ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันนี้ (16 ม.ค.) ปัจจัยใหม่ที่จะนำมาพิจารณาประกอบด้วย การปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลกที่มี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องพิจารณาปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม)
ของสหรัฐฯ ที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่จะต้องพิจารณาโอกาสที่จะปรับขึ้นของ
เงินเฟ้อพื้นฐานดังกล่าวในเดือนต่อๆ ไปประกอบด้วย ขณะที่ ธปท.ให้ความสำคัญกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยควบคู่ไปด้วย ซึ่งช่วงที่
ผ่านเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากมาย คาดว่า กนง.ยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้
เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วเกินไปอาจจะส่งผลต่อภาระดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิตและภาระของประชาชนในอนาคต
จึงคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25% เช่นเดิม (โลกวันนี้, แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ)
2. ธปท.ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เอสเอ็มอี รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ธปท.ได้ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่า
ของเงินบาทออกไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 22 ธ.ค.51 จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 22 ธ.ค.50 นอกจากนี้ ธปท.ยังได้ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือ
ทางการเงินแก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก 3 ปีจนถึงวันที่ 22 ธ.ค.53 จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 22 ธ.ค.50 ด้วย ทั้งนี้
การขยายเวลา เนื่องจาก ธปท.เห็นว่า วงเงินภายใต้โครงการดังกล่าวยังมีเหลืออีกเป็นจำนวนมากและเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ
และ ธพ.มีเวลาในการรวบรวมข้อมูล และยื่นเรื่องมาให้ ธปท.พิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ (ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ, โพสต์ทูเดย์)
3. ไตรมาสแรกปี งปม.51 รัฐบาลขาดดุลเงินสดเพิ่มขึ้น 83.9% โฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกของปี งปม. 51
รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 115,646 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 83.9% โดยเป็นการขาดดุลเงิน งปม. 64,008 ล.บาท และการ
ขาดดุลเงินนอก งปม. 51,638 ล.บาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออก พธบ. 42,500 ล.บาท และใช้เงิน
คงคลัง 73,146 ล.บาท ทั้งนี้ การขาดดุลเงินสดที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากการเร่งการใช้จ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัว
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 176.7% ซึ่งเป็นผลจากการจัดทำ งปม.ปีก่อนล่าช้าไป 3 เดือน ทั้งนี้ การขาดดุลเป็นไปตามเป้าหมาย
ของการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต 5% ในปี 51 (ข่าวสด, โลกวันนี้,
กรุงเทพธุรกิจ)
4. เดือน ธ.ค.50 ยอดการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศลดลง 20.69% เทียบต่อปี อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค.50 มีผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศ 1,986 ราย ลดลง 20.69% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน และลดลง 41.21% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยธุรกิจที่มีจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจรับเหมา
ก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และผู้จัดนำเที่ยว ทำให้ยอดรวมการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั้งปี 50 มีจำนวน 40,723 ราย ลดลง
6,158 ราย หรือลดลง 13.14% จากปีก่อน สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกกิจการทั่วประเทศในเดือน ธ.ค.50 มีจำนวน 3,634 ราย
ลดลง 8.46% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยประเภทธุรกิจที่มีจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิกกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง บริการด้านธุรกิจอื่นๆ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (มติชน, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
5. ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้น 18.55% เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค นายชัยนันท์ อุโฆษกุล รองประธาน
คณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ หอการค้าไทย เปิดเผยว่า หากเปรียบเทียบอัตราเงินบาทแข็งค่ากับเงินสกุลอื่นๆ
ในภูมิภาคช่วง 2 ปี (9 ม.ค.51 เปรียบเทียบ 3 ม.ค.49) พบว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้น 18.55% มากกว่าค่าเงินหลายประเทศ เช่น
มาเลเซียแข็งค่า 13.39% ค่าเงินหยวนจีน 9.85% และเวียดนามค่าเงินติดลบ 2.29% ทำให้ไทยแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ยาก ทั้งนี้ การที่
ผู้ส่งออกไทยขายเงินดอลลาร์ในขณะนี้ โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เนื่องจากไม่ต้องการเสี่ยง
กับทิศทางเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น ดังนั้น หากภาครัฐต้องการให้มีการชะลอการระบายเงินดอลลาร์ สรอ. ก็ควรหามาตรการรองรับผลกระทบ
เช่น การตั้งกองทุนที่จะสนับสนุนผู้ส่งออกให้สามารถถือเงินดอลลาร์ได้นานขึ้น หรือตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อดูแลปัญหานี้ (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังของธุรกิจ สรอ. ในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 51 ก.พาณิชย์
สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. สินค้าคงคลังของธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 อยู่ที่ระดับ 1.44 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.1 เมื่อเดือน ต.ค. สอดคล้องกับการคาดการณ์ของวอลสตรีทที่ได้คาดไว้ก่อนหน้านั้น และอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจาก
ยอดขายลดลง อย่างไรก็ตามแม้ว่าสินค้าคงคลังจะเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายในเดือน พ.ย. ซึ่งชี้วัดระยะเวลาที่จะสามารถ
ขายสินค้าได้อยู่ที่ 1.24 เดือนลดลงจาก 1.26 เดือนเมื่อเดือน ต.ค. และอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่ได้มีการรวบรวมตัวเลข
ดังกล่าวเมื่อปี 35 ขณะที่ยอดขายของธุรกิจในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดร้อยละ 1.6 อยู่ที่ 1.16 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หลังจาก
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเดือน ต.ค. คาดว่าธุรกิจอาจสต็อกสินค้าคงคลังในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่งเนื่องจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ สรอ.
