ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุแนวโน้มการแข่งขันด้านสินเชื่อที่รุนแรงของ ธพ. ในปี 51 อาจนำไปสู่ปัญหาเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ดร.บัณฑิต นิจถาวร รอง
ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 51 ว่า เนื่องจากภาคการใช้จ่ายใน
ประเทศทั้งการลงทุนและอุปโภคบริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น จึงทำให้ ธพ.รับประโยชน์จากการฟื้นตัวดังกล่าวผ่านการปล่อยสินเชื่อที่คาดว่าจะขยายตัวสูง
กว่าปี 50 ที่ขยายตัว 2.5-2.6% ดังนั้น ในปี 51 การแข่งขันปล่อยสินเชื่อจะมีมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ธปท.มีความกังวลว่า การแข่งขันที่รุนแรง จะส่งผล
ให้ ธพ.ลดหย่อนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อให้กับลูกค้าจนอาจนำไปสู่การเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ทั้งที่แนวโน้มของ
เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวควรจะช่วยให้เอ็นพีแอลปรับลดลง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อ ได้แก่ ความผันผวนจากตลาดต่าง
ประเทศ เช่น ผลจากปัญหาซับไพรม์ ในสหรัฐฯ และสภาพคล่องที่ลดต่ำลงในตลาดต่างประเทศ การปรับตัวรองรับกับหลักเกณฑ์ใหม่ที่ ธปท.จะใช้ใน
การกำกับดูแลสถาบันการเงิน เช่น บาเซิลทู ที่จะเริ่มใช้ในเดือน ธ.ค.51 และแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ที่อาจจะจัดทำ
แผนเสนอ ครม.ได้ในไตรมาสที่ 2 และ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ ทั้งนี้ นอกจากการปล่อยสินเชื่อที่แข่งขันมากขึ้นแล้ว ด้านการระดม
เงินฝากก็มีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงและสภาพคล่องที่อยู่ในระดับต่ำ จะ
ทำให้การระดมเงินทุนจากต่างประเทศมีต้นทุนแพงขึ้น ทำให้นักลงทุนไทยและต่างชาติกลับเข้ามาระดมทุนในประเทศไทยแทน จนสร้างความกดดันต่อ
สภาพคล่องในประเทศให้ลดต่ำลง และนำไปสู่การแข่งขันระดมเงินฝาก ซึ่งเริ่มเห็นตั้งแต่ปลายปี 50 แล้ว (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้,
ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่เพิ่มขึ้น 6.4% จากปีก่อน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอ
การค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 51 จำนวน 1,214 คน ระหว่างวันที่ 24-25 ธ.ค.
50 พบว่า หลังจากการเลือกตั้งไปแล้ว ความมั่นใจของประชาชนภาพรวมดีขึ้น คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนในช่วงปีใหม่ประมาณ 73,940.78 ล.บาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.4% ซึ่งอัตราการขยายตัวยังคงเป็นตัวเลขหนึ่งหลัก ถือว่าไม่คึกคักเท่าที่ควร จากอัตราปกติที่จะขยายตัวมากกว่า
10% โดยการใช้จ่ายที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลจากราคาสินค้าแพงขึ้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นในเชิงของปริมาณสินค้าหรือบริการที่มีการจับจ่าย สะท้อน
ว่าประชาชนยังระมัดระวังในการใช้จ่าย นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่าแหล่งที่มาของเงินใช้จ่าย ส่วนใหญ่ 47.9% นำมาจากเงินออม แสดงว่าภาวะ
ทางเศรษฐกิจของประชาชนยังไม่ดี (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีในเดือน พ.ย.50 ปรับตัวดีขึ้น ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิด
เผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ภาคการค้าและบริการในเดือน พ.ย.50 ว่า ดัชนีรวม
ภาคการค้าและบริการปรับขึ้นอยู่ที่ระดับ 44.4 จากระดับ 42.6 ในเดือน ต.ค. ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาค
บริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 41.7, 43.0 และ 46.8 จากระดับ 41.2, 41.3 และ 44.6 ในเดือน ต.ค.ตามลำดับ โดยค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผล
มาจากยอดขายและกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการการท่องเที่ยวและกลุ่มธุรกิจเกี่ยวเนื่อง มีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยมีค่าดัชนีความ
เชื่อมั่นปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดีที่สุดในรอบ 10 เดือน (มติชน, โลกวันนี้)
4. แนวโน้มราคาน้ำมันปี 51 ทรงตัวในระดับสูง ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงแนวโน้มราคาน้ำมันปี
51 คาดว่า จะอยู่ในอัตราทรงตัวระดับสูง โดยน้ำมันดิบเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 70-80 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยน่าจะ
อยู่ที่ 90-100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งอาจเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนชนประหยัดน้ำมัน และหันไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเฉพาะก๊าซ
ธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) โดยคาดว่าความต้องการใช้เบนซินจะลดลง 0.3-0.4% ขณะที่น้ำมันดีเซลจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% นอกจากนี้
ประเมินว่าจะมีการใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จาก 23 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 50 มาอยู่ที่ 69 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 51 สำหับการใช้
แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 51 โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ อี 20 หรือน้ำมันเบนซิน ที่มีส่วนผสมของเบนซิน 80% และเอทานอล
20% ซึ่งราคาจะต่างจากเบนซิน 95 ถึง 5 บาทต่อลิตร โดยโครงสร้างราคาอี 20 จะมีผลในเดือน ม.ค.51 ส่วนราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในปี
51 คาดว่าการใช้จะยังขยายตัวประมาณ 6.6% สาเหตุมาจากราคาที่ยังต่ำกว่าน้ำมัน ประกอบกับความสะดวกในการใช้แอลพีจีเมื่อเทียบกับเอ็นจีวี
อย่างไรก็ตาม จากการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีในช่วงที่ผ่านมา จะทำให้ราคาแอลพีจีขยับต่อเนื่อง โดยอิงราคาต่างประเทศในสัดส่วนที่มากขึ้น
ตามลำดับ จาก 5% จนถึง 40% ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ยอดการใช้แอลพีจีค่อยๆ ลดลง (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวอย่างมากในปีนี้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 50 นาย Yao
Jingyuan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสำนักงานสถิติของจีนเปิดเผยว่า ในปีหน้าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 11.0 ชะลอตัวลงจากในปีนี้
ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 11.5 เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อก็จะชะลอลงจากเป้าหมายร้อยละ 4.7 ในปีนี้ ทั้งนี้
คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และตลอดทั้งปีนี้เศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 11.5 เท่ากับไตรมาสที่ 3 และ 9
เดือนแรกปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นตัวเลข 2 หลักติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ซึ่งนาย Yao Jingyuan ค่อนข้างจะแน่ใจว่าเศรษฐกิจ
ในปีหน้าจะเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 11.0 อย่างไรก็ตามทางการจีนตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 8.0 ในปีหน้าส่วน CPI ในปีหน้าจะสูงถึง
ร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นจากที่ทำสถิติสูงสุดร้อยละ 4.6 ในรอบ 11 เดือนปีนี้ ทั้งนี้การควบคุมภาวะเงินเฟ้อเป็นความสำคัญอันดับแรกที่จะหลีกเลี่ยงภาวะ
การเติบโตอย่างร้อนแรงของเศรษฐกิจได้ซึ่งเมื่อเดือน พ.ย. เงินเฟ้อสูงถึงร้อบละ 6.9 สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 39 ส่วนใหญ่เนื่องจากราคา
อาหารสูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเนื่องจากความตึงเครียดในภูมิภาคและสต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. ลดลง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 27
ธ.ค. 50 เมื่อวานนี้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. ลดลงประกอบกับความตึงเครียดทางการเมืองในภูมิภาคภายหลังการ
สังหารผู้นำฝ่ายค้านของปากีสถาน นาง Benazir Bhutto ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบของ สรอ. เพิ่มขึ้น 65 เซนต์ อยู่ที่บาร์เรลละ 96.62 หลังจากที่ซื้อ
ขายกันที่บาร์เรลละ 97.79 ดอลลาร์ สรอ. ก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนด์ที่ลอนดอน เพิ่มขึ้น
84 เซนต์อยู่ที่บาร์เรลละ 94.78 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้สต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 ธ.ค. ลดลงถึง 3.3 ล้านบาร์เรล อยู่ใน
ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 48 โดยก่อนหน้านั้นนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่าสต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. จะลดลงเพียง 1 ล้านบาร์เรล
(รอยเตอร์)
3. ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 28 ธ.ค.50 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นซึ่งรวมผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำมันแต่ไม่รวมราคาผักผลไม้และอาหารทะเลสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
ต่อปีในเดือน พ.ย.50 สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อปีในเดือน ต.ค.50 โดยนับอัตราเงิน
เฟ้อต่อปีสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปีนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปีในเดือน มี.ค.41 ซึ่งเป็นช่วงที่อัตราภาษีขายใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นต้อง
