ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. หนี้ภาคครัวเรือนโดยรวมยังมีเสถียรภาพแต่มีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบาย
การเงิน ธปท. กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินกำลังอยู่ระหว่างติดตามปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปาน
กลางที่เริ่มชัดเจนขึ้น โดยยังมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ทั้งในส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลสูงขึ้น เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวกระทบต่อ
เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในขณะนี้หนี้ภาคครัวเรือนยังมีเสถียรภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากภาพรวมสัดส่วน
หนี้ที่เริ่มค้างชำระของสินเชื่อดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่
ภาคครัวเรือนยังมีหนี้เอ็นพีแอลไม่สูงนักเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา จึงเชื่อว่าการผิดนัดชำระหนี้ของครัวเรือนไม่น่าจะสร้างความเสี่ยงต่อระบบสถาบัน
การเงินโดยรวม ซึ่งคาดว่าการผิดนัดชำระหนี้น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว โดยมีปัจจัยบวกจากความชัดเจนทาง
การเมืองที่มีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้แก่รายได้และทำให้
ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, มติชน, ไทยรัฐ)
2. เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินในไตรมาส 4 ปี 50 ลดลงจากไตรมาส 3 กว่า 2.2 หมื่นล้านบาท ธปท. เผยแพร่ข้อมูลเอ็น
พีแอลของระบบสถาบันการเงินในไตรมาส 4 ปี 50 ว่า สถาบันการเงินทั้งระบบมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 237,887 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.95
ของสินเชื่อรวม ลดลงจากไตรมาส 3 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 4.44 ของสินเชื่อรวม หรือลดลง 22,835 ล้านบาท โดยเป็นของ ธ.พาณิชย์จดทะเบียนใน
ประเทศ 232,458 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.27 ลดลงจากร้อยละ 4.83 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม พบว่ามี ธ.พาณิชย์ 3 แห่ง ที่มีสัดส่วน
เอ็นพีแอลต่อสินเชื่อเพิ่มขึ้นคือ ธ.ทหารไทย มีเอ็นพีแอล 36,230 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.21 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.86 ของ
สินเชื่อรวมในไตรมาสก่อน รองลงมาได้แก่ ธ.ทิสโก้เพื่อรายย่อย มีเอ็นพีแอล 1,267 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.58 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.51
และ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ฯ มีเอ็นพีแอล 133 ล้านบาทท คิดเป็นร้อยละ 0.18 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.16 สำหรับธนาคารที่สามารถลดเอ็นพีแอล
ได้มากที่สุดคือ ธ.เกียรตินาคิน มีเอ็นพีแอล 5,822 ล้านบาทท คิดเป็นร้อยละ 9.17 ลดลงจากร้อยละ 10.91 หรือลดลง 401 ล้านบาท รองลงมา
ได้แก่ ธ.กรุงศรีอยุธยา มีเอ็นพีแอล 30,095 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.07 ลดลงจากร้อยละ 8.69 หรือลดลง 6,894 ล้านบาท และ
ธ.สินเอเชีย มีเอ็นพีแอล 1,480 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.3 ลดลงจากร้อยละ 5.45 หรือลดลง 151 ล้านบาท (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ,
แนวหน้า, เดลินิวส์)
3. ก.คลังเตือนรัฐบาลใหม่อย่าตั้งงบขาดดุลกระตุ้นเศรษฐกิจเกินตัว นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ต้อง
พิจารณาให้รอบคอบที่จะใช้นโยบายการคลังด้วยการเพิ่มเงิน งปม.ปี 51 และลดภาษีต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยต้องระวังภาระเงินงบประมาณ
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ให้มากเกินไปจนเกิดปัญหาฐานะการคลัง ซึ่งการทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมต้องดูถึงความจำเป็นที่แท้จริง ผลดีและผลเสียที่
จะเกิดขึ้นให้รอบด้าน ที่สำคัญต้องชัดเจนว่าเงินงบประมาณที่ตั้งเพิ่มขึ้นจะนำไปใช้ในโครงการอะไรและเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะที่การ
ลดภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล รัฐบาลใหม่จะต้องดูภาพรวมของรายได้และรายจ่าย ไม่ควรดูเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนส่งผล
กระทบตามมาภายหลัง ทั้งนี้ การตั้งงบประมาณเพิ่มหรือลดภาษีต้องดูภาระการคลังที่จะเกิดขึ้นใน 2 — 3 ปีข้างหน้า ที่เป็นผลกระทบจากกฎหมาย
รัฐธรรมนูญใหม่ เช่น กฎหมายกำหนดให้มีการดูแลคนชรา ในส่วนนี้ก็ต้องมีโครงการและมีเงินเข้าไปดูแล ซึ่งจะเป็นภาระในระยะยาว อนึ่ง ก่อนหน้า
