ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กนง.ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 3.25 นางดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ.
(อาร์พี) 1 วัน ไว้ที่ 3.25% เช่นเดิม โดยมีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงและความเปราะบางในการเจริญเติบโตในอนาคต จากปัจจัย
ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพร์ม) ในสหรัฐ ขณะ
เดียวกัน ราคาน้ำมันดิบโลกและราคาโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง เพิ่มแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไร
ก็ตาม กนง.เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งแม้ขณะนี้จะยังเปราะบางและยังไม่เกิดขึ้นจริง
อย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในปีนี้ ประกอบกับแรงส่งของเศรษฐกิจไทยดีขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อน สำหรับสิ่งที่ต้องจับตามองคือ
ความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ เพื่อประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการใช้ในโยบายการเงิน ทั้งนี้ ในวันที่ 25
ม.ค.นี้ กนง.จะรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อครั้งแรกปี 51 รวมถึงการปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 51 ใหม่อีกครั้ง แต่อาจจะ
ไม่ใช่การปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญมากนัก(โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
2. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยยังคงปรับตัวลดลงจากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐ รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผย
ว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ วันที่ 16 ม.ค.50 มีการแกว่งตัวผันผวน โดยปิดลดลงที่ 773.80 จุด ลดลง 5.99 จุด มูลค่าการซื้อขาย 21,093.32
ล.บาท โดยนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการปรับลดลงตามดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคและดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ของสหรัฐ ทั้งนี้
กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่ดัชนีปรับลดลงเกิดจากปัจจัยกดดันทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่ ปัจจัย
ทางการเมืองภายในประเทศ และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพร์ม) ที่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐ (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ,
มติชน)
3. คาดว่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะชะลอลงในปี 51 ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 51 นี้การส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีอัตราการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบ
จากปีที่แล้วที่เติบโต 13-14% มูลค่าการส่งออก 1.6 ล้านล้านบาท เป็นผลจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงจากปัญหาซับไพร์ม โดยคาดว่าการส่ง
ออกจะขยายตัว 12% คิดเป็นมูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท และเนื่องจากในปี 49-50 ตลาดสหรัฐฯ มีการขยายตัวติดลบ ทำให้ผู้ประกอบการไทยหันไป
ส่งออกยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.พาณิชย์ศึกษาโครงสร้างราคาสินค้าแบบลอยตัว รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน ทำการศึกษาและ
จัดทำโครงสร้างราคาสินค้าแบบลอยตัว เพื่อให้สินค้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าที่ผันผวนตามภาวะตลาดและมีราคาเคลื่อนไหวขึ้นลงต่อเนื่อง สามารถ
ปรับราคาขึ้นลงได้ตามต้นทุนการผลิต เช่น น้ำมันพืช สำหรับประเด็นการปล่อยราคาลอยตัวอาจทำให้สินค้าที่มีผู้ผลิตน้อยรายหรือสินค้ากึ่งผูกขาดมีการ
ฮั้วปรับขึ้นราคาและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคนั้น ก.พาณิชย์ยังใช้มาตรการต่างๆ ที่มีอยู่ 9-10 มาตรการดูแลและเอาผิดได้ตามกฎหมายว่าด้วยราคา
สินค้าและบริการ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ก.พาณิย์ดูแลควบคุมราคาสินค้าในสินค้าอุปโภคบริโภค 200 รายการ ในจำนวนนี้ 35 รายการเป็นสินค้าควบคุม ซึ่ง
ต้องได้รับอนุมัติก่อนจึงสามารถปรับเพิ่มราคาขายปลีกได้ (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินทุนไหลเข้าโดยรวมสุทธิของ สรอ.ในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีที่จำนวน 149.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 16 ม.ค.51 กรมธนารักษ์ สรอ. เปิดเผยว่า เงินทุนไหลเข้าโดยรวมสุทธิของ สรอ.ในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดใน
