวขึ้นและรู้สึกผ่อนคลายในระยะใกล้ โดยมีแรงหนุนจากผลการเลือกตั้ง แต่แรงหนุนดังกล่าวจะหายไป
อย่างรวดเร็ว หากปรากฎชัดว่าภาวะอึมครึมทางการเมืองยังคงไม่หมดสิ้นไป ทั้งนี้ โกลด์แมนแซคส์ ยังคงมีมุมมองระมัดระวัง พร้อมจัดให้ไทย
อยู่ท้ายตารางจัดอันดับตลาดกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ขณะเดียวกัน รายงานระบุคาดการณ์เงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์
สรอ.ว่า จะแข็งค่าที่ระดับ 33 บาทภายในเวลา 3 เดือน ก่อนที่จะอ่อนค่ากลับมาสู่ 35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเวลา 6-12 เดือนข้างหน้า
และสกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงวันหยุดสิ้นปีนี้ ขณะที่ตลาดมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของไทยจะเป็น
แรงหนุนค่าเงินบาท (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.พลังงานยืนยันไม่ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ก.พลังงาน ยืนยันจะไม่ยกเลิกกองทุนน้ำมัน
เชื้อเพลิงแน่นอน แม้กองทุนจะชำระหนี้จากการตรึงราคาน้ำมันหมดแล้วก็ตาม เพราะยังจำเป็นต้องใช้กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือช่วยเหลือ
ประชาชนในระยะสั้นกรณีที่อาจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อาจจะสูงขึ้นในอนาคต และใช้ในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งจำเป็นต้องใช้กองทุนน้ำมัน
เพื่อส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล โดยขณะนี้กองทุนน้ำมันมีรายรับเป็นบวกประมาณ 230 ล.บาท หลังจากชำระหนี้ครบจำนวนแล้ว
เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังเตรียมออกซามูไรบอนด์เพื่อชำระหนี้เงินกู้สกุลเยน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า
ก.คลังมีแผนออก พธบ.กู้เงินในประเทศญี่ปุ่นหรือซามูไรบอนด์จำนวน 16,000 ล.บาท หรือ 55,000 ล.เยน เพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
ให้กับเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่จะไปกู้เงิน โดยการออกซามูไรบอนด์ครั้งนี้จะมีอายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี ออกประมาณเดือน เม.ย.51 และ
เงินที่ได้มาจะนำไปชำระหนี้เงินกู้สกุลเยน ซึ่งจะประหยัดดอกเบี้ยได้ 1% เนื่องจากการออกซามูไรบอนด์อายุ 7 ปี ปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ย 1.27%
เทียบกับวงเงินเดิมที่กู้ก่อนหน้านี้อัตราดอกเบี้ย 2.27% ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยมีนโยบายกู้เงินบาทชำระเงินกู้ต่างประเทศ เพื่อให้เงินบาทอ่อนค่า
แต่การกู้เงินในประเทศมากทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศเริ่มสูงขึ้น จึงปรับแผนที่จะกู้จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเลือกประเทศญี่ปุ่น เนื่องจาก
ไทยเคยออกซามูไรบอนด์ก่อนหน้านี้ ซึ่งเหลือวงเงินอีก 61,000 ล.เยน ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือน พ.ค.51 (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รัฐบาลเยอรมนีจะปรับลดพยากรณ์จีดีพีปีหน้าลงอีกครั้ง รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.50
Michael Glos รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลงอีกเล็กน้อยหลังจากที่ได้ปรับลด
ในเดือน ต.ค. ลงเหลือร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนเรื่องเงินช่วยเหลือการประกันการว่างงานและการ
คาดการณ์ว่าค่าจ้างแรงงานจะปรับเพิ่มขึ้นในปีหน้าจะทำให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงต้นเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาหน่วยงานชั้นนำ
ด้านเศรษฐกิจของเยอรมนีได้ปรับลดพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีหน้าลง โดยให้เหตุผลว่าการลงทุนที่อ่อนตัวลงมากกว่า
ที่คาดการณ์ไว้และเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนี โดยสถาบันวิจัย Ifo คาดว่าเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีปีหน้าจะเติบโตร้อยละ 1.8 ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ร่วมกับสถาบันอื่นในเดือน ต.ค. ไว้ที่ร้อยละ 2.2 ส่วนสถาบัน Ifw
ปรับลดลงเหลือร้อยละ 1.9 จากร้อยละ 2.4 (รอยเตอร์)
2. ใน 4 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2 หรือมากกว่า รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 50
ตามร่างรายงานของทางการญี่ปุ่นชี้ว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถที่จะเติบโตได้ถึงร้อยละ 2.0 หรือมากกว่านั้น หากทางการ
ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะกลาง ทั้งนี้ตามรายงานดังกล่าวหากว่าทางการไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ
ที่เหมาะสม และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 — 1.4 เท่านั้น โดยเริ่มนับจากเดือน
เม.ย. ปีงบประมาณการเงิน 51/52 ถึงปีงบประมาณ 54/55 อย่างไรก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 3.0 หรือมากกว่านั้นหาก
ภาพรวมเศรษฐกิจดี และอาจมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.5 — 1.9 หรือน้อยกว่านั้นหากทิศทางเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
ทั้งนี้ร่างดังกล่าวได้ถูกนำเสนอต่อกรรมาธิการที่ปรึกษาระดับสูงในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและนโยบายการเงินเรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้เป็นข้อมูล
