ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ผ่อนผันให้ผู้ส่งออกถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ได้นานขึ้นถึง 360 วัน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ธปท. จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายไม่ให้กระทบกับการแข็งค่าของเงินบาทที่รวดเร็วเกินไปอย่างเต็มที่ โดยในปีนี้ ธปท.
จะสนับสนุนการเคลื่อนย้ายของเงินทุนขาออกต่อไปเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนขาออกกับขาเข้ามากขึ้น โดยจะผ่อนคลายให้ผู้ประกอบการ
ส่งออกสามารถถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ได้นานขึ้นถึง 360 วัน จากเดิม 120 วัน ซึ่ง ก.คลังได้อนุมัติแล้ว แต่รอประกาศในราชกิจนุเบกษา
ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ จะผ่อนผันวงเงินและเพิ่มช่องทางการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมากขึ้น ส่วนรายละเอียดและหลักเกณฑ์
ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการ กลต. อย่างไรก็ตาม ภายใต้วิกฤตการเงินในขณะนี้พบว่ามีเงินทุนไหลเข้าและไหลออกนอก
ประเทศ รวมทั้งในภูมิภาคอย่างรวดเร็วและผันผวน ตามปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังเรื้อรังของ สรอ. ส่งผลให้
เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าต่อเนื่อง ขณะที่ปัญหาซับไพรม์ได้เริ่มขยายวงกว้างสู่ภาคเศรษฐกิจจริง ทำให้เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวรุนแรงมากขึ้น
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายหลั่งไหลสู่ภูมิภาคเอเชีย และส่งผลกระทบให้อัตราแลกเปลี่ยนทั้งเงินบาทและเงินสกุลอื่น
ในภูมิภาคแข็งค่าและมีความผันผวนมากขึ้น จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องบริหารความเสี่ยงโดยทำประกันความเสี่ยงไว้อย่างสม่ำเสมอเพื่อหลีกเลี่ยง
ผลกระทบ ทั้งนี้ ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันทำให้ไม่สามารถตั้งเป้าได้ว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับใด แต่จะพิจารณาค่าเงินบาท
เทียบกับค่าเงินของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญของไทย โดยเทียบเคียงจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เพื่อให้
ค่าเงินบาทมีความยืดหยุ่นและแข่งขันได้ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. ธปท. ยืนยันยังไม่มีการเจรจาควบรวมกิจการของ ธ.ไทยธนาคาร นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะประธาน
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยถึงกรณีมีข่าวว่า ธ.ทิสโก้ เข้ามาเจรจากับกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อขอซื้อหุ้น ธ.ไทยธนาคาร
และจะนำมาควบรวมกันว่า ที่ผ่านมายังไม่มีผู้ใดเข้ามาเจรจาขอควบรวมกิจการกับ ธ.ไทยธนาคาร ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ไม่ได้ปิดกั้นเรื่องการหาพันธมิตรหรือการควบรวมกิจการ เพราะเป็นข้อตกลงที่ได้เจรจากันไว้ก่อนหน้านี้ว่าหากมีข้อตกลงในเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นกับ
ธ.ไทยธนาคารไม่ว่าจะเป็นกับพันธมิตรรายใดก็ตาม กองทุนฟื้นฟูฯ ยินดีเปิดทางให้หากข้อตกลงทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายเกิดประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่า
เป็น ธ.ทิสโก้ หรือพันธมิตรรายใดก็ตาม หากมีผู้สนใจเข้าควบรวมกิจการเพื่อเสริมประสิทธิภาพ ธปท. พร้อมที่จะเปิดทางและสนับสนุน
(โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
3. ไทยยังไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้าเนื่องจากยังมีมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 รองรับ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ไทยยังไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนเข้ามาภายหลังจาก ธ.กลาง สรอ. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.75
มาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 เนื่องจากไทยยังมีมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 รองรับ สำหรับผู้ที่จะมาลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนตลาดหุ้นแม้ไม่ต้องมี
การกันสำรองร้อยละ 30 แต่บรรยากาศการลงทุนก็ไม่เอื้ออำนวย โดยตลาดหุ้นทั่วโลกต่างก็ผันผวนมานานเกือบปีแล้ว นักลงทุนรายย่อยน่า
จะเกิดความเคยชินและปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าวได้แล้ว จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะดึงให้เงินทุนไหลเข้า อย่างไรก็ตาม การปรับลด
อัตราดอกเบี้ยถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยป้องกันเงินทุนไหลเข้า ซึ่งเป็นประเด็นที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน และ ธปท. จะต้องนำมา
พิจารณาประกอบด้วย (โพสต์ทูเดย์)