รอบเกือบ 2 ปี ที่จำนวน 149.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 92.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 (ตัวเลขที่ทบทวนแล้ว)
มากกว่าตัวเลขการขาดดุลการค้าที่มีจำนวน 63.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เงินทุนไหลเข้าระยะยาวสุทธิในเดือน พ.ย.50 มีจำนวน 90.9
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากจำนวน 114.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินทุนไหลเข้าโดยรวมสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในเดือน พ.ย.เนื่องจากมีการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่จำนวน 104.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 50.5 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.ในเดือน ต.ค.50 ขณะที่การลงทุนภาครัฐมีจำนวน 45.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.และ ตลาดตราสารหนี้ จะสะท้อน
ถึงตัวเลขเงินทุนไหลเข้าของ สรอ. ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 23.5 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากจำนวน 49.8 ในเดือน ต.ค.50 และลงทุนในตลาดทุนเพียง 4.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากจำนวน 30.2 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ลงทุนในหุ้นกู้เพิ่มขึ้นจำนวน 26.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 14.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ใน
เดือน ต.ค.50 อย่างไรก็ตาม ในเดือน พ.ย.50 ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่ถือหุ้นในพันธบัตรรัฐบาล สรอ.มากที่สุดถึงจำนวน 580.9 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. จากจำนวน 591.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 ขณะที่จีนลงทุนจำนวน 386.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 387.0 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ธ.กลาง สรอ.รายงานว่าเศรษฐกิจ สรอ.ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 16 ม.ค.51 รายงานผล
สำรวจภาวะเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดยสาขาของ ธ.กลาง สรอ.ประจำแอตแลนตาจากผลสำรวจของสาขา ธ.กลาง สรอ.ทั้ง 12 สาขาทั่วประเทศใน
ช่วงระหว่างกลางเดือน พ.ย.ถึงเดือน ธ.ค.50 ชี้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อน โดยใน
รายงานชี้ว่ายอดค้าปลีกในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปีที่ผ่านมาและยอดขายรถยนต์ลดลงซึ่งสอดคล้องกับความเห็นทั่วไปที่ว่าผู้บริโภคลดการใช้จ่ายและ
เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากผลกระทบของราคาบ้านและวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน และมีรายงานว่าในขณะนี้การก่อสร้างในภาคธุรกิจเริ่มชะลอตัวลง
ตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแล้ว ในขณะที่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวขยายตัวดีขึ้นเมื่อสินค้าของ สรอ.มีราคาถูกลงอันเป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์
สรอ.ที่อ่อนตัวลงซึ่งยังส่งผลให้ยอดส่งออกขยายตัวดีขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าสินค้ามีราคาสูงขึ้นโดยเฉพาะอาหาร ปิโตรเคมี โลหะและ
วัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานซึ่งล้วนเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะลดอัตรา
ดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 29 — 30 ม.ค.นี้ หลังจากลดอัตราดอกเบี้ยมาแล้วร้อยละ 1.0 นับตั้งแต่กลางเดือน ก.ย.50 ที่ผ่านมา
เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ. (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของสหภาพยุโรปปีนี้จะเติบโตได้ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ รายงานจากเมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 17
ม.ค.51 Jean-Claude Trichet ผู้ว่าการ ธ.กลางสหภาพยุโรป กล่าวยืนยันแถลงการณ์ของสภาผู้ว่าการ ธ.กลางสหภาพยุโรปที่ออกมาก่อน
หน้านี้ว่า เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในปีนี้จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ ขณะที่สำนักข่าว Bloomberg ของเยอรมนีกล่าว
อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ Yves Mersch สมาชิกสภาผู้ว่าการ ธ.กลางสหภาพยุโรป ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในปีนี้อาจจะ
ต่ำกว่าเป้าหมายที่ประมาณร้อยละ 2 เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางจีนสั่งให้ ธพ. เพิ่มทุนสำรองเงินฝากอีกร้อยละ 0.5 มีผลบังคับใช้วันที่ 25 ม.ค. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 ม.ค.