พื้นฐานในการอภิปรายนโยบายการเงินในปีหน้าโดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจเติบโตและผ่านพ้นจากภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน และคาดว่าภาวะ
เงินเฟ้อในปีงบประมาณ 54/55 จะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 1.5 อนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางการญี่ปุ่นได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในปีงบประมาณปัจจุบันลงอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.1 เนื่องจากภาคการก่อสร้างตกต่ำภายหลังจากที่ทางการญี่ปุ่นประกาศ
ใช้นโยบายเข้มงวดในภาคการก่อสร้างที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา(รอยเตอร์)
3. รอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.50 จะชะลอตัวลงจากเดือนก่อน รายงานจากโซล เมื่อ
26 ธ.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วยผลผลิตโรงงาน เหมืองและการ
ผลิตกระแสไฟฟ้าของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.7 ในเดือน พ.ย.50 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.50 ซึ่งขยายตัว
ถึงร้อยละ 3.0 สูงสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากจำนวนวันทำงานที่มีมากกว่าในเดือน ต.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.50 ซึ่ง
มีวันหยุดยาว แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าผลผลิตในเดือน พ.ย.50 ที่คาดว่าจะชะลอตัวลงเป็นผลจากการเปรียบเทียบกับ
เดือน ต.ค.50 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงผิดปรกติ โดยยอดส่งออกในเดือน พ.ย.50 ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีถึงร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับ
ปีก่อน หลังจากขยายตัวถึงร้อยละ 22.9 ต่อปีในเดือน ต.ค.50 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นนอกจาก สรอ.
ซึ่งเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากปัญหาซับไพร์ม ทั้งนี้ หากเทียบต่อปีแล้วคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 จะขยายตัวร้อยละ 9.9 หลังจาก
ขยายตัวร้อยละ 17.8 ต่อปีในเดือน ต.ค.50 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตภาคการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 ขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังจากลดลงต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน รายงานจาก
สิงคโปร์ เมื่อ 26 ธ.ค.50 ผลผลิตภาคการผลิตของสิงคโปร์ขยายตัวหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 5.8 ในเดือน พ.ย.50 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 1.5, 6.3 ในเดือน ต.ค. และ ก.ย. ตามลำดับและลดลง 14.0 ในเดือน ส.ค.50 ลดลงในอัตราสูงสุด
ในรอบปี หลังจากขยายตัวร้อยละ 26.2 ในเดือน ก.ค.50 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวดีที่สุดในรอบปี ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขยายตัวของ
อุตสาหกรรมขนส่งซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 31.9 ต่อปี โดยเฉพาะการต่อเรือและสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 53.5 ต่อปี
โดยสิงคโปร์เป็นที่ตั้งของบริษัทสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ของโลก 2 บริษัทคือ Keppel Corp และ SembCorp Marine ซึ่งได้รับคำสั่งซื้อ
แท่นขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้นมากหลังจากน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น นอกจากอุตสาหกรรมขนส่งแล้ว อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขยายตัวถึง
ร้อยละ 5.3 ต่อปี ก็มีส่วนช่วยให้ผลผลิตขยายตัว โดยส่วนใหญ่เป็นผลผลิตของอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 16.7 ต่อปี
ทั้งนี้ ผลผลิตภาคการผลิตมีสัดส่วนถึงประมาณ 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศของสิงคโปร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ธ.ค. 50 26 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.726 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4901/33.8299 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.36406 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 841.20/14.82 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,050/13,150 12,800/12,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.43 87.06 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.89*/29.34* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 26 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ห่วงราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
เป็นห่วงเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะขณะนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวอยู่หลายด้าน ทั้งราคาน้ำมัน ราคา
สินค้าเกษตร และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้เป็นแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า
จะเท่ากับที่ ก.คลังประเมินไว้ในปี 51 ที่ระดับ 4% หรือไม่ เนื่องจากความผันผวนยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะปัจจัยราคาน้ำมัน (โลกวันนี้,
โพสต์ทูเดย์)
