ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้เป็นผลมาจากทิศทางเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลง ซึ่ง ธปท. จะดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับ
ค่าเงินของประเทศคู่ค้า โดยสาเหตุส่วนหนึ่งที่เงินบาทแข็งค่าเพราะผู้ส่งออกเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. ออกมา ทั้งนี้ ยังไม่สามารถสรุปทิศทาง
ค่าเงินบาทได้ว่าจะแข็งค่าขึ้นไปอีกหรือจะปรับไปในทิศทางใด รวมทั้งจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพียงใด เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกโดย
เฉพาะค่าเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ธปท. ได้เตรียมข้อมูลนโยบายการเงินเพื่อเสนอรัฐบาลใหม่ตามกรอบกฎหมายใหม่ที่ระบุว่าต้องหารือ
ร่วมกัน แต่การประชุม กนง. วันที่ 16 ม.ค.นี้ ยังจะใช้กรอบและกรรมการตามโครงสร้างเดิม ซึ่งอยู่ระหว่างการทบทวน โดยในวันที่ 25 ม.ค.
นี้จะแถลงผลการประเมินเศรษฐกิจ และวันที่ 28 ม.ค. จะชี้แจงทิศทางการดำเนินงานของ ธปท. ในปีนี้ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. เตรียมทบทวนตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวเพิ่มขึ้น น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน
ธปท. กล่าวว่า ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับขึ้นได้สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อให้เร่งตัวมากขึ้น ซึ่งในการประชุม กนง. วันที่ 16 ม.ค.นี้
จะทบทวนสมมติฐานใหม่อีกครั้ง รวมถึงตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อด้วย โดย ธปท. จะต้องดูแลเสถียรภาพของราคาผ่านช่องทาง
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะให้ความสำคัญทั้งด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อควบคู่กัน ซึ่งปีนี้ ธปท. คาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐาน
อยู่ที่ร้อยละ 1 — 2 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.5 — 2.8 และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.5—6 ขณะที่ปัจจัยเสี่ยง
ได้แก่ ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ใน สรอ. และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ทั้งนี้ กนง.
จะต้องรายงานเป้าหมายเงินเฟ้อต่อ ครม. เป็นรายปีหลังร่าง พรบ.ธปท. ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
3. รัฐบาลชม ธปท. บริหารทุนสำรองดีสามารถรักษาค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภาระทางการเงินของ ธปท. ในขณะนี้มีทุนสำรองฯ และสัญญาซื้อขายเงินตราสกุลต่างประเทศในระดับสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ โดย ณ สิ้นปี 50 มีเงินทุนสำรองฯ คิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. 87,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. และสัญญาซื้อขายเงินตรา
สกุลต่างประเทศอีกประมาณ 19,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ทุนสำรองของประเทศมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 106,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.
โดยในปี 50 ที่ผ่านมาเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ไทยมีปริมาณมากส่งผลให้เงินทุนสำรองฯ เพิ่มขึ้นจากต้นปีถึงปลายปีสูงถึงร้อยละ 50 แต่ ธปท. สามารถ
บริหารจัดการเงินทุนสำรองฯ ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยเครื่องมือในการบริหารจัดการตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้เสถียรภาพ
ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่มั่นคงและมีการแข็งค่าใกล้เคียงกับประเทศอื่นในภูมิภาค ถือว่าที่ผ่านมา ธปท. สามารถบริหารจัดการทุนสำรองฯ ได้ดี
เพราะหากมีเงินไหลเข้ามาในปริมาณมหาศาลเช่นนี้ แต่ไม่สามารถบริหารจัดการได้จะส่งผลให้เกิดต้นทุนที่สูงและเป็นภาระต่อสังคมมาก วิธีการ
แทรกแซงของ ธปท. ถือว่าได้ผลดีและการนำเงินทุนสำรองฯ ไปลงทุนถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีด้วยเช่นกัน (ผู้จัดการรายวัน)
4. อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง นายสมชัย จิตสุชน ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม
และการกระจายรายได้ ทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ว่า กรณีสถานการณ์ทางการเมืองนิ่ง ทุกอย่างเข้าสู่สภาวะปกติ
เศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตประมาณร้อยละ 5 — 6 ส่วนกรณีสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่นิ่งหรืออยู่ในภาวะอึมครึมจากการที่ไม่สามารถจัดตั้ง