นี้ ก.คลังรายงานว่าการจัดทำ งปม.ปี 52 จะต้องมีการตั้งเงินงบประมาณมาชดเชยเงินคงคลังที่ถูกใช้ไปในปี งปม.50 จำนวน 3 หมื่นล้านบาท
(โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
4. สคบ. ให้ผู้ประกอบการร้านทองระบุสัดส่วนเปอร์เซ็นทองที่แท้จริง นายนิโรธ เจริญประกอบ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า เตรียมเชิญผู้ประกอบการร้านทองทั่วประเทศหารือในการวางกรอบยกระดับทองไทยให้มีมาตรฐานสากล เนื่องจาก
ทองที่จำหน่ายและติดฉลาก 96.5% นั้น ไม่เป็นความจริงตามที่ระบุไว้ เพราะมีน้ำประสานทองรวมอยู่ด้วย 2 — 3% ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดมาตลอด
ซึ่งอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับฉลากเป็นเท็จได้ โดยน้ำประสานทองมีเปอร์เซ็นที่ต่ำกว่าเนื้อทองมาก ดังนั้น ภาครัฐจึงมีแนวทางให้มีเนื้อทอง
บริสุทธิ์เต็ม รวมถึงให้เปลี่ยนฉลากใหม่ โดยให้ชี้แจงสัดส่วนเปอร์เซ็นทองที่แท้จริง ด้าน นายจิรชัย มูลทองโร่ย ผอ.กองเผยแพร่และ ปชส. สคบ.
กล่าวว่า ปัจจุบันสมาคมค้าทองเป็นห่วงเกี่ยวกับการจัดระเบียบมาตรฐานทองคำให้อยู่ในระดับสากล เนื่องจากทองไทยใช้น้ำประสานทองในการผสม
มากเพราะต้องการสร้างลวดลายที่สวยงาม แต่หากต้องการใช้เนื้อทองเต็มร้อยต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนสูงและราคาทอง
ในไทยจะสูงขึ้นด้วย (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านในอังกฤษและเวลล์ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นต่ำสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 ที่ร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 28 ม.ค.51 บริษัทสำรวจตลาดที่อยู่อาศัย Hometrack เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษและเวลล์ ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
2.3 เทียบต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3 ในเดือน ธ.ค.50 และนับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่น้อยที่สุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 เป็นต้นมา และหากเทียบต่อ
เดือน ราคาบ้านฯ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 0.3 (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ทั้งนี้ จากตัวเลขผลสำรวจดังกล่าว ยิ่งสนับสนุน
เด่นชัดถึงความร้อนแรงของตลาดที่อยู่อาศัยในอังกฤษที่ชะลอตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอดีต และวิกฤติด้านสิน
เชื่อจากทั่วโลกที่คุกคามผู้ซื้อที่อยู่อาศัย อนึ่ง คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลางอังกฤษมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 อยู่ที่
ร้อยละ 5.5 ในการประชุมเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า ธ.กลางอังกฤษ
จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในการประชุมเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายการเงินมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ด้านเงินเฟ้ออาจเป็นภาพลวงตาต่อการบริหารนโยบายการเงิน เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว นอกจากนี้ Hometrack ยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ระยะ
เวลาเฉลี่ยที่สามารถขายบ้านได้เพิ่มขึ้นเป็น 8.5 สัปดาห์ จาก 8.3 สัปดาห์ ซึ่งนับเป็นช่วงเวลายาวนานที่สุดตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจมาในปี 44
(รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีในเดือน ก.พ.51 มีแนวโน้มคงที่เท่ากับเดือนก่อน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 25 ม.ค.51
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีล่วงหน้าสำหรับเดือน ก.พ.51 จากผลสำรวจความเห็นของคนเยอรมนีประมาณ 2,000 คนโดยบริษัท
วิจัยตลาดชั้นนำ GfK อยู่ที่ระดับ 4.5 เท่ากับเดือนก่อน ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.4 โดยผู้บริโภครู้สึกว่าตลาดแรงงานยัง
มีแนวโน้มที่ดีแต่มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและความวุ่นวายในตลาดการเงินทั่วโลกในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์เตือนว่าผลสำรวจ
ดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นก่อนที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของเยอรมนีลดลงมากเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ ดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับรายได้ในเดือน
ม.ค.51 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -4.7 จากระดับ -1.7 ในเดือน ธ.ค.50 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความยินดีที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -8.8 ในเดือน
