ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนพฤศจิกายน 2550 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยอุปสงค์ในประเทศขยายตัวดีสอดคล้องกับการนำเข้า ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวในเกณฑ์สูง ในด้านอุปทาน ดัชนีผลผลิตพืชผลสำคัญแม้ยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับ ระยะเดียวกันปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีราคาพืชผลปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี สำหรับการท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่องโดยเฉพาะฝั่งอันดามันที่เข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นจากผลของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน ปี 2550 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.8 จาก ระยะเดียวกันปีก่อน โดยหมวดที่ผลิตเพื่อส่งออกยังคงขยายตัวสูง จากหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดยานยนต์ รวมทั้งหมวด อาหารที่ขยายตัวตามการผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.9 ลดลงจากร้อยละ 77.8 ในเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อปรับฤดูกาล
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน1/ ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจาก เดือนก่อนตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ และเครื่องชี้หมวดเชื้อเพลิงที่ขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เครื่องชี้หมวดยานยนต์ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากการชะลอการตัดสินใจเพื่อรอนโยบายภาษีสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2551 สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัว ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนตามการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่เร่งตัวมาก
3. ภาคการคลัง ในเดือนพฤศจิกายน 2550 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 132.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.7 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นจากทั้งฐานรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากตามภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนหนึ่งจากการที่นิติบุคคลบางแห่ง มีการเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นเดือนนี้ และฐานการบริโภคตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นผลจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและ การนำเข้าที่ขยายตัวดีเป็นสำคัญ สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 15.2 ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 37.1 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลง 38.1 พันล้านบาท อยู่ที่ 56.4 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ดุลการค้า เกินดุล 1,964 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 14,611 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนในทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์โลหะและพลาสติก รวมทั้งอัญมณีและทองคำ สำหรับการนำเข้ามีมูลค่า 12,647 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 17.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงในเกือบทุกหมวด ยกเว้นในหมวดสินค้าทุนที่ลดลงเนื่องจากฐานสูงในปีก่อนที่มีการนำเข้าเครื่องบิน จำนวน 3 ลำ เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ที่เกินดุล 683 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากดุลการท่องเที่ยวที่เกินดุลเพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 2,647 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงิน เกินดุล 1,666 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ระดับ 84.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 18.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้า ในหมวดพลังงานเป็นสำคัญ โดยในเดือนนี้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 2.10 และ 1.60 บาท ตามลำดับ ขณะที่ราคาในหมวดอาหารสดค่อนข้างทรงตัว ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากการปรับขึ้น ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าธรรมเนียมการศึกษา และสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ปัจจัยสำคัญมาจากราคาผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน และราคาผลผลิตเกษตรกรรม
6. ภาวะการเงิน ในเดือนพฤศจิกายน 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน2/ (Depository Corporations) ขยายตัวร้อยละ 1.8 โดยลูกค้าส่วนหนึ่งได้ถอนเงินเพื่อลงทุนในพันธบัตร สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยเป็นผลจากการขยายตัวของ ทั้งสินเชื่อที่ให้แก่ครัวเรือนและสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ทั้งนี้ สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนและอยู่ในแนวโน้มเร่งตัว ขณะที่ปริมาณเงิน ตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 1.7
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี และทรงตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
7. ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 33.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลภูมิภาคและค่าเงินสกุลหลักบางสกุล เช่น เยนและยูโร ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับ 76.86 อ่อนลงจากระดับ 77.47 ในเดือนก่อน
ในช่วงวันที่ 1-21 ธันวาคม 2550 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน โดยเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 33.69 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: punpilay@bot.or.th
1/ ธปท. ได้มีการปรับปรุงดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนย้อนหลังตั้งแต่ปี 2543 เพื่อให้สะท้อนการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนได้ดีขึ้น โดยมี 5 องค์ประกอบ จาก 10 เครื่องชี้ (จากเดิม 6 เครื่องชี้) และให้น้ำหนักองค์ประกอบตามโครงสร้างการบริโภคภาคเอกชน รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่
