ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผย ธ.กรุงเทพปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารใหม่รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธ.กรุงเทพแจ้งขอปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารใหม่ โดยการเบิกถอนเงินข้ามธนาคารผ่าน
เอทีเอ็มจากครั้งละ 3 บาทต่อรายการ เพิ่มเป็น 5 บาทต่อรายการ กรณีที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเอทีเอ็มกดเงินผ่านตู้เอทีเอ็มต่างธนาคารในแต่ละเดือน
เกินกว่า 4 ครั้ง นอกจากนี้ ยังได้ปรับเพิ่มค่าบริการการกดเงินข้ามธนาคารผ่านเอทีเอ็มและข้ามสาขาในต่างจังหวัดจากเดิมครั้งละ 20 บาท
ต่อรายการ เป็น 25 บาทต่อรายการ ทั้งนี้ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.50 โดย ธ.กรุงเทพแจ้งว่าได้ปิดประกาศแจ้งลูกค้าทราบมาก่อน
ล่วงหน้า 30 วันแล้ว (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบปี 50 ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบต่อปี นับเป็นอัตราสูงที่สุด
ในรอบปี 50 และเทียบเฉลี่ยทั้งปี 50 กับปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ ก.พาณิชย์ตั้งไว้ว่าอัตราเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2-2.5
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปทั้งปีที่สูงขึ้นร้อยละ 2.3 นั้น เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 49 ที่เงินเฟ้อทั้งปีสูงถึงร้อยละ 4.7 เนื่องจาก
ในช่วง 9 เดือนแรกราคาเฉลี่ยน้ำมันในประเทศมีแนวโน้มลดลง และเริ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีตามภาวะราคาตลาดโลกที่ส่งผลให้
มีการปรับค่าโดยสารสาธารณะ สินค้าต่าง ๆ มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และยังมีการปรับภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุราสูงขึ้น ทำให้ดัชนีหมวดอื่น ๆ
ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.2 ถึงแม้ค่าไฟฟ้าจะปรับลดลงก็ตาม ส่วนดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มในปี 50 สูงขึ้น
ค่อนข้างมากที่ร้อยละ 4 จากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในกลุ่มใช้ประกอบอาหารในช่วงครึ่งปีหลัง ถึงแม้กลุ่มอาหารสดจะมีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อ
เทียบกับปี 49 ดัชนียังคงสูงขึ้นถึงร้อยละ 11.9 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2
เมื่อเทียบต่อปี และเฉลี่ยทั้งปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า,ข่าวสด)
3. ครม.เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการคลังที่ดี ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการคลังที่ดี พ.ศ......ตามที่สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ โดยสาระสำคัญได้กำหนดความหมายและลักษณะการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งกำหนดให้
หน่วยงานต้องจัดทำรายงานทางการคลัง และกำหนดหลักเกณฑ์การวิเคราะห์ และสอบทานรายงานการคลังสาธารณะ และกำหนดวิธีการเปิดเผย
ข้อมูลทางการคลังสาธารณะ และกำหนดวิธีการเปิดเผยข้อมูลทางการคลังต่อสาธารณะ ทั้งนี้ การบริหารจัดการทางการคลังที่ดี เป็นเงื่อนไข
สำคัญต่อการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างวินัยและความยั่งยืนทางการคลัง และเป็นการรักษาเสถียรภาพให้ดำรงอยู่
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกประเทศ (กรุงเทพธุรกิจ)
4 . ตลท.เตรียมเสนอแผนสร้างความสอดคล้องตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดพันธบัตร เพื่อเพิ่มศักยภาพการระดมทุน ประธาน
กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท.กำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าหารือกับ ครม.เศรษฐกิจ ในประเด็น
เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับการขยายขนาดของตลาดหลักทรัพย์ โดยจะเข้าหรือกับ ครม.เศรษฐกิจทันทีที่รัฐบาลจัดตั้งแล้วเสร็จ โดยมีแผน
ดำเนินงาน 3 แผน คือ 1) เพิ่มจำนวนสินค้า 2) เพิ่มจำนวนนักลงทุนประเภทสถาบันทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น และ 3) การแปรรูป
ตลท. เป็นบริษัทจำกัดมหาชน ด้านกรรมการและผู้จัดการ ตลท.กล่าวว่า สิ่งที่ ตลท.ต้องการให้ ครม.เศรษฐกิจเร่งดำเนินการ คือ
การประสานงานให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดพันธบัตร โดยการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการทำงานของ
3 ตลาดอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง และเพิ่มศักยภาพในการรองรับการระดมทุนของภาคเอกชน (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนี PMI โลกในเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง รายงานจากลอนดอนเมื่อ 2 ม.ค.51 The JP Morgan
