ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุการซื้อขายเงินบาทขณะนี้ที่ผิดปกติ มีสาเหตุจากการเก็งกำไรค่าเงินบาท นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวยอมรับว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมากในช่วงนี้ถือเป็นการแข็งค่าขึ้นอย่างผิดปกติ
เพราะมีแรงเก็งกำไรค่าเงินบาทจากผู้ซื้อขายในประเทศ เพราะหากเป็นการไหลเข้าจากการส่งออกและนำเข้าตามปกติ จะไม่แข็งค่าขึ้นรวดเร็ว
เช่นนี้ ซึ่งในช่วงนี้ ธปท.เข้าไปดูแลเพื่อลดความผันผวน และการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ธปท.ยัง
เพิ่มความถี่ในการสุ่มตรวจสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศในส่วนของสัญญาซื้อขายเงินบาทและเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออก ผู้นำเข้า
และ ธพ.ที่ไม่มีธุรกรรมการค้าและการลงทุนจริงรองรับ (underlying) ซึ่งเป็นการซื้อขายในลักษณะการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อที่จะนำมา
เป็นข้อมูลในการดูแลค่าเงินบาท และดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนฯ ของ ธปท. และเพื่อพิจารณาว่าควรจะดำเนินการกับสัญญาซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศลักษณะนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้นนำเข้าร้อยละ 30 นั้น ในขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม
ในการยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพราะหากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับผลกระทบจะส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ข่าวสด)
2. การส่งออกทั้งปี 50 ขยายตัวสูงกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 17.5 รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย
ในเดือน ธ.ค.50 ว่า การส่งออกของไทยในเดือน ธ.ค.50 มีมูลค่าทั้งสิ้น 13,266.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 ขณะที่
การนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 12,041.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1,225.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,394.0 ส่วนการส่งออกทั้งปี 50 มีมูลค่าทั้งสิ้น 152,477.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ซึ่งสูงกว่า
เป้าหมายการส่งออกที่กำหนดไว้เดิมที่ร้อยละ 12.5 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าทั้งปี 50 มีจำนวน 140,010.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว
ร้อยละ 8.7 ส่งผลให้ทั้งปี 50 มียอดเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 12467 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,214.9 ทั้งนี้ ในปี 51 ก.พาณิชย์
ได้ร่วมกับภาคเอกชนกำหนดเป้าหมายการส่งออกระหว่างร้อยละ 10-12.5 จากฐานการส่งออกปี 50 จะทำให้มูลค่าส่งออกอยู่ที่
167,000-171,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน,
สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
3. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยสินเชื่อ ธพ.ทั้งระบบปี 50 ขยายตัวร้อยละ 5.23 เทียบต่อปี บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานตัวเลข
สินเชื่อ เงินฝากและสินทรัพย์ในระบบ ธพ.ไทย ตามฐานข้อมูลที่ปรากฏในแบบรายงาน ธพ.1.1 ณ วันที่ 31 ธ.ค.50 ว่า มียอดสินเชื่อคงค้าง
จำนวน 5,156,094 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 76,377 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.50 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 5.23 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีสินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 89,527 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71
ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งกลุ่ม ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง มีสินเชื่อรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจำนวน 16,413 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 1.52 สำหรับกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 3,262 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.47
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 จะพบว่า ระบบ ธพ.ไทยมียอดสินเชื่อ ณ สิ้นเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้น 256,423 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.23 นำโดย
การเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่จำนวน 322,165 ล้านบาท และ 39,326 ล้านบาท ตามลำดับ สวนทางกับ
กลุ่มธนาคารขนาดกลางที่มีสินเชื่อลดลง 105,067 ล้านบาท สำหรับด้านเงินฝากในระบบ ธพ.ไทยในเดือน ธ.ค.50 มียอดคงค้างทั้งสิ้น
5,928,747 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 108,070 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.79 ส่งผลให้เงินในระบบเมื่อเทียบกับระยะ
เดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงตามไปด้วยที่ร้อยละ 0.06 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีเงินฝากปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน
18,972 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.48 ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 43,571 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 3.24 และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 45,528 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.90