4. คาดว่า ธ.กลาง สรอ. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า แม้ในการ
ประชุมฉุกเฉินของ ธ.กลาง สรอ. เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.75 แต่เมื่อพิจารณาความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ
สรอ. อาจประสบกับภาวะถดถอยและปัญหาการขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินของ สรอ. ตลอดจนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่
ยังจำกัดในขณะนี้ จึงคาดว่า ธ.กลาง สรอ. ยังมีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในการประชุมวันที่
29 — 30 ม.ค.นี้ เพื่อสร้างหลักประกันที่เพียงพอและเรียกความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภค สรอ. ให้กลับคืนมา อีกทั้งยังเป็นการแสดง
จุดยืนที่แน่วแน่ว่า ธ.กลาง สรอ. พร้อมที่จะดำเนินการทุกวิถีทางตามความจำเป็นเพื่อดูแลความเสี่ยงของเศรษฐกิจ สรอ. สำหรับผลกระทบ
ต่อไทยนั้นคาดว่าหาก ธ.กลาง สรอ. มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย สรอ. และไทยอาจลดลงมาเหลือศูนย์หรือ
มีค่าติดลบ จากเดิมที่มีค่าเป็นบวกร้อยละ 0.25 โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ. ขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.50 สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาด
ซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ของไทยที่อยู่ที่ร้อยละ 3.25 ตลอดจนแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. และการอ่อนค่าลงของเงิน
ดอลลาร์สรอ. จะเป็นหนึ่งในหลายประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการนโยบายการเงินจะนำมาชั่งนำหนักเพื่อพิจารณาทิศทางนโยบายการเงินของ
ไทยต่อไป (แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ก.คลังสรอ. คาดว่าในไตรมาสแรกปีนี้จะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 51
ก.คลัง สรอ.กล่าวเมื่อวานนี้ว่าในไตรมาสแรกปีนี้อาจจะกู้ยืมประมาณ 156 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือน ต.ค.
ประมาณ 23 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของรัฐลดลงประกอบกับรัฐบาลท้องถิ่นกู้น้อยลง ทั้งนี้ ก.คลังมีกำหนดที่จะประกาศ
แผนการออกจำหน่ายตั๋วเงินระยะเวลา 10 ปี และพันธบัตรระยะเวลา 30 ปีในวันพุธนี้ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจ สรอ. ได้ชะลอตัวลงมากและ
เป็นไปอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่ ก.คลังได้คาดการณ์การกู้ยืมภาครัฐครั้งล่าสุดในเดือน ต.ค. และสำนักงบประมาณกล่าวว่าจะต้องเพิ่มการขาดดุล
งบประมาณสำหรับปีนี้ เนื่องจากรายได้ภาครัฐลดลงขณะที่รัฐบาลต้องเพิ่มการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตัวเลขเงินกู้ยืมดังกล่าวมิได้นับรวม
ผลกระทบจากการที่รัฐต้องใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณ 150 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งนาย Phillip Swagel
ผู้ช่วยเลขานุการ ก.คลังคาดว่าเศรษฐกิจ สรอ. จะยังคงชะลอตัวต่อไปจนถึงครึ่งแรกปีนี้ (รอยเตอร์)
2. ยอดขายบ้านใหม่ใน สรอ. ปี 50 ลดลงที่ร้อยละ 26 เทียบต่อปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 28 ม.ค.51 ก.พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่สำหรับครอบครัวเดี่ยวในปี 50 ลดลงอย่างรวดเร็วที่ร้อยละ 26 ขณะที่ยอดขายในเดือน ธ.ค.50 ลดลงร้อยละ 4.7
เทียบต่อปี ที่จำนวน 604,000 หลัง ลดลงจากเดือน พ.ย.50 ที่อยู่ที่จำนวน 634,000 หลัง และนับเป็นอัตราต่ำสุดตั้งแต่ปี 38 ขณะเดียวกัน
หัวหน้านักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้ผู้ก่อสร้างที่อยู่อาศัยจะชะลอการก่อสร้าง และลดราคาบ้านมากที่สุดตั้งแต่ปี 2513 (ที่ประเทศ สรอ.ต้องต่อสู้
และรับมือกับภาวะความล้มเหลวด้านที่อยู่อาศัย) แต่ยอดขายบ้านก็ยังคงลดลงต่อเนื่อง เขาคิดว่า การลดการก่อสร้างและการลดราคายังคง
เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง อนึ่ง ผู้มีส่วนร่วมในตลาดเงินส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธ.กลาง สรอ.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นอีก
ร้อยละ 0.50 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันอังคารนี้ (29 ม.ค.51) (รอยเตอร์)
3. อัตราว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เท่ากับเดือนก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 29 ม.ค.51 อัตรา
ว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เท่ากับเดือนก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 3.9 เล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากเคย
อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปีที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเดือน ก.ค.50 ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจขนาดเล็กของญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานหลักถึงทุก 7 ใน