เปิดเผยผลการสำรวจ Global Manufacturing PMI ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการขยายตัวของภาคการผลิต ที่ทำการสำรวจจากผู้ประกอบการภาค
การผลิตในประเทศต่างๆ ครอบคลุมทั้ง สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และ รัสเซีย พบว่า PMI ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงที่
ระดับ 51.4 จากระดับ 52.2 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง สาเหตุหลักจากการชะลอตัวของภาคการผลิต
สรอ. โดย ISM Manufacturing index ของ สรอ. ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.46 ที่ระดับ 47.7 จากระดับ
50.8 และเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งสะท้อนการหดตัวของภาคการผลิต สรอ. อย่างไรก็ตาม ดัชนีอื่นๆ ยังมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่
The global input prices index ซึ่งเพิ่มขึ้นที่ระดับ 67.2 จากระดับ 67.0 ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับ The Employment index
เพิ่มขึ้นที่ระดับ 50.9 จากระดับ 50.5 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. การจ้างงานของเยอรมนีปี 50 เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกครั้งนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเข้าด้วยกัน รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 2 ม.ค.51 สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นว่า การจ้างงานของเยอรมนีในปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
หรือ 649,000 อัตรา เทียบกับปี 49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หรือ 242,000 อัตรา ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุดอีกครั้งนับตั้งแต่ปี 43 ที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.9 หลังจากมีการรวมประเทศเข้าด้วยกันเมื่อปี 33 ทำให้มีจำนวนการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 39.7 ล้านอัตรา โดยเป็นผลมาจากการที่
เศรษฐกิจในปี 50 เติบโตดีทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ยอดรวมอัตราการว่างงานที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วลดลงจากกว่า 5 ล้านคน
ในเดือน มี.ค.48 อยู่ที่ระดับ 3.6 ล้านคน ในเดือน พ.ย. ด้านผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่า ยอดรวม
อัตราการว่างงานที่ปรับตัวเลขแล้วในเดือนนี้จะลดลง 30,000 คน ซึ่งจะเป็นการลดลงติดต่อกันครั้งที่ 21 ทั้งนี้ สนง.สถิติจะเผยแพร่ตัวเลข
ตลาดแรงงานของเดือน ธ.ค.50 ในวันพฤหัสบดีนี้ (รอยเตอร์)
3. ดัชนี PMI ชี้ว่าภาคการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลงเล็กน้อยในเดือน ธ.ค.50 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 2 ม.ค.51 ดัชนี
ชี้วัดภาคการผลิตจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อของธุรกิจประมาณ 400 แห่งหรือที่เรียกว่า PMI ของเยอรมนีลดลงเล็กน้อย
หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 53.6 ในเดือน ธ.ค.50 จากระดับ 53.7 ในเดือน พ.ย.50 ดีกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลง
มากกว่านี้มาอยู่ที่ระดับ 53.2 ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของดัชนีดังกล่าวในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 50 อยู่ที่ 53.0 ต่ำสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 49.8 ใน
ไตรมาสที่ 3 ปี 48 แต่อย่างไรก็ดี ดัชนียังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการขยายตัวของภาคการผลิตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 28 ติดต่อกัน
ขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่มีการสำรวจดัชนีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี ผลสำรวจครั้งล่าสุดโดย Ifo กลับชี้ว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ
และนักลงทุนในเยอรมนีลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 จากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
และค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.มาอยู่ที่ระดับเกือบ 1.50 ดอลลาร์ต่อยูโร ส่งผลให้หลายสถาบันพากันปรับลด
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 51 ลง (รอยเตอร์)
4. จีนดำเนินนโยบายใหม่ในการปรับค่าเงินหยวน รายงานจากเชียงไฮ้ เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 51 ธ.กลางจีนปรับค่าเงินหยวนอีกครั้ง