นำเข้าวัตถุดิบและน้ำมันจำนวนมาก ราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้นจึงส่งผลให้กำไรของภาคธุรกิจลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่
อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าวไม่มีผลต่อทิศทางในตลาดการเงินที่ให้ความสนใจต่อปัญหาซับไพร์มใน สรอ.และเศรษฐกิจ สรอ.ที่กำลัง
ชะลอตัวลงมากกว่าและยังคงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีต่อไป โดยมีโอกาสเพียงร้อยละ 40 ที่จะขึ้น
อัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีหน้า (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของเยอรมนีเพิ่มขึ้นมากในช่วงสัปดาห์ก่อนวันคริสต์มาส รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 27 ธ.ค.50 สมาคมผู้ค้าปลีกของ
เยอรมนีหรือ HDE รายงานยอดค้าปลีกของเยอรมนีในช่วงสัปดาห์ก่อนวันคริสต์มาสเพิ่มขึ้นมาก หลังจากในช่วงต้นเทศกาลเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยซึ่ง
HDE คาดว่าเป็นผลมาจากราคาน้ำมันและสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นผิดปรกติ โดย HDE คาดว่ายอดค้าปลีกในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปีนี้อาจสูงถึง 75
พันล้านยูโรเท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งผู้บริโภคพากันจับจ่ายซื้อสินค้าก่อนที่จะมีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 ในวันที่
1 ม.ค.50 สำหรับในปีหน้า HDE คาดว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มีมูลค่ารวม 400 พันล้านยูโรโดยได้รับผลดีจากค่าจ้างที่คาดว่าจะสูงขึ้นใน
ขณะที่คาดว่าอัตราว่างงานจะลดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ธ.ค. 50 27 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.826 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6191/33.9489 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.35781 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 852.06/12.50 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,100/13,200 13,050/13,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 88.13 87.43 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.89*/29.34* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 26 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุแนวโน้มการแข่งขันด้านสินเชื่อที่รุนแรงของ ธพ. ในปี 51 อาจนำไปสู่ปัญหาเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ดร.บัณฑิต นิจถาวร รอง
ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงทิศทางการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 51 ว่า เนื่องจากภาคการใช้จ่ายใน
ประเทศทั้งการลงทุนและอุปโภคบริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น จึงทำให้ ธพ.รับประโยชน์จากการฟื้นตัวดังกล่าวผ่านการปล่อยสินเชื่อที่คาดว่าจะขยายตัวสูง
กว่าปี 50 ที่ขยายตัว 2.5-2.6% ดังนั้น ในปี 51 การแข่งขันปล่อยสินเชื่อจะมีมากยิ่งขึ้น ซึ่ง ธปท.มีความกังวลว่า การแข่งขันที่รุนแรง จะส่งผล
ให้ ธพ.ลดหย่อนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อให้กับลูกค้าจนอาจนำไปสู่การเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ทั้งที่แนวโน้มของ
เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวควรจะช่วยให้เอ็นพีแอลปรับลดลง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อ ได้แก่ ความผันผวนจากตลาดต่าง
ประเทศ เช่น ผลจากปัญหาซับไพรม์ ในสหรัฐฯ และสภาพคล่องที่ลดต่ำลงในตลาดต่างประเทศ การปรับตัวรองรับกับหลักเกณฑ์ใหม่ที่ ธปท.จะใช้ใน
การกำกับดูแลสถาบันการเงิน เช่น บาเซิลทู ที่จะเริ่มใช้ในเดือน ธ.ค.51 และแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (มาสเตอร์แพลน) ที่อาจจะจัดทำ
แผนเสนอ ครม.ได้ในไตรมาสที่ 2 และ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ ทั้งนี้ นอกจากการปล่อยสินเชื่อที่แข่งขันมากขึ้นแล้ว ด้านการระดม
เงินฝากก็มีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงและสภาพคล่องที่อยู่ในระดับต่ำ จะ
ทำให้การระดมเงินทุนจากต่างประเทศมีต้นทุนแพงขึ้น ทำให้นักลงทุนไทยและต่างชาติกลับเข้ามาระดมทุนในประเทศไทยแทน จนสร้างความกดดันต่อ
สภาพคล่องในประเทศให้ลดต่ำลง และนำไปสู่การแข่งขันระดมเงินฝาก ซึ่งเริ่มเห็นตั้งแต่ปลายปี 50 แล้ว (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้,
ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่เพิ่มขึ้น 6.4% จากปีก่อน ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอ
การค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 51 จำนวน 1,214 คน ระหว่างวันที่ 24-25 ธ.ค.
