ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ให้สถาบันการเงินแสดงความคิดเห็นร่างนโยบายการกำกับแบบรวมกลุ่ม นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนแจ้ง ธ.พาณิชย์ทุกแห่งให้มาประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นร่างนโยบาย
การกำกับแบบรวมกลุ่มที่ ธปท. ปรับปรุงเพิ่มเติม ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับบริษัทลูกของกลุ่มธุรกิจการเงินให้เป็น
มาตรฐานเดียวกับ ธ.พาณิชย์ โดย ธปท. จะห้ามปล่อยกู้ให้กับกรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในกลุ่มโดยเด็ดขาด เว้น
แต่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อสวัสดิการเท่านั้น ขณะเดียวกันก็สามารถปล่อยกู้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุน รวมทั้ง
กำหนดให้บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจการเงินที่บริษัทแม่ถือหุ้นเกินร้อยละ 75 ขึ้นไป (Solo consolidation) ต้องกำกับตามมาตรฐานเดียวกับ
สถาบันการเงินทุกประการ สำหรับบริษัทลูกที่บริษัทแม่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 75 ให้กำกับตามกฎหมายเฉพาะธุรกิจนั้น ๆ
อย่างเข้มงวด ส่วนการทำธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะไม่จำกัดปริมาณการให้กู้แต่ละรายระหว่างบริษัทลูกในกลุ่ม แต่จำกัดการให้
กู้ระหว่างบริษัทนอกกลุ่มจะปล่อยกู้รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน ทั้งนี้ สาเหตุที่ ธปท. ต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเนื่องจาก
ต้องการให้การกำกับแบบรวมกลุ่มครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้าน จากปัจจุบันที่มุ่งดูเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งต้องการเปิดทางให้กลุ่ม
ธุรกิจการเงินปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อในกลุ่ม Solo consolidation ได้มากขึ้น แต่มีข้อจำกัด
ด้วยเงินกองทุน สำหรับการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้บริษัทแม่รับผิดชอบความเสี่ยงทุกด้านตามที่ ธปท.
กำหนดเหมือนสถาบันการเงิน และยื่นงบที่ผู้สอบบัญชีเห็นชอบมาพร้อมกันทั้งกลุ่มทุก 6 เดือน ส่วนการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านการตลาดของ
กลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้พิจารณาความเสี่ยงด้านการตลาดรวมกันทั้งกลุ่มเหมือนหน่วยงานเดียวกัน (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจะกดดันให้อัตราเงินเฟ้อโลกปรับเพิ่มขึ้น ธปท. ระบุในรายงานเงินเฟ้อฉบับล่าสุดว่า การปรับขึ้น
ของราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะมีแรงกดดันทำให้อัตราเงินเฟ้อโลกปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง เนื่องจากความต้องการพลังงาน
และโลหะจากประเทศจีนยังคงปรับเพิ่มขึ้น อีกทั้งความต้องการวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อใช้ผลิตพลังงานทดแทนขยายตัวสูงขึ้น สำหรับผลกระทบ
ของราคาน้ำมันดิบต่ออัตราเงินเฟ้อ หากราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 51 และ 52 ทรงตัวอยู่ในระดับ 85 — 86 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
เศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนเงินเฟ้อแม้จะเร่งตัวเพิ่มขึ้นแต่ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
จะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทันทีร้อยละ 0.02 — 0.03 และจะมีผลกระทบให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.05 — 0.06 ในช่วง 4 ไตรมาส
ข้างหน้า ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะทำให้จีดีพีปรับลดลงทันทีร้อยละ 0.01 — 0.02 และทำให้จีดีพีลดลงร้อยละ 0.04 — 0.06 ในอีก
4 ไตรมาสข้างหน้า ขณะที่ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมมีไม่มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีสัดส่วนต้นทุนน้ำมันต่อต้นทุนรวมทั้งหมด
ไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อการขนส่งสินค้ามากกว่าเป็นวัตถุดิบโดยตรง ส่วนผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันต่อภาคครัวเรือน
ไทยมีไม่มากเช่นกัน เนื่องจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อรายจ่ายทั้งหมดของครัวเรือนปัจจุบันมีไม่มากนักและยังสามารถเปลี่ยนไปใช้