http://www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBank/Econcond/econind/Leading_Inflation/12-28-2007-Th-i/revise-pci-t.pdf
2/ สถาบันรับฝากเงิน หมายถึง สถาบันรับฝากเงินทุกประเภท ยกเว้น ธนาคารแห่งประเทศไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นจากผลของราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน ปี 2550 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.8 จาก ระยะเดียวกันปีก่อน โดยหมวดที่ผลิตเพื่อส่งออกยังคงขยายตัวสูง จากหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดยานยนต์ รวมทั้งหมวด อาหารที่ขยายตัวตามการผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 76.9 ลดลงจากร้อยละ 77.8 ในเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อปรับฤดูกาล
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน1/ ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจาก เดือนก่อนตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ และเครื่องชี้หมวดเชื้อเพลิงที่ขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เครื่องชี้หมวดยานยนต์ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากการชะลอการตัดสินใจเพื่อรอนโยบายภาษีสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2551 สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัว ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนตามการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่เร่งตัวมาก
3. ภาคการคลัง ในเดือนพฤศจิกายน 2550 รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 132.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.7 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นจากทั้งฐานรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากตามภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนหนึ่งจากการที่นิติบุคคลบางแห่ง มีการเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นเดือนนี้ และฐานการบริโภคตามภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นผลจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและ การนำเข้าที่ขยายตัวดีเป็นสำคัญ สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 15.2 ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 37.1 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลง 38.1 พันล้านบาท อยู่ที่ 56.4 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ดุลการค้า เกินดุล 1,964 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 14,611 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนในทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์โลหะและพลาสติก รวมทั้งอัญมณีและทองคำ สำหรับการนำเข้ามีมูลค่า 12,647 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 17.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงในเกือบทุกหมวด ยกเว้นในหมวดสินค้าทุนที่ลดลงเนื่องจากฐานสูงในปีก่อนที่มีการนำเข้าเครื่องบิน จำนวน 3 ลำ เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ที่เกินดุล 683 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากดุลการท่องเที่ยวที่เกินดุลเพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 2,647 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงิน เกินดุล 1,666 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ระดับ 84.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 18.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เร่งขึ้นจากเดือนก่อน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้า ในหมวดพลังงานเป็นสำคัญ โดยในเดือนนี้ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 2.10 และ 1.60 บาท ตามลำดับ ขณะที่ราคาในหมวดอาหารสดค่อนข้างทรงตัว ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากการปรับขึ้น ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าธรรมเนียมการศึกษา และสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ปัจจัยสำคัญมาจากราคาผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมัน และราคาผลผลิตเกษตรกรรม
6. ภาวะการเงิน ในเดือนพฤศจิกายน 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน2/ (Depository Corporations) ขยายตัวร้อยละ 1.8 โดยลูกค้าส่วนหนึ่งได้ถอนเงินเพื่อลงทุนในพันธบัตร สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยเป็นผลจากการขยายตัวของ ทั้งสินเชื่อที่ให้แก่ครัวเรือนและสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ทั้งนี้ สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนและอยู่ในแนวโน้มเร่งตัว ขณะที่ปริมาณเงิน ตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 1.7
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี และทรงตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
7. ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 33.89 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลภูมิภาคและค่าเงินสกุลหลักบางสกุล เช่น เยนและยูโร ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ระดับ 76.86 อ่อนลงจากระดับ 77.47 ในเดือนก่อน
ในช่วงวันที่ 1-21 ธันวาคม 2550 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน โดยเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 33.69 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: punpilay@bot.or.th
1/ ธปท. ได้มีการปรับปรุงดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนย้อนหลังตั้งแต่ปี 2543 เพื่อให้สะท้อนการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนได้ดีขึ้น โดยมี 5 องค์ประกอบ จาก 10 เครื่องชี้ (จากเดิม 6 เครื่องชี้) และให้น้ำหนักองค์ประกอบตามโครงสร้างการบริโภคภาคเอกชน รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่
http://www.bot.or.th/BOTHomepage/DataBank/Econcond/econind/Leading_Inflation/12-28-2007-Th-i/revise-pci-t.pdf
2/ สถาบันรับฝากเงิน หมายถึง สถาบันรับฝากเงินทุกประเภท ยกเว้น ธนาคารแห่งประเทศไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--