ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยเงินทุนไหลออกส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลง ผอส.ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มมีเงินไหลออกจากประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินทุนเริ่มไหลออกต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ส.ค.50
โดยเงินทุนไหลเข้าติดลบ 2,354 ล้านดอลลาร์ สรอ. เดือน ก.ย.ติดลบ 678 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเดือนต.ค.ติดลบ 851 ล้านดอลลาร์สรอ.
อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังเข้าดูแลค่าเงินบาทตามปกติ โดยขณะนี้ค่าเงินบาทตลาดในประเทศ (ออนชอร์) และในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์)
ปรับตัวไปในทิศทางอ่อนค่าเช่นกัน ด้าน นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้วิกฤตซับไพรม์ของ
สรอ.ยังไม่นิ่ง แต่ยอมรับว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก ไม่ใช่เฉพาะตลาดหุ้นเท่านั้น แต่มีผลกระทบต่อการส่งออกด้วย ดังนั้น ธปท.
จึงประเมินปัญหาซับไพรม์เป็นความเสี่ยงหลักของปีนี้ และได้เตรียมพร้อมรับมือไว้แล้ว (โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค.50 ลดลงระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ที่ระดับ 79.8 รองประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ธ.ค.50 ว่า จากการสำรวจ 536 ตัวอย่าง ครอบคลุม
35 กลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 79.8 จากระดับ 82.3 ในเดือน พ.ย.และอยู่ในระดับ
ต่ำกว่าเดือน ธ.ค.49 ที่อยู่ที่ 85.9 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ทั้งนี้ เป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายในต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง
จากเดือน พ.ย.50 โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก อาหาร พลาสติก เนื่องจากผู้ประกอบการวิตกเกี่ยวกับภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
จากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของ สรอ. ประกอบกับเงินบาทที่ยังแข็งค่าต่อเนื่องจากเดือน พ.ย. ทำให้ปริมาณ
การผลิตและผลประกอบการปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ยอดคำสั่งซื้อและยอดขายภายในประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้น โดยได้แรงกระตุ้นจาก
เทศกาลปีใหม่ ส่วนต้นทุนการประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งมีผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นมาตลอด 3 เดือน เริ่มมีการ
ทรงตัวในเดือน ธ.ค. สำหรับผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.1 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการคาดการณ์
ช่วงเดือน พ.ย.50 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่ดีขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, บ้านเมือง, มติชน, แนวหน้า)
3. ครม.เร่งรัดส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่าย งปม.ปี 51 นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โดยเห็นชอบให้เร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน เพื่อให้เม็ดเงินลงสู่ระบบ
เศรษฐกิจโดยเร็ว ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการใช้จ่ายงบปี 51 และงบเหลื่อมปี พร้อมทั้งเร่งงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปี งปม.51 มีการเบิกจ่ายไปแล้วกว่า 4.39 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของ งอปม.ในปี 51 ที่มี
ทั้งสิ้น 1.66 ล้านล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกับของปีก่อนประมาณร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่สูงมากเมื่อเทียบ
กับอดีต ทั้งนี้ ยอดการเบิกจ่ายที่ผ่านมาพบว่า มีเงินลงในระบบแล้ว 6.82 แสนล้านบาท แยกเป็น งปม.รายจ่ายปี 51 จำนวนกว่า
4.39 แสนล้านบาท และงบเหลื่อมปี 46-50 อีก 3.96 หมื่นล้านบาท งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 17 แห่งอีก 2.03 แสนล้านบาท
และยังคงเหลือเม็ดเงินอีกกว่า 1.42 ล้านบาทที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องขับเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังเตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขาดดุล งปม.ปี 51 เพิ่ม รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังได้จัด
เตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขาดดุล งปม.ในปี 51 เพิ่มเติม เพื่อเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณา โดยเบื้องต้นจะเสนอให้มีการขาดดุล
งปม.เพิ่มเติมอีก 60,000 ล้านบาท จากเดิมที่ขาดดุล งปม.อยู่แล้ว 165,000 ล้านบาท แม้จะสามารถขาดดุลได้ถึง 80,000 ล้านบาทก็ตาม
แต่เห็นว่าการขาดดุลที่ 60,00 ล้านบาท เป็นระดับที่ดำเนินการได้มากที่สุด เพราะเหลือเวลาที่จะใช้จ่าย งปม.จริงอีกไม่มากนัก จึงไม่ควร
ขาดดุลมากเกินไป ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวจะช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 0.3-0.5 จากปัจจุบันที่คาดการณ์ว่า