2. โกลด์แมนแซคส์ระบุการเมืองเป็นแรงหนุนตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวดีขึ้นเพียงชั่วคราว นายไมเคิล บูคานัน และนายมาร์ค ตัน
นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซคส์ วาณิชธนกิจชั้นนำของสหรัฐฯ ระบุในบทวิเคราะห์ของบริษัทซึ่งรอยเตอร์นำเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.50 ว่า
ทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงินของไทยอาจปรับตัวขึ้นและรู้สึกผ่อนคลายในระยะใกล้ โดยมีแรงหนุนจากผลการเลือกตั้ง แต่แรงหนุนดังกล่าวจะหายไป
อย่างรวดเร็ว หากปรากฎชัดว่าภาวะอึมครึมทางการเมืองยังคงไม่หมดสิ้นไป ทั้งนี้ โกลด์แมนแซคส์ ยังคงมีมุมมองระมัดระวัง พร้อมจัดให้ไทย
อยู่ท้ายตารางจัดอันดับตลาดกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ขณะเดียวกัน รายงานระบุคาดการณ์เงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์
สรอ.ว่า จะแข็งค่าที่ระดับ 33 บาทภายในเวลา 3 เดือน ก่อนที่จะอ่อนค่ากลับมาสู่ 35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเวลา 6-12 เดือนข้างหน้า
และสกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงวันหยุดสิ้นปีนี้ ขณะที่ตลาดมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่า การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของไทยจะเป็น
แรงหนุนค่าเงินบาท (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.พลังงานยืนยันไม่ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ก.พลังงาน ยืนยันจะไม่ยกเลิกกองทุนน้ำมัน
เชื้อเพลิงแน่นอน แม้กองทุนจะชำระหนี้จากการตรึงราคาน้ำมันหมดแล้วก็ตาม เพราะยังจำเป็นต้องใช้กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือช่วยเหลือ
ประชาชนในระยะสั้นกรณีที่อาจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่อาจจะสูงขึ้นในอนาคต และใช้ในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งจำเป็นต้องใช้กองทุนน้ำมัน
เพื่อส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล โดยขณะนี้กองทุนน้ำมันมีรายรับเป็นบวกประมาณ 230 ล.บาท หลังจากชำระหนี้ครบจำนวนแล้ว
เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังเตรียมออกซามูไรบอนด์เพื่อชำระหนี้เงินกู้สกุลเยน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า
ก.คลังมีแผนออก พธบ.กู้เงินในประเทศญี่ปุ่นหรือซามูไรบอนด์จำนวน 16,000 ล.บาท หรือ 55,000 ล.เยน เพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
ให้กับเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่จะไปกู้เงิน โดยการออกซามูไรบอนด์ครั้งนี้จะมีอายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี ออกประมาณเดือน เม.ย.51 และ
เงินที่ได้มาจะนำไปชำระหนี้เงินกู้สกุลเยน ซึ่งจะประหยัดดอกเบี้ยได้ 1% เนื่องจากการออกซามูไรบอนด์อายุ 7 ปี ปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ย 1.27%
เทียบกับวงเงินเดิมที่กู้ก่อนหน้านี้อัตราดอกเบี้ย 2.27% ทั้งนี้ ที่ผ่านมาไทยมีนโยบายกู้เงินบาทชำระเงินกู้ต่างประเทศ เพื่อให้เงินบาทอ่อนค่า
แต่การกู้เงินในประเทศมากทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศเริ่มสูงขึ้น จึงปรับแผนที่จะกู้จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเลือกประเทศญี่ปุ่น เนื่องจาก
ไทยเคยออกซามูไรบอนด์ก่อนหน้านี้ ซึ่งเหลือวงเงินอีก 61,000 ล.เยน ครบกำหนดไถ่ถอนในเดือน พ.ค.51 (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รัฐบาลเยอรมนีจะปรับลดพยากรณ์จีดีพีปีหน้าลงอีกครั้ง รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.50
Michael Glos รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวว่า รัฐบาลจะต้องปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลงอีกเล็กน้อยหลังจากที่ได้ปรับลด
ในเดือน ต.ค. ลงเหลือร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนเรื่องเงินช่วยเหลือการประกันการว่างงานและการ
คาดการณ์ว่าค่าจ้างแรงงานจะปรับเพิ่มขึ้นในปีหน้าจะทำให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงต้นเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาหน่วยงานชั้นนำ
ด้านเศรษฐกิจของเยอรมนีได้ปรับลดพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีหน้าลง โดยให้เหตุผลว่าการลงทุนที่อ่อนตัวลงมากกว่า
ที่คาดการณ์ไว้และเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนี โดยสถาบันวิจัย Ifo คาดว่าเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีปีหน้าจะเติบโตร้อยละ 1.8 ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ร่วมกับสถาบันอื่นในเดือน ต.ค. ไว้ที่ร้อยละ 2.2 ส่วนสถาบัน Ifw
ปรับลดลงเหลือร้อยละ 1.9 จากร้อยละ 2.4 (รอยเตอร์)
2. ใน 4 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2 หรือมากกว่า รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 50
ตามร่างรายงานของทางการญี่ปุ่นชี้ว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถที่จะเติบโตได้ถึงร้อยละ 2.0 หรือมากกว่านั้น หากทางการ
ดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะกลาง ทั้งนี้ตามรายงานดังกล่าวหากว่าทางการไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ
ที่เหมาะสม และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวคาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 — 1.4 เท่านั้น โดยเริ่มนับจากเดือน
