ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมพิจารณาทบทวนอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของตามเฟด นางอัจนา ไวความดี
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของ ธ.กลาง
สรอ. (เฟด) ลงถึงร้อยละ 0.75 ถือเป็นการลดครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 23 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 แล้ว อย่างไรก็ตาม
ธปท.มองว่า หากไม่ลดอัตราดอกเบี้ยถึงร้อยละ 0.75 เศรษฐกิจโลกและ สรอ. อาจได้รับผลกระทบมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น สำหรับมุมมองของ
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ไม่ได้คิดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยแรงขนาดนี้ และแม้ กนง.จะพยายามประเมินสถานการณ์ของ
ตลาดต่าง ๆ แต่คงไม่ทันในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อในวันที่ 25 ม.ค.นี้ แต่จะนำประเด็นต่าง ๆ ทั้งการปรับลด
ดอกเบี้ยครั้งนี้ ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งเดิมประเมินไว้ว่าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.8-1.9 เข้าไปทบทวนในการ
ประชุมของ กนง.ครั้งต่อไปในวันที่ 27 ก.พ.นี้ (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ข้อสรุปซื้อหุ้นเพิ่มทุน ธ.ไทยธนาคาร จำนวน 900 ล้านบาท ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการ
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีมติเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ใช้สิทธิซื้อเพิ่มทุน ธ.ไทยธนาคารในส่วนที่เหลือจากการ
นำออกขายให้รายย่อย โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเป็นจำนวน 900 ล้านบาท ทั้งนี้ การเพิ่มทุนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ดังกล่าวเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ไทยธนาคารที่สรุปให้จัดสรรหุ้นของธนาคารที่เหลือให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งหลังจากเพิ่มทุนแล้ว
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และกลุ่ม ทีพีจี นิวบริดจ์ จะมีสัดส่วนหุ้นในจำนวนเท่ากันที่ร้อยละ 42 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถือหุ้นเป็น
สัดส่วนร้อยละ 33 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
3. ตลท.อนุมัติปรับเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติปรับเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ตามผลการศึกษาของคณะทำงานศึกษา
แนวทางปรับปรุงกฎเกณฑ์บริษัทจดทะเบียน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1) การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ภายในกำหนด (ไซเลนต์พีเรียด) ของผู้ถือหุ้น
ที่มีส่วนร่วมการบริหาร โดยลดระเวลาห้ามซื้อขายเหลือ 1 ปี จากเดิม 1 ปี 6 เดือน และปรับลดสัดส่วนการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหุ้น
ดังกล่าวลงเหลือร้อยละ 55 จากร้อยละ65 2) การปรับลดสัดส่วนการกระจายการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (ฟรีโฟลต) สำหรับบริษัทที่มีทุน
จดทะเบียนแล้วเกินกว่า 3,000 ล้านบาทขึ้นไป 3) บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ จากเดิม 1,500 ล้านบาท เป็น
1,000 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
4. ในเดือน พ.ย.50 คนไทยมีงานทำเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 320,000 คน รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เปิดเผยว่า เดือน พ.ย.50 ประชากรไทยมีงานทำ 37.08 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 320,000 คน แบ่งเป็นภาคเกษตรกรรม
15.20 ล้านคน ลดลง 240,000 คน นอกภาคเกษตรกรรม 21.88 ล้านคน เพิ่มขึ้น 560,000 คน สำหรับตัวเลขว่างงานมี 420,000 คน
หรือลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ผู้จบอุดมศึกษาว่างงานมากสุด 110,000 คน รองลงมามัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับ
ขณะที่ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า แนวโน้มการจ้างงานในปี 51 จะมีสูงขึ้น โดยเฉพาะ
แรงงานภาคการก่อสร้างและภาคการผลิต เนื่องจากมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐและเอกชนเตรียมดำเนินการจำนวนมาก
(ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของ Euro zone ในเดือน พ.ย.50 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
23 ม.ค.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเป็นตัวชี้แนวโน้มผลผลิตอุตสาหกรรมและ
ธุรกรรมทางเศรษฐกิจของ Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ต่อเดือนและร้อยละ 11.9 ต่อปี ดีกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.4 ต่อเดือนและร้อยละ 9.2 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อในภาคการขนส่งเช่น เรือ รถไฟและเครื่องบินโดยสาร
ซึ่งหากไม่รวมคำสั่งซื้อในภาคการขนส่งดังกล่าวแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนและ
ร้อยละ 6.6 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมมักผันผวนและเตือนว่ายังมีความเสี่ยงที่ผลผลิต
อุตสาหกรรมของ Euro zone จะชะลอตัวลงจากปัญหาวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน ค่าเงินยูโรที่แข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.
ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในตลาดส่งออกที่สำคัญเช่น สรอ. (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีปีนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 1.7 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 23 ม.ค.51 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนี คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.7
ต่ำกว่าประมาณการของทางการที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือน เม.ย. และ ต.ค.50 ที่ร้อยละ 2.4 และ 2.0 ตามลำดับ และต่ำกว่าปี 50
ที่เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.5 (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าแต่ยังคงสูงกว่าการคาดการณ์ รายงาน
จากลอนดอนเมื่อ 23 ม.ค.50 The Office for National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 เศรษฐกิจ
อังกฤษขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 49 ที่ระดับร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 แต่ยังคง
สูงกว่าการคาดการณ์ที่ระดับร้อยละ 0.5 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี เศรษฐกิจอังกฤษขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 49 ที่ระดับ
ร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่ 3 แต่ยังคงสูงกว่าการคาดการณ์เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ONS แจ้งว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษชะลอลงในไตรมาสที่ 4 ปี 50 ดังกล่าว คือการชะลอตัวของผลประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการ
ทางการเงิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติด้านสินเชื่อ โดยภาคบริการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่ 4 ลดลงจากไตรมาส
ก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 อนึ่ง ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ ได้ส่งสัญญาณเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ธ.กลางอังกฤษอาจมีการปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้งในเดือนหน้า หลังจากที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้วร้อยละ 0.25 ในเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลดลงที่ระดับร้อยละ 5.5 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และเตือนว่าภาวะเงินเฟ้อยังก่อให้เกิดความกังวลอยู่ อย่างไรก็ตาม
การที่เศรษฐกิจอังกฤษยังคงขยายตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทั้งปี 50 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.1 ถือเป็นอัตราสูงสุด
นับตั้งแต่ปี 47 ที่ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.3 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าในเดือนหน้า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไม่มาก รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 51
ธ.กลางอังกฤษส่งสัญญานปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อวานนี้เพื่อที่จะป้องกันผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการที่ ธ.กลาง สรอ.ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงถึงร้อยละ 0.75 ทั้งนี้ในการประชุมนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษเมื่อวันที่ 9 -10 ม.ค. ชี้ว่ามีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ
จะชะลอตัวรวมทั้งการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่การพบปะกันกับนักธุรกิจใน Bristol ผวก. ธ.กลางอังกฤษกล่าวว่าปีนี้เป็นปีที่ท้าทายที่สุด
ในรอบทศวรรษ และ ธ.กลางมีแนวทางที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงบ้างในเดือน ก.พ. แต่อย่างไรก็ตามการปรับลดลงอย่างรวดเร็ว
จะส่งผลเสียต่อตลาดการเงิน นอกจากนั้นการที่ความเสี่ยงด้านราคาเพิ่มสูงขึ้นอีกยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แนวความคิดดังกล่าวเกิดขึ้น
ภายหลังจากที่ ธ.กลาง สรอ. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทันทีถึงร้อยละ 0.75 มากที่สุดในรอบศตวรรษ ขณะเดียวกันเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น
และตลาดหุ้นตกลงเมื่อทางการอังกฤษเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ม.ค. 51 23 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.138 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.9160/33.2629 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28781 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 740.65/22.23 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,850/13,950 13,800/13,900 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.45 82.39 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.89/29.34 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เตรียมพิจารณาทบทวนอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของตามเฟด นางอัจนา ไวความดี
รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของ ธ.กลาง