เศรษฐกิจในปี 51 จะขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 5 แต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจไทย ทั้งราคาน้ำมัน ปัญหาวิกฤติซับไพรม์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ก.คลังเห็นว่า การขาดดุล งปม.ในแต่ละปีนั้นควรขาดดุลในระดับ
ร้อยละ 2-2.5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) (เดลินิวส์)
5. ไทยจะร่วมลงนามเอฟทีเออาเชียน-เกาหลีภายในกลางปีนี้ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยจะ
ร่วมลงนามในพิธีสารเข้าร่วมความตกลงการค้าสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-เกาหลี ภายในกลางปีนี้ หลังจากที่ไทยไม่
ร่วมลงนามในข้อตกลงเพียงประเทศเดียว เพราะยังไม่สามรถตกลงการเปิดตลาดระหว่างกันได้ แต่ผลจากการลงนามในเร็ว ๆ นี้ จะทำให้
ไทยได้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึง 62,000 ล้านบาท สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับคือ ไทยจะส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น
เพราะจะได้รับการลด/เลิกภาษี และโควตาปลอดภาษีทันที โดยเฉพาะสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม้อัด กากน้ำอ้อย เป็นต้น ขณะที่สินค้าอ่อนไหว ได้แก่
เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง หนังดิบ หนังฟอก และผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง จะได้รับการขยายเวลาการลด/ยกเลิกภาษี ส่วนการเจรจาความ
ตกลงว่าด้วยการลงทุนนั้นยังไม่คืบหน้า เพราะมีหลายประเด็นที่ขัดแย้งกัน แต่จะเร่งรัดให้เสร็จภายในปีนี้ (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทีเดียวร้อยละ 0.75 ต่อปีสูงสุดในรอบกว่า 23 ปี รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ
22 ม.ค.51 ธ.กลาง สรอ.ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทีเดียวร้อยละ 0.75 ต่อปี สูงสุดในรอบกว่า 23 ปีทำให้อัตราดอกเบี้ยใน
ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงมากในช่วง 2 วันที่ผ่านมาจากความกลัวของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจ
สรอ.จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ภายหลังจากที่ปธน.บุชของ สรอ.เสนอมาตรการปรับลดภาษีและมาตรการอื่นๆ รวมมูลค่าถึง 150 พันล้านดอลลาร์สรอ.
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ม (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีในเดือนก่อนหน้า
รายงานจากลอนดอนเมื่อ 22 ม.ค.51 State Street ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางการเงิน ของ สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่น
ของนักลงทุนทั่วโลก (Global Investor Confidence index) ในเดือน ม.ค.51 อยู่ที่ระดับ 68.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่เดือน
ก่อนหน้าดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 65.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปีนั้บตั้งแต่เดือน ก.ย.41 โดยมีสาเหตุจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติ
ภาคสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ดัชนีฯ ในเดือน ม.ค.ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากความเชื่อมั่น
ของนักลงทุนอเมริกันและนักลงทุนยุโรปเพิ่มขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนอเมริกันเพิ่มขึ้นที่ระดับ 71.8 จากระดับ 65.3 และดัชนี
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยุโรปเพิ่มขึ้นที่ระดับ 86.6 จากระดับ 85.0 ตามลำดับ ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเอเชียลดลงเล็กน้อย
ที่ระดับ 85.4 จากระดับ 85.6 อย่างไรก็ตาม แม้นักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่แน่ใจนักเกี่ยวกับความเสี่ยงในด้านการลงทุน แต่มีสัญญาณที่แสดงว่า
การลงทุนในบางธุรกิจ อาทิ ศูนย์สุขภาพ กิจการสาธารณูปโภค ธุรกิจสินค้าสำหรับผู้บริโภค และธุรกิจการเงิน ยังคงมีความเสี่ยง (รอยเตอร์)
3. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของอังกฤษในเดือน ม.ค.51 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากลอนดอน เมื่อ 22 ม.ค.51
สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษรายงานดัชนีชี้วัดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของอังกฤษเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +2 ในเดือน ม.ค.51 เท่ากับเดือนก่อน
ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 0 โดยได้ผลดีจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนตัวลง สอดคล้องกับดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับผลผลิตโรงงาน
ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +9 จากระดับ +3 ในเดือน ธ.ค.50 นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปยัง
ผู้บริโภคได้ โดยผลสำรวจชี้ว่าธุรกิจที่คาดว่าจะขึ้นราคาขายสินค้าในประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปี แต่อย่างไรก็ดี
