นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวคำแถลงประจำปีของผู้ว่าการ ธปท. ต่อสาธารณะ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2551
ในปีนี้เห็นสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยเริ่มกลับคืนมา ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ตลอดจนความเชื่อมั่นของประชาชนซึ่งดีขึ้นหลังจากที่การเมืองเริ่มมีทิศทางชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ผ่านมาภาครัฐยังได้พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2551 มีแรงขับเคลื่อนที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในเกณฑ์ที่ได้เคยประมาณการไว้ที่ร้อยละ 4.5 ถึง 6 ทั้งนี้ พื้นฐาน ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งระดับหนึ่ง ทำให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและความผันผวนทั้งปัญหาภายในและภายนอกประเทศมาได้
ความท้าทายเชิงนโยบายในปี 2551
1. นโยบายการเงิน
ในภาวะที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว ธปท. จะยังคงยึดแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตราบเท่าที่ยังไม่เกิดแรงกดดันด้านราคาจนเงินเฟ้ออาจจะ สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ภายใต้กรอบนโยบายแบบ Inflation Targeting โดยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมและยืดหยุ่นอย่างพอเพียงในการรับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยน อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
2. การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้าย
การประเมินทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ในระยะต่อไปเริ่มมีมุมมองที่ต่างกัน และไม่ชัดเจนว่าค่าเงินดอลลาร์จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด (ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (USD Index) ได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา) ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรที่จะบริหารความเสี่ยง โดยทำประกันความเสี่ยงไว้อย่างสม่ำเสมอ
ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเช่นในปัจจุบัน เราไม่สามารถตั้งเป้าได้ไว้ว่า ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ควรจะอยู่ที่ระดับใด แต่ ธปท.พิจารณาค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินของหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญของไทย ซึ่งจะดูได้จากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) และถ้าจะให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ควรดูดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ซึ่งเป็นดัชนีค่าเงินบาทที่ถ่วงน้ำหนักด้วยเงินเฟ้อของแต่ละประเทศแล้ว การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในลักษณะนี้ ก็เพื่อให้ค่าเงินบาทมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวได้โดยไม่ฝืนกระแสตลาด และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินในภูมิภาค ไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าความผันผวนดังกล่าว มีสาเหตุมาจากเงินทุนไหลเข้าออกระยะสั้นเพื่อการเก็งกำไร ขณะเดียวกัน ธปท. จะสนับสนุนการเคลื่อนย้ายของเงินทุนขาออก ต่อเนื่องจากปีก่อนๆ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนขาออกกับขาเข้า
3. นโยบายการรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน
ธปท. ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน จากการกำกับฯด้านการเงิน มาเป็นการกำกับฯด้านความเสี่ยง (Risk-based supervision) มาระยะหนึ่งแล้ว และจะผลักดันให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งได้ทยอยออกมาตรการต่างๆ เพื่อให้สถาบันการเงินเพิ่มความรัดกุมในการบริหารความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน ล่าสุดก็ได้กำหนดให้สถาบันการเงินกันสำรองตามมาตรฐาน IAS 39 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ตั้งแต่ปลายปี 2551 เป็นต้นไป สถาบันการเงินจะดำรงเงินกองทุนตามมาตรฐาน Basel II เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุน ให้สามารถรองรับผลกระทบจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยลบและความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเงิน
ปัจจุบัน ธปท. อยู่ในระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในครึ่งหลังของปี 2551 แผนพัฒนานี้มุ่งที่จะแก้ไขกฎระเบียบที่ยังอาจเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินในอนาคต
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2551
ในปีนี้เห็นสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยเริ่มกลับคืนมา ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ตลอดจนความเชื่อมั่นของประชาชนซึ่งดีขึ้นหลังจากที่การเมืองเริ่มมีทิศทางชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ผ่านมาภาครัฐยังได้พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2551 มีแรงขับเคลื่อนที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในเกณฑ์ที่ได้เคยประมาณการไว้ที่ร้อยละ 4.5 ถึง 6 ทั้งนี้ พื้นฐาน ทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งระดับหนึ่ง ทำให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและความผันผวนทั้งปัญหาภายในและภายนอกประเทศมาได้
ความท้าทายเชิงนโยบายในปี 2551
1. นโยบายการเงิน
ในภาวะที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว ธปท. จะยังคงยึดแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตราบเท่าที่ยังไม่เกิดแรงกดดันด้านราคาจนเงินเฟ้ออาจจะ สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ภายใต้กรอบนโยบายแบบ Inflation Targeting โดยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมและยืดหยุ่นอย่างพอเพียงในการรับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยน อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
2. การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้าย
การประเมินทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ในระยะต่อไปเริ่มมีมุมมองที่ต่างกัน และไม่ชัดเจนว่าค่าเงินดอลลาร์จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด (ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ (USD Index) ได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา) ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรที่จะบริหารความเสี่ยง โดยทำประกันความเสี่ยงไว้อย่างสม่ำเสมอ
ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเช่นในปัจจุบัน เราไม่สามารถตั้งเป้าได้ไว้ว่า ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ควรจะอยู่ที่ระดับใด แต่ ธปท.พิจารณาค่าเงินบาทเทียบกับค่าเงินของหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญของไทย ซึ่งจะดูได้จากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) และถ้าจะให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ควรดูดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ซึ่งเป็นดัชนีค่าเงินบาทที่ถ่วงน้ำหนักด้วยเงินเฟ้อของแต่ละประเทศแล้ว การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในลักษณะนี้ ก็เพื่อให้ค่าเงินบาทมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวได้โดยไม่ฝืนกระแสตลาด และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินในภูมิภาค ไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าความผันผวนดังกล่าว มีสาเหตุมาจากเงินทุนไหลเข้าออกระยะสั้นเพื่อการเก็งกำไร ขณะเดียวกัน ธปท. จะสนับสนุนการเคลื่อนย้ายของเงินทุนขาออก ต่อเนื่องจากปีก่อนๆ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนขาออกกับขาเข้า
3. นโยบายการรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน
ธปท. ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน จากการกำกับฯด้านการเงิน มาเป็นการกำกับฯด้านความเสี่ยง (Risk-based supervision) มาระยะหนึ่งแล้ว และจะผลักดันให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นในอนาคต รวมทั้งได้ทยอยออกมาตรการต่างๆ เพื่อให้สถาบันการเงินเพิ่มความรัดกุมในการบริหารความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน ล่าสุดก็ได้กำหนดให้สถาบันการเงินกันสำรองตามมาตรฐาน IAS 39 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ตั้งแต่ปลายปี 2551 เป็นต้นไป สถาบันการเงินจะดำรงเงินกองทุนตามมาตรฐาน Basel II เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุน ให้สามารถรองรับผลกระทบจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยลบและความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเงิน
ปัจจุบัน ธปท. อยู่ในระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในครึ่งหลังของปี 2551 แผนพัฒนานี้มุ่งที่จะแก้ไขกฎระเบียบที่ยังอาจเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินในอนาคต
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--