รัฐบาลได้ตามกำหนด ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะลดลง สะท้อนผ่านการจับจ่ายจะชะลอตัวทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้ไม่ดีนัก และจะ
ส่งผลให้อัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4 ซึ่งโอกาสที่เศรษฐกิจจะดีหรือไม่อยู่ที่ ครม. ของรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะเห็นความชัดเจนได้ภายใน
เดือน มี.ค.นี้ (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า สรอ.จะขาดดุลการค้าในเดือน พ.ย.50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่จำนวน 59.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 9 ม.ค.51 ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า จากปัจจัยราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้
น่าจะส่งผลให้ สรอ.ขาดดุลการค้าในเดือน พ.ย.50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่จำนวน 59.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับ
ที่เคยขาดดุลการค้าสูงสุดที่จำนวน 59.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นจากที่ขาดดุลจำนวน 57.8 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.ในเดือน ต.ค.50 อนึ่ง นักวิเคราะห์ประมาณการว่า สรอ.จะขาดดุลการค้าอยู่ในช่วงระหว่างจำนวน 55 — 64 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
นอกจากนี้ การนำเข้าของ สรอ.ในเดือน พ.ย.50 คาดว่าน่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 89 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 เทียบต่อปี ขณะเดียวกัน ต้นทุนราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้ราคานำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเตา เพิ่มขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนมีรายงานเมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า จีนเกินดุลการค้าในเดือน พ.ย.50 จำนวน
26.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง สรอ. เป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากจีนเป็นหลัก ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ สรอ.จะประกาศตัวเลขดุลการค้าอย่าง
เป็นทางการในวันศุกร์ที่ 11 ม.ค.51 เวลา 8.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรม ยอดส่งออกและยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือน พ.ย.50 ลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 9 ม.ค.51
สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน พ.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.9 ต่อเดือน ในขณะที่ยอดส่งออกลดลง
ร้อยละ 0.5 แต่ยอดนำเข้าลดลงในอัตราที่สูงกว่าคือร้อยละ 3.0 จึงส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวนถึง 19.8 พันล้านยูโรหรือประมาณ
29.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเยอรมนีเป็นต้นมา โดยเป็นผลจากความต้องการที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ ยอดส่งออกได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบ ในขณะที่ค่ายูโรสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1.50 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อยูโร นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ใน สรอ.ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจ สรอ.ชะลอตัวลง ในส่วนของยอดค้าปลีกซึ่งชี้ให้เห็น
ถึงความต้องการในประเทศก็ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือนเดียวกันและคาดว่ายอดค้าปลีกในช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่ผ่านมาจะอยู่ในระดับต่ำกว่าปี 49
ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันและจากความกังวลเกี่ยวกับการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมที่อาจทำให้ผู้บริโภค
ต้องช่วยเหลือตนเองมากขึ้นเมื่อเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของผลผลิตรวมในประเทศของ
เยอรมนี (รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 รายงานจากโตเกียวเมื่อ
10 ม.ค.50 ทางการญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือน ธ.ค.50 มีจำนวน 973.365 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สาเหตุหลักจากผลตอบแทนการลงทุนใน พธบ.รัฐบาล สรอ.
และมูลค่าทองคำ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของทุนสำรองเพิ่มขึ้น โดย พธบ.รัฐบาล สรอ. อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 4.027 จากระดับ
ร้อยละ 3.942 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาทองคำเพิ่มขึ้นเป็นออนซ์ละ 836.50 ดอลลาร์ สรอ. จากราคาออนซ์ละ 783.5 ดอลลาร์ สรอ.
ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของทุนสำรองโดยรวมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของ
สรอ.ที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยส่งผลให้มูลค่า พธบ. สรอ.ที่อยู่ในทุนสำรองฯ ลดลง ทั้งนี้ ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของญี่ปุ่นใน
เดือน ธ.ค. ดังกล่าว ประกอบด้วย ทุนสำรองในรูปหลักทรัพย์ทางการเงินจำนวน 823.532 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และในรูปเงินฝากจำนวน
124.455 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. จีนจะเข้าแทรกแซงเพื่อจำกัดการสูงขึ้นของราคาสินค้าที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นรายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 51
ในการประชุมสภาของจีนเมื่อวานนี้ที่ประชุมมีมติให้ทางการเข้าแทรกแซงตลาดเป็นการชั่วคราวเพื่อจำกัดการสูงขึ้นของราคาสินค้าที่จำเป็น อาทิ
ราคาอาหาร เนื่องจากวิตกว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดเทศกาลสำคัญที่จะมาถึง ทั้งนี้เมื่อเดือน พ.ย. จีนต้องเผชิญกับ
อัตราเงินเฟ้อที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 11 ปีที่สูงถึงร้อยละ 6.9 (ตัวเลขเทียบต่อปี) เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาอาหาร ซึ่งที่ผ่านมาภาวะเงินเฟ้อ
ของจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องและทางการต้องการที่จะป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนในเดือน ก.พ. ที่กำลังจะมา
ถึงนี้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางของ ปธน. Hu Jintao และ นรม. Wen Jiabao ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องภาวะเงินเฟ้อ
และจะใช้มาตรการชั่วคราวเพื่อควบคุมระดับราคาสินค้าที่จำเป็น โดยมีผลบังคับใช้ทันทีกับผู้ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงและเป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิต
ประจำวันซึ่งจะต้องขออนุญาตจากทางการก่อนที่จะปรับเพิ่มราคาสินค้า อย่างไรก็ตามทางการยังมิได้เจาะจงว่าสินค้ารายการใดจะเป็นสินค้า
ในกลุ่มดังกล่าวที่ทางการต้องเข้าแทรกแซงในตลาด แต่สินค้าจำเป็นนั้นรวมถึงสินค้าบริโภค อาทิ ข้าว และน้ำมันเพื่อการบริโภค (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 ม.ค. 51 9 ม.ค. 51 27 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.191 33.826 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.0030/33.3321 33.6191/33.9489 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.32875 3.35781 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 820.47/19.23 852.06/12.50 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,700/13,800 13,750/13,850 13,050/13,150 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 90.80 89.80 87.43 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.69*/29.74** 33.69*/29.74** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ม.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. จะดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้เป็นผลมาจากทิศทางเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลง ซึ่ง ธปท. จะดูแลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับ
ค่าเงินของประเทศคู่ค้า โดยสาเหตุส่วนหนึ่งที่เงินบาทแข็งค่าเพราะผู้ส่งออกเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. ออกมา ทั้งนี้ ยังไม่สามารถสรุปทิศทาง
ค่าเงินบาทได้ว่าจะแข็งค่าขึ้นไปอีกหรือจะปรับไปในทิศทางใด รวมทั้งจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพียงใด เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกโดย
เฉพาะค่าเงินดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ธปท. ได้เตรียมข้อมูลนโยบายการเงินเพื่อเสนอรัฐบาลใหม่ตามกรอบกฎหมายใหม่ที่ระบุว่าต้องหารือ
ร่วมกัน แต่การประชุม กนง. วันที่ 16 ม.ค.นี้ ยังจะใช้กรอบและกรรมการตามโครงสร้างเดิม ซึ่งอยู่ระหว่างการทบทวน โดยในวันที่ 25 ม.ค.
นี้จะแถลงผลการประเมินเศรษฐกิจ และวันที่ 28 ม.ค. จะชี้แจงทิศทางการดำเนินงานของ ธปท. ในปีนี้ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ธปท. เตรียมทบทวนตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวเพิ่มขึ้น น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน
ธปท. กล่าวว่า ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับขึ้นได้สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อให้เร่งตัวมากขึ้น ซึ่งในการประชุม กนง. วันที่ 16 ม.ค.นี้
จะทบทวนสมมติฐานใหม่อีกครั้ง รวมถึงตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อด้วย โดย ธปท. จะต้องดูแลเสถียรภาพของราคาผ่านช่องทาง
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะให้ความสำคัญทั้งด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อควบคู่กัน ซึ่งปีนี้ ธปท. คาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐาน
อยู่ที่ร้อยละ 1 — 2 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.5 — 2.8 และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.5—6 ขณะที่ปัจจัยเสี่ยง
ได้แก่ ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ใน สรอ. และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ทั้งนี้ กนง.