นักวิเคราะห์คาดว่าผลผลิตโรงงานในปีนี้จะชะลอตัวลงจากปีก่อนจากภาวะเศรษฐกิจโลกและความต้องการในประเทศที่คาดว่าจะชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ธ.ค.50 ที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่
ร้อยละ 5.5 ต่อปี นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดการเงินยังคาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงอีกในเดือนหน้าเป็นร้อยละ 5.25 ต่อปี (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 0.5 รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ
วันที่ 22 ม.ค.51 คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่นมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม
ร้อยละ 0.5 ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ แม้ว่าจะมีปัญหาความผันผวนของตลาดเงินทั่วโลกและความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของ
สรอ. ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 นับตั้งแต่ประกาศขึ้นจากร้อยละ 0.25
เมื่อเดือน ก.พ.50 (รอยเตอร์)
5. คาดว่ายอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 จะลดลงร้อยละ 15.2 ต่อปีในขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.50
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อปีสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 23 ม.ค.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดย
รอยเตอร์คาดว่ายอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 จะมีมูลค่ารวม 941.5 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 15.2 เทียบต่อปี โดยคาดว่า
ยอดส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 และยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ในขณะที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาผักผลไม้และ
อาหารทะเลสดจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อปี ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยนับเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.41 ซึ่งเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.8 ต่อปีจากการขึ้นอัตราภาษีผู้บริโภคในขณะนั้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 ม.ค. 51 22 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.190 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.9803/33.3060 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30188 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 741.54/24.25 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,800/13,900 13,500/13,600 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 82.39 84.08 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34** 32.89*/29.34** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 22 ม.ค. 51
**ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยเงินทุนไหลออกส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลง ผอส.ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มมีเงินไหลออกจากประเทศ ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ทั้งนี้ เงินทุนเริ่มไหลออกต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ส.ค.50
โดยเงินทุนไหลเข้าติดลบ 2,354 ล้านดอลลาร์ สรอ. เดือน ก.ย.ติดลบ 678 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเดือนต.ค.ติดลบ 851 ล้านดอลลาร์สรอ.
อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังเข้าดูแลค่าเงินบาทตามปกติ โดยขณะนี้ค่าเงินบาทตลาดในประเทศ (ออนชอร์) และในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์)
ปรับตัวไปในทิศทางอ่อนค่าเช่นกัน ด้าน นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้วิกฤตซับไพรม์ของ
สรอ.ยังไม่นิ่ง แต่ยอมรับว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก ไม่ใช่เฉพาะตลาดหุ้นเท่านั้น แต่มีผลกระทบต่อการส่งออกด้วย ดังนั้น ธปท.
จึงประเมินปัญหาซับไพรม์เป็นความเสี่ยงหลักของปีนี้ และได้เตรียมพร้อมรับมือไว้แล้ว (โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค.50 ลดลงระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ที่ระดับ 79.8 รองประธานสภาอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยในเดือน ธ.ค.50 ว่า จากการสำรวจ 536 ตัวอย่าง ครอบคลุม
35 กลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 79.8 จากระดับ 82.3 ในเดือน พ.ย.และอยู่ในระดับ
ต่ำกว่าเดือน ธ.ค.49 ที่อยู่ที่ 85.9 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ทั้งนี้ เป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายในต่างประเทศที่ปรับตัวลดลง
จากเดือน พ.ย.50 โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก อาหาร พลาสติก เนื่องจากผู้ประกอบการวิตกเกี่ยวกับภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
จากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของ สรอ. ประกอบกับเงินบาทที่ยังแข็งค่าต่อเนื่องจากเดือน พ.ย. ทำให้ปริมาณ
การผลิตและผลประกอบการปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ยอดคำสั่งซื้อและยอดขายภายในประเทศมีการปรับตัวสูงขึ้น โดยได้แรงกระตุ้นจาก