พลังงานทดแทนที่มีราคาถูกกว่าได้ด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.พาณิชย์รอดูสัญญาณที่ชัดเจนจาก ธปท. ก่อนเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่
ธ.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด คงต้องรอสัญญาณที่ชัดเจน
จากทางการเป็นหลัก รวมถึงสภาวการณ์ต่าง ๆ ภายในประเทศที่จะเอื้อต่อการลงทุนและการขยายตัวของสินเชื่อหรือไม่ และอีกปัจจัยสำคัญ
ที่ต้องพิจารณาคือสภาพคล่องของธนาคารแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงถึงร้อยละ 0.50 ธ.พาณิชย์ขนาดกลาง
และขนาดเล็กบางแห่งที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ก็คงจะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม สำหรับ
แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น เท่าที่ประเมินจากการที่ผู้ว่าการ ธปท. ออกมากล่าวนั้นทิศทางก็น่าจะต้องปรับลดลงบ้างเพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ในระดับที่ทัดเทียมกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เนื่องจากในปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับ
ต่ำกว่าประเทศอื่น นอกจากนี้ ธปท. น่าจะนำเอาประเด็นเรื่องเงินทุนไหลเข้ามาพิจารณาด้วย เพราะหาก ธ.กลาง สรอ. มีการปรับลด
ดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 29 — 30 ม.ค.นี้ อีกร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 3.00 ก็จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย
ที่อยู่ในระดับร้อยละ 3.25 และหาก กนง. ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้มีเงินไหลเข้าทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก (ผู้จัดการรายวัน)
4. หากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอาจกระทบต่อตลาดทุนของไทย นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ต้องจับตาดูการประชุมของ ธ.กลาง สรอ. ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่ จากที่ก่อน
หน้านี้ปรับลดทันทีร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 หากปรับลดอีกร้อยละ 0.25 — 0.50 ถือเป็นสถานการณ์ที่น่าหนักใจ เพราะการลดดอกเบี้ย
มาก ๆ ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อของ สรอ. มีไม่มากแสดงว่า สรอ. เริ่มเห็นแล้วว่าปัญหาทางเศรษฐกิจแรงกว่าปัญหาเงินเฟ้อ และนโยบายทาง
การคลังที่ประธานาธิบดี สรอ. ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ไม่เพียงพอกับสถานการณ์แล้ว ซึ่งหากมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีตั้งแต่
500 — 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ก็มีผลกระทบต่อไทยแล้ว ตราบใดที่ความผันผวนภายนอก เช่น ตลาดเงินเคลื่อนย้าย ซับไพรม์ และ
ราคาน้ำมัน ยังมีอยู่ก็จะกระทบไทยต่อไปอย่างน้อยอีก 10 ปี แต่การที่พื้นฐานเกษตรไทยแข็งแกร่งทำให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อผู้มีรายได้
น้อยไม่แรงมาก ด้าน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการบริหาร ธ.เพื่อการส่งออกฯ กล่าวว่า ปีนี้เศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบ
จากการถดถอยของเศรษฐกิจ สรอ. และจะเป็นปีที่ท้าทายสำหรับ ธปท. ในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและเตรียมมาตรการรองรับวิกฤต
เศรษฐกิจโลก รวมถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ทำให้กำลังซื้อลดลงและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนจนกระทบต่อการส่งออก แต่คาดว่าแรงกดดัน
ค่าเงินจากดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลงเหลือไม่เกิน 7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากช่วง 2 ปีก่อนที่มีกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ลดลงที่ระดับ 87.9 จากระดับ 90.6 ในเดือนก่อนหน้า รายงานจาก
นิวยอร์กเมื่อ 29 ม.ค.51 The Conference Board เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ว่า
ลดลงที่ระดับ 87.9 จากระดับ 90.6 ในเดือนก่อนหน้า ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะอยู่ที่ระดับ 87.5
บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในทิศทางที่ลดลงในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ ความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์ทางธุรกิจและการ
