ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยนักธุรกิจมีความมั่นใจในการลงทุนปีนี้มากขึ้นรายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ สายนโยบายการเงิน และสำนักงานภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ธปท. ได้รายงานแนวโน้ม
ธุรกิจในปี 51 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจจากความคิดเห็นของนักธุรกิจในสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศจำนวน 99 ราย
พบว่า ผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่า อุปสงค์ภายในประเทศทั้งในส่วนของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะ
หากสถานการณ์การเมืองภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน ธ.ค.50 ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย จึงมีสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ประกอบการได้
เริ่มเตรียมการลงทุนในปี 51 ซึ่งจะช่วยให้ภาวะการลงทุนฟื้นตัวดีขึ้นในระยะต่อไปอย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับ
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น และมีผลกระทบต่อภาวะอุปสงค์ในประเทศ ซึ่ง
ปัจจัยดังกล่าวอาจไม่จูงใจผู้ประกอบการให้ลงทุนเพิ่ม (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. ธปท.เผยผลสำรวจการจ้างงานและการปรับค่าจ้างปี 50 และ 51 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยผลสำรวจการจ้างงานและการปรับค่าจ้างปี 50 และ 51 ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.50 ว่า ผู้ประกอบการเกือบร้อยละ 70 จะไม่เพิ่ม
จำนวนพนักงาน เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านการปรับเงินเดือนพบว่า ในปี 51 ผู้ประกอบการร้อยละ 82
มีแนวโน้มขึ้นเงินเดือนให้พนักงานทุกภาคเศรษฐกิจ ในอัตราร้อยละ 5.1 ต่ำกว่าปี 50 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.5 สำหรับภาคเศรษฐกิจที่มีแนวโน้ม
ขึ้นเงินเดือนสูงสุด คือ ภาคการก่อสร้าง ปรับขึ้นร้อยละ 7.4 รองลงมา คือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 6.6 และภาคสาธารณูปโภคที่ร้อยละ 6.5
ทั้งนี้ ปัจจัยประกอบการตัดสินใจขึ้นเงินเดือน ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลประกอบการภาคธุรกิจ และการปรับค่าจ้างขั้นต่ำของทางการ
ส่วนแนวโน้มการจ่ายโบนัสปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อน (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
3. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปี 51 เพียงร้อยละ 10.27 ของงบลงทุนรวม ผอ.สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจช่วงไตรมาสแรกปี 51 ว่า มีการเบิกจ่าย
งบลงทุนร้อยละ 10.27 ของงบลงทุนรวม 2.9 แสนล้านบาท ต่ำกว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 17.90
ของงบลงทุน 3.5 แสนล้านบาท เนื่องจากหลายหน่วยงานยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมาย หรือบางหน่วยงานยังไม่มีการเบิกจ่ายเลย
เช่น การเคหะแห่งชาติ เนื่องจากถูกยกเลิกการก่อสร้างในหลายโครงการ สำหรับหน่วยงานที่มียอดการเบิกจ่ายสูง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค
มียอดการเบิกจ่ายร้อยละ 32.08 ของงบลงทุนของหน่วยงาน บ.วิทยุการบิน มียอดการเบิกจ่ายร้อยละ 29.44 บ.การบินไทย มียอดเบิกจ่าย
ร้อยละ 20.5 และการประปานครหลวงมียอดเบิกจ่ายร้อยละ 19.41 ทั้งนี้ ปี งปม.50 มียอดการเบิกจ่ายงบลงทุนร้อยละ 62.95 จากเป้าหมาย
เบิกจ่ายร้อยละ 80 ของงบลงทุนทั้งหมด สำหรับปีนี้มีเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนร้อยละ 90 ของงบลงทุนทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง)
4. ก.พาณิชย์เตรียมปรับลดเป้าหมายการส่งออกปี 51 รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่า
ขณะนี้จะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกของประเทศในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.51 คาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศจะเริ่มลดลง ส่วนไตรมาสแรก
ยังเป็นคำสั่งซื้อเดิมที่ลูกค้าต่างประเทศสั่งไว้เมื่อไตรมาส 4 ของปีก่อน สำหรับการส่งออกทั้งปี 50 คาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย คือขยายตัว
ร้อยละ 16.1 ด้วยมูลค่ารวม 1.50 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูตัวเลขอีกครั้งว่าจะมีโอกาสเกินเป้าหมายดังกล่าวหรือไม่
เพราะสถานการณ์เงินบาทในช่วงปีก่อนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกมากนัก เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทเกิดขึ้นจริงช่วงปลายปี และได้
