ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เสนอแนะผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ควรเก็งกำไรค่าเงินบาท ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.
ขอความร่วมมือผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ควรเก็งกำไรค่าเงินบาท เพราะค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ยังมีความผันผวน เห็นได้จากการที่นักวิเคราะห์
ทั่วโลกยังคงมีความเห็นแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่เห็นว่าดอลลาร์ สรอ.อาจจะกลับมาแข็งค่า เพราะตัวเลขการส่งออกของ สรอ.ดีขึ้น และอาจ
มีเงินทุนไหลกลับเข้าลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ.ที่ปัจจุบันราคาลดลงมากจากปัญหาซับไพรม์ ซึ่งอาจทำให้ดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้น
ทำให้ผู้เก็งกำไรค่าเงินได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ผู้ส่งออกและนำเข้าควรป้องกันความเสี่ยง เพื่อไม่เกิดความเสียหายจากความผันผวน
ของค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากนักลงทุนต่างชาติ ส่วนการที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เม็ดเงินดังกล่าวยังไหลอยู่ในประเทศและไม่พบสัญญาณการไหลออก ส่วนการเก็งกำไรจาก ธพ. ขณะนี้ ธปท.มีข้อมูลอยู่ว่า ธนาคารใดมีการ
ซื้อหรือขายเงินดอลลาร์จำนวนเท่าใด พร้อมทั้งยืนยันว่า ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากหรือแข็งค่าอย่างรวดเร็ว โดยค่าเงินบาท
ตั้งแต่ต้นปี เคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกับเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาค (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
2. ธปท.ยืนยันกฎหมายคุ้มครองเงินฝากเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก” จัดโดย ม.ธรรมศาสตร์ว่า กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะช่วยสร้างความ
มั่นใจให้กับผู้ฝากเงินให้เชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน เพราะมีกฎกติกาที่ชัดเจน และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการถอนเงินทันทีเมื่อสถาบัน
การเงินเกิดปัญหาเช่นเดียวกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมากขึ้น การกำกับดูแลการจัดการ
และฐานะทางการเงินของ ธพ.ก็มีความเข้มแข็ง ซึ่งเหมาะสมกับการใช้กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่มีการใช้ใน 98 ประเทศทั่วโลก
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวว่า การมีกฎหมายคุ้มครองเงินฝากช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ฝากเงิน โดย
เฉพาะผู้ฝากรายย่อยที่มีวงเงิน 1 ล.บาท/ราย/สถาบันการเงินในระบบ ซึ่งมีประมาณ 51.8 ล้านราย คิดเป็น 98.57% หรือ 8.3 เท่า
ของจีดีพี จากผู้ฝากทั้งระบบ 52,596,124 ราย (ข่าวสด)
3. คาดว่าปี 51 การส่งออกสินค้าอาหารจะขยายตัว 7.2% ชะลอลงจากปีก่อน ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า การส่งออก
สินค้าอาหารของไทยในปี 51 คาดว่าจะมีมูลค่า 664,524 ล.บาท ขยายตัว 7.2% เมื่อเทียบกับปี 50 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.9% โดยสินค้ากลุ่ม
ธัญพืช เช่น ข้าว มันสำปะหลัง จะขยายตัวได้ดี เพราะตลาดโลกมีความต้องการสูง สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ผลิตต้องเผชิญ ได้แก่ ราคาวัตถุดิบสินค้า
เกษตรที่เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อน เศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยที่ประสบภาวะถดถอยจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์)
ราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 17 ปี ทั้งนี้ การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอาหารดังกล่าว ประเมินบนสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยน
เฉลี่ยทั้งปีที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
4. ผลการประชุมร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ต้องการให้รัฐสานต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลัง
การประชุมร่วมกับผู้แทนจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
หอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ว่า ได้สรุปการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งภาคเอกชนต้องการให้สานต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ยังไม่บรรลุผล รวมทั้งให้รัฐบาลเร่งการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและทางราง
เพิ่มขึ้น เพื่อลดต้นทุนการขนส่งในภาวะที่ราคาน้ำมันแพง และยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งนี้ สภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับรัฐบาลต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน พ.ย.50 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 17 ม.ค.51
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน พ.ย.50 ก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาล
มีจำนวน 2.6 พันล้านยูโร (3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) คิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเดือน พ.ย.49 ซึ่งมีจำนวน 5.2 พันล้านยูโร ต่ำกว่า
ที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 5.5 พันล้านยูโร และลดลงจากเดือน ต.ค.50 ซึ่งมีจำนวน 5.4 พันล้านยูโร ทั้งนี้ เป็นผลจาก
ยอดส่งออกชะลอตัวลงจากค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในตลาดสำคัญอย่าง สรอ.และอังกฤษ
ในขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นกว่ายอดส่งออก โดยยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ต่อปี ในขณะที่ยอด
นำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.0 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นก็มีส่วนช่วยให้ราคาน้ำมันซึ่งซื้อขายกันเป็นดอลลาร์ สรอ.มีราคาถูกลง
ใน Euro zone และส่งผลให้ยอดขาดดุลด้านพลังงานในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 50 ลดลงมีจำนวน 183 พันล้านยูโร
เทียบกับจำนวน 207.2 พันล้านยูโรในช่วงเดียวกันของปี 49 ในขณะที่ยอดเกินดุลจากการส่งออกสินค้าทั่วไปในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งส่วนใหญ่
เป็นของเยอรมนีมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 222.7 พันล้านยูโรเทียบกับ 194.6 พันล้านยูโรในปี 49 (รอยเตอร์)
2. รัฐบาลเยอรมนีจะปรับลดอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจปี 51 ลงเหลือร้อยละ 1.7 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 17 ม.ค.51 นสพ. Handelsblatt รายงานว่า ก.คลังและหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของเยอรมนีเห็นพ้องต้องกันว่า
จะมีการปรับลดพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.7 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.0 ด้าน
นสพ.Sueddeutsche Zeitung กล่าวว่า รัฐบาลคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตในปีนี้ ขณะที่
แรงสนับสนุนจากการส่งออกและการลงทุนทางธุรกิจชะลอตัวลง โดยการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4
ในปี 50 ส่วนการลงทุนในสินค้าทุนปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในปี 50 สำหรับอัตราการว่างงานในปีนี้
จะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.2 ซึ่งจะเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2535 ทั้งนี้ รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนีมีกำหนดจะแถลงรายงานเศรษฐกิจใน
วันพุธนี้ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าไตรมาสที่ 4 ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 0.75 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 17ม.ค.51
รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 51 คนระหว่างวันที่ 11-16 ม.ค. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวเล็กน้อยในปีงปม.
การเงินหน้าเริ่มเดือน เม.ย. อย่างไรก็ตาม ธ.กลางจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 0.75.จนกว่า
จะถึงไตรมาสที่ 4 เนื่องจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตามผลการสำรวจดังกล่าวได้ปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ลงเล็กน้อย พร้อมทั้งคาดว่าภาวะเงินเฟ้อพื้นฐาน (ที่ไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน) จะสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ธ.กลางกำลังหาโอกาสที่จะ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ประสบปัญหาการสูงขึ้นของราคาน้ำมันรวมทั้งการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
ที่ตกต่ำลง ประกอบกับผลกระทบจากปัญหา Sub-prime ของ สรอ. (รอยเตอร์)
4. การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 3.8 เทียบต่อเดือน
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 17 ม.ค.51 Trade agency International Enterprise เปิดเผยว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมัน
ของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 3.8 เทียบต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) สวนทางกับที่
ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และลดลงต่อเนื่องจากเดือน พ.ย.50 ที่ลดลงร้อยละ 6.0 แต่หากเทียบต่อปี ลดลงร้อยละ 4.5
อยู่ที่จำนวน 13.22 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อนหน้า แต่สวนทางกับผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์
ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันทั้งปี 50 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4-6 และต่ำกว่าปี 48 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 อนึ่ง ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับระบบการค้า และการส่งออกผลิตภัณฑ์
ที่ไม่ใช่น้ำมันในประเทศถึงร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เมื่อปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันของ
สิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.ลดลง เนื่องจากการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และยาลดลง โดยลดลงร้อยละ 9.2 และ 11.1 เทียบต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่การส่งออกสินค้าหมวดปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 อนึ่ง การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ รวมถึงสินค้าหมวดโทรศัพท์เคลื่อนที่
เครื่องมือทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ยาที่มีคุณภาพสูง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 ม.ค. 51 17 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.136 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.9191/33.2622 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30219 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.25/21.05 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,650/13,750 13,800/13,900 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.29 84.93 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.29*/29.34* 33.29*/29.34* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เสนอแนะผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ควรเก็งกำไรค่าเงินบาท ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.
ขอความร่วมมือผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ควรเก็งกำไรค่าเงินบาท เพราะค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ยังมีความผันผวน เห็นได้จากการที่นักวิเคราะห์
ทั่วโลกยังคงมีความเห็นแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่เห็นว่าดอลลาร์ สรอ.อาจจะกลับมาแข็งค่า เพราะตัวเลขการส่งออกของ สรอ.ดีขึ้น และอาจ
มีเงินทุนไหลกลับเข้าลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ.ที่ปัจจุบันราคาลดลงมากจากปัญหาซับไพรม์ ซึ่งอาจทำให้ดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้น
ทำให้ผู้เก็งกำไรค่าเงินได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ผู้ส่งออกและนำเข้าควรป้องกันความเสี่ยง เพื่อไม่เกิดความเสียหายจากความผันผวน
ของค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากนักลงทุนต่างชาติ ส่วนการที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เม็ดเงินดังกล่าวยังไหลอยู่ในประเทศและไม่พบสัญญาณการไหลออก ส่วนการเก็งกำไรจาก ธพ. ขณะนี้ ธปท.มีข้อมูลอยู่ว่า ธนาคารใดมีการ
ซื้อหรือขายเงินดอลลาร์จำนวนเท่าใด พร้อมทั้งยืนยันว่า ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากหรือแข็งค่าอย่างรวดเร็ว โดยค่าเงินบาท
ตั้งแต่ต้นปี เคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกับเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาค (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
2. ธปท.ยืนยันกฎหมายคุ้มครองเงินฝากเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก” จัดโดย ม.ธรรมศาสตร์ว่า กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะช่วยสร้างความ
มั่นใจให้กับผู้ฝากเงินให้เชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงิน เพราะมีกฎกติกาที่ชัดเจน และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการถอนเงินทันทีเมื่อสถาบัน
การเงินเกิดปัญหาเช่นเดียวกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งมากขึ้น การกำกับดูแลการจัดการ
และฐานะทางการเงินของ ธพ.ก็มีความเข้มแข็ง ซึ่งเหมาะสมกับการใช้กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่มีการใช้ใน 98 ประเทศทั่วโลก
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธปท. กล่าวว่า การมีกฎหมายคุ้มครองเงินฝากช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ฝากเงิน โดย
เฉพาะผู้ฝากรายย่อยที่มีวงเงิน 1 ล.บาท/ราย/สถาบันการเงินในระบบ ซึ่งมีประมาณ 51.8 ล้านราย คิดเป็น 98.57% หรือ 8.3 เท่า
ของจีดีพี จากผู้ฝากทั้งระบบ 52,596,124 ราย (ข่าวสด)
3. คาดว่าปี 51 การส่งออกสินค้าอาหารจะขยายตัว 7.2% ชะลอลงจากปีก่อน ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า การส่งออก
สินค้าอาหารของไทยในปี 51 คาดว่าจะมีมูลค่า 664,524 ล.บาท ขยายตัว 7.2% เมื่อเทียบกับปี 50 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.9% โดยสินค้ากลุ่ม
ธัญพืช เช่น ข้าว มันสำปะหลัง จะขยายตัวได้ดี เพราะตลาดโลกมีความต้องการสูง สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ผลิตต้องเผชิญ ได้แก่ ราคาวัตถุดิบสินค้า
เกษตรที่เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อน เศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยที่ประสบภาวะถดถอยจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์)
ราคาน้ำมัน และอัตราเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 17 ปี ทั้งนี้ การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอาหารดังกล่าว ประเมินบนสมมติฐานอัตราแลกเปลี่ยน
เฉลี่ยทั้งปีที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
4. ผลการประชุมร่วมระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ต้องการให้รัฐสานต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลัง
การประชุมร่วมกับผู้แทนจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
หอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ว่า ได้สรุปการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งภาคเอกชนต้องการให้สานต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ยังไม่บรรลุผล รวมทั้งให้รัฐบาลเร่งการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและทางราง
เพิ่มขึ้น เพื่อลดต้นทุนการขนส่งในภาวะที่ราคาน้ำมันแพง และยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งนี้ สภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รับเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับรัฐบาลต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน พ.ย.50 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 17 ม.ค.51
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าของ Euro zone ในเดือน พ.ย.50 ก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาล
มีจำนวน 2.6 พันล้านยูโร (3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) คิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเดือน พ.ย.49 ซึ่งมีจำนวน 5.2 พันล้านยูโร ต่ำกว่า
ที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 5.5 พันล้านยูโร และลดลงจากเดือน ต.ค.50 ซึ่งมีจำนวน 5.4 พันล้านยูโร ทั้งนี้ เป็นผลจาก
ยอดส่งออกชะลอตัวลงจากค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในตลาดสำคัญอย่าง สรอ.และอังกฤษ
ในขณะที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นกว่ายอดส่งออก โดยยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ต่อปี ในขณะที่ยอด
นำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.0 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นก็มีส่วนช่วยให้ราคาน้ำมันซึ่งซื้อขายกันเป็นดอลลาร์ สรอ.มีราคาถูกลง
ใน Euro zone และส่งผลให้ยอดขาดดุลด้านพลังงานในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 50 ลดลงมีจำนวน 183 พันล้านยูโร
เทียบกับจำนวน 207.2 พันล้านยูโรในช่วงเดียวกันของปี 49 ในขณะที่ยอดเกินดุลจากการส่งออกสินค้าทั่วไปในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งส่วนใหญ่
เป็นของเยอรมนีมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 222.7 พันล้านยูโรเทียบกับ 194.6 พันล้านยูโรในปี 49 (รอยเตอร์)
2. รัฐบาลเยอรมนีจะปรับลดอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจปี 51 ลงเหลือร้อยละ 1.7 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 17 ม.ค.51 นสพ. Handelsblatt รายงานว่า ก.คลังและหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของเยอรมนีเห็นพ้องต้องกันว่า
จะมีการปรับลดพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.7 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.0 ด้าน
นสพ.Sueddeutsche Zeitung กล่าวว่า รัฐบาลคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตในปีนี้ ขณะที่
แรงสนับสนุนจากการส่งออกและการลงทุนทางธุรกิจชะลอตัวลง โดยการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้จะเติบโตร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4
ในปี 50 ส่วนการลงทุนในสินค้าทุนปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.3 ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ในปี 50 สำหรับอัตราการว่างงานในปีนี้
จะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.2 ซึ่งจะเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2535 ทั้งนี้ รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนีมีกำหนดจะแถลงรายงานเศรษฐกิจใน
วันพุธนี้ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าไตรมาสที่ 4 ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 0.75 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 17ม.ค.51
รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 51 คนระหว่างวันที่ 11-16 ม.ค. คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นตัวเล็กน้อยในปีงปม.
การเงินหน้าเริ่มเดือน เม.ย. อย่างไรก็ตาม ธ.กลางจะยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 0.75.จนกว่า
จะถึงไตรมาสที่ 4 เนื่องจากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตามผลการสำรวจดังกล่าวได้ปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ลงเล็กน้อย พร้อมทั้งคาดว่าภาวะเงินเฟ้อพื้นฐาน (ที่ไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงาน) จะสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ธ.กลางกำลังหาโอกาสที่จะ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ประสบปัญหาการสูงขึ้นของราคาน้ำมันรวมทั้งการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ
ที่ตกต่ำลง ประกอบกับผลกระทบจากปัญหา Sub-prime ของ สรอ. (รอยเตอร์)
4. การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 3.8 เทียบต่อเดือน
รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 17 ม.ค.51 Trade agency International Enterprise เปิดเผยว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมัน
ของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 3.8 เทียบต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) สวนทางกับที่
ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และลดลงต่อเนื่องจากเดือน พ.ย.50 ที่ลดลงร้อยละ 6.0 แต่หากเทียบต่อปี ลดลงร้อยละ 4.5
อยู่ที่จำนวน 13.22 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อนหน้า แต่สวนทางกับผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์
ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันทั้งปี 50 ขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4-6 และต่ำกว่าปี 48 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 อนึ่ง ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับระบบการค้า และการส่งออกผลิตภัณฑ์
ที่ไม่ใช่น้ำมันในประเทศถึงร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เมื่อปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันของ
สิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.ลดลง เนื่องจากการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และยาลดลง โดยลดลงร้อยละ 9.2 และ 11.1 เทียบต่อปี ตามลำดับ
ขณะที่การส่งออกสินค้าหมวดปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 อนึ่ง การส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ รวมถึงสินค้าหมวดโทรศัพท์เคลื่อนที่
เครื่องมือทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ยาที่มีคุณภาพสูง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 ม.ค. 51 17 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.136 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.9191/33.2622 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30219 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.25/21.05 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,650/13,750 13,800/13,900 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.29 84.93 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.29*/29.34* 33.29*/29.34* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--