เม.ย. ปีงบประมาณการเงิน 51/52 ถึงปีงบประมาณ 54/55 อย่างไรก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 3.0 หรือมากกว่านั้นหาก
ภาพรวมเศรษฐกิจดี และอาจมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.5 — 1.9 หรือน้อยกว่านั้นหากทิศทางเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
ทั้งนี้ร่างดังกล่าวได้ถูกนำเสนอต่อกรรมาธิการที่ปรึกษาระดับสูงในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและนโยบายการเงินเรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้เป็นข้อมูล
พื้นฐานในการอภิปรายนโยบายการเงินในปีหน้าโดยมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจเติบโตและผ่านพ้นจากภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน และคาดว่าภาวะ
เงินเฟ้อในปีงบประมาณ 54/55 จะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 1.5 อนึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางการญี่ปุ่นได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในปีงบประมาณปัจจุบันลงอยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.1 เนื่องจากภาคการก่อสร้างตกต่ำภายหลังจากที่ทางการญี่ปุ่นประกาศ
ใช้นโยบายเข้มงวดในภาคการก่อสร้างที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา(รอยเตอร์)
3. รอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ย.50 จะชะลอตัวลงจากเดือนก่อน รายงานจากโซล เมื่อ
26 ธ.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วยผลผลิตโรงงาน เหมืองและการ
ผลิตกระแสไฟฟ้าของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.7 ในเดือน พ.ย.50 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.50 ซึ่งขยายตัว
ถึงร้อยละ 3.0 สูงสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากจำนวนวันทำงานที่มีมากกว่าในเดือน ต.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.50 ซึ่ง
มีวันหยุดยาว แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าผลผลิตในเดือน พ.ย.50 ที่คาดว่าจะชะลอตัวลงเป็นผลจากการเปรียบเทียบกับ
เดือน ต.ค.50 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงผิดปรกติ โดยยอดส่งออกในเดือน พ.ย.50 ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีถึงร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับ
ปีก่อน หลังจากขยายตัวถึงร้อยละ 22.9 ต่อปีในเดือน ต.ค.50 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นนอกจาก สรอ.
ซึ่งเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากปัญหาซับไพร์ม ทั้งนี้ หากเทียบต่อปีแล้วคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 จะขยายตัวร้อยละ 9.9 หลังจาก
ขยายตัวร้อยละ 17.8 ต่อปีในเดือน ต.ค.50 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตภาคการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 ขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังจากลดลงต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน รายงานจาก
สิงคโปร์ เมื่อ 26 ธ.ค.50 ผลผลิตภาคการผลิตของสิงคโปร์ขยายตัวหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 5.8 ในเดือน พ.ย.50 เมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 1.5, 6.3 ในเดือน ต.ค. และ ก.ย. ตามลำดับและลดลง 14.0 ในเดือน ส.ค.50 ลดลงในอัตราสูงสุด
ในรอบปี หลังจากขยายตัวร้อยละ 26.2 ในเดือน ก.ค.50 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวดีที่สุดในรอบปี ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขยายตัวของ
อุตสาหกรรมขนส่งซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 31.9 ต่อปี โดยเฉพาะการต่อเรือและสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 53.5 ต่อปี
โดยสิงคโปร์เป็นที่ตั้งของบริษัทสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ของโลก 2 บริษัทคือ Keppel Corp และ SembCorp Marine ซึ่งได้รับคำสั่งซื้อ
แท่นขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้นมากหลังจากน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้น นอกจากอุตสาหกรรมขนส่งแล้ว อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขยายตัวถึง
ร้อยละ 5.3 ต่อปี ก็มีส่วนช่วยให้ผลผลิตขยายตัว โดยส่วนใหญ่เป็นผลผลิตของอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 16.7 ต่อปี
ทั้งนี้ ผลผลิตภาคการผลิตมีสัดส่วนถึงประมาณ 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศของสิงคโปร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ธ.ค. 50 26 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.726 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4901/33.8299 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.36406 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 841.20/14.82 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,050/13,150 12,800/12,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.43 87.06 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.89*/29.34* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 26 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--