จ้างงาน ก็มีทิศทางเช่นเดียวกัน รวมถึงความเชื่อมั่นฯ เกี่ยวกับรายได้ก็ลดลง และอาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการใช้จ่าย โดยดัชนีความ
เชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 115.3 จากระดับ 112.9 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความคาดหวัง
ของผู้บริโภคลดลงที่ระดับ 69.6 จากระดับ 75.8 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของผู้บริโภคที่มีความเห็นว่า การหางานทำเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก
ลดลงที่ร้อยละ 20.1 จากร้อยละ 22.7 ในเดือนก่อนหน้า ส่วนความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในช่วง 1 ปี อยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 5.3 จากร้อยละ 5.5 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 30 ม.ค.51
ก.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบต่อเดือน
เทียบกับที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ขณะที่ผลผลิตโรงงาน (ซึ่งเป็นดัชนีองค์ประกอบของผลผลิตอุตสาหกรรม) คาดว่า
จะลดลงร้อยละ 0.4 และร้อยละ 2.2 ในเดือน ม.ค.และ ก.พ.51 ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 50 (ต.ค.-ธ.ค.50)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อไตรมาส นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ รมว.เศรษฐกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลผลิตอุตสาหกรรม
ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวอย่างมาก ขณะที่ก่อนหน้านี้มีอัตราการเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.51 ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 14 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 ม.ค.51
ดัชนีชี้วัดยอดค้าปลีกของอังกฤษจากผลสำรวจโดยสภาอุตสาหกรรมอังกฤษหรือ CBI ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +4 ในเดือน ม.ค.51 ต่ำสุดในรอบ
14 เดือนนับตั้งแต่เดือน พ.ย.49 หลังจากอยู่ที่ระดับ +8 ในเดือนก่อน แต่ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ในระดับ 0 หรือไม่ขยายตัวเลย ชี้ให้เห็นว่า
ความต้องการของผู้บริโภคยังคงขยายตัวแม้จะมีความกังวลว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัวลงก็ตาม โดยยอดขายของร้านขายของชำและของจำเป็น
ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ผู้บริโภคลดการซื้อสินค้าที่มีราคาแพงอย่างเช่นโทรทัศน์และเครื่องซักผ้า สอดคล้องกับผลสำรวจที่ชี้ว่าผู้ค้าปลีก
ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นว่าแนวโน้มยอดขายจะไปในทางบวก โดยดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ +10 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมีความเห็น
ตรงกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในสัปดาห์หน้า แต่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยหลังจากนั้นยังไม่แน่นอนว่าจะไปในทิศทางใด
ในขณะที่ ธ.กลางอังกฤษแสดงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้จากราคาน้ำมัน (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.50 จำนวน 742.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อ 30 ม.ค.51
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.50 เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 742.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย.50
ที่ขาดดุลจำนวน 563.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ทั้งปี 50 เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 5.95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับปี 49
ที่เกินดุลจำนวน 5.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ในเดือน ธ.ค.50 เกาหลีใต้ยังมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศสุทธิลดลงอยู่ที่จำนวน
6.54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่กู้ยืมเงินฯ เพิ่มขึ้นจำนวน 8.31 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
5. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ
วันที่ 29 ม.ค. 51 ในการประชุมนโยบายการเงิน ธ.กลางมาเลเซียเมื่อวานนี้ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อไปอีก