จะต้องรายงานเป้าหมายเงินเฟ้อต่อ ครม. เป็นรายปีหลังร่าง พรบ.ธปท. ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
3. รัฐบาลชม ธปท. บริหารทุนสำรองดีสามารถรักษาค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภาระทางการเงินของ ธปท. ในขณะนี้มีทุนสำรองฯ และสัญญาซื้อขายเงินตราสกุลต่างประเทศในระดับสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ โดย ณ สิ้นปี 50 มีเงินทุนสำรองฯ คิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. 87,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. และสัญญาซื้อขายเงินตรา
สกุลต่างประเทศอีกประมาณ 19,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ทุนสำรองของประเทศมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 106,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.
โดยในปี 50 ที่ผ่านมาเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ไทยมีปริมาณมากส่งผลให้เงินทุนสำรองฯ เพิ่มขึ้นจากต้นปีถึงปลายปีสูงถึงร้อยละ 50 แต่ ธปท. สามารถ
บริหารจัดการเงินทุนสำรองฯ ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยเครื่องมือในการบริหารจัดการตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้เสถียรภาพ
ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่มั่นคงและมีการแข็งค่าใกล้เคียงกับประเทศอื่นในภูมิภาค ถือว่าที่ผ่านมา ธปท. สามารถบริหารจัดการทุนสำรองฯ ได้ดี
เพราะหากมีเงินไหลเข้ามาในปริมาณมหาศาลเช่นนี้ แต่ไม่สามารถบริหารจัดการได้จะส่งผลให้เกิดต้นทุนที่สูงและเป็นภาระต่อสังคมมาก วิธีการ
แทรกแซงของ ธปท. ถือว่าได้ผลดีและการนำเงินทุนสำรองฯ ไปลงทุนถือว่าให้ผลตอบแทนที่ดีด้วยเช่นกัน (ผู้จัดการรายวัน)
4. อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง นายสมชัย จิตสุชน ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม
และการกระจายรายได้ ทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ว่า กรณีสถานการณ์ทางการเมืองนิ่ง ทุกอย่างเข้าสู่สภาวะปกติ
เศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตประมาณร้อยละ 5 — 6 ส่วนกรณีสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่นิ่งหรืออยู่ในภาวะอึมครึมจากการที่ไม่สามารถจัดตั้ง
รัฐบาลได้ตามกำหนด ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะลดลง สะท้อนผ่านการจับจ่ายจะชะลอตัวทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้ไม่ดีนัก และจะ
ส่งผลให้อัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4 ซึ่งโอกาสที่เศรษฐกิจจะดีหรือไม่อยู่ที่ ครม. ของรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะเห็นความชัดเจนได้ภายใน
เดือน มี.ค.นี้ (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า สรอ.จะขาดดุลการค้าในเดือน พ.ย.50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่จำนวน 59.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 9 ม.ค.51 ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า จากปัจจัยราคาน้ำมันที่พุ่งทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้
น่าจะส่งผลให้ สรอ.ขาดดุลการค้าในเดือน พ.ย.50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่จำนวน 59.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับ
ที่เคยขาดดุลการค้าสูงสุดที่จำนวน 59.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นจากที่ขาดดุลจำนวน 57.8 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.ในเดือน ต.ค.50 อนึ่ง นักวิเคราะห์ประมาณการว่า สรอ.จะขาดดุลการค้าอยู่ในช่วงระหว่างจำนวน 55 — 64 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
นอกจากนี้ การนำเข้าของ สรอ.ในเดือน พ.ย.50 คาดว่าน่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 89 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 เทียบต่อปี ขณะเดียวกัน ต้นทุนราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้ราคานำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเตา เพิ่มขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนมีรายงานเมื่อกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า จีนเกินดุลการค้าในเดือน พ.ย.50 จำนวน
26.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง สรอ. เป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากจีนเป็นหลัก ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ สรอ.จะประกาศตัวเลขดุลการค้าอย่าง
เป็นทางการในวันศุกร์ที่ 11 ม.ค.51 เวลา 8.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรม ยอดส่งออกและยอดค้าปลีกของเยอรมนีในเดือน พ.ย.50 ลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 9 ม.ค.51
สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนีรายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน พ.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.9 ต่อเดือน ในขณะที่ยอดส่งออกลดลง
ร้อยละ 0.5 แต่ยอดนำเข้าลดลงในอัตราที่สูงกว่าคือร้อยละ 3.0 จึงส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวนถึง 19.8 พันล้านยูโรหรือประมาณ
29.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเยอรมนีเป็นต้นมา โดยเป็นผลจากความต้องการที่ลดลงทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งนี้ ยอดส่งออกได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบ ในขณะที่ค่ายูโรสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1.50 ดอลลาร์ สรอ.