51 ธ.กลางจีนได้ปรับเพิ่มสัดส่วนทุนสำรองเงินฝากที่ ธพ.ต้องดำรงไว้เพื่อเป็นสภาพคล่องอีกร้อยละ 0.5 เป็นครั้งที่ 11 นับตั้งแต่ต้นปี 50 เพื่อควบ
คุมปริมาณเงินในระบบ ธพ. โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 25 ม.ค.นี้ ส่งผลให้การดำรงเงินสำรองเงินฝากที่ ธพ.ขนาดใหญ่ทำสถิติสูงสุดถึงร้อยละ
15 ซึ่งนักกลยุทธ์จาก Royal Bank of Scotland.ในฮ่องกงให้ความเห็นว่ามิได้ประหลาดใจแต่อย่างใดในคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากสภาพคล่องใน
ระบบ ธพ.ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเกินดุลการค้าสูงขึ้นเกือบร้อยละ 48 อยู่ที่ระดับ 262.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เมื่อปีที่แล้ว ประกอบกับ
ภาครัฐเพิ่มการใช้จ่ายจำนวนมากในเดือน ธ.ค.ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างร้อนแรง และอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.(เทียบต่อปี) เพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 6.9 สูงที่สุดในรอบ 11 ปี ทั้งนี้ ธ.กลางจีนกล่าวว่าการปรับเพิ่มสัดส่วนทุนสำรองเงินฝากของ ธพ.เพื่อที่จะชะลอการขยายตัวของปริมาณ
เงินและสินเชื่อที่เกิดจากการบริหารจัดการภายใต้สภาพคล่องจำนวนมากโดยครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา ธ.กลางได้สั่งให้ ธพ.ปรับเพิ่มทุน
สำรองเงินฝากร้อยละ 1.0 รวมทั้งได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 6 ครั้งเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก China Construction Bank
ในปักกิ่งเห็นว่าการดำเนินนโยบายของ ธ.กลางจีนเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องในการป้องกันการขยายตัวของสินเชื่อที่จะส่งผลในไตรมาสแรกของปีนี้
.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ม.ค. 51 16 ม.ค. 51 27 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.144 33.826 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.9325/33.2655 33.6191/33.9489 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30438 3.35781 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 773.80/21.09 852.06/12.50 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,800/13,900 14,000/14,100 13,050/13,150 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.93 87.53 87.43 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท 33.29*/29.34* 33.69/29.74 32.89/29.34 ปตท.
)*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กนง.ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 3.25 นางดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ.
(อาร์พี) 1 วัน ไว้ที่ 3.25% เช่นเดิม โดยมีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงและความเปราะบางในการเจริญเติบโตในอนาคต จากปัจจัย
ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพร์ม) ในสหรัฐ ขณะ
เดียวกัน ราคาน้ำมันดิบโลกและราคาโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง เพิ่มแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไร
ก็ตาม กนง.เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศและการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งแม้ขณะนี้จะยังเปราะบางและยังไม่เกิดขึ้นจริง
อย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในปีนี้ ประกอบกับแรงส่งของเศรษฐกิจไทยดีขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งก่อน สำหรับสิ่งที่ต้องจับตามองคือ
ความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ เพื่อประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการใช้ในโยบายการเงิน ทั้งนี้ ในวันที่ 25
ม.ค.นี้ กนง.จะรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อครั้งแรกปี 51 รวมถึงการปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 51 ใหม่อีกครั้ง แต่อาจจะ
ไม่ใช่การปรับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญมากนัก(โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
2. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยยังคงปรับตัวลดลงจากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐ รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผย
ว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ วันที่ 16 ม.ค.50 มีการแกว่งตัวผันผวน โดยปิดลดลงที่ 773.80 จุด ลดลง 5.99 จุด มูลค่าการซื้อขาย 21,093.32
ล.บาท โดยนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการปรับลดลงตามดัชนีตลาดหุ้นในภูมิภาคและดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ของสหรัฐ ทั้งนี้
กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การที่ดัชนีปรับลดลงเกิดจากปัจจัยกดดันทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้แก่ ปัจจัย