เป็นเดือนที่ 14 ซึ่งเป็นไปตามที่ได้มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านั้น เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นล่วงหน้าจากที่คาดการณ์
กันว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป ทั้งนี้ในระยะกลางมีความเสี่ยงจากการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ธ.กลางเห็นว่ามีความเสี่ยง
ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและระดับราคาภายในประเทศที่จะต้องเฝ้าติดตามอย่างรอบคอบและมีมาตรการที่ดำเนินการได้ทันทีหากมี
ความจำเป็น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ม.ค. 51 29 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28656 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 754.87/14.55 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,300/14,400 14,300/14,400 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.11 85.47 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.49/28.94 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ให้สถาบันการเงินแสดงความคิดเห็นร่างนโยบายการกำกับแบบรวมกลุ่ม นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนแจ้ง ธ.พาณิชย์ทุกแห่งให้มาประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นร่างนโยบาย
การกำกับแบบรวมกลุ่มที่ ธปท. ปรับปรุงเพิ่มเติม ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับบริษัทลูกของกลุ่มธุรกิจการเงินให้เป็น
มาตรฐานเดียวกับ ธ.พาณิชย์ โดย ธปท. จะห้ามปล่อยกู้ให้กับกรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในกลุ่มโดยเด็ดขาด เว้น
แต่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อสวัสดิการเท่านั้น ขณะเดียวกันก็สามารถปล่อยกู้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุน รวมทั้ง
กำหนดให้บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจการเงินที่บริษัทแม่ถือหุ้นเกินร้อยละ 75 ขึ้นไป (Solo consolidation) ต้องกำกับตามมาตรฐานเดียวกับ
สถาบันการเงินทุกประการ สำหรับบริษัทลูกที่บริษัทแม่ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 75 ให้กำกับตามกฎหมายเฉพาะธุรกิจนั้น ๆ
อย่างเข้มงวด ส่วนการทำธุรกรรมภายในกลุ่มธุรกิจทางการเงินจะไม่จำกัดปริมาณการให้กู้แต่ละรายระหว่างบริษัทลูกในกลุ่ม แต่จำกัดการให้
กู้ระหว่างบริษัทนอกกลุ่มจะปล่อยกู้รวมกันได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินกองทุน ทั้งนี้ สาเหตุที่ ธปท. ต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเนื่องจาก
ต้องการให้การกำกับแบบรวมกลุ่มครอบคลุมความเสี่ยงทุกด้าน จากปัจจุบันที่มุ่งดูเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งต้องการเปิดทางให้กลุ่ม
ธุรกิจการเงินปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อในกลุ่ม Solo consolidation ได้มากขึ้น แต่มีข้อจำกัด
ด้วยเงินกองทุน สำหรับการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้บริษัทแม่รับผิดชอบความเสี่ยงทุกด้านตามที่ ธปท.
กำหนดเหมือนสถาบันการเงิน และยื่นงบที่ผู้สอบบัญชีเห็นชอบมาพร้อมกันทั้งกลุ่มทุก 6 เดือน ส่วนการกำกับดูแลความเสี่ยงด้านการตลาดของ
กลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้พิจารณาความเสี่ยงด้านการตลาดรวมกันทั้งกลุ่มเหมือนหน่วยงานเดียวกัน (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจะกดดันให้อัตราเงินเฟ้อโลกปรับเพิ่มขึ้น ธปท. ระบุในรายงานเงินเฟ้อฉบับล่าสุดว่า การปรับขึ้น
ของราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะมีแรงกดดันทำให้อัตราเงินเฟ้อโลกปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง เนื่องจากความต้องการพลังงาน
และโลหะจากประเทศจีนยังคงปรับเพิ่มขึ้น อีกทั้งความต้องการวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อใช้ผลิตพลังงานทดแทนขยายตัวสูงขึ้น สำหรับผลกระทบ
ของราคาน้ำมันดิบต่ออัตราเงินเฟ้อ หากราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 51 และ 52 ทรงตัวอยู่ในระดับ 85 — 86 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล
เศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนเงินเฟ้อแม้จะเร่งตัวเพิ่มขึ้นแต่ไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
จะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทันทีร้อยละ 0.02 — 0.03 และจะมีผลกระทบให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.05 — 0.06 ในช่วง 4 ไตรมาส
ข้างหน้า ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะทำให้จีดีพีปรับลดลงทันทีร้อยละ 0.01 — 0.02 และทำให้จีดีพีลดลงร้อยละ 0.04 — 0.06 ในอีก
4 ไตรมาสข้างหน้า ขณะที่ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมมีไม่มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีสัดส่วนต้นทุนน้ำมันต่อต้นทุนรวมทั้งหมด
ไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อการขนส่งสินค้ามากกว่าเป็นวัตถุดิบโดยตรง ส่วนผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันต่อภาคครัวเรือน
ไทยมีไม่มากเช่นกัน เนื่องจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานต่อรายจ่ายทั้งหมดของครัวเรือนปัจจุบันมีไม่มากนักและยังสามารถเปลี่ยนไปใช้
พลังงานทดแทนที่มีราคาถูกกว่าได้ด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธ.พาณิชย์รอดูสัญญาณที่ชัดเจนจาก ธปท. ก่อนเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่
ธ.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด คงต้องรอสัญญาณที่ชัดเจน
จากทางการเป็นหลัก รวมถึงสภาวการณ์ต่าง ๆ ภายในประเทศที่จะเอื้อต่อการลงทุนและการขยายตัวของสินเชื่อหรือไม่ และอีกปัจจัยสำคัญ
ที่ต้องพิจารณาคือสภาพคล่องของธนาคารแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงถึงร้อยละ 0.50 ธ.พาณิชย์ขนาดกลาง
และขนาดเล็กบางแห่งที่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปในช่วงปลายปีก่อนและต้นปีนี้ก็คงจะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม สำหรับ
แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น เท่าที่ประเมินจากการที่ผู้ว่าการ ธปท. ออกมากล่าวนั้นทิศทางก็น่าจะต้องปรับลดลงบ้างเพื่อ
กระตุ้นเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ในระดับที่ทัดเทียมกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เนื่องจากในปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับ
ต่ำกว่าประเทศอื่น นอกจากนี้ ธปท. น่าจะนำเอาประเด็นเรื่องเงินทุนไหลเข้ามาพิจารณาด้วย เพราะหาก ธ.กลาง สรอ. มีการปรับลด
ดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 29 — 30 ม.ค.นี้ อีกร้อยละ 0.50 เหลือร้อยละ 3.00 ก็จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย
ที่อยู่ในระดับร้อยละ 3.25 และหาก กนง. ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้มีเงินไหลเข้าทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก (ผู้จัดการรายวัน)
4. หากเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกอาจกระทบต่อตลาดทุนของไทย นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ต้องจับตาดูการประชุมของ ธ.กลาง สรอ. ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่ จากที่ก่อน
หน้านี้ปรับลดทันทีร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.50 หากปรับลดอีกร้อยละ 0.25 — 0.50 ถือเป็นสถานการณ์ที่น่าหนักใจ เพราะการลดดอกเบี้ย
มาก ๆ ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อของ สรอ. มีไม่มากแสดงว่า สรอ. เริ่มเห็นแล้วว่าปัญหาทางเศรษฐกิจแรงกว่าปัญหาเงินเฟ้อ และนโยบายทาง
การคลังที่ประธานาธิบดี สรอ. ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ไม่เพียงพอกับสถานการณ์แล้ว ซึ่งหากมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีตั้งแต่
500 — 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ก็มีผลกระทบต่อไทยแล้ว ตราบใดที่ความผันผวนภายนอก เช่น ตลาดเงินเคลื่อนย้าย ซับไพรม์ และ
ราคาน้ำมัน ยังมีอยู่ก็จะกระทบไทยต่อไปอย่างน้อยอีก 10 ปี แต่การที่พื้นฐานเกษตรไทยแข็งแกร่งทำให้ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อผู้มีรายได้
น้อยไม่แรงมาก ด้าน นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการบริหาร ธ.เพื่อการส่งออกฯ กล่าวว่า ปีนี้เศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบ
จากการถดถอยของเศรษฐกิจ สรอ. และจะเป็นปีที่ท้าทายสำหรับ ธปท. ในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนและเตรียมมาตรการรองรับวิกฤต
เศรษฐกิจโลก รวมถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ทำให้กำลังซื้อลดลