ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผย พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ เปิดทางให้ผู้ถือหุ้นและผู้ฝากเงินฟ้องกรรมการของสถาบันการเงินได้
ผอส.ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ เปิดทางให้ผู้ถือหุ้นและผู้ฝากเงิน
สามารถฟ้องร้องกรรมการของสถาบันการเงินให้ร่วมกันรับผิดชอบ ในกรณีที่กรรมการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ ธปท.จนก่อให้เกิดความเสียหาย โดย
ในส่วนของผู้ฝากเงินจะฟ้องร้องได้ในกรณีที่ไม่ได้รับเงินฝาก คืนจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้ การมีข้อกำหนดดังกล่าวจะทำให้กรรมการสถาบัน
การเงินต้องดูแลบริหารงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้นจากเดิม ซึ่งจะช่วยสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ พ.ร.บ.
ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ยังอนุญาตให้สถาบันการเงินที่ต้องการเงินทุนสามารถออกหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงได้ ซึ่งจะได้รับเงินปันผล
และผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิ์ทั่วไป และจะไม่มีการกำหนดเวลาชำระคืนเงินเหมือนหุ้นกู้ทั่วไปด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, มติชน)
2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เตรียมออกพันธบัตรเพิ่มเติมวงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า ในปี งปม.51 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะออกพันธบัตร
เพิ่มเติมในวงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท เพื่อทยอยใช้หนี้ที่เคยกู้ในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ให้ทันกำหนดปิดตลาดในวันที่ 12 ก.พ.นี้ ทั้งนี้
พันธบัตรดังกล่าวออกขายแบบเฉพาะเจาะจงให้ ธปท. โดยมีกำหนดไถ่ถอนวันที่ 28 ก.ย.56 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.12 โดย ก.คลังไม่
ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ออกจำหน่ายมูลค่าหน่วยละ 1 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การออกพันธบัตรดังกล่าวเป็นการออกพันธบัตรรุ่นเดิมในปี
งปม. 50 ครั้งที่ 2 FDF 139A) ที่เคยขอวงเงินไว้ 4.1 หมื่นล้านบาท แต่ก่อนหน้านี้มีการออกขายไปแล้ว 2.5 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือ
วงเงินอีก 1.6 หมื่นล้านบาทที่จะต้องออกขายในปี งปม.นี้ (โพสต์ทูเดย์)
3. สศช.ระบุเศรษฐกิจ สรอ.อยู่ในภาวะถดถอยชัดเจน เตือน ธปท.ดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนใกล้ชิด เลขาธิการคณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จากกรณีปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ใน สรอ. และการออกมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจทั้งมาตรการเงินและการคลังของ สรอ. ได้ส่งสัญญาณยืนยันอย่างชัดเจนว่า เศรษฐกิจ สรอ.เข้าสู่ระยะถดถอยอย่างแน่นอนแล้ว ซึ่ง
สศช. คาดการณ์ว่า แม้กรณีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย แต่เศรษฐกิจปีนี้จะยังขยายตัวที่ร้อยละ 4-5 อย่างไรก็ตาม สำหรับธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องระมัดระวังการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในตลาดเงิน ที่จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้ แต่ทั้งนี้ ค่าเงินบาทจะ
แข็งค่าขึ้นหรือจะอ่อนค่าลงนั้น ต้องขึ้นอยู่ปัจจัยหลายอย่าง เช่น ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและ สรอ. ภาวะเศรษฐกิจ สรอ. และค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ.ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