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปี 49 ระบบ ธพ.ไทยมียอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือน ธ.ค.50 ลดลงจำนวน 3,665 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.06 (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
4. กบข.เตรียมเพิ่มการลงทุนต่างประเทศจำนวน 80,000 ล้านบาทในปีนี้ เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
เปิดเผยว่า การลงทุนในต่างประเทศของ กบข.ในปีนี้หลังจากที่ได้รับอนุมัติจาก ครม.ให้ลงทุนในต่างประเทศได้ร้อยละ 25 ของพอร์ตการลงทุน
โดยเตรียมเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศจากปัจจุบันที่ร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 21-22 หรือคิดเป็นมูลค่า 80,000 ล้านบาท จากเดิมที่ลงทุนอยู่
50,000 ล้านบาท และคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนการลงทุนจากต่างประเทศร้อยละ 8-10 ด้านผลตอบแทนรวมในปีนี้ตั้งเป้าหมายที่ร้อยละ 7-8
และในปีที่ผ่านมาคาดว่าจะมีผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 ซึ่งสูงกว่าเป้าที่วางไว้ที่ร้อยละ 5-6 ทั้งนี้ กบข. คาดว่าจะเริ่มลงทุนในต่างประเทศ
ในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รมต.กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนียืนยันว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังอยู่ในช่วงขาขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 21 ม.ค.51
รมต.กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีออกมายืนยันว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีแนวโน้มในทางบวก หลังจากดัชนีตลาดหุ้น DAX
ของเยอรมนีลดลงถึงร้อยละ 7.2 ในวันที่ 21 ม.ค.51 จากความกลัวของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจ สรอ.จะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจาก ปธน.บุช
ของ สรอ.เสนอมาตรการลดภาษีและมาตรการอื่น ๆ รวมมูลค่าถึง 150 พันล้าน สรอ.เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สรอ.ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา
ซับไพร์มซึ่งส่งกระทบโดยตรงต่อตลาดบ้านใน สรอ. โดย รมต.ดังกล่าวยืนยันว่าเศรษฐกิจเยอรมนีมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งจึงไม่มีความจำเป็นที่
จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นเดียวกับ สรอ. แต่อย่างไรก็ดี คาดว่ารายงานเศรษฐกิจประจำปีที่จะเผยแพร่ในวันที่ 23 ม.ค.51
นี้จะมีการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.7 จากประมาณครั้งก่อนร้อยละ 2.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนในปี 51 จะชะลอลงที่ร้อยละ 4.0 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 51 Fan Caiyue
รองประธานสถาบันวิจัยเศรษฐกิจภายใต้การกำกับของคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปเศรษฐกิจแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อ
ในปี 51 จะชะลอลงที่ร้อยละ 4.0 ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้วว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.7 เนื่องจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว และราคาอาหาร
ลดลง ทั้งนี้เขายังได้กล่าวในรายงานของตลาดหลักทรัพย์ด้วยว่าในปีนี้เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงที่ร้อยละ 11 ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้ว
ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 11.5 ขณะเดียวกันทางการได้ปรับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคให้เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการสูงขึ้น
ของราคาอาหารที่มีส่วนช่วยให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง คาดว่าราคาอาหารจะลดลงในครึ่งหลังปีนี้ ทั้งนี้ปัจจัยภายนอกมีความเสี่ยงต่อการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ อาทิ วิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจ สรอ. ถดถอยและหากเหตุการณ์
ดังกล่าวเลวร้ายลงจะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการส่งออกของจีน และจนถึงขณะนี้ทางการจีนยังคงดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดอย่าง
ต่อเนื่อง รวมทั้งการมีคำสั่งให้ ธพ. ดำรงทุนสำรองเงินฝากเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 15 และได้มีผลใช้บังคับไปแล้วเมื่อ
วันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ตลอดทั้งปีที่แล้วทางการจีนได้ปรับเพิ่มทุนสำรองเงินฝากของ ธพ. เป็นจำนวน 10 ครั้ง และปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย 6 ครั้ง เพื่อที่จะควบคุมการขยายตัวอย่างร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตามแนวโน้มการลงทุนและสินเชื่อก็ยังคงขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่อง(รอยเตอร์)
3. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.50 จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.4 สูงสุดในรอบ 10 เดือน รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 21 ม.ค.51 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
ของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.50 จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 และ
เป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.พ.ซึ่งดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 3.1 สาเหตุจากราคาค่าขนส่งและอาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้จ่าย
ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.ดังกล่าว ถือว่าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหาก
เทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน อาทิ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 6.59 และ 3.2 ตามลำดับ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั้ง
ปี 50 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ ธ.กลางมาเลเซียซึ่งคาดว่าดัชนีฯ ปี 50 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0-2.5
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์แนวโน้มว่า ธ.กลางมาเลเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 ในการประชุม
คณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะมีวันที่ 29 ม.ค.51 นี้ เนื่องจากเศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับ
ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการลงทุนในภาคการผลิตของสิงคโปร์ปีนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 12.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากประเทศสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 21 ม.ค.51 Economic Development Board ของสิงคโปร์ คาดการณ์ว่า การลงทุนในภาคการผลิตของสิงคโปร์ปีนี้จะมีมูลค่าสูง
ถึง 18 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (12.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 12 จากปี 50 ที่มีมูลค่ารวม 16.1 พันล้านดอลลาร์
สิงคโปร์ สูงกว่าที่เป้าหมายที่ทางการตั้งไว้ที่ประมาณ 8.5 — 9.0 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ขณะที่ยอดรวมการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรรวมถึงภาคบริการทั้งหมดในปี 50 มีจำนวนทั้งสิ้น 17.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น
เป็น 19 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในปีนี้ ด้านนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4—6
ใกล้เคียงกับพยากรณ์เศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ต่ำกว่าปีก่อนที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7.5 ท่ามกลางสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ.
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ม.ค. 51 21 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.089 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8564/33.1862 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30188 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 766.53/27.84 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,500/13,600 13,750/13,850 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.08 85.03 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.89*/29.34** 33.29/29.34** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 22 ม.ค. 51
**ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุการซื้อขายเงินบาทขณะนี้ที่ผิดปกติ มีสาเหตุจากการเก็งกำไรค่าเงินบาท นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวยอมรับว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมากในช่วงนี้ถือเป็นการแข็งค่าขึ้นอย่างผิดปกติ
เพราะมีแรงเก็งกำไรค่าเงินบาทจากผู้ซื้อขายในประเทศ เพราะหากเป็นการไหลเข้าจากการส่งออกและนำเข้าตามปกติ จะไม่แข็งค่าขึ้นรวดเร็ว
เช่นนี้ ซึ่งในช่วงนี้ ธปท.เข้าไปดูแลเพื่อลดความผันผวน และการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ธปท.ยัง
เพิ่มความถี่ในการสุ่มตรวจสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศในส่วนของสัญญาซื้อขายเงินบาทและเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออก ผู้นำเข้า
และ ธพ.ที่ไม่มีธุรกรรมการค้าและการลงทุนจริงรองรับ (underlying) ซึ่งเป็นการซื้อขายในลักษณะการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อที่จะนำมา
เป็นข้อมูลในการดูแลค่าเงินบาท และดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนฯ ของ ธปท. และเพื่อพิจารณาว่าควรจะดำเนินการกับสัญญาซื้อขายเงินตรา
ต่างประเทศลักษณะนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมาตรการสำรองเงินทุนระยะสั้นนำเข้าร้อยละ 30 นั้น ในขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม
ในการยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพราะหากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับผลกระทบจะส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคมากขึ้น
(ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ข่าวสด)
2. การส่งออกทั้งปี 50 ขยายตัวสูงกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 17.5 รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย
ในเดือน ธ.ค.50 ว่า การส่งออกของไทยในเดือน ธ.ค.50 มีมูลค่าทั้งสิ้น 13,266.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 ขณะที่
การนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 12,041.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1,225.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,394.0 ส่วนการส่งออกทั้งปี 50 มีมูลค่าทั้งสิ้น 152,477.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ซึ่งสูงกว่า
เป้าหมายการส่งออกที่กำหนดไว้เดิมที่ร้อยละ 12.5 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าทั้งปี 50 มีจำนวน 140,010.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว
ร้อยละ 8.7 ส่งผลให้ทั้งปี 50 มียอดเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 12467 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,214.9 ทั้งนี้ ในปี 51 ก.พาณิชย์
ได้ร่วมกับภาคเอกชนกำหนดเป้าหมายการส่งออกระหว่างร้อยละ 10-12.5 จากฐานการส่งออกปี 50 จะทำให้มูลค่าส่งออกอยู่ที่