มีการดูแลสถานการณ์จากหลายฝ่าย จนทำให้เงินบาทแม้จะแข็งค่าแต่ก็มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ขณะนี้มีความจำเป็นที่ ก.พาณิชย์จะปรับประมาณการ
การเติบโตตัวเลขส่งออกปี 51 ใหม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 10-12.5 เนื่องจากการส่งออกปี 50 มีฐานที่ใหญ่มาก ทำให้การส่งออก
ในปีนี้อาจไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, มติชน)
5. หนี้ครัวเรือนภาคเกษตรปี 49/50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เทียบต่อปี เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผย
ผลการสำรวจภาวะหนี้สินครัวเรือนภาคเกษตรปี 49/50 ว่า มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่เกษตรกรมีหนี้สินประมาณ 67,000 บาท/ครัวเรือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณร้อยละ10 เนื่องจากสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ที่ใช้นโยบายประชานิยม ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตรมากกว่าร้อยละ 80 แต่หนี้สินที่เพิ่มขึ้นเกษตรกรสามารถชำระได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยสังเกตได้จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ทั้งนี้ ครัวเรือนเกษตรกรที่มีความยากจนมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 785,989 ครัวเรือน รองลงมาคือ
ภาคเหนือ 411,448 ครัวเรือน ภาคใต้ 95,686 ครัวเรือน และภาคกลาง 95,084 ครัวเรือน (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของจีนในปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 สูงสุดในรอบ 11 ปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 20 ม.ค.51 นสพ.ซินหัวของจีนอ้างแหล่งข้อมูล
จาก ก.พาณิชย์ของจีนว่ายอดค้าปลีกในปี 50 ที่ผ่านมาของจีนมีมูลค่ารวม 8.9 ล้านล้านหยวน (1.23 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) สูงสุดในรอบ
11 ปีโดยเป็นผลจากรายได้ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกำไรจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ในปี 50 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นผลจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.9
สูงสุดในรอบ 11 ปีจากราคาอาหารที่สูงขึ้น โดยน้ำมันพืช เนื้อหมูและเนื้อวัวมีราคาสูงขึ้นกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบต่อปี รัฐบาลจีนเมื่อสัปดาห์
ที่ผ่านมาได้ประกาศควบคุมราคาสินค้าหลายชนิด นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีที่รัฐบาลจีนได้ออกมาควบคุมราคาอาหารเพื่อสนับสนุนการบริโภค
ในประเทศให้เป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจแทนการส่งออกและการลงทุนซึ่งรัฐบาลจีนพยายามควบคุมไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไป (รอยเตอร์)
2. บรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีเดือน ม.ค. อาจจะชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ในรอบ 9 เดือน รายงานจากกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 18 ม.ค.51 Ifo สถาบันวิจัยชั้นนำของเยอรมนี เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า บรรยากาศ
ทางธุรกิจของเยอรมนีในเดือน ม.ค.51 อาจจะชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ในรอบ 9 เดือน อยู่ที่ระดับ 102.2 จาก 103.0 ในเดือน ธ.ค.50
ขณะที่กลุ่มวิจัยทางการตลาด Gfk คาดการณ์ว่าการบริโภคในเดือน ก.พ. จะชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ในรอบ 6 เดือน อยู่ที่ระดับ 4.4 จาก
4.5 ในเดือน ม.ค. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน สรอ. เป็นปัจจัยหลักที่กดดัน
บรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนี รวมถึงการที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคาดการณ์กันว่า สรอ. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่ง
ผลกระทบต่อภาคการส่งออก แต่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ย (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ม.ค.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 ม.ค.51
เว็ปไซต์ซื้อขายบ้าน Rightmove รายงานราคาเสนอขายบ้านในอังกฤษโดยเฉลี่ยในเดือน ม.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เทียบต่อปี ลดลงจากร้อยละ 4.8 ต่อปีในเดือน
ธ.ค.50 โดยนับเป็นการลดลงของราคาบ้านต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ดี ราคาบ้านที่ลดลงโดยบางแห่งลดลงถึงร้อยละ 10