50 พบว่า หลังจากการเลือกตั้งไปแล้ว ความมั่นใจของประชาชนภาพรวมดีขึ้น คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนในช่วงปีใหม่ประมาณ 73,940.78 ล.บาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.4% ซึ่งอัตราการขยายตัวยังคงเป็นตัวเลขหนึ่งหลัก ถือว่าไม่คึกคักเท่าที่ควร จากอัตราปกติที่จะขยายตัวมากกว่า
10% โดยการใช้จ่ายที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลจากราคาสินค้าแพงขึ้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นในเชิงของปริมาณสินค้าหรือบริการที่มีการจับจ่าย สะท้อน
ว่าประชาชนยังระมัดระวังในการใช้จ่าย นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่าแหล่งที่มาของเงินใช้จ่าย ส่วนใหญ่ 47.9% นำมาจากเงินออม แสดงว่าภาวะ
ทางเศรษฐกิจของประชาชนยังไม่ดี (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีในเดือน พ.ย.50 ปรับตัวดีขึ้น ผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิด
เผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ภาคการค้าและบริการในเดือน พ.ย.50 ว่า ดัชนีรวม
ภาคการค้าและบริการปรับขึ้นอยู่ที่ระดับ 44.4 จากระดับ 42.6 ในเดือน ต.ค. ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาค
บริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 41.7, 43.0 และ 46.8 จากระดับ 41.2, 41.3 และ 44.6 ในเดือน ต.ค.ตามลำดับ โดยค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผล
มาจากยอดขายและกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการการท่องเที่ยวและกลุ่มธุรกิจเกี่ยวเนื่อง มีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยมีค่าดัชนีความ
เชื่อมั่นปัจจุบันอยู่ในระดับที่ดีที่สุดในรอบ 10 เดือน (มติชน, โลกวันนี้)
4. แนวโน้มราคาน้ำมันปี 51 ทรงตัวในระดับสูง ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงแนวโน้มราคาน้ำมันปี
51 คาดว่า จะอยู่ในอัตราทรงตัวระดับสูง โดยน้ำมันดิบเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 70-80 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยน่าจะ
อยู่ที่ 90-100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งอาจเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนชนประหยัดน้ำมัน และหันไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเฉพาะก๊าซ
ธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) โดยคาดว่าความต้องการใช้เบนซินจะลดลง 0.3-0.4% ขณะที่น้ำมันดีเซลจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% นอกจากนี้
ประเมินว่าจะมีการใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จาก 23 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 50 มาอยู่ที่ 69 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในปี 51 สำหับการใช้
แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 51 โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ อี 20 หรือน้ำมันเบนซิน ที่มีส่วนผสมของเบนซิน 80% และเอทานอล
20% ซึ่งราคาจะต่างจากเบนซิน 95 ถึง 5 บาทต่อลิตร โดยโครงสร้างราคาอี 20 จะมีผลในเดือน ม.ค.51 ส่วนราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในปี
51 คาดว่าการใช้จะยังขยายตัวประมาณ 6.6% สาเหตุมาจากราคาที่ยังต่ำกว่าน้ำมัน ประกอบกับความสะดวกในการใช้แอลพีจีเมื่อเทียบกับเอ็นจีวี
อย่างไรก็ตาม จากการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีในช่วงที่ผ่านมา จะทำให้ราคาแอลพีจีขยับต่อเนื่อง โดยอิงราคาต่างประเทศในสัดส่วนที่มากขึ้น
ตามลำดับ จาก 5% จนถึง 40% ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ยอดการใช้แอลพีจีค่อยๆ ลดลง (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวอย่างมากในปีนี้ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 50 นาย Yao
Jingyuan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสำนักงานสถิติของจีนเปิดเผยว่า ในปีหน้าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 11.0 ชะลอตัวลงจากในปีนี้
ที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 11.5 เช่นเดียวกับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อก็จะชะลอลงจากเป้าหมายร้อยละ 4.7 ในปีนี้ ทั้งนี้
คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และตลอดทั้งปีนี้เศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 11.5 เท่ากับไตรมาสที่ 3 และ 9
เดือนแรกปีนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นตัวเลข 2 หลักติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ซึ่งนาย Yao Jingyuan ค่อนข้างจะแน่ใจว่าเศรษฐกิจ
ในปีหน้าจะเติบโตต่ำกว่าร้อยละ 11.0 อย่างไรก็ตามทางการจีนตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 8.0 ในปีหน้าส่วน CPI ในปีหน้าจะสูงถึง