ทางการเมืองภายในประเทศ และปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพร์ม) ที่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐ (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ,
มติชน)
3. คาดว่าการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะชะลอลงในปี 51 ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 51 นี้การส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีอัตราการขยายตัวลดลงเมื่อเทียบ
จากปีที่แล้วที่เติบโต 13-14% มูลค่าการส่งออก 1.6 ล้านล้านบาท เป็นผลจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงจากปัญหาซับไพร์ม โดยคาดว่าการส่ง
ออกจะขยายตัว 12% คิดเป็นมูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท และเนื่องจากในปี 49-50 ตลาดสหรัฐฯ มีการขยายตัวติดลบ ทำให้ผู้ประกอบการไทยหันไป
ส่งออกยังสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.พาณิชย์ศึกษาโครงสร้างราคาสินค้าแบบลอยตัว รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน ทำการศึกษาและ
จัดทำโครงสร้างราคาสินค้าแบบลอยตัว เพื่อให้สินค้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าที่ผันผวนตามภาวะตลาดและมีราคาเคลื่อนไหวขึ้นลงต่อเนื่อง สามารถ
ปรับราคาขึ้นลงได้ตามต้นทุนการผลิต เช่น น้ำมันพืช สำหรับประเด็นการปล่อยราคาลอยตัวอาจทำให้สินค้าที่มีผู้ผลิตน้อยรายหรือสินค้ากึ่งผูกขาดมีการ
ฮั้วปรับขึ้นราคาและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคนั้น ก.พาณิชย์ยังใช้มาตรการต่างๆ ที่มีอยู่ 9-10 มาตรการดูแลและเอาผิดได้ตามกฎหมายว่าด้วยราคา
สินค้าและบริการ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ก.พาณิย์ดูแลควบคุมราคาสินค้าในสินค้าอุปโภคบริโภค 200 รายการ ในจำนวนนี้ 35 รายการเป็นสินค้าควบคุม ซึ่ง
ต้องได้รับอนุมัติก่อนจึงสามารถปรับเพิ่มราคาขายปลีกได้ (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินทุนไหลเข้าโดยรวมสุทธิของ สรอ.ในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีที่จำนวน 149.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 16 ม.ค.51 กรมธนารักษ์ สรอ. เปิดเผยว่า เงินทุนไหลเข้าโดยรวมสุทธิของ สรอ.ในเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดใน
รอบเกือบ 2 ปี ที่จำนวน 149.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 92.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 (ตัวเลขที่ทบทวนแล้ว)
มากกว่าตัวเลขการขาดดุลการค้าที่มีจำนวน 63.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เงินทุนไหลเข้าระยะยาวสุทธิในเดือน พ.ย.50 มีจำนวน 90.9
พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากจำนวน 114.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินทุนไหลเข้าโดยรวมสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในเดือน พ.ย.เนื่องจากมีการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่จำนวน 104.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 50.5 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ.ในเดือน ต.ค.50 ขณะที่การลงทุนภาครัฐมีจำนวน 45.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.และ ตลาดตราสารหนี้ จะสะท้อน
ถึงตัวเลขเงินทุนไหลเข้าของ สรอ. ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา มีนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 23.5 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากจำนวน 49.8 ในเดือน ต.ค.50 และลงทุนในตลาดทุนเพียง 4.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากจำนวน 30.2 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ลงทุนในหุ้นกู้เพิ่มขึ้นจำนวน 26.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 14.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ใน
เดือน ต.ค.50 อย่างไรก็ตาม ในเดือน พ.ย.50 ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศที่ถือหุ้นในพันธบัตรรัฐบาล สรอ.มากที่สุดถึงจำนวน 580.9 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. จากจำนวน 591.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ต.ค.50 ขณะที่จีนลงทุนจำนวน 386.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 387.0 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ธ.กลาง สรอ.รายงานว่าเศรษฐกิจ สรอ.ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 16 ม.ค.51 รายงานผล
สำรวจภาวะเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดยสาขาของ ธ.กลาง สรอ.ประจำแอตแลนตาจากผลสำรวจของสาขา ธ.กลาง สรอ.ทั้ง 12 สาขาทั่วประเทศใน
ช่วงระหว่างกลางเดือน พ.ย.ถึงเดือน ธ.ค.50 ชี้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.ยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อน โดยใน