หรือมากกว่าก็ส่งผลดีให้ผู้ซื้อบางคนมีความสามารถซื้อได้ ทั้งนี้ จำนวนบ้านค้างสต็อกที่ยังขายไม่ได้โดยเฉลี่ยต่อ 1 สาขาของบริษัทตัวแทนขายบ้าน
ณ สิ้นปี 50 อยู่ที่ 63 หน่วย เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 49 ซึ่งมีจำนวน 52 หน่วย เช่นเดียวกับระยะเวลาที่ใช้ในการขายที่
เพิ่มขึ้นเป็น 98 วันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ขยายการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่นักลงทุนออกไปอีก 1 ปี รายงานจากโซล เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 51
ทีมเศรษฐกิจของ ปธน. Lee Myung-bak ของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า จะขยายการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนออกไปอีก 1 ปีเพื่อ
กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในสินค้าทุนร้อยละ 7 ทางการเกาหลีใต้ได้ให้แก่นักลงทุนเพื่อที่จะ
สามารถลดหย่อนภาษีธุรกิจได้ร้อยละ 7 ได้ใช้มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 43 และได้ครบกำหนด ณ สิ้นเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา มาตรการภาษี
ดังกล่าวสามารถช่วยให้ธุรกิจประหยัดภาษีได้ประมาณ 2 ล้าน ล้าน วอน (2.1 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) และจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัว
ได้ร้อยละ 0.2 ซึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 4.7 และตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นการเติบโตของ
เศรษฐกิจในปี 51 ให้ขยายตัวร้อยละ 6.0 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ม.ค. 51 18 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.064 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.8771/33.2071 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30344 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 789.67/20.63 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,750/13,850 13,650/13,750 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.03 85.29 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.29*/29.34* 33.29*/29.34* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยนักธุรกิจมีความมั่นใจในการลงทุนปีนี้มากขึ้นรายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ สายนโยบายการเงิน และสำนักงานภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ธปท. ได้รายงานแนวโน้ม
ธุรกิจในปี 51 ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจจากความคิดเห็นของนักธุรกิจในสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศจำนวน 99 ราย
พบว่า ผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่า อุปสงค์ภายในประเทศทั้งในส่วนของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะ
หากสถานการณ์การเมืองภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน ธ.ค.50 ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย จึงมีสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ประกอบการได้
เริ่มเตรียมการลงทุนในปี 51 ซึ่งจะช่วยให้ภาวะการลงทุนฟื้นตัวดีขึ้นในระยะต่อไปอย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับ
ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินค้าและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น และมีผลกระทบต่อภาวะอุปสงค์ในประเทศ ซึ่ง
ปัจจัยดังกล่าวอาจไม่จูงใจผู้ประกอบการให้ลงทุนเพิ่ม (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. ธปท.เผยผลสำรวจการจ้างงานและการปรับค่าจ้างปี 50 และ 51 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยผลสำรวจการจ้างงานและการปรับค่าจ้างปี 50 และ 51 ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค.50 ว่า ผู้ประกอบการเกือบร้อยละ 70 จะไม่เพิ่ม
จำนวนพนักงาน เพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้านการปรับเงินเดือนพบว่า ในปี 51 ผู้ประกอบการร้อยละ 82
มีแนวโน้มขึ้นเงินเดือนให้พนักงานทุกภาคเศรษฐกิจ ในอัตราร้อยละ 5.1 ต่ำกว่าปี 50 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.5 สำหรับภาคเศรษฐกิจที่มีแนวโน้ม
ขึ้นเงินเดือนสูงสุด คือ ภาคการก่อสร้าง ปรับขึ้นร้อยละ 7.4 รองลงมา คือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 6.6 และภาคสาธารณูปโภคที่ร้อยละ 6.5
ทั้งนี้ ปัจจัยประกอบการตัดสินใจขึ้นเงินเดือน ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลประกอบการภาคธุรกิจ และการปรับค่าจ้างขั้นต่ำของทางการ