แต่ไม่ฉับพลันเหมือนเมื่อปี 48 ที่การปรับค่าเงินหยวนในครั้งนั้นได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยปัจจุบันเป็นการปรับค่าเงินให้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในรอบหลายสัปดาห์ และส่งสัญญานว่าจะปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่แล้วเงินหยวนเมื่อเทียบต่อดอลลาร์
สรอ. แข็งค่าขึ้นอย่างมากซึ่งบรรดา trader ต่างเรียกปรากฎการณ์ดังกล่าวว่า mini-revaluation และชี้ว่า ธ.กลางจีนได้เริ่มดำเนิน
นโยบายใหม่ในตลาดเงินตราเพื่อที่จะต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เชื่อว่า ธ.กลางจีนได้ปรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
และยอมให้เงินหยวนแข็งค่าได้ในแต่ละครั้งสูงถึงร้อยละ 2-3 ในปีนี้ เพื่อให้เงินหยวนมีค่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามที่ทางการต้องการเร็วขึ้น
และมีส่วนช่วยให้เงินทุนไหลเข้าเพื่อการเก็งกำไรค่าเงินลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ธ.กลางจะดำเนินนโยบายการเงินแบบยืดหยุ่นเพื่อที่จะให้
เงินหยวนมีค่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกครั้งในภายหลัง ทั้งนี้เมื่อวานนี้เงินหยวนเมื่อเทียบต่อเงินดอลลาร์ สรอ. มีค่าอยู่ที่ 7.2934 ใกล้เคียง
กับการปรับค่าครั้งก่อนที่ 7.2930 และแข็งค่าขึ้นจากระดับ 7.3041 ในการปรับค่าเงินก่อนหน้านั้น ซึ่งเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาเงินหยวนแข็งค่าขึ้น
ร้อยละ 2.33 เป็นการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ที่ได้มีการปรับค่าเงิน อย่างไรก็ตามตลอดทั้งปีที่แล้วเงินหยวนแข็งค่าขึ้นเพียง
ร้อยละ 6.86 เท่านั้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ม.ค. 51 2 ม.ค. 51 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.606 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.3938/33.7256 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.34969 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 842.97/12.90 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,350/13,450 13,200/13,300 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 89.09 88.47 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.29*/29.74* 32.89/29.34 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผย ธ.กรุงเทพปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารใหม่รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธ.กรุงเทพแจ้งขอปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารใหม่ โดยการเบิกถอนเงินข้ามธนาคารผ่าน
เอทีเอ็มจากครั้งละ 3 บาทต่อรายการ เพิ่มเป็น 5 บาทต่อรายการ กรณีที่ลูกค้าผู้ถือบัตรเอทีเอ็มกดเงินผ่านตู้เอทีเอ็มต่างธนาคารในแต่ละเดือน
เกินกว่า 4 ครั้ง นอกจากนี้ ยังได้ปรับเพิ่มค่าบริการการกดเงินข้ามธนาคารผ่านเอทีเอ็มและข้ามสาขาในต่างจังหวัดจากเดิมครั้งละ 20 บาท
ต่อรายการ เป็น 25 บาทต่อรายการ ทั้งนี้ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.50 โดย ธ.กรุงเทพแจ้งว่าได้ปิดประกาศแจ้งลูกค้าทราบมาก่อน
ล่วงหน้า 30 วันแล้ว (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบต่อปี สูงสุดในรอบปี 50 ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบต่อปี นับเป็นอัตราสูงที่สุด
ในรอบปี 50 และเทียบเฉลี่ยทั้งปี 50 กับปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ ก.พาณิชย์ตั้งไว้ว่าอัตราเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 2-2.5
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปทั้งปีที่สูงขึ้นร้อยละ 2.3 นั้น เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 49 ที่เงินเฟ้อทั้งปีสูงถึงร้อยละ 4.7 เนื่องจาก
ในช่วง 9 เดือนแรกราคาเฉลี่ยน้ำมันในประเทศมีแนวโน้มลดลง และเริ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีตามภาวะราคาตลาดโลกที่ส่งผลให้
มีการปรับค่าโดยสารสาธารณะ สินค้าต่าง ๆ มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และยังมีการปรับภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุราสูงขึ้น ทำให้ดัชนีหมวดอื่น ๆ
ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.2 ถึงแม้ค่าไฟฟ้าจะปรับลดลงก็ตาม ส่วนดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มในปี 50 สูงขึ้น
ค่อนข้างมากที่ร้อยละ 4 จากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในกลุ่มใช้ประกอบอาหารในช่วงครึ่งปีหลัง ถึงแม้กลุ่มอาหารสดจะมีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อ