ต่อยูโร นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ใน สรอ.ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจ สรอ.ชะลอตัวลง ในส่วนของยอดค้าปลีกซึ่งชี้ให้เห็น
ถึงความต้องการในประเทศก็ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือนเดียวกันและคาดว่ายอดค้าปลีกในช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่ผ่านมาจะอยู่ในระดับต่ำกว่าปี 49
ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันและจากความกังวลเกี่ยวกับการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมที่อาจทำให้ผู้บริโภค
ต้องช่วยเหลือตนเองมากขึ้นเมื่อเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของผลผลิตรวมในประเทศของ
เยอรมนี (รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 รายงานจากโตเกียวเมื่อ
10 ม.ค.50 ทางการญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือน ธ.ค.50 มีจำนวน 973.365 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สาเหตุหลักจากผลตอบแทนการลงทุนใน พธบ.รัฐบาล สรอ.
และมูลค่าทองคำ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของทุนสำรองเพิ่มขึ้น โดย พธบ.รัฐบาล สรอ. อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 4.027 จากระดับ
ร้อยละ 3.942 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาทองคำเพิ่มขึ้นเป็นออนซ์ละ 836.50 ดอลลาร์ สรอ. จากราคาออนซ์ละ 783.5 ดอลลาร์ สรอ.
ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของทุนสำรองโดยรวมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของ
สรอ.ที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยส่งผลให้มูลค่า พธบ. สรอ.ที่อยู่ในทุนสำรองฯ ลดลง ทั้งนี้ ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของญี่ปุ่นใน
เดือน ธ.ค. ดังกล่าว ประกอบด้วย ทุนสำรองในรูปหลักทรัพย์ทางการเงินจำนวน 823.532 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และในรูปเงินฝากจำนวน
124.455 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. จีนจะเข้าแทรกแซงเพื่อจำกัดการสูงขึ้นของราคาสินค้าที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นรายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 51
ในการประชุมสภาของจีนเมื่อวานนี้ที่ประชุมมีมติให้ทางการเข้าแทรกแซงตลาดเป็นการชั่วคราวเพื่อจำกัดการสูงขึ้นของราคาสินค้าที่จำเป็น อาทิ
ราคาอาหาร เนื่องจากวิตกว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดเทศกาลสำคัญที่จะมาถึง ทั้งนี้เมื่อเดือน พ.ย. จีนต้องเผชิญกับ
อัตราเงินเฟ้อที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 11 ปีที่สูงถึงร้อยละ 6.9 (ตัวเลขเทียบต่อปี) เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาอาหาร ซึ่งที่ผ่านมาภาวะเงินเฟ้อ
ของจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องและทางการต้องการที่จะป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนในเดือน ก.พ. ที่กำลังจะมา
ถึงนี้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางของ ปธน. Hu Jintao และ นรม. Wen Jiabao ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องภาวะเงินเฟ้อ
และจะใช้มาตรการชั่วคราวเพื่อควบคุมระดับราคาสินค้าที่จำเป็น โดยมีผลบังคับใช้ทันทีกับผู้ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงและเป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิต
ประจำวันซึ่งจะต้องขออนุญาตจากทางการก่อนที่จะปรับเพิ่มราคาสินค้า อย่างไรก็ตามทางการยังมิได้เจาะจงว่าสินค้ารายการใดจะเป็นสินค้า
ในกลุ่มดังกล่าวที่ทางการต้องเข้าแทรกแซงในตลาด แต่สินค้าจำเป็นนั้นรวมถึงสินค้าบริโภค อาทิ ข้าว และน้ำมันเพื่อการบริโภค (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 ม.ค. 51 9 ม.ค. 51 27 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.191 33.826 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.0030/33.3321 33.6191/33.9489 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.32875 3.35781 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 820.47/19.23 852.06/12.50 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,700/13,800 13,750/13,850 13,050/13,150 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 90.80 89.80 87.43 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.69*/29.74** 33.69*/29.74** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ม.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--