ส่วนแนวโน้มการจ่ายโบนัสปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อน (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
3. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปี 51 เพียงร้อยละ 10.27 ของงบลงทุนรวม ผอ.สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจช่วงไตรมาสแรกปี 51 ว่า มีการเบิกจ่าย
งบลงทุนร้อยละ 10.27 ของงบลงทุนรวม 2.9 แสนล้านบาท ต่ำกว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 17.90
ของงบลงทุน 3.5 แสนล้านบาท เนื่องจากหลายหน่วยงานยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมาย หรือบางหน่วยงานยังไม่มีการเบิกจ่ายเลย
เช่น การเคหะแห่งชาติ เนื่องจากถูกยกเลิกการก่อสร้างในหลายโครงการ สำหรับหน่วยงานที่มียอดการเบิกจ่ายสูง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค
มียอดการเบิกจ่ายร้อยละ 32.08 ของงบลงทุนของหน่วยงาน บ.วิทยุการบิน มียอดการเบิกจ่ายร้อยละ 29.44 บ.การบินไทย มียอดเบิกจ่าย
ร้อยละ 20.5 และการประปานครหลวงมียอดเบิกจ่ายร้อยละ 19.41 ทั้งนี้ ปี งปม.50 มียอดการเบิกจ่ายงบลงทุนร้อยละ 62.95 จากเป้าหมาย
เบิกจ่ายร้อยละ 80 ของงบลงทุนทั้งหมด สำหรับปีนี้มีเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนร้อยละ 90 ของงบลงทุนทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง)
4. ก.พาณิชย์เตรียมปรับลดเป้าหมายการส่งออกปี 51 รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่า
ขณะนี้จะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกของประเทศในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.51 คาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศจะเริ่มลดลง ส่วนไตรมาสแรก
ยังเป็นคำสั่งซื้อเดิมที่ลูกค้าต่างประเทศสั่งไว้เมื่อไตรมาส 4 ของปีก่อน สำหรับการส่งออกทั้งปี 50 คาดว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย คือขยายตัว
ร้อยละ 16.1 ด้วยมูลค่ารวม 1.50 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูตัวเลขอีกครั้งว่าจะมีโอกาสเกินเป้าหมายดังกล่าวหรือไม่
เพราะสถานการณ์เงินบาทในช่วงปีก่อนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกมากนัก เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทเกิดขึ้นจริงช่วงปลายปี และได้
มีการดูแลสถานการณ์จากหลายฝ่าย จนทำให้เงินบาทแม้จะแข็งค่าแต่ก็มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ขณะนี้มีความจำเป็นที่ ก.พาณิชย์จะปรับประมาณการ
การเติบโตตัวเลขส่งออกปี 51 ใหม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 10-12.5 เนื่องจากการส่งออกปี 50 มีฐานที่ใหญ่มาก ทำให้การส่งออก
ในปีนี้อาจไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, มติชน)
5. หนี้ครัวเรือนภาคเกษตรปี 49/50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เทียบต่อปี เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผย
ผลการสำรวจภาวะหนี้สินครัวเรือนภาคเกษตรปี 49/50 ว่า มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่เกษตรกรมีหนี้สินประมาณ 67,000 บาท/ครัวเรือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณร้อยละ10 เนื่องจากสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ที่ใช้นโยบายประชานิยม ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตรมากกว่าร้อยละ 80 แต่หนี้สินที่เพิ่มขึ้นเกษตรกรสามารถชำระได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยสังเกตได้จากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ทั้งนี้ ครัวเรือนเกษตรกรที่มีความยากจนมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 785,989 ครัวเรือน รองลงมาคือ
ภาคเหนือ 411,448 ครัวเรือน ภาคใต้ 95,686 ครัวเรือน และภาคกลาง 95,084 ครัวเรือน (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของจีนในปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 สูงสุดในรอบ 11 ปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 20 ม.ค.51 นสพ.ซินหัวของจีนอ้างแหล่งข้อมูล
จาก ก.พาณิชย์ของจีนว่ายอดค้าปลีกในปี 50 ที่ผ่านมาของจีนมีมูลค่ารวม 8.9 ล้านล้านหยวน (1.23 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) สูงสุดในรอบ
11 ปีโดยเป็นผลจากรายได้ของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกำไรจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ในปี 50 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นผลจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน พ.ย.50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.9