4. นักลงทุนต่างประเทศลงทุนในตราสารหนี้ไทยในช่วง 3 สัปดาห์แรกของปีนี้ไปแล้วกว่า 5 พันล้านบาท กรรมการผู้จัดการ
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของปีนี้ นักลงทุนต่างประเทศเริ่มหันกลับเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ไทย
โดยซื้อสุทธิไปแล้วกว่า 5,000 ล้านบาท ในขณะที่ปีที่แล้วทั้งปี ซื้อไปกว่า 36,000 ล้านบาท ส่วนมูลค่าการซื้อขายรวมนั้น เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 60
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยซื้อขายแบบ Outright เฉลี่ยวันละ 58,000 ล้านบาท ส่วนผลกระทบจากวิกฤติซับไพรม์ เห็นว่า ไม่น่า
จะส่งผลกระทบทางลบต่อตลาดตราสารหนี้ไทยมากนัก เพราะวิกฤติดังกล่าวทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงทั่วโลกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
เป็นการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เดิมคาดกันว่าน่าจะปรับขึ้นภายในไตรมาสหน้าออกไป ซึ่งจะส่งผลดี
ต่อตลาดตราสารหนี้และการประมูลพันธบัตรของ ก.คลัง ที่จะมีออกมาเกือบ 2 แสนล้านบาทในปี งปม.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ตลท.เตรียมออกดัชนีใหม่ 6 ชุดในกลางปีนี้ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า
ภายในไตรมาส 2 ปี 51 ตลท.จะประกาศใช้ดัชนีใหม่จำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย FTSE All share , FTSE Large Cap, FTSE Mid Cap,
FTSE Small Cap, FTSE Mid/Small Cap และ FTSE Fledging ทั้งนี้ การจัดทำดัชนีชุดใหม่จะช่วยในเรื่องการตัดสินใจให้นักลงทุนที่
ไม่มีเวลาในการติดตามข้อมูล รวมทั้งยังเป็นไปตามกระแสของตลาดหุ้นในโลกที่จะจัดทำดัชนีในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเครื่องมือให้แก่นักลงทุน
ใช้ในการตัดสินในการลงทุนได้มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่หุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่ถูกนำมาคำนวณดัชนีในแต่ละชุด ซึ่งบริษัท
ที่ได้รับการนำมาคำนวณดัชนีจะมีการปรับเปลี่ยนทุก 6 เดือน (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. ในเดือน ธ.ค. ลดลงร้อยละ 2.2 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 51 สมาคม
ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (National Association of Realtors — NAR) ของ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.
ยอดขายบ้านมือสองลดลงร้อยละ 2.2 ต่ำกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น เช่นเดียวกับสต็อกบ้านลดลงร้อยละ 7.4 อยู่ที่ 3.91 ล้านหลัง
หรือเทียบเท่ากับ 9.6 เดือนต่อราคาขายในปัจจุบันซึ่งลดลงจาก 10.1 เดือนเมื่อเดือน พ.ย. แม้ว่าสต็อกบ้านจะลดลงแต่นาย Lawrence Yun
หัวหน้าเศรษฐกรจาก NAR วิตกว่าภาวะอสังหาริมทรัพย์จะยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้และอาจชะลอตัวต่อไปอีก
เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. ยังคงไม่หมดไป และแม้ว่าราคาบ้านจะลดต่ำลง อัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองลดลงอย่างต่อเนื่อง และรายได้เพิ่มขึ้น แต่ผู้มีกำลังซื้อหลายคนต่างชะลอการซื้อ ณ ขณะนี้ ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์
โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดขายบ้านมือสองในเดือน ธ.ค. จะลดลงอยู่ที่ 4.95 ล้านหลังชะลอลงจากระดับ 5.00 ล้านหลังเมื่อเดือน พ.ย.