เทศกาลปีใหม่ ส่วนต้นทุนการประกอบการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งมีผลมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นมาตลอด 3 เดือน เริ่มมีการ
ทรงตัวในเดือน ธ.ค. สำหรับผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.1 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการคาดการณ์
ช่วงเดือน พ.ย.50 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่ดีขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, บ้านเมือง, มติชน, แนวหน้า)
3. ครม.เร่งรัดส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่าย งปม.ปี 51 นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.อนุมัติแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โดยเห็นชอบให้เร่งรัดการเบิกจ่ายเงิน เพื่อให้เม็ดเงินลงสู่ระบบ
เศรษฐกิจโดยเร็ว ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการใช้จ่ายงบปี 51 และงบเหลื่อมปี พร้อมทั้งเร่งงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปี งปม.51 มีการเบิกจ่ายไปแล้วกว่า 4.39 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของ งอปม.ในปี 51 ที่มี
ทั้งสิ้น 1.66 ล้านล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกับของปีก่อนประมาณร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่สูงมากเมื่อเทียบ
กับอดีต ทั้งนี้ ยอดการเบิกจ่ายที่ผ่านมาพบว่า มีเงินลงในระบบแล้ว 6.82 แสนล้านบาท แยกเป็น งปม.รายจ่ายปี 51 จำนวนกว่า
4.39 แสนล้านบาท และงบเหลื่อมปี 46-50 อีก 3.96 หมื่นล้านบาท งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 17 แห่งอีก 2.03 แสนล้านบาท
และยังคงเหลือเม็ดเงินอีกกว่า 1.42 ล้านบาทที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องขับเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังเตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขาดดุล งปม.ปี 51 เพิ่ม รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังได้จัด
เตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขาดดุล งปม.ในปี 51 เพิ่มเติม เพื่อเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณา โดยเบื้องต้นจะเสนอให้มีการขาดดุล
งปม.เพิ่มเติมอีก 60,000 ล้านบาท จากเดิมที่ขาดดุล งปม.อยู่แล้ว 165,000 ล้านบาท แม้จะสามารถขาดดุลได้ถึง 80,000 ล้านบาทก็ตาม
แต่เห็นว่าการขาดดุลที่ 60,00 ล้านบาท เป็นระดับที่ดำเนินการได้มากที่สุด เพราะเหลือเวลาที่จะใช้จ่าย งปม.จริงอีกไม่มากนัก จึงไม่ควร
ขาดดุลมากเกินไป ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวจะช่วยทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 0.3-0.5 จากปัจจุบันที่คาดการณ์ว่า
เศรษฐกิจในปี 51 จะขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 5 แต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจไทย ทั้งราคาน้ำมัน ปัญหาวิกฤติซับไพรม์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ก.คลังเห็นว่า การขาดดุล งปม.ในแต่ละปีนั้นควรขาดดุลในระดับ
ร้อยละ 2-2.5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) (เดลินิวส์)
5. ไทยจะร่วมลงนามเอฟทีเออาเชียน-เกาหลีภายในกลางปีนี้ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยจะ
ร่วมลงนามในพิธีสารเข้าร่วมความตกลงการค้าสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-เกาหลี ภายในกลางปีนี้ หลังจากที่ไทยไม่
ร่วมลงนามในข้อตกลงเพียงประเทศเดียว เพราะยังไม่สามรถตกลงการเปิดตลาดระหว่างกันได้ แต่ผลจากการลงนามในเร็ว ๆ นี้ จะทำให้
ไทยได้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึง 62,000 ล้านบาท สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับคือ ไทยจะส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น
เพราะจะได้รับการลด/เลิกภาษี และโควตาปลอดภาษีทันที โดยเฉพาะสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม้อัด กากน้ำอ้อย เป็นต้น ขณะที่สินค้าอ่อนไหว ได้แก่
เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง หนังดิบ หนังฟอก และผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง จะได้รับการขยายเวลาการลด/ยกเลิกภาษี ส่วนการเจรจาความ
ตกลงว่าด้วยการลงทุนนั้นยังไม่คืบหน้า เพราะมีหลายประเด็นที่ขัดแย้งกัน แต่จะเร่งรัดให้เสร็จภายในปีนี้ (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทีเดียวร้อยละ 0.75 ต่อปีสูงสุดในรอบกว่า 23 ปี รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ
22 ม.ค.51 ธ.กลาง สรอ.ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทีเดียวร้อยละ 0.75 ต่อปี สูงสุดในรอบกว่า 23 ปีทำให้อัตราดอกเบี้ยใน
ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงมากในช่วง 2 วันที่ผ่านมาจากความกลัวของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจ
สรอ.จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ภายหลังจากที่ปธน.บุชของ สรอ.เสนอมาตรการปรับลดภาษีและมาตรการอื่นๆ รวมมูลค่าถึง 150 พันล้านดอลลาร์สรอ.