เทียบกับปี 49 ดัชนียังคงสูงขึ้นถึงร้อยละ 11.9 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2
เมื่อเทียบต่อปี และเฉลี่ยทั้งปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า,ข่าวสด)
3. ครม.เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการคลังที่ดี ดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารการคลังที่ดี พ.ศ......ตามที่สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ โดยสาระสำคัญได้กำหนดความหมายและลักษณะการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งกำหนดให้
หน่วยงานต้องจัดทำรายงานทางการคลัง และกำหนดหลักเกณฑ์การวิเคราะห์ และสอบทานรายงานการคลังสาธารณะ และกำหนดวิธีการเปิดเผย
ข้อมูลทางการคลังสาธารณะ และกำหนดวิธีการเปิดเผยข้อมูลทางการคลังต่อสาธารณะ ทั้งนี้ การบริหารจัดการทางการคลังที่ดี เป็นเงื่อนไข
สำคัญต่อการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างวินัยและความยั่งยืนทางการคลัง และเป็นการรักษาเสถียรภาพให้ดำรงอยู่
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกประเทศ (กรุงเทพธุรกิจ)
4 . ตลท.เตรียมเสนอแผนสร้างความสอดคล้องตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดพันธบัตร เพื่อเพิ่มศักยภาพการระดมทุน ประธาน
กรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท.กำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าหารือกับ ครม.เศรษฐกิจ ในประเด็น
เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับการขยายขนาดของตลาดหลักทรัพย์ โดยจะเข้าหรือกับ ครม.เศรษฐกิจทันทีที่รัฐบาลจัดตั้งแล้วเสร็จ โดยมีแผน
ดำเนินงาน 3 แผน คือ 1) เพิ่มจำนวนสินค้า 2) เพิ่มจำนวนนักลงทุนประเภทสถาบันทั้งในและต่างประเทศให้มากขึ้น และ 3) การแปรรูป
ตลท. เป็นบริษัทจำกัดมหาชน ด้านกรรมการและผู้จัดการ ตลท.กล่าวว่า สิ่งที่ ตลท.ต้องการให้ ครม.เศรษฐกิจเร่งดำเนินการ คือ
การประสานงานให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดพันธบัตร โดยการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลการทำงานของ
3 ตลาดอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง และเพิ่มศักยภาพในการรองรับการระดมทุนของภาคเอกชน (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนี PMI โลกในเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง รายงานจากลอนดอนเมื่อ 2 ม.ค.51 The JP Morgan
เปิดเผยผลการสำรวจ Global Manufacturing PMI ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการขยายตัวของภาคการผลิต ที่ทำการสำรวจจากผู้ประกอบการภาค
การผลิตในประเทศต่างๆ ครอบคลุมทั้ง สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และ รัสเซีย พบว่า PMI ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงที่
ระดับ 51.4 จากระดับ 52.2 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง สาเหตุหลักจากการชะลอตัวของภาคการผลิต
สรอ. โดย ISM Manufacturing index ของ สรอ. ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.46 ที่ระดับ 47.7 จากระดับ
50.8 และเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งสะท้อนการหดตัวของภาคการผลิต สรอ. อย่างไรก็ตาม ดัชนีอื่นๆ ยังมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่
The global input prices index ซึ่งเพิ่มขึ้นที่ระดับ 67.2 จากระดับ 67.0 ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับ The Employment index
เพิ่มขึ้นที่ระดับ 50.9 จากระดับ 50.5 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. การจ้างงานของเยอรมนีปี 50 เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกครั้งนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเข้าด้วยกัน รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 2 ม.ค.51 สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นว่า การจ้างงานของเยอรมนีในปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
หรือ 649,000 อัตรา เทียบกับปี 49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หรือ 242,000 อัตรา ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุดอีกครั้งนับตั้งแต่ปี 43 ที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.9 หลังจากมีการรวมประเทศเข้าด้วยกันเมื่อปี 33 ทำให้มีจำนวนการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 39.7 ล้านอัตรา โดยเป็นผลมาจากการที่
เศรษฐกิจในปี 50 เติบโตดีทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่ยอดรวมอัตราการว่างงานที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วลดลงจากกว่า 5 ล้านคน