ทั้งนี้ตลอดทั้งปีที่แล้ว ยอดขายบ้านมือสองลดลงร้อยละ 12.8 และราคากลางลดลงราวร้อยละ 1.4 อยู่ที่ 218,900 ดอลลาร์ สรอ. นับเป็น
ครั้งแรกที่ราคากลางบ้านลดลงนับตั้งแต่ปี 42 (รอยเตอร์)
2. ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงาน ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ม.ค.51 ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 เดือน รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
24 ม.ค.51 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ม.ค.51 ลดลงต่อเนื่อง
เป็นสัปดาห์ที่ 4 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย.50 โดยมีจำนวน 301,000 คน จากจำนวน 302,000 คนในสัปดาห์
ก่อนหน้า เหนือความคาดหมายของบรรดานักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีทซึ่งคาดว่า ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน
325,000 คน เช่นเดียวกับยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนสถานการณ์แรงงาน สรอ.ได้แม่นยำกว่า
ก็ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 เป็นจำนวน 314,750 คน จากจำนวน 328,750 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานที่เคยรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกแล้วลดลง 75,000 คน เหลือจำนวน 2.67 ล้านคน ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ม.ค.51 ต่ำกว่า
ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน 2.72 ล้านคน ทั้งนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลง บ่งชี้ว่าจำนวนผู้ว่างงานไม่ได้
เพิ่มขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.จะประสบภาวะชะลอตัวก็ตาม อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ว่างงานใน
ระยะยาว เนื่องจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานหลังจากที่เคยขอรับสวัสดิการฯ ครั้งแรกแล้ว ยังคงมีจำนวนสูงกว่าความคาดหมาย
และมีแนวโน้มที่เป็นได้ว่า แรงงานซึ่งว่างงานอยู่จะกลับเข้าทำงานใหม่ได้ยาก (รอยเตอร์)
3. ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 ลดลง รายงานจากโตเกียว เมื่อ 24 ม.ค.51 ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50
ลดลง โดยยอดส่งออกไป สรอ.ลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปี ลดลงเมื่อเทียบต่อปีเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่ยอดส่งออกชิปคอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังจีนและฮ่องกงขยายตัวดีขึ้นมากจนทำให้จีนและฮ่องกงกลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นแทนที่ สรอ.
เป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ดี ยอดส่งออกสินค้าไปยังจีนซึ่งใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยัง สรอ.อีกทอดหนึ่งก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ สรอ.
ทำให้ยอดส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 8.4 ในเดือน ธ.ค.50 จากที่เคยขยายตัวในอัตราเลขสองหลักนับตั้งแต่เดือน มี.ค.50 เป็นต้นมา
เช่นเดียวกับยอดส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรปที่ลดลงมากโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 ลดลงจากร้อยละ 23.7
ในเดือน ต.ค.50 แต่อย่างไรก็ดี ยอดส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่หากเศรษฐกิจ สรอ.ชะลอตัวลงมากกว่านี้ก็อาจ
ส่งผลกระทบให้ยอดส่งออกไปยังเอเชียลดลงได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นจากผลสำรวจโดย
ธ.กลางญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ในขณะที่ยอดขายลดลงจากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มที่มีต่อเศรษฐกิจ
สรอ. ทั้งนี้ ญี่ปุ่นหวังพึ่งการส่งออกและการลงทุนเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่การบริโภคในประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซา นักวิเคราะห์
จึงคาดว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ ธ.กลางญี่ปุ่นอาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ปี 50 ขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่มีแนวโน้มชะลอตัวในไตรมาสแรกปีนี้ รายงานจาก
กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 25 ม.ค.51 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยตัวเลขจีดีพีของเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ปี 50 ว่า ขยายตัว
ร้อยละ 1.5 จากไตรมาส 3 สูงกว่าที่เคยประมาณการไว้ก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนในสินค้าทุน เช่น โรงงาน
และเครื่องจักร เพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าและน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปัญหาเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ส่งผลกระทบ
ต่อการส่งออกของเกาหลีใต้และอาจจะเชื่อมโยงไปถึงการบริโภคภาคเอกชนด้วย รวมถึงการที่ ธ.กลาง สรอ. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็น
กรณีพิเศษมากถึงร้อยละ 0.75 ทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้อาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการปรับลด
ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน พ.ย.47 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงก็ตาม ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 5 เดือน
ที่ผ่านมา หลังจากที่ปรับขึ้น 7 ครั้ง รวมร้อยละ 1.75 ในระหว่างเดือน ต.ค.48 ถึงเดือน ส.ค.50 อนึ่ง เมื่อเดือนก่อน ธ.กลางเกาหลีใต้
ได้พยากรณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 4.7 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ม.ค. 51 24 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.088 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8956/33.2325 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28766 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.58/16.51 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,050/14,150 13,850/13,950 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 83.20 84.45 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผย พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ เปิดทางให้ผู้ถือหุ้นและผู้ฝากเงินฟ้องกรรมการของสถาบันการเงินได้
ผอส.ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ เปิดทางให้ผู้ถือหุ้นและผู้ฝากเงิน
สามารถฟ้องร้องกรรมการของสถาบันการเงินให้ร่วมกันรับผิดชอบ ในกรณีที่กรรมการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ ธปท.จนก่อให้เกิดความเสียหาย โดย
ในส่วนของผู้ฝากเงินจะฟ้องร้องได้ในกรณีที่ไม่ได้รับเงินฝาก คืนจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้ การมีข้อกำหนดดังกล่าวจะทำให้กรรมการสถาบัน
การเงินต้องดูแลบริหารงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้นจากเดิม ซึ่งจะช่วยสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับสถาบันการเงินไทย นอกจากนี้ พ.ร.บ.
ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ยังอนุญาตให้สถาบันการเงินที่ต้องการเงินทุนสามารถออกหุ้นบุริมสิทธิ์ที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงได้ ซึ่งจะได้รับเงินปันผล
และผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิ์ทั่วไป และจะไม่มีการกำหนดเวลาชำระคืนเงินเหมือนหุ้นกู้ทั่วไปด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, มติชน)
2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เตรียมออกพันธบัตรเพิ่มเติมวงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า ในปี งปม.51 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จะออกพันธบัตร
เพิ่มเติมในวงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท เพื่อทยอยใช้หนี้ที่เคยกู้ในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ให้ทันกำหนดปิดตลาดในวันที่ 12 ก.พ.นี้ ทั้งนี้
พันธบัตรดังกล่าวออกขายแบบเฉพาะเจาะจงให้ ธปท. โดยมีกำหนดไถ่ถอนวันที่ 28 ก.ย.56 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.12 โดย ก.คลังไม่
ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย ออกจำหน่ายมูลค่าหน่วยละ 1 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การออกพันธบัตรดังกล่าวเป็นการออกพันธบัตรรุ่นเดิมในปี
งปม. 50 ครั้งที่ 2 FDF 139A) ที่เคยขอวงเงินไว้ 4.1 หมื่นล้านบาท แต่ก่อนหน้านี้มีการออกขายไปแล้ว 2.5 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือ
วงเงินอีก 1.6 หมื่นล้านบาทที่จะต้องออกขายในปี งปม.นี้ (โพสต์ทูเดย์)
3. สศช.ระบุเศรษฐกิจ สรอ.อยู่ในภาวะถดถอยชัดเจน เตือน ธปท.ดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนใกล้ชิด เลขาธิการคณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า จากกรณีปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ใน สรอ. และการออกมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจทั้งมาตรการเงินและการคลังของ สรอ. ได้ส่งสัญญาณยืนยันอย่างชัดเจนว่า เศรษฐกิจ สรอ.เข้าสู่ระยะถดถอยอย่างแน่นอนแล้ว ซึ่ง
สศช. คาดการณ์ว่า แม้กรณีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย แต่เศรษฐกิจปีนี้จะยังขยายตัวที่ร้อยละ 4-5 อย่างไรก็ตาม สำหรับธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องระมัดระวังการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในตลาดเงิน ที่จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้ แต่ทั้งนี้ ค่าเงินบาทจะ
แข็งค่าขึ้นหรือจะอ่อนค่าลงนั้น ต้องขึ้นอยู่ปัจจัยหลายอย่าง เช่น ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและ สรอ. ภาวะเศรษฐกิจ สรอ. และค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ.ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
4. นักลงทุนต่างประเทศลงทุนในตราสารหนี้ไทยในช่วง 3 สัปดาห์แรกของปีนี้ไปแล้วกว่า 5 พันล้านบาท กรรมการผู้จัดการ
สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 3 สัปดาห์แรกของปีนี้ นักลงทุนต่างประเทศเริ่มหันกลับเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ไทย