สรอ. (เฟด) ลงถึงร้อยละ 0.75 ถือเป็นการลดครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 23 ปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 แล้ว อย่างไรก็ตาม
ธปท.มองว่า หากไม่ลดอัตราดอกเบี้ยถึงร้อยละ 0.75 เศรษฐกิจโลกและ สรอ. อาจได้รับผลกระทบมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น สำหรับมุมมองของ
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ไม่ได้คิดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยแรงขนาดนี้ และแม้ กนง.จะพยายามประเมินสถานการณ์ของ
ตลาดต่าง ๆ แต่คงไม่ทันในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อในวันที่ 25 ม.ค.นี้ แต่จะนำประเด็นต่าง ๆ ทั้งการปรับลด
ดอกเบี้ยครั้งนี้ ทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งเดิมประเมินไว้ว่าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.8-1.9 เข้าไปทบทวนในการ
ประชุมของ กนง.ครั้งต่อไปในวันที่ 27 ก.พ.นี้ (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ข้อสรุปซื้อหุ้นเพิ่มทุน ธ.ไทยธนาคาร จำนวน 900 ล้านบาท ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการ
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีมติเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ใช้สิทธิซื้อเพิ่มทุน ธ.ไทยธนาคารในส่วนที่เหลือจากการ
นำออกขายให้รายย่อย โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนเป็นจำนวน 900 ล้านบาท ทั้งนี้ การเพิ่มทุนของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ดังกล่าวเป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ไทยธนาคารที่สรุปให้จัดสรรหุ้นของธนาคารที่เหลือให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งหลังจากเพิ่มทุนแล้ว
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และกลุ่ม ทีพีจี นิวบริดจ์ จะมีสัดส่วนหุ้นในจำนวนเท่ากันที่ร้อยละ 42 เพิ่มขึ้นจากเดิมที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถือหุ้นเป็น
สัดส่วนร้อยละ 33 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
3. ตลท.อนุมัติปรับเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ อนุมัติปรับเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ตามผลการศึกษาของคณะทำงานศึกษา
แนวทางปรับปรุงกฎเกณฑ์บริษัทจดทะเบียน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1) การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ภายในกำหนด (ไซเลนต์พีเรียด) ของผู้ถือหุ้น
ที่มีส่วนร่วมการบริหาร โดยลดระเวลาห้ามซื้อขายเหลือ 1 ปี จากเดิม 1 ปี 6 เดือน และปรับลดสัดส่วนการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ถือหุ้น
ดังกล่าวลงเหลือร้อยละ 55 จากร้อยละ65 2) การปรับลดสัดส่วนการกระจายการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (ฟรีโฟลต) สำหรับบริษัทที่มีทุน
จดทะเบียนแล้วเกินกว่า 3,000 ล้านบาทขึ้นไป 3) บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ จากเดิม 1,500 ล้านบาท เป็น
1,000 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
4. ในเดือน พ.ย.50 คนไทยมีงานทำเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 320,000 คน รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เปิดเผยว่า เดือน พ.ย.50 ประชากรไทยมีงานทำ 37.08 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 320,000 คน แบ่งเป็นภาคเกษตรกรรม
15.20 ล้านคน ลดลง 240,000 คน นอกภาคเกษตรกรรม 21.88 ล้านคน เพิ่มขึ้น 560,000 คน สำหรับตัวเลขว่างงานมี 420,000 คน
หรือลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ผู้จบอุดมศึกษาว่างงานมากสุด 110,000 คน รองลงมามัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามลำดับ
ขณะที่ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า แนวโน้มการจ้างงานในปี 51 จะมีสูงขึ้น โดยเฉพาะ
แรงงานภาคการก่อสร้างและภาคการผลิต เนื่องจากมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐและเอกชนเตรียมดำเนินการจำนวนมาก
(ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของ Euro zone ในเดือน พ.ย.50 ขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
23 ม.ค.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเป็นตัวชี้แนวโน้มผลผลิตอุตสาหกรรมและ
ธุรกรรมทางเศรษฐกิจของ Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ต่อเดือนและร้อยละ 11.9 ต่อปี ดีกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.4 ต่อเดือนและร้อยละ 9.2 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อในภาคการขนส่งเช่น เรือ รถไฟและเครื่องบินโดยสาร
ซึ่งหากไม่รวมคำสั่งซื้อในภาคการขนส่งดังกล่าวแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนและ
ร้อยละ 6.6 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมมักผันผวนและเตือนว่ายังมีความเสี่ยงที่ผลผลิต
อุตสาหกรรมของ Euro zone จะชะลอตัวลงจากปัญหาวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน ค่าเงินยูโรที่แข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.
ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงในตลาดส่งออกที่สำคัญเช่น สรอ. (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีปีนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 1.7 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 23 ม.ค.51 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนี คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 1.7
ต่ำกว่าประมาณการของทางการที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือน เม.ย. และ ต.ค.50 ที่ร้อยละ 2.4 และ 2.0 ตามลำดับ และต่ำกว่าปี 50
ที่เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.5 (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าแต่ยังคงสูงกว่าการคาดการณ์ รายงาน
จากลอนดอนเมื่อ 23 ม.ค.50 The Office for National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 เศรษฐกิจ
อังกฤษขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 49 ที่ระดับร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 แต่ยังคง
สูงกว่าการคาดการณ์ที่ระดับร้อยละ 0.5 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี เศรษฐกิจอังกฤษขยายตัวในอัตราต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 49 ที่ระดับ
ร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่ 3 แต่ยังคงสูงกว่าการคาดการณ์เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ONS แจ้งว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอังกฤษชะลอลงในไตรมาสที่ 4 ปี 50 ดังกล่าว คือการชะลอตัวของผลประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการ
ทางการเงิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติด้านสินเชื่อ โดยภาคบริการขยายตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่ 4 ลดลงจากไตรมาส
ก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 อนึ่ง ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ ได้ส่งสัญญาณเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ธ.กลางอังกฤษอาจมีการปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้งในเดือนหน้า หลังจากที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้วร้อยละ 0.25 ในเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลดลงที่ระดับร้อยละ 5.5 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และเตือนว่าภาวะเงินเฟ้อยังก่อให้เกิดความกังวลอยู่ อย่างไรก็ตาม
การที่เศรษฐกิจอังกฤษยังคงขยายตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทั้งปี 50 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.1 ถือเป็นอัตราสูงสุด
นับตั้งแต่ปี 47 ที่ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.3 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าในเดือนหน้า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไม่มาก รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 51
ธ.กลางอังกฤษส่งสัญญานปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อวานนี้เพื่อที่จะป้องกันผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการที่ ธ.กลาง สรอ.ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงถึงร้อยละ 0.75 ทั้งนี้ในการประชุมนโยบายการเงินของ ธ.กลางอังกฤษเมื่อวันที่ 9 -10 ม.ค. ชี้ว่ามีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ
จะชะลอตัวรวมทั้งการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่การพบปะกันกับนักธุรกิจใน Bristol ผวก. ธ.กลางอังกฤษกล่าวว่าปีนี้เป็นปีที่ท้าทายที่สุด
ในรอบทศวรรษ และ ธ.กลางมีแนวทางที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงบ้างในเดือน ก.พ. แต่อย่างไรก็ตามการปรับลดลงอย่างรวดเร็ว
จะส่งผลเสียต่อตลาดการเงิน นอกจากนั้นการที่ความเสี่ยงด้านราคาเพิ่มสูงขึ้นอีกยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แนวความคิดดังกล่าวเกิดขึ้น
ภายหลังจากที่ ธ.กลาง สรอ. ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทันทีถึงร้อยละ 0.75 มากที่สุดในรอบศตวรรษ ขณะเดียวกันเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น
และตลาดหุ้นตกลงเมื่อทางการอังกฤษเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ม.ค. 51 23 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.138 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.9160/33.2629 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28781 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 740.65/22.23 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,850/13,950 13,800/13,900 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.45 82.39 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.89/29.34 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--