ในปีนี้จะชะลอตัวลง(รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.36 รายงานจาก Mannheim เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 51
ผลการสำรวจโดยสถาบันวิจัย ZEW ของเยอรมนีชี้ว่า ในเดือนนี้ความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลงมากกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ เนื่องจากความวิตก
เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สรอ.ที่กำลังถดถอยและความยุ่งยากในตลาดการเงินที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา Sub-prime ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้
ผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 270 คนและสถาบันลงทุนต่างๆ พบว่ามีความเชื่อมั่นในเดือนนี้อยู่ที่ -41.6 ลดลงจากระดับ -37.2 เมื่อ
เดือน ธ.ค. ขณะที่หุ้นของยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่า สรอ. และยูโรโซนจะลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลงอีก ซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ธ.กลางยุโรปได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.0 ต่อไปเป็นเดือนที่ 7 เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามนาย Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางยุโรปกล่าวว่านโยบายยังไม่แน่นอนแต่ ธ.กลางก็ได้เตรียมพร้อม
ที่จะป้องกันภาวะเงินเฟ้อหากมีความจำเป็น (รอยเตอร์)
3. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.50 ลดลงร้อยละ 2.8 ต่อเดือนลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 16 ม.ค.51 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานซึ่งไม่รวมคำสั่งซื้อเรือและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผู้ผลิต
ได้รับและใช้เป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายลงทุนของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือน พ.ย.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงน้อยกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะลดลงถึงร้อยละ 4.7 ต่อเดือน โดยนักวิเคราะห์มองว่าการลดลงดังกล่าวเป็นเรื่องปรกติหลังจากคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากใน
เดือน ต.ค.50 โดยหากเทียบต่อปีแล้ว คำสั่งซื้อในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลง
ร้อยละ 1.2 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้แรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชน
และการส่งออกจะชะลอตัวลงในปี 51 จากผลกระทบของภาคการก่อสร้างที่อยู่ในภาวะตกต่ำและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ สรอ. ทั้งนี้
ตลาดการเงินไม่ได้ให้ความสนใจกับตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรดังกล่าวมากนัก โดยยังคงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ร้อยละ 0.5 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 21-22 ม.ค.51 นี้จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศสูงขึ้น
ก็ตาม (รอยเตอร์)
4. ยอดขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 15 ม.ค.51
สำนักงานสถิติสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.2
ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่เทียบต่อปีลดลงร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในเดือน ต.ค.50 ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้
ว่าจะเพิ่มขึ้น จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ สาเหตุที่ยอดขายปลีกลดลง
ในเดือน พ.ย.เนื่องจากยอดขายรถยนต์ลดลงอย่างมาก ขณะที่ยอดขายปลีกที่ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัย
ทางฤดูกาล) หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2 ในเดือน ต.ค.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ม.ค. 51 15 ม.ค. 51 27 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.133 33.826 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.9215/33.2618 33.6191/33.9489 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.31922 3.35781 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 779.79/13.96 852.06/12.50 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,000/14,100 14,050/14,150 13,050/13,150 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.53 86.77 87.43 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.69*/29.74** 33.69*/29.74** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ม.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. คาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันนี้ (16 ม.ค.) ปัจจัยใหม่ที่จะนำมาพิจารณาประกอบด้วย การปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลกที่มี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องพิจารณาปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม)
ของสหรัฐฯ ที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่จะต้องพิจารณาโอกาสที่จะปรับขึ้นของ
เงินเฟ้อพื้นฐานดังกล่าวในเดือนต่อๆ ไปประกอบด้วย ขณะที่ ธปท.ให้ความสำคัญกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยควบคู่ไปด้วย ซึ่งช่วงที่
ผ่านเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้ว่าจะมีปัจจัยลบมากมาย คาดว่า กนง.ยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้
เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วเกินไปอาจจะส่งผลต่อภาระดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิตและภาระของประชาชนในอนาคต
จึงคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25% เช่นเดิม (โลกวันนี้, แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ)