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ม (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีในเดือนก่อนหน้า
รายงานจากลอนดอนเมื่อ 22 ม.ค.51 State Street ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการทางการเงิน ของ สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่น
ของนักลงทุนทั่วโลก (Global Investor Confidence index) ในเดือน ม.ค.51 อยู่ที่ระดับ 68.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่เดือน
ก่อนหน้าดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 65.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปีนั้บตั้งแต่เดือน ก.ย.41 โดยมีสาเหตุจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติ
ภาคสินเชื่อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ดัชนีฯ ในเดือน ม.ค.ที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากความเชื่อมั่น
ของนักลงทุนอเมริกันและนักลงทุนยุโรปเพิ่มขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนอเมริกันเพิ่มขึ้นที่ระดับ 71.8 จากระดับ 65.3 และดัชนี
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยุโรปเพิ่มขึ้นที่ระดับ 86.6 จากระดับ 85.0 ตามลำดับ ขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเอเชียลดลงเล็กน้อย
ที่ระดับ 85.4 จากระดับ 85.6 อย่างไรก็ตาม แม้นักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่แน่ใจนักเกี่ยวกับความเสี่ยงในด้านการลงทุน แต่มีสัญญาณที่แสดงว่า
การลงทุนในบางธุรกิจ อาทิ ศูนย์สุขภาพ กิจการสาธารณูปโภค ธุรกิจสินค้าสำหรับผู้บริโภค และธุรกิจการเงิน ยังคงมีความเสี่ยง (รอยเตอร์)
3. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของอังกฤษในเดือน ม.ค.51 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากลอนดอน เมื่อ 22 ม.ค.51
สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษรายงานดัชนีชี้วัดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของอังกฤษเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +2 ในเดือน ม.ค.51 เท่ากับเดือนก่อน
ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 0 โดยได้ผลดีจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนตัวลง สอดคล้องกับดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับผลผลิตโรงงาน
ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +9 จากระดับ +3 ในเดือน ธ.ค.50 นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปยัง
ผู้บริโภคได้ โดยผลสำรวจชี้ว่าธุรกิจที่คาดว่าจะขึ้นราคาขายสินค้าในประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปี แต่อย่างไรก็ดี
นักวิเคราะห์คาดว่าผลผลิตโรงงานในปีนี้จะชะลอตัวลงจากปีก่อนจากภาวะเศรษฐกิจโลกและความต้องการในประเทศที่คาดว่าจะชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ธ.ค.50 ที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่
ร้อยละ 5.5 ต่อปี นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดการเงินยังคาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงอีกในเดือนหน้าเป็นร้อยละ 5.25 ต่อปี (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 0.5 รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ
วันที่ 22 ม.ค.51 คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางญี่ปุ่นมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม
ร้อยละ 0.5 ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ แม้ว่าจะมีปัญหาความผันผวนของตลาดเงินทั่วโลกและความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของ
สรอ. ที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 นับตั้งแต่ประกาศขึ้นจากร้อยละ 0.25
เมื่อเดือน ก.พ.50 (รอยเตอร์)
5. คาดว่ายอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 จะลดลงร้อยละ 15.2 ต่อปีในขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย.50
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อปีสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 23 ม.ค.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดย
รอยเตอร์คาดว่ายอดเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 จะมีมูลค่ารวม 941.5 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 15.2 เทียบต่อปี โดยคาดว่า
ยอดส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 และยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ในขณะที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาผักผลไม้และ
อาหารทะเลสดจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อปี ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยนับเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.41 ซึ่งเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.8 ต่อปีจากการขึ้นอัตราภาษีผู้บริโภคในขณะนั้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 ม.ค. 51 22 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.190 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.9803/33.3060 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.30188 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 741.54/24.25 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,800/13,900 13,500/13,600 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 82.39 84.08 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.89*/29.34** 32.89*/29.34** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 22 ม.ค. 51
**ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 17 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--