โดยซื้อสุทธิไปแล้วกว่า 5,000 ล้านบาท ในขณะที่ปีที่แล้วทั้งปี ซื้อไปกว่า 36,000 ล้านบาท ส่วนมูลค่าการซื้อขายรวมนั้น เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 60
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยซื้อขายแบบ Outright เฉลี่ยวันละ 58,000 ล้านบาท ส่วนผลกระทบจากวิกฤติซับไพรม์ เห็นว่า ไม่น่า
จะส่งผลกระทบทางลบต่อตลาดตราสารหนี้ไทยมากนัก เพราะวิกฤติดังกล่าวทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับลดลงทั่วโลกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
เป็นการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เดิมคาดกันว่าน่าจะปรับขึ้นภายในไตรมาสหน้าออกไป ซึ่งจะส่งผลดี
ต่อตลาดตราสารหนี้และการประมูลพันธบัตรของ ก.คลัง ที่จะมีออกมาเกือบ 2 แสนล้านบาทในปี งปม.นี้ (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ตลท.เตรียมออกดัชนีใหม่ 6 ชุดในกลางปีนี้ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า
ภายในไตรมาส 2 ปี 51 ตลท.จะประกาศใช้ดัชนีใหม่จำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย FTSE All share , FTSE Large Cap, FTSE Mid Cap,
FTSE Small Cap, FTSE Mid/Small Cap และ FTSE Fledging ทั้งนี้ การจัดทำดัชนีชุดใหม่จะช่วยในเรื่องการตัดสินใจให้นักลงทุนที่
ไม่มีเวลาในการติดตามข้อมูล รวมทั้งยังเป็นไปตามกระแสของตลาดหุ้นในโลกที่จะจัดทำดัชนีในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเครื่องมือให้แก่นักลงทุน
ใช้ในการตัดสินในการลงทุนได้มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่หุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่ถูกนำมาคำนวณดัชนีในแต่ละชุด ซึ่งบริษัท
ที่ได้รับการนำมาคำนวณดัชนีจะมีการปรับเปลี่ยนทุก 6 เดือน (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. ในเดือน ธ.ค. ลดลงร้อยละ 2.2 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 51 สมาคม
ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (National Association of Realtors — NAR) ของ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.
ยอดขายบ้านมือสองลดลงร้อยละ 2.2 ต่ำกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น เช่นเดียวกับสต็อกบ้านลดลงร้อยละ 7.4 อยู่ที่ 3.91 ล้านหลัง
หรือเทียบเท่ากับ 9.6 เดือนต่อราคาขายในปัจจุบันซึ่งลดลงจาก 10.1 เดือนเมื่อเดือน พ.ย. แม้ว่าสต็อกบ้านจะลดลงแต่นาย Lawrence Yun
หัวหน้าเศรษฐกรจาก NAR วิตกว่าภาวะอสังหาริมทรัพย์จะยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปีนี้และอาจชะลอตัวต่อไปอีก
เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. ยังคงไม่หมดไป และแม้ว่าราคาบ้านจะลดต่ำลง อัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองลดลงอย่างต่อเนื่อง และรายได้เพิ่มขึ้น แต่ผู้มีกำลังซื้อหลายคนต่างชะลอการซื้อ ณ ขณะนี้ ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์
โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดขายบ้านมือสองในเดือน ธ.ค. จะลดลงอยู่ที่ 4.95 ล้านหลังชะลอลงจากระดับ 5.00 ล้านหลังเมื่อเดือน พ.ย.