2. ธปท.ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เอสเอ็มอี รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ธปท.ได้ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่า
ของเงินบาทออกไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 22 ธ.ค.51 จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 22 ธ.ค.50 นอกจากนี้ ธปท.ยังได้ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือ
ทางการเงินแก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก 3 ปีจนถึงวันที่ 22 ธ.ค.53 จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 22 ธ.ค.50 ด้วย ทั้งนี้
การขยายเวลา เนื่องจาก ธปท.เห็นว่า วงเงินภายใต้โครงการดังกล่าวยังมีเหลืออีกเป็นจำนวนมากและเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ
และ ธพ.มีเวลาในการรวบรวมข้อมูล และยื่นเรื่องมาให้ ธปท.พิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ (ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ, โพสต์ทูเดย์)
3. ไตรมาสแรกปี งปม.51 รัฐบาลขาดดุลเงินสดเพิ่มขึ้น 83.9% โฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ไตรมาสแรกของปี งปม. 51
รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 115,646 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 83.9% โดยเป็นการขาดดุลเงิน งปม. 64,008 ล.บาท และการ
ขาดดุลเงินนอก งปม. 51,638 ล.บาท อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลดังกล่าวโดยการออก พธบ. 42,500 ล.บาท และใช้เงิน
คงคลัง 73,146 ล.บาท ทั้งนี้ การขาดดุลเงินสดที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากการเร่งการใช้จ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัว
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 176.7% ซึ่งเป็นผลจากการจัดทำ งปม.ปีก่อนล่าช้าไป 3 เดือน ทั้งนี้ การขาดดุลเป็นไปตามเป้าหมาย
ของการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต 5% ในปี 51 (ข่าวสด, โลกวันนี้,
กรุงเทพธุรกิจ)
4. เดือน ธ.ค.50 ยอดการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศลดลง 20.69% เทียบต่อปี อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค.50 มีผู้ประกอบธุรกิจขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั่วประเทศ 1,986 ราย ลดลง 20.69% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน และลดลง 41.21% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยธุรกิจที่มีจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจรับเหมา
ก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และผู้จัดนำเที่ยว ทำให้ยอดรวมการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ทั้งปี 50 มีจำนวน 40,723 ราย ลดลง
6,158 ราย หรือลดลง 13.14% จากปีก่อน สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกกิจการทั่วประเทศในเดือน ธ.ค.50 มีจำนวน 3,634 ราย
ลดลง 8.46% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยประเภทธุรกิจที่มีจำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิกกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง บริการด้านธุรกิจอื่นๆ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (มติชน, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
5. ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้น 18.55% เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค นายชัยนันท์ อุโฆษกุล รองประธาน
คณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ หอการค้าไทย เปิดเผยว่า หากเปรียบเทียบอัตราเงินบาทแข็งค่ากับเงินสกุลอื่นๆ
ในภูมิภาคช่วง 2 ปี (9 ม.ค.51 เปรียบเทียบ 3 ม.ค.49) พบว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้น 18.55% มากกว่าค่าเงินหลายประเทศ เช่น
มาเลเซียแข็งค่า 13.39% ค่าเงินหยวนจีน 9.85% และเวียดนามค่าเงินติดลบ 2.29% ทำให้ไทยแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ยาก ทั้งนี้ การที่
ผู้ส่งออกไทยขายเงินดอลลาร์ในขณะนี้ โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เนื่องจากไม่ต้องการเสี่ยง
กับทิศทางเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้น ดังนั้น หากภาครัฐต้องการให้มีการชะลอการระบายเงินดอลลาร์ สรอ. ก็ควรหามาตรการรองรับผลกระทบ
เช่น การตั้งกองทุนที่จะสนับสนุนผู้ส่งออกให้สามารถถือเงินดอลลาร์ได้นานขึ้น หรือตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อดูแลปัญหานี้ (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังของธุรกิจ สรอ. ในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 51 ก.พาณิชย์
สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. สินค้าคงคลังของธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 อยู่ที่ระดับ 1.44 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.1 เมื่อเดือน ต.ค. สอดคล้องกับการคาดการณ์ของวอลสตรีทที่ได้คาดไว้ก่อนหน้านั้น และอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจาก
ยอดขายลดลง อย่างไรก็ตามแม้ว่าสินค้าคงคลังจะเพิ่มขึ้น แต่สัดส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายในเดือน พ.ย. ซึ่งชี้วัดระยะเวลาที่จะสามารถ
ขายสินค้าได้อยู่ที่ 1.24 เดือนลดลงจาก 1.26 เดือนเมื่อเดือน ต.ค. และอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ที่ได้มีการรวบรวมตัวเลข
ดังกล่าวเมื่อปี 35 ขณะที่ยอดขายของธุรกิจในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดร้อยละ 1.6 อยู่ที่ 1.16 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หลังจาก
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเดือน ต.ค. คาดว่าธุรกิจอาจสต็อกสินค้าคงคลังในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่งเนื่องจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ สรอ.