ม.ค.51 จากระดับ -10.7 ในเดือน ธ.ค.50 นอกจากนี้ GfK ยังคาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีนี้จะขยายตัวก่อนปรับตัวด้วยอัตราเงินเฟ้อ
ร้อยละ 1.5 ในขณะที่สมาคมผู้ค้าปลีกของเยอรมนีคาดว่าจะขยายตัวหลังปรับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อแล้วเพียงร้อยละ 0.75 ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกชะลอตัว
ลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในขณะที่อัตราการออมเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงครึ่งปีแรกปี 50 อัตราการออมเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางทศวรรษ
1990 เป็นต้นมา รัฐบาลเยอรมนีเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.7 จากประมาณการครั้ง
ก่อนที่ร้อยละ 2.0 จากผลกระทบของค่าเงินยูโรและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. ค่าจ้างของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อปีที่แล้ว รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 51 สำนักงานสถิติแห่งชาติของ
เยอรมนีเปิดเผยว่า เมื่อปีที่แล้วอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 46 เช่นเดียวกับอัตรา
เงินเฟ้อสูงขึ้นถึงร้อยละ 2.2 ขณะที่อัตราค่าจ้างรายเดือนตลอดทั้งปี 50 เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.0 มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 47 ทั้งนี้เมื่อ 2 ปีตามที่
ผ่านมาเยอรมนีมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 43 ที่มีการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวและค่าจ้างเพิ่มขึ้นไม่มากจึงส่งผลให้กิจการ
มีกำไรดี แต่ในปีนี้เป็นปีที่ค่าจ้างเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยในภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเหล็กกล้าค่าจ้างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.0 และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่าน
มาทางการเยอรมนีได้เสนอให้ภาคเอกชนเพิ่มค่าจ้างในปีนี้และปีหน้าได้รวมกันไม่เกินร้อยละ 5.0 โดยเพิ่มร้อยละ 4.0 ในปีนี้และอีกร้อยละ 1.0
ในปีหน้า ทั้งนี้ ธ.กลางยุโรปกล่าวว่าเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากการเพิ่มค่าจ้าง ซึ่งเมื่อเดือน พ.ย. ปีที่
แล้วเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 14 ปีแต่ได้ชะลอลงที่ร้อยละ 2.8 ในเดือน ธ.ค. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงร้อยละ 4.7 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ 1.7 เทียบต่อปี รายงานจาก
สิงคโปร์เมื่อ 25 ม.ค.51 Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงร้อยละ 4.7 ตรง
ข้ามกับเดือนก่อนหน้าที่ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.4 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี ผลผลิตฯ ลดลงร้อยละ 1.7 ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ลด
ลงเพียงร้อยละ 0.5 เหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าผลผลิตฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 0.3 เมื่อเทียบต่อปีและเทียบต่อเดือน ตามลำดับ
ทั้งนี้ การที่ตัวเลขผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์มีทิศทางที่ชะลอตัวเหนือความคาดหมาย มีสาเหตุหลักจากผลผลิตด้านเคมีภัณฑ์ที่ลดลงถึงร้อยละ 36
เนื่องจากการหยุดการผลิตเพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่อง 4 เดือน อนึ่ง การที่ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ลดลงอย่างมากใน
เดือน ธ.ค.ดังกล่าว ก่อให้เกิดความกังวลว่าภาคการผลิตของสิงคโปร์จะยังคงชะลอตัวต่อไป โดยการขยายตัวของภาคการผลิตของสิงคโปร์ในปี
50 ขยายตัวร้อยละ 5.8 คิดเป็นเพียงครี่งหนึ่งของปี 49 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 นอกจากนี้ ผลผลิตโรงงานที่ลดลงยังเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบ
ต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 ด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ม.ค. 51 25 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.058 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8512/33.1873 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28656 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 759.72/21.88 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,150/14,250 14,050/14,150 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 86.03 83.2 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. หนี้ภาคครัวเรือนโดยรวมยังมีเสถียรภาพแต่มีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบาย
การเงิน ธปท. กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินกำลังอยู่ระหว่างติดตามปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปาน
กลางที่เริ่มชัดเจนขึ้น โดยยังมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ทั้งในส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลสูงขึ้น เพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวกระทบต่อ
เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในขณะนี้หนี้ภาคครัวเรือนยังมีเสถียรภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากภาพรวมสัดส่วน
หนี้ที่เริ่มค้างชำระของสินเชื่อดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่
ภาคครัวเรือนยังมีหนี้เอ็นพีแอลไม่สูงนักเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา จึงเชื่อว่าการผิดนัดชำระหนี้ของครัวเรือนไม่น่าจะสร้างความเสี่ยงต่อระบบสถาบัน
การเงินโดยรวม ซึ่งคาดว่าการผิดนัดชำระหนี้น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว โดยมีปัจจัยบวกจากความชัดเจนทาง
การเมืองที่มีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งการดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้แก่รายได้และทำให้
ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, มติชน, ไทยรัฐ)
2. เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินในไตรมาส 4 ปี 50 ลดลงจากไตรมาส 3 กว่า 2.2 หมื่นล้านบาท ธปท. เผยแพร่ข้อมูลเอ็น
พีแอลของระบบสถาบันการเงินในไตรมาส 4 ปี 50 ว่า สถาบันการเงินทั้งระบบมีเอ็นพีแอลทั้งสิ้น 237,887 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.95
ของสินเชื่อรวม ลดลงจากไตรมาส 3 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 4.44 ของสินเชื่อรวม หรือลดลง 22,835 ล้านบาท โดยเป็นของ ธ.พาณิชย์จดทะเบียนใน
ประเทศ 232,458 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.27 ลดลงจากร้อยละ 4.83 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม พบว่ามี ธ.พาณิชย์ 3 แห่ง ที่มีสัดส่วน
เอ็นพีแอลต่อสินเชื่อเพิ่มขึ้นคือ ธ.ทหารไทย มีเอ็นพีแอล 36,230 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.21 ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.86 ของ
สินเชื่อรวมในไตรมาสก่อน รองลงมาได้แก่ ธ.ทิสโก้เพื่อรายย่อย มีเอ็นพีแอล 1,267 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.58 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.51
และ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ฯ มีเอ็นพีแอล 133 ล้านบาทท คิดเป็นร้อยละ 0.18 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.16 สำหรับธนาคารที่สามารถลดเอ็นพีแอล
ได้มากที่สุดคือ ธ.เกียรตินาคิน มีเอ็นพีแอล 5,822 ล้านบาทท คิดเป็นร้อยละ 9.17 ลดลงจากร้อยละ 10.91 หรือลดลง 401 ล้านบาท รองลงมา
ได้แก่ ธ.กรุงศรีอยุธยา มีเอ็นพีแอล 30,095 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.07 ลดลงจากร้อยละ 8.69 หรือลดลง 6,894 ล้านบาท และ
ธ.สินเอเชีย มีเอ็นพีแอล 1,480 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.3 ลดลงจากร้อยละ 5.45 หรือลดลง 151 ล้านบาท (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ,
แนวหน้า, เดลินิวส์)
3. ก.คลังเตือนรัฐบาลใหม่อย่าตั้งงบขาดดุลกระตุ้นเศรษฐกิจเกินตัว นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ต้อง
พิจารณาให้รอบคอบที่จะใช้นโยบายการคลังด้วยการเพิ่มเงิน งปม.ปี 51 และลดภาษีต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยต้องระวังภาระเงินงบประมาณ
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ให้มากเกินไปจนเกิดปัญหาฐานะการคลัง ซึ่งการทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมต้องดูถึงความจำเป็นที่แท้จริง ผลดีและผลเสียที่
จะเกิดขึ้นให้รอบด้าน ที่สำคัญต้องชัดเจนว่าเงินงบประมาณที่ตั้งเพิ่มขึ้นจะนำไปใช้ในโครงการอะไรและเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะที่การ
ลดภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล รัฐบาลใหม่จะต้องดูภาพรวมของรายได้และรายจ่าย ไม่ควรดูเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนส่งผล
กระทบตามมาภายหลัง ทั้งนี้ การตั้งงบประมาณเพิ่มหรือลดภาษีต้องดูภาระการคลังที่จะเกิดขึ้นใน 2 — 3 ปีข้างหน้า ที่เป็นผลกระทบจากกฎหมาย
รัฐธรรมนูญใหม่ เช่น กฎหมายกำหนดให้มีการดูแลคนชรา ในส่วนนี้ก็ต้องมีโครงการและมีเงินเข้าไปดูแล ซึ่งจะเป็นภาระในระยะยาว อนึ่ง ก่อนหน้า