10 ตำแหน่ง ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าและชะลอการจ้างงานเพิ่ม สอดคล้องกับอัตราส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานที่ลดลงมาอยู่ที่
0.98 ซึ่งแสดงว่ามีตำแหน่งงานว่าง 98 ตำแหน่งต่อจำนวนผู้สมัคร 100 คน ต่ำสุดในรอบ 2 ปีนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่า
จะอยู่ที่ระดับ 0.99 นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีจากความวุ่นวาย
ในตลาดการเงินและความกังวลว่าเศรษฐกิจ สรอ.อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยอาจล้มเลิกความคิดก่อนหน้านี้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยและลดอัตราดอกเบี้ย
ภายในปีนี้ (รอยเตอร์)
4. การใช้จ่ายของครัวเรือนของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ขณะที่ยอดขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี
รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 ม.ค.51 The Ministry of Internal Affairs and Communications เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของ
ครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี ต่ำกว่าเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 แต่เหนือความคาดหมาย
ของตลาดซึ่งคาดว่าการใช้จ่ายฯ จะลดลงร้อยละ 0.2 โดยมูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 351,667 เยน (3,290 ดอลลาร์ สรอ.)
นอกจากนี้ ยอดการขายปลีกในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี สูงกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของตลาดซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.1 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ยอดขายปลีกทั้งปี 50 กลับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เนื่องจาก
การชะลอตัวของยอดขายรถยนต์ อนึ่ง ตลาดต่างแสดงความกังวลว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. อาจเป็นปัจจัยให้ ธ.กลางญี่ปุ่นปรับลด
อัตราการดอกเบี้ยนโยบายอีก หลังจากที่ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 0.5 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ม.ค. 51 28 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.054 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8383/33.1793 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28547 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 744.36/13.89 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,300/14,400 14,150/14,250 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.47 86.03 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ผ่อนผันให้ผู้ส่งออกถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ได้นานขึ้นถึง 360 วัน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า
ธปท. จะดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายไม่ให้กระทบกับการแข็งค่าของเงินบาทที่รวดเร็วเกินไปอย่างเต็มที่ โดยในปีนี้ ธปท.
จะสนับสนุนการเคลื่อนย้ายของเงินทุนขาออกต่อไปเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนขาออกกับขาเข้ามากขึ้น โดยจะผ่อนคลายให้ผู้ประกอบการ
ส่งออกสามารถถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ได้นานขึ้นถึง 360 วัน จากเดิม 120 วัน ซึ่ง ก.คลังได้อนุมัติแล้ว แต่รอประกาศในราชกิจนุเบกษา
ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ จะผ่อนผันวงเงินและเพิ่มช่องทางการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมากขึ้น ส่วนรายละเอียดและหลักเกณฑ์
ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการ กลต. อย่างไรก็ตาม ภายใต้วิกฤตการเงินในขณะนี้พบว่ามีเงินทุนไหลเข้าและไหลออกนอก
ประเทศ รวมทั้งในภูมิภาคอย่างรวดเร็วและผันผวน ตามปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังเรื้อรังของ สรอ. ส่งผลให้
เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าต่อเนื่อง ขณะที่ปัญหาซับไพรม์ได้เริ่มขยายวงกว้างสู่ภาคเศรษฐกิจจริง ทำให้เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวรุนแรงมากขึ้น
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายหลั่งไหลสู่ภูมิภาคเอเชีย และส่งผลกระทบให้อัตราแลกเปลี่ยนทั้งเงินบาทและเงินสกุลอื่น
ในภูมิภาคแข็งค่าและมีความผันผวนมากขึ้น จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องบริหารความเสี่ยงโดยทำประกันความเสี่ยงไว้อย่างสม่ำเสมอเพื่อหลีกเลี่ยง
ผลกระทบ ทั้งนี้ ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันทำให้ไม่สามารถตั้งเป้าได้ว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับใด แต่จะพิจารณาค่าเงินบาท
เทียบกับค่าเงินของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญของไทย โดยเทียบเคียงจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) เพื่อให้
ค่าเงินบาทมีความยืดหยุ่นและแข่งขันได้ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. ธปท. ยืนยันยังไม่มีการเจรจาควบรวมกิจการของ ธ.ไทยธนาคาร นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะประธาน
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยถึงกรณีมีข่าวว่า ธ.ทิสโก้ เข้ามาเจรจากับกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อขอซื้อหุ้น ธ.ไทยธนาคาร
และจะนำมาควบรวมกันว่า ที่ผ่านมายังไม่มีผู้ใดเข้ามาเจรจาขอควบรวมกิจการกับ ธ.ไทยธนาคาร ซึ่งกองทุนฟื้นฟูฯ ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ไม่ได้ปิดกั้นเรื่องการหาพันธมิตรหรือการควบรวมกิจการ เพราะเป็นข้อตกลงที่ได้เจรจากันไว้ก่อนหน้านี้ว่าหากมีข้อตกลงในเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นกับ
ธ.ไทยธนาคารไม่ว่าจะเป็นกับพันธมิตรรายใดก็ตาม กองทุนฟื้นฟูฯ ยินดีเปิดทางให้หากข้อตกลงทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายเกิดประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่า
เป็น ธ.ทิสโก้ หรือพันธมิตรรายใดก็ตาม หากมีผู้สนใจเข้าควบรวมกิจการเพื่อเสริมประสิทธิภาพ ธปท. พร้อมที่จะเปิดทางและสนับสนุน
(โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
3. ไทยยังไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้าเนื่องจากยังมีมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 รองรับ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ไทยยังไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนเข้ามาภายหลังจาก ธ.กลาง สรอ. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.75
มาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 เนื่องจากไทยยังมีมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 รองรับ สำหรับผู้ที่จะมาลงทุนในตราสารหนี้ ส่วนตลาดหุ้นแม้ไม่ต้องมี
การกันสำรองร้อยละ 30 แต่บรรยากาศการลงทุนก็ไม่เอื้ออำนวย โดยตลาดหุ้นทั่วโลกต่างก็ผันผวนมานานเกือบปีแล้ว นักลงทุนรายย่อยน่า
จะเกิดความเคยชินและปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าวได้แล้ว จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะดึงให้เงินทุนไหลเข้า อย่างไรก็ตาม การปรับลด
อัตราดอกเบี้ยถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยป้องกันเงินทุนไหลเข้า ซึ่งเป็นประเด็นที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน และ ธปท. จะต้องนำมา
พิจารณาประกอบด้วย (โพสต์ทูเดย์)
4. คาดว่า ธ.กลาง สรอ. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า แม้ในการ
ประชุมฉุกเฉินของ ธ.กลาง สรอ. เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.75 แต่เมื่อพิจารณาความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ
สรอ. อาจประสบกับภาวะถดถอยและปัญหาการขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินของ สรอ. ตลอดจนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่
ยังจำกัดในขณะนี้ จึงคาดว่า ธ.กลาง สรอ. ยังมีความจำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25 ในการประชุมวันที่
29 — 30 ม.ค.นี้ เพื่อสร้างหลักประกันที่เพียงพอและเรียกความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและผู้บริโภค สรอ. ให้กลับคืนมา อีกทั้งยังเป็นการแสดง
จุดยืนที่แน่วแน่ว่า ธ.กลาง สรอ. พร้อมที่จะดำเนินการทุกวิถีทางตามความจำเป็นเพื่อดูแลความเสี่ยงของเศรษฐกิจ สรอ. สำหรับผลกระทบ
ต่อไทยนั้นคาดว่าหาก ธ.กลาง สรอ. มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย สรอ. และไทยอาจลดลงมาเหลือศูนย์หรือ
มีค่าติดลบ จากเดิมที่มีค่าเป็นบวกร้อยละ 0.25 โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ. ขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.50 สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาด
ซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ของไทยที่อยู่ที่ร้อยละ 3.25 ตลอดจนแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. และการอ่อนค่าลงของเงิน
ดอลลาร์สรอ. จะเป็นหนึ่งในหลายประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการนโยบายการเงินจะนำมาชั่งนำหนักเพื่อพิจารณาทิศทางนโยบายการเงินของ
ไทยต่อไป (แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ก.คลังสรอ. คาดว่าในไตรมาสแรกปีนี้จะออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 51
ก.คลัง สรอ.กล่าวเมื่อวานนี้ว่าในไตรมาสแรกปีนี้อาจจะกู้ยืมประมาณ 156 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือน ต.ค.