ในปีนี้จะชะลอตัวลง(รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมนีลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.36 รายงานจาก Mannheim เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 51
ผลการสำรวจโดยสถาบันวิจัย ZEW ของเยอรมนีชี้ว่า ในเดือนนี้ความเชื่อมั่นนักลงทุนลดลงมากกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ เนื่องจากความวิตก
เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สรอ.ที่กำลังถดถอยและความยุ่งยากในตลาดการเงินที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา Sub-prime ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้
ผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 270 คนและสถาบันลงทุนต่างๆ พบว่ามีความเชื่อมั่นในเดือนนี้อยู่ที่ -41.6 ลดลงจากระดับ -37.2 เมื่อ
เดือน ธ.ค. ขณะที่หุ้นของยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่า สรอ. และยูโรโซนจะลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลงอีก ซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ธ.กลางยุโรปได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.0 ต่อไปเป็นเดือนที่ 7 เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามนาย Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางยุโรปกล่าวว่านโยบายยังไม่แน่นอนแต่ ธ.กลางก็ได้เตรียมพร้อม
ที่จะป้องกันภาวะเงินเฟ้อหากมีความจำเป็น (รอยเตอร์)
3. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.50 ลดลงร้อยละ 2.8 ต่อเดือนลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 16 ม.ค.51 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานซึ่งไม่รวมคำสั่งซื้อเรือและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผู้ผลิต
ได้รับและใช้เป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายลงทุนของภาคธุรกิจในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 2.8 ในเดือน พ.ย.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงน้อยกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะลดลงถึงร้อยละ 4.7 ต่อเดือน โดยนักวิเคราะห์มองว่าการลดลงดังกล่าวเป็นเรื่องปรกติหลังจากคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากใน
เดือน ต.ค.50 โดยหากเทียบต่อปีแล้ว คำสั่งซื้อในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ดีกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลง
ร้อยละ 1.2 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้แรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชน
และการส่งออกจะชะลอตัวลงในปี 51 จากผลกระทบของภาคการก่อสร้างที่อยู่ในภาวะตกต่ำและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ สรอ. ทั้งนี้
ตลาดการเงินไม่ได้ให้ความสนใจกับตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรดังกล่าวมากนัก โดยยังคงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ร้อยละ 0.5 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 21-22 ม.ค.51 นี้จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศสูงขึ้น
ก็ตาม (รอยเตอร์)
4. ยอดขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 15 ม.ค.51
สำนักงานสถิติสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของสิงคโปร์ในเดือน พ.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.2
ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่เทียบต่อปีลดลงร้อยละ 0.3 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในเดือน ต.ค.50 ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้
ว่าจะเพิ่มขึ้น จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว และดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ สาเหตุที่ยอดขายปลีกลดลง
ในเดือน พ.ย.เนื่องจากยอดขายรถยนต์ลดลงอย่างมาก ขณะที่ยอดขายปลีกที่ไม่นับรวมยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัย
ทางฤดูกาล) หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2 ในเดือน ต.ค.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ม.ค. 51 15 ม.ค. 51 27 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.133 33.826 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.9215/33.2618 33.6191/33.9489 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.31922 3.35781 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 779.79/13.96 852.06/12.50 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,000/14,100 14,050/14,150 13,050/13,150 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.53 86.77 87.43 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.69*/29.74** 33.69*/29.74** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ม.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--