นี้ ก.คลังรายงานว่าการจัดทำ งปม.ปี 52 จะต้องมีการตั้งเงินงบประมาณมาชดเชยเงินคงคลังที่ถูกใช้ไปในปี งปม.50 จำนวน 3 หมื่นล้านบาท
(โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
4. สคบ. ให้ผู้ประกอบการร้านทองระบุสัดส่วนเปอร์เซ็นทองที่แท้จริง นายนิโรธ เจริญประกอบ รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า เตรียมเชิญผู้ประกอบการร้านทองทั่วประเทศหารือในการวางกรอบยกระดับทองไทยให้มีมาตรฐานสากล เนื่องจาก
ทองที่จำหน่ายและติดฉลาก 96.5% นั้น ไม่เป็นความจริงตามที่ระบุไว้ เพราะมีน้ำประสานทองรวมอยู่ด้วย 2 — 3% ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดมาตลอด
ซึ่งอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับฉลากเป็นเท็จได้ โดยน้ำประสานทองมีเปอร์เซ็นที่ต่ำกว่าเนื้อทองมาก ดังนั้น ภาครัฐจึงมีแนวทางให้มีเนื้อทอง
บริสุทธิ์เต็ม รวมถึงให้เปลี่ยนฉลากใหม่ โดยให้ชี้แจงสัดส่วนเปอร์เซ็นทองที่แท้จริง ด้าน นายจิรชัย มูลทองโร่ย ผอ.กองเผยแพร่และ ปชส. สคบ.
กล่าวว่า ปัจจุบันสมาคมค้าทองเป็นห่วงเกี่ยวกับการจัดระเบียบมาตรฐานทองคำให้อยู่ในระดับสากล เนื่องจากทองไทยใช้น้ำประสานทองในการผสม
มากเพราะต้องการสร้างลวดลายที่สวยงาม แต่หากต้องการใช้เนื้อทองเต็มร้อยต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนสูงและราคาทอง
ในไทยจะสูงขึ้นด้วย (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านในอังกฤษและเวลล์ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นต่ำสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 ที่ร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 28 ม.ค.51 บริษัทสำรวจตลาดที่อยู่อาศัย Hometrack เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษและเวลล์ ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
2.3 เทียบต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3 ในเดือน ธ.ค.50 และนับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่น้อยที่สุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 เป็นต้นมา และหากเทียบต่อ
เดือน ราคาบ้านฯ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 0.3 (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ทั้งนี้ จากตัวเลขผลสำรวจดังกล่าว ยิ่งสนับสนุน
เด่นชัดถึงความร้อนแรงของตลาดที่อยู่อาศัยในอังกฤษที่ชะลอตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอดีต และวิกฤติด้านสิน
เชื่อจากทั่วโลกที่คุกคามผู้ซื้อที่อยู่อาศัย อนึ่ง คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธ.กลางอังกฤษมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 อยู่ที่
ร้อยละ 5.5 ในการประชุมเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า ธ.กลางอังกฤษ
จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในการประชุมเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายการเงินมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยง
ด้านเงินเฟ้ออาจเป็นภาพลวงตาต่อการบริหารนโยบายการเงิน เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัว นอกจากนี้ Hometrack ยังเปิดเผยเพิ่มเติมว่า ระยะ
เวลาเฉลี่ยที่สามารถขายบ้านได้เพิ่มขึ้นเป็น 8.5 สัปดาห์ จาก 8.3 สัปดาห์ ซึ่งนับเป็นช่วงเวลายาวนานที่สุดตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจมาในปี 44
(รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีในเดือน ก.พ.51 มีแนวโน้มคงที่เท่ากับเดือนก่อน รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 25 ม.ค.51
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีล่วงหน้าสำหรับเดือน ก.พ.51 จากผลสำรวจความเห็นของคนเยอรมนีประมาณ 2,000 คนโดยบริษัท
วิจัยตลาดชั้นนำ GfK อยู่ที่ระดับ 4.5 เท่ากับเดือนก่อน ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.4 โดยผู้บริโภครู้สึกว่าตลาดแรงงานยัง
มีแนวโน้มที่ดีแต่มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและความวุ่นวายในตลาดการเงินทั่วโลกในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์เตือนว่าผลสำรวจ
ดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้นก่อนที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของเยอรมนีลดลงมากเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ ดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับรายได้ในเดือน
ม.ค.51 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -4.7 จากระดับ -1.7 ในเดือน ธ.ค.50 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความยินดีที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -8.8 ในเดือน