สูงสุดในรอบ 11 ปีจากราคาอาหารที่สูงขึ้น โดยน้ำมันพืช เนื้อหมูและเนื้อวัวมีราคาสูงขึ้นกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบต่อปี รัฐบาลจีนเมื่อสัปดาห์
ที่ผ่านมาได้ประกาศควบคุมราคาสินค้าหลายชนิด นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีที่รัฐบาลจีนได้ออกมาควบคุมราคาอาหารเพื่อสนับสนุนการบริโภค
ในประเทศให้เป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจแทนการส่งออกและการลงทุนซึ่งรัฐบาลจีนพยายามควบคุมไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไป (รอยเตอร์)
2. บรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีเดือน ม.ค. อาจจะชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ในรอบ 9 เดือน รายงานจากกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 18 ม.ค.51 Ifo สถาบันวิจัยชั้นนำของเยอรมนี เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า บรรยากาศ
ทางธุรกิจของเยอรมนีในเดือน ม.ค.51 อาจจะชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 8 ในรอบ 9 เดือน อยู่ที่ระดับ 102.2 จาก 103.0 ในเดือน ธ.ค.50
ขณะที่กลุ่มวิจัยทางการตลาด Gfk คาดการณ์ว่าการบริโภคในเดือน ก.พ. จะชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 5 ในรอบ 6 เดือน อยู่ที่ระดับ 4.4 จาก
4.5 ในเดือน ม.ค. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน สรอ. เป็นปัจจัยหลักที่กดดัน
บรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนี รวมถึงการที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคาดการณ์กันว่า สรอ. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่ง
ผลกระทบต่อภาคการส่งออก แต่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่เหนือระดับค่าเฉลี่ย (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ม.ค.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 21 ม.ค.51
เว็ปไซต์ซื้อขายบ้าน Rightmove รายงานราคาเสนอขายบ้านในอังกฤษโดยเฉลี่ยในเดือน ม.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เทียบต่อปี ลดลงจากร้อยละ 4.8 ต่อปีในเดือน
ธ.ค.50 โดยนับเป็นการลดลงของราคาบ้านต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ดี ราคาบ้านที่ลดลงโดยบางแห่งลดลงถึงร้อยละ 10
หรือมากกว่าก็ส่งผลดีให้ผู้ซื้อบางคนมีความสามารถซื้อได้ ทั้งนี้ จำนวนบ้านค้างสต็อกที่ยังขายไม่ได้โดยเฉลี่ยต่อ 1 สาขาของบริษัทตัวแทนขายบ้าน
ณ สิ้นปี 50 อยู่ที่ 63 หน่วย เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 49 ซึ่งมีจำนวน 52 หน่วย เช่นเดียวกับระยะเวลาที่ใช้ในการขายที่
เพิ่มขึ้นเป็น 98 วันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ขยายการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่นักลงทุนออกไปอีก 1 ปี รายงานจากโซล เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 51
ทีมเศรษฐกิจของ ปธน. Lee Myung-bak ของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า จะขยายการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนออกไปอีก 1 ปีเพื่อ
กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในสินค้าทุนร้อยละ 7 ทางการเกาหลีใต้ได้ให้แก่นักลงทุนเพื่อที่จะ
สามารถลดหย่อนภาษีธุรกิจได้ร้อยละ 7 ได้ใช้มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 43 และได้ครบกำหนด ณ สิ้นเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา มาตรการภาษี
ดังกล่าวสามารถช่วยให้ธุรกิจประหยัดภาษีได้ประมาณ 2 ล้าน ล้าน วอน (2.1 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) และจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัว
ได้ร้อยละ 0.2 ซึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 4.7 และตั้งเป้าว่าจะกระตุ้นการเติบโตของ
เศรษฐกิจในปี 51 ให้ขยายตัวร้อยละ 6.0 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ม.ค. 51 18 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.064 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.8771/33.2071 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30344 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 789.67/20.63 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,750/13,850 13,650/13,750 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.03 85.29 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.29*/29.34* 33.29*/29.34* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--