ทั้งนี้ตลอดทั้งปีที่แล้ว ยอดขายบ้านมือสองลดลงร้อยละ 12.8 และราคากลางลดลงราวร้อยละ 1.4 อยู่ที่ 218,900 ดอลลาร์ สรอ. นับเป็น
ครั้งแรกที่ราคากลางบ้านลดลงนับตั้งแต่ปี 42 (รอยเตอร์)
2. ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงาน ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ม.ค.51 ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 เดือน รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
24 ม.ค.51 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ม.ค.51 ลดลงต่อเนื่อง
เป็นสัปดาห์ที่ 4 และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย.50 โดยมีจำนวน 301,000 คน จากจำนวน 302,000 คนในสัปดาห์
ก่อนหน้า เหนือความคาดหมายของบรรดานักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีทซึ่งคาดว่า ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน
325,000 คน เช่นเดียวกับยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนสถานการณ์แรงงาน สรอ.ได้แม่นยำกว่า
ก็ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 เป็นจำนวน 314,750 คน จากจำนวน 328,750 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานที่เคยรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกแล้วลดลง 75,000 คน เหลือจำนวน 2.67 ล้านคน ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 ม.ค.51 ต่ำกว่า
ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน 2.72 ล้านคน ทั้งนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ลดลง บ่งชี้ว่าจำนวนผู้ว่างงานไม่ได้
เพิ่มขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.จะประสบภาวะชะลอตัวก็ตาม อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ว่างงานใน
ระยะยาว เนื่องจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานหลังจากที่เคยขอรับสวัสดิการฯ ครั้งแรกแล้ว ยังคงมีจำนวนสูงกว่าความคาดหมาย
และมีแนวโน้มที่เป็นได้ว่า แรงงานซึ่งว่างงานอยู่จะกลับเข้าทำงานใหม่ได้ยาก (รอยเตอร์)
3. ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 ลดลง รายงานจากโตเกียว เมื่อ 24 ม.ค.51 ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50
ลดลง โดยยอดส่งออกไป สรอ.ลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปี ลดลงเมื่อเทียบต่อปีเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่ยอดส่งออกชิปคอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังจีนและฮ่องกงขยายตัวดีขึ้นมากจนทำให้จีนและฮ่องกงกลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นแทนที่ สรอ.
เป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ดี ยอดส่งออกสินค้าไปยังจีนซึ่งใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกไปยัง สรอ.อีกทอดหนึ่งก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ สรอ.
ทำให้ยอดส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 8.4 ในเดือน ธ.ค.50 จากที่เคยขยายตัวในอัตราเลขสองหลักนับตั้งแต่เดือน มี.ค.50 เป็นต้นมา
เช่นเดียวกับยอดส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรปที่ลดลงมากโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 ลดลงจากร้อยละ 23.7
ในเดือน ต.ค.50 แต่อย่างไรก็ดี ยอดส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่หากเศรษฐกิจ สรอ.ชะลอตัวลงมากกว่านี้ก็อาจ
ส่งผลกระทบให้ยอดส่งออกไปยังเอเชียลดลงได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นจากผลสำรวจโดย
ธ.กลางญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ในขณะที่ยอดขายลดลงจากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มที่มีต่อเศรษฐกิจ
สรอ. ทั้งนี้ ญี่ปุ่นหวังพึ่งการส่งออกและการลงทุนเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่การบริโภคในประเทศยังอยู่ในภาวะซบเซา นักวิเคราะห์
จึงคาดว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ ธ.กลางญี่ปุ่นอาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ปี 50 ขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่มีแนวโน้มชะลอตัวในไตรมาสแรกปีนี้ รายงานจาก
กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 25 ม.ค.51 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยตัวเลขจีดีพีของเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ปี 50 ว่า ขยายตัว
ร้อยละ 1.5 จากไตรมาส 3 สูงกว่าที่เคยประมาณการไว้ก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนในสินค้าทุน เช่น โรงงาน
และเครื่องจักร เพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าและน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปัญหาเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ส่งผลกระทบ
ต่อการส่งออกของเกาหลีใต้และอาจจะเชื่อมโยงไปถึงการบริโภคภาคเอกชนด้วย รวมถึงการที่ ธ.กลาง สรอ. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็น
กรณีพิเศษมากถึงร้อยละ 0.75 ทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้อาจต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการปรับลด
ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือน พ.ย.47 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงก็ตาม ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 5 เดือน
ที่ผ่านมา หลังจากที่ปรับขึ้น 7 ครั้ง รวมร้อยละ 1.75 ในระหว่างเดือน ต.ค.48 ถึงเดือน ส.ค.50 อนึ่ง เมื่อเดือนก่อน ธ.กลางเกาหลีใต้
ได้พยากรณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 4.7 เนื่องจากการส่งออกชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ม.ค. 51 24 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.088 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8956/33.2325 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28766 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.58/16.51 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,050/14,150 13,850/13,950 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 83.20 84.45 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--