ในเดือน มี.ค.48 อยู่ที่ระดับ 3.6 ล้านคน ในเดือน พ.ย. ด้านผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่า ยอดรวม
อัตราการว่างงานที่ปรับตัวเลขแล้วในเดือนนี้จะลดลง 30,000 คน ซึ่งจะเป็นการลดลงติดต่อกันครั้งที่ 21 ทั้งนี้ สนง.สถิติจะเผยแพร่ตัวเลข
ตลาดแรงงานของเดือน ธ.ค.50 ในวันพฤหัสบดีนี้ (รอยเตอร์)
3. ดัชนี PMI ชี้ว่าภาคการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลงเล็กน้อยในเดือน ธ.ค.50 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 2 ม.ค.51 ดัชนี
ชี้วัดภาคการผลิตจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อของธุรกิจประมาณ 400 แห่งหรือที่เรียกว่า PMI ของเยอรมนีลดลงเล็กน้อย
หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 53.6 ในเดือน ธ.ค.50 จากระดับ 53.7 ในเดือน พ.ย.50 ดีกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลง
มากกว่านี้มาอยู่ที่ระดับ 53.2 ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของดัชนีดังกล่าวในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 50 อยู่ที่ 53.0 ต่ำสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 49.8 ใน
ไตรมาสที่ 3 ปี 48 แต่อย่างไรก็ดี ดัชนียังอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการขยายตัวของภาคการผลิตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 28 ติดต่อกัน
ขยายตัวต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่มีการสำรวจดัชนีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี ผลสำรวจครั้งล่าสุดโดย Ifo กลับชี้ว่าความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ
และนักลงทุนในเยอรมนีลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.49 จากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
และค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.มาอยู่ที่ระดับเกือบ 1.50 ดอลลาร์ต่อยูโร ส่งผลให้หลายสถาบันพากันปรับลด
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 51 ลง (รอยเตอร์)
4. จีนดำเนินนโยบายใหม่ในการปรับค่าเงินหยวน รายงานจากเชียงไฮ้ เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 51 ธ.กลางจีนปรับค่าเงินหยวนอีกครั้ง
แต่ไม่ฉับพลันเหมือนเมื่อปี 48 ที่การปรับค่าเงินหยวนในครั้งนั้นได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยปัจจุบันเป็นการปรับค่าเงินให้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในรอบหลายสัปดาห์ และส่งสัญญานว่าจะปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่แล้วเงินหยวนเมื่อเทียบต่อดอลลาร์
สรอ. แข็งค่าขึ้นอย่างมากซึ่งบรรดา trader ต่างเรียกปรากฎการณ์ดังกล่าวว่า mini-revaluation และชี้ว่า ธ.กลางจีนได้เริ่มดำเนิน
นโยบายใหม่ในตลาดเงินตราเพื่อที่จะต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เชื่อว่า ธ.กลางจีนได้ปรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
และยอมให้เงินหยวนแข็งค่าได้ในแต่ละครั้งสูงถึงร้อยละ 2-3 ในปีนี้ เพื่อให้เงินหยวนมีค่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามที่ทางการต้องการเร็วขึ้น
และมีส่วนช่วยให้เงินทุนไหลเข้าเพื่อการเก็งกำไรค่าเงินลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ธ.กลางจะดำเนินนโยบายการเงินแบบยืดหยุ่นเพื่อที่จะให้
เงินหยวนมีค่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมอีกครั้งในภายหลัง ทั้งนี้เมื่อวานนี้เงินหยวนเมื่อเทียบต่อเงินดอลลาร์ สรอ. มีค่าอยู่ที่ 7.2934 ใกล้เคียง
กับการปรับค่าครั้งก่อนที่ 7.2930 และแข็งค่าขึ้นจากระดับ 7.3041 ในการปรับค่าเงินก่อนหน้านั้น ซึ่งเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาเงินหยวนแข็งค่าขึ้น
ร้อยละ 2.33 เป็นการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ที่ได้มีการปรับค่าเงิน อย่างไรก็ตามตลอดทั้งปีที่แล้วเงินหยวนแข็งค่าขึ้นเพียง
ร้อยละ 6.86 เท่านั้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ม.ค. 51 2 ม.ค. 51 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.606 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.3938/33.7256 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.34969 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 842.97/12.90 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,350/13,450 13,200/13,300 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 89.09 88.47 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.29*/29.74* 32.89/29.34 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--