167,000-171,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน,
สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
3. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยสินเชื่อ ธพ.ทั้งระบบปี 50 ขยายตัวร้อยละ 5.23 เทียบต่อปี บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานตัวเลข
สินเชื่อ เงินฝากและสินทรัพย์ในระบบ ธพ.ไทย ตามฐานข้อมูลที่ปรากฏในแบบรายงาน ธพ.1.1 ณ วันที่ 31 ธ.ค.50 ว่า มียอดสินเชื่อคงค้าง
จำนวน 5,156,094 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 76,377 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.50 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 5.23 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีสินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 89,527 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.71
ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งกลุ่ม ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง มีสินเชื่อรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจำนวน 16,413 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 1.52 สำหรับกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 3,262 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.47
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 จะพบว่า ระบบ ธพ.ไทยมียอดสินเชื่อ ณ สิ้นเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้น 256,423 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.23 นำโดย
การเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่จำนวน 322,165 ล้านบาท และ 39,326 ล้านบาท ตามลำดับ สวนทางกับ
กลุ่มธนาคารขนาดกลางที่มีสินเชื่อลดลง 105,067 ล้านบาท สำหรับด้านเงินฝากในระบบ ธพ.ไทยในเดือน ธ.ค.50 มียอดคงค้างทั้งสิ้น
5,928,747 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 108,070 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.79 ส่งผลให้เงินในระบบเมื่อเทียบกับระยะ
เดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงตามไปด้วยที่ร้อยละ 0.06 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง มีเงินฝากปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน
18,972 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.48 ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 43,571 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 3.24 และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนก่อนหน้าจำนวน 45,528 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.90
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปี 49 ระบบ ธพ.ไทยมียอดเงินฝาก ณ สิ้นเดือน ธ.ค.50 ลดลงจำนวน 3,665 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.06 (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
4. กบข.เตรียมเพิ่มการลงทุนต่างประเทศจำนวน 80,000 ล้านบาทในปีนี้ เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
เปิดเผยว่า การลงทุนในต่างประเทศของ กบข.ในปีนี้หลังจากที่ได้รับอนุมัติจาก ครม.ให้ลงทุนในต่างประเทศได้ร้อยละ 25 ของพอร์ตการลงทุน
โดยเตรียมเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศจากปัจจุบันที่ร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 21-22 หรือคิดเป็นมูลค่า 80,000 ล้านบาท จากเดิมที่ลงทุนอยู่
50,000 ล้านบาท และคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนการลงทุนจากต่างประเทศร้อยละ 8-10 ด้านผลตอบแทนรวมในปีนี้ตั้งเป้าหมายที่ร้อยละ 7-8
และในปีที่ผ่านมาคาดว่าจะมีผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 9 ซึ่งสูงกว่าเป้าที่วางไว้ที่ร้อยละ 5-6 ทั้งนี้ กบข. คาดว่าจะเริ่มลงทุนในต่างประเทศ
ในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รมต.กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนียืนยันว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังอยู่ในช่วงขาขึ้น รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 21 ม.ค.51
รมต.กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนีออกมายืนยันว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังอยู่ในช่วงขาขึ้นและมีแนวโน้มในทางบวก หลังจากดัชนีตลาดหุ้น DAX
ของเยอรมนีลดลงถึงร้อยละ 7.2 ในวันที่ 21 ม.ค.51 จากความกลัวของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจ สรอ.จะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจาก ปธน.บุช
ของ สรอ.เสนอมาตรการลดภาษีและมาตรการอื่น ๆ รวมมูลค่าถึง 150 พันล้าน สรอ.เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สรอ.ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา
ซับไพร์มซึ่งส่งกระทบโดยตรงต่อตลาดบ้านใน สรอ. โดย รมต.ดังกล่าวยืนยันว่าเศรษฐกิจเยอรมนีมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งจึงไม่มีความจำเป็นที่
จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นเดียวกับ สรอ. แต่อย่างไรก็ดี คาดว่ารายงานเศรษฐกิจประจำปีที่จะเผยแพร่ในวันที่ 23 ม.ค.51
นี้จะมีการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.7 จากประมาณครั้งก่อนร้อยละ 2.0 ต่อปี (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนในปี 51 จะชะลอลงที่ร้อยละ 4.0 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 51 Fan Caiyue
รองประธานสถาบันวิจัยเศรษฐกิจภายใต้การกำกับของคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปเศรษฐกิจแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อ