ร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นจากที่ทำสถิติสูงสุดร้อยละ 4.6 ในรอบ 11 เดือนปีนี้ ทั้งนี้การควบคุมภาวะเงินเฟ้อเป็นความสำคัญอันดับแรกที่จะหลีกเลี่ยงภาวะ
การเติบโตอย่างร้อนแรงของเศรษฐกิจได้ซึ่งเมื่อเดือน พ.ย. เงินเฟ้อสูงถึงร้อบละ 6.9 สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 39 ส่วนใหญ่เนื่องจากราคา
อาหารสูงขึ้น (รอยเตอร์)
2. ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเนื่องจากความตึงเครียดในภูมิภาคและสต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. ลดลง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 27
ธ.ค. 50 เมื่อวานนี้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นเนื่องจากสต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. ลดลงประกอบกับความตึงเครียดทางการเมืองในภูมิภาคภายหลังการ
สังหารผู้นำฝ่ายค้านของปากีสถาน นาง Benazir Bhutto ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบของ สรอ. เพิ่มขึ้น 65 เซนต์ อยู่ที่บาร์เรลละ 96.62 หลังจากที่ซื้อ
ขายกันที่บาร์เรลละ 97.79 ดอลลาร์ สรอ. ก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนด์ที่ลอนดอน เพิ่มขึ้น
84 เซนต์อยู่ที่บาร์เรลละ 94.78 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้สต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 ธ.ค. ลดลงถึง 3.3 ล้านบาร์เรล อยู่ใน
ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 48 โดยก่อนหน้านั้นนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่าสต็อกน้ำมันดิบของ สรอ. จะลดลงเพียง 1 ล้านบาร์เรล
(รอยเตอร์)
3. ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 28 ธ.ค.50 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นซึ่งรวมผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับน้ำมันแต่ไม่รวมราคาผักผลไม้และอาหารทะเลสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
ต่อปีในเดือน พ.ย.50 สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ต่อปีในเดือน ต.ค.50 โดยนับอัตราเงิน
เฟ้อต่อปีสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปีนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปีในเดือน มี.ค.41 ซึ่งเป็นช่วงที่อัตราภาษีขายใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นต้อง
นำเข้าวัตถุดิบและน้ำมันจำนวนมาก ราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้นจึงส่งผลให้กำไรของภาคธุรกิจลดลงซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่
อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าวไม่มีผลต่อทิศทางในตลาดการเงินที่ให้ความสนใจต่อปัญหาซับไพร์มใน สรอ.และเศรษฐกิจ สรอ.ที่กำลัง
ชะลอตัวลงมากกว่าและยังคงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีต่อไป โดยมีโอกาสเพียงร้อยละ 40 ที่จะขึ้น
อัตราดอกเบี้ยภายในสิ้นปีหน้า (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของเยอรมนีเพิ่มขึ้นมากในช่วงสัปดาห์ก่อนวันคริสต์มาส รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 27 ธ.ค.50 สมาคมผู้ค้าปลีกของ
เยอรมนีหรือ HDE รายงานยอดค้าปลีกของเยอรมนีในช่วงสัปดาห์ก่อนวันคริสต์มาสเพิ่มขึ้นมาก หลังจากในช่วงต้นเทศกาลเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยซึ่ง
HDE คาดว่าเป็นผลมาจากราคาน้ำมันและสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นผิดปรกติ โดย HDE คาดว่ายอดค้าปลีกในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปีนี้อาจสูงถึง 75
พันล้านยูโรเท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งผู้บริโภคพากันจับจ่ายซื้อสินค้าก่อนที่จะมีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 ในวันที่
1 ม.ค.50 สำหรับในปีหน้า HDE คาดว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 มีมูลค่ารวม 400 พันล้านยูโรโดยได้รับผลดีจากค่าจ้างที่คาดว่าจะสูงขึ้นใน
ขณะที่คาดว่าอัตราว่างงานจะลดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ธ.ค. 50 27 ธ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.826 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.6191/33.9489 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.35781 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 852.06/12.50 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,100/13,200 13,050/13,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 88.13 87.43 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34* 32.89*/29.34* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 26 ธ.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--