ประมาณ 23 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของรัฐลดลงประกอบกับรัฐบาลท้องถิ่นกู้น้อยลง ทั้งนี้ ก.คลังมีกำหนดที่จะประกาศ
แผนการออกจำหน่ายตั๋วเงินระยะเวลา 10 ปี และพันธบัตรระยะเวลา 30 ปีในวันพุธนี้ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจ สรอ. ได้ชะลอตัวลงมากและ
เป็นไปอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่ ก.คลังได้คาดการณ์การกู้ยืมภาครัฐครั้งล่าสุดในเดือน ต.ค. และสำนักงบประมาณกล่าวว่าจะต้องเพิ่มการขาดดุล
งบประมาณสำหรับปีนี้ เนื่องจากรายได้ภาครัฐลดลงขณะที่รัฐบาลต้องเพิ่มการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตัวเลขเงินกู้ยืมดังกล่าวมิได้นับรวม
ผลกระทบจากการที่รัฐต้องใช้จ่ายเงินเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณ 150 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งนาย Phillip Swagel
ผู้ช่วยเลขานุการ ก.คลังคาดว่าเศรษฐกิจ สรอ. จะยังคงชะลอตัวต่อไปจนถึงครึ่งแรกปีนี้ (รอยเตอร์)
2. ยอดขายบ้านใหม่ใน สรอ. ปี 50 ลดลงที่ร้อยละ 26 เทียบต่อปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 28 ม.ค.51 ก.พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านใหม่สำหรับครอบครัวเดี่ยวในปี 50 ลดลงอย่างรวดเร็วที่ร้อยละ 26 ขณะที่ยอดขายในเดือน ธ.ค.50 ลดลงร้อยละ 4.7
เทียบต่อปี ที่จำนวน 604,000 หลัง ลดลงจากเดือน พ.ย.50 ที่อยู่ที่จำนวน 634,000 หลัง และนับเป็นอัตราต่ำสุดตั้งแต่ปี 38 ขณะเดียวกัน
หัวหน้านักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้ผู้ก่อสร้างที่อยู่อาศัยจะชะลอการก่อสร้าง และลดราคาบ้านมากที่สุดตั้งแต่ปี 2513 (ที่ประเทศ สรอ.ต้องต่อสู้
และรับมือกับภาวะความล้มเหลวด้านที่อยู่อาศัย) แต่ยอดขายบ้านก็ยังคงลดลงต่อเนื่อง เขาคิดว่า การลดการก่อสร้างและการลดราคายังคง
เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง อนึ่ง ผู้มีส่วนร่วมในตลาดเงินส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธ.กลาง สรอ.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นอีก
ร้อยละ 0.50 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันอังคารนี้ (29 ม.ค.51) (รอยเตอร์)
3. อัตราว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เท่ากับเดือนก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 29 ม.ค.51 อัตรา
ว่างงานของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เท่ากับเดือนก่อน สูงกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 3.9 เล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากเคย
อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปีที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเดือน ก.ค.50 ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจขนาดเล็กของญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานหลักถึงทุก 7 ใน
10 ตำแหน่ง ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าและชะลอการจ้างงานเพิ่ม สอดคล้องกับอัตราส่วนตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนผู้สมัครงานที่ลดลงมาอยู่ที่
0.98 ซึ่งแสดงว่ามีตำแหน่งงานว่าง 98 ตำแหน่งต่อจำนวนผู้สมัคร 100 คน ต่ำสุดในรอบ 2 ปีนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่า
จะอยู่ที่ระดับ 0.99 นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางญี่ปุ่นซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีจากความวุ่นวาย
ในตลาดการเงินและความกังวลว่าเศรษฐกิจ สรอ.อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยอาจล้มเลิกความคิดก่อนหน้านี้ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยและลดอัตราดอกเบี้ย
ภายในปีนี้ (รอยเตอร์)
4. การใช้จ่ายของครัวเรือนของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ขณะที่ยอดขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี
รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 ม.ค.51 The Ministry of Internal Affairs and Communications เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของ
ครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี ต่ำกว่าเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 แต่เหนือความคาดหมาย
ของตลาดซึ่งคาดว่าการใช้จ่ายฯ จะลดลงร้อยละ 0.2 โดยมูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 351,667 เยน (3,290 ดอลลาร์ สรอ.)
นอกจากนี้ ยอดการขายปลีกในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี สูงกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของตลาดซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.1 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ยอดขายปลีกทั้งปี 50 กลับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี เนื่องจาก
การชะลอตัวของยอดขายรถยนต์ อนึ่ง ตลาดต่างแสดงความกังวลว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. อาจเป็นปัจจัยให้ ธ.กลางญี่ปุ่นปรับลด
อัตราการดอกเบี้ยนโยบายอีก หลังจากที่ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 0.5 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ม.ค. 51 28 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.054 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8383/33.1793 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28547 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 744.36/13.89 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,300/14,400 14,150/14,250 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.47 86.03 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.49*/28.94* 32.49*/28.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--