ในปี 51 จะชะลอลงที่ร้อยละ 4.0 ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้วว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.7 เนื่องจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว และราคาอาหาร
ลดลง ทั้งนี้เขายังได้กล่าวในรายงานของตลาดหลักทรัพย์ด้วยว่าในปีนี้เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงที่ร้อยละ 11 ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้ว
ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 11.5 ขณะเดียวกันทางการได้ปรับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคให้เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการสูงขึ้น
ของราคาอาหารที่มีส่วนช่วยให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง คาดว่าราคาอาหารจะลดลงในครึ่งหลังปีนี้ ทั้งนี้ปัจจัยภายนอกมีความเสี่ยงต่อการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้ อาทิ วิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจ สรอ. ถดถอยและหากเหตุการณ์
ดังกล่าวเลวร้ายลงจะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการส่งออกของจีน และจนถึงขณะนี้ทางการจีนยังคงดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดอย่าง
ต่อเนื่อง รวมทั้งการมีคำสั่งให้ ธพ. ดำรงทุนสำรองเงินฝากเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 15 และได้มีผลใช้บังคับไปแล้วเมื่อ
วันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ตลอดทั้งปีที่แล้วทางการจีนได้ปรับเพิ่มทุนสำรองเงินฝากของ ธพ. เป็นจำนวน 10 ครั้ง และปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย 6 ครั้ง เพื่อที่จะควบคุมการขยายตัวอย่างร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตามแนวโน้มการลงทุนและสินเชื่อก็ยังคงขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่อง(รอยเตอร์)
3. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.50 จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.4 สูงสุดในรอบ 10 เดือน รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 21 ม.ค.51 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
ของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.50 จะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.3 และ
เป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.พ.ซึ่งดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 3.1 สาเหตุจากราคาค่าขนส่งและอาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้จ่าย
ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.ดังกล่าว ถือว่าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหาก
เทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน อาทิ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 6.59 และ 3.2 ตามลำดับ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั้ง
ปี 50 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ ธ.กลางมาเลเซียซึ่งคาดว่าดัชนีฯ ปี 50 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0-2.5
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์แนวโน้มว่า ธ.กลางมาเลเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 ในการประชุม
คณะกรรมการนโยบายการเงินที่จะมีวันที่ 29 ม.ค.51 นี้ เนื่องจากเศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับ
ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการลงทุนในภาคการผลิตของสิงคโปร์ปีนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 12.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากประเทศสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 21 ม.ค.51 Economic Development Board ของสิงคโปร์ คาดการณ์ว่า การลงทุนในภาคการผลิตของสิงคโปร์ปีนี้จะมีมูลค่าสูง
ถึง 18 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (12.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 12 จากปี 50 ที่มีมูลค่ารวม 16.1 พันล้านดอลลาร์
สิงคโปร์ สูงกว่าที่เป้าหมายที่ทางการตั้งไว้ที่ประมาณ 8.5 — 9.0 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ขณะที่ยอดรวมการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรรวมถึงภาคบริการทั้งหมดในปี 50 มีจำนวนทั้งสิ้น 17.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น
เป็น 19 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในปีนี้ ด้านนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4—6
ใกล้เคียงกับพยากรณ์เศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ต่ำกว่าปีก่อนที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 7.5 ท่ามกลางสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ.
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 ม.ค. 51 21 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.089 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8564/33.1862 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30188 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 766.53/27.84 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,500/13,600 13,750/13,850 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.08 85.03 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.89*/29.34** 33.29/29.34** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 22 ม.ค. 51
**ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--