รายงานชี้ว่ายอดค้าปลีกในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปีที่ผ่านมาและยอดขายรถยนต์ลดลงซึ่งสอดคล้องกับความเห็นทั่วไปที่ว่าผู้บริโภคลดการใช้จ่ายและ
เศรษฐกิจชะลอตัวลงจากผลกระทบของราคาบ้านและวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน และมีรายงานว่าในขณะนี้การก่อสร้างในภาคธุรกิจเริ่มชะลอตัวลง
ตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแล้ว ในขณะที่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวขยายตัวดีขึ้นเมื่อสินค้าของ สรอ.มีราคาถูกลงอันเป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์
สรอ.ที่อ่อนตัวลงซึ่งยังส่งผลให้ยอดส่งออกขยายตัวดีขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าสินค้ามีราคาสูงขึ้นโดยเฉพาะอาหาร ปิโตรเคมี โลหะและ
วัตถุดิบที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานซึ่งล้วนเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะลดอัตรา
ดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมครั้งหน้าในวันที่ 29 — 30 ม.ค.นี้ หลังจากลดอัตราดอกเบี้ยมาแล้วร้อยละ 1.0 นับตั้งแต่กลางเดือน ก.ย.50 ที่ผ่านมา
เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ. (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของสหภาพยุโรปปีนี้จะเติบโตได้ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ รายงานจากเมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 17
ม.ค.51 Jean-Claude Trichet ผู้ว่าการ ธ.กลางสหภาพยุโรป กล่าวยืนยันแถลงการณ์ของสภาผู้ว่าการ ธ.กลางสหภาพยุโรปที่ออกมาก่อน
หน้านี้ว่า เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในปีนี้จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ ขณะที่สำนักข่าว Bloomberg ของเยอรมนีกล่าว
อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ Yves Mersch สมาชิกสภาผู้ว่าการ ธ.กลางสหภาพยุโรป ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปในปีนี้อาจจะ
ต่ำกว่าเป้าหมายที่ประมาณร้อยละ 2 เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางจีนสั่งให้ ธพ. เพิ่มทุนสำรองเงินฝากอีกร้อยละ 0.5 มีผลบังคับใช้วันที่ 25 ม.ค. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 ม.ค.
51 ธ.กลางจีนได้ปรับเพิ่มสัดส่วนทุนสำรองเงินฝากที่ ธพ.ต้องดำรงไว้เพื่อเป็นสภาพคล่องอีกร้อยละ 0.5 เป็นครั้งที่ 11 นับตั้งแต่ต้นปี 50 เพื่อควบ
คุมปริมาณเงินในระบบ ธพ. โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 25 ม.ค.นี้ ส่งผลให้การดำรงเงินสำรองเงินฝากที่ ธพ.ขนาดใหญ่ทำสถิติสูงสุดถึงร้อยละ
15 ซึ่งนักกลยุทธ์จาก Royal Bank of Scotland.ในฮ่องกงให้ความเห็นว่ามิได้ประหลาดใจแต่อย่างใดในคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากสภาพคล่องใน
ระบบ ธพ.ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเกินดุลการค้าสูงขึ้นเกือบร้อยละ 48 อยู่ที่ระดับ 262.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เมื่อปีที่แล้ว ประกอบกับ
ภาครัฐเพิ่มการใช้จ่ายจำนวนมากในเดือน ธ.ค.ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างร้อนแรง และอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.(เทียบต่อปี) เพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 6.9 สูงที่สุดในรอบ 11 ปี ทั้งนี้ ธ.กลางจีนกล่าวว่าการปรับเพิ่มสัดส่วนทุนสำรองเงินฝากของ ธพ.เพื่อที่จะชะลอการขยายตัวของปริมาณ
เงินและสินเชื่อที่เกิดจากการบริหารจัดการภายใต้สภาพคล่องจำนวนมากโดยครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา ธ.กลางได้สั่งให้ ธพ.ปรับเพิ่มทุน
สำรองเงินฝากร้อยละ 1.0 รวมทั้งได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึง 6 ครั้งเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์จาก China Construction Bank
ในปักกิ่งเห็นว่าการดำเนินนโยบายของ ธ.กลางจีนเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องในการป้องกันการขยายตัวของสินเชื่อที่จะส่งผลในไตรมาสแรกของปีนี้
.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ม.ค. 51 16 ม.ค. 51 27 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.144 33.826 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.9325/33.2655 33.6191/33.9489 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30438 3.35781 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 773.80/21.09 852.06/12.50 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,800/13,900 14,000/14,100 13,050/13,150 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.93 87.53 87.43 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท 33.29*/29.34* 33.69/29.74 32.89/29.34 ปตท.
)*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--