ม.ค.51 จากระดับ -10.7 ในเดือน ธ.ค.50 นอกจากนี้ GfK ยังคาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีนี้จะขยายตัวก่อนปรับตัวด้วยอัตราเงินเฟ้อ
ร้อยละ 1.5 ในขณะที่สมาคมผู้ค้าปลีกของเยอรมนีคาดว่าจะขยายตัวหลังปรับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อแล้วเพียงร้อยละ 0.75 ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกชะลอตัว
ลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในขณะที่อัตราการออมเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงครึ่งปีแรกปี 50 อัตราการออมเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางทศวรรษ
1990 เป็นต้นมา รัฐบาลเยอรมนีเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.7 จากประมาณการครั้ง
ก่อนที่ร้อยละ 2.0 จากผลกระทบของค่าเงินยูโรและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น (รอยเตอร์)
3. ค่าจ้างของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อปีที่แล้ว รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 51 สำนักงานสถิติแห่งชาติของ
เยอรมนีเปิดเผยว่า เมื่อปีที่แล้วอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 46 เช่นเดียวกับอัตรา
เงินเฟ้อสูงขึ้นถึงร้อยละ 2.2 ขณะที่อัตราค่าจ้างรายเดือนตลอดทั้งปี 50 เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.0 มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 47 ทั้งนี้เมื่อ 2 ปีตามที่
ผ่านมาเยอรมนีมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 43 ที่มีการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวและค่าจ้างเพิ่มขึ้นไม่มากจึงส่งผลให้กิจการ
มีกำไรดี แต่ในปีนี้เป็นปีที่ค่าจ้างเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยในภาคเอกชนและอุตสาหกรรมเหล็กกล้าค่าจ้างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.0 และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่าน
มาทางการเยอรมนีได้เสนอให้ภาคเอกชนเพิ่มค่าจ้างในปีนี้และปีหน้าได้รวมกันไม่เกินร้อยละ 5.0 โดยเพิ่มร้อยละ 4.0 ในปีนี้และอีกร้อยละ 1.0
ในปีหน้า ทั้งนี้ ธ.กลางยุโรปกล่าวว่าเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากการเพิ่มค่าจ้าง ซึ่งเมื่อเดือน พ.ย. ปีที่
แล้วเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 14 ปีแต่ได้ชะลอลงที่ร้อยละ 2.8 ในเดือน ธ.ค. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงร้อยละ 4.7 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ 1.7 เทียบต่อปี รายงานจาก
สิงคโปร์เมื่อ 25 ม.ค.51 Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงร้อยละ 4.7 ตรง
ข้ามกับเดือนก่อนหน้าที่ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.4 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี ผลผลิตฯ ลดลงร้อยละ 1.7 ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ลด
ลงเพียงร้อยละ 0.5 เหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าผลผลิตฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 0.3 เมื่อเทียบต่อปีและเทียบต่อเดือน ตามลำดับ
ทั้งนี้ การที่ตัวเลขผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์มีทิศทางที่ชะลอตัวเหนือความคาดหมาย มีสาเหตุหลักจากผลผลิตด้านเคมีภัณฑ์ที่ลดลงถึงร้อยละ 36
เนื่องจากการหยุดการผลิตเพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่อง 4 เดือน อนึ่ง การที่ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ลดลงอย่างมากใน
เดือน ธ.ค.ดังกล่าว ก่อให้เกิดความกังวลว่าภาคการผลิตของสิงคโปร์จะยังคงชะลอตัวต่อไป โดยการขยายตัวของภาคการผลิตของสิงคโปร์ในปี
50 ขยายตัวร้อยละ 5.8 คิดเป็นเพียงครี่งหนึ่งของปี 49 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 นอกจากนี้ ผลผลิตโรงงานที่ลดลงยังเป็นปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบ
ต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 50 ด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ม.ค. 51 25 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.058 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8512/33.1873 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28656 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 759.72/21.88 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,150/14,250 14,050/14,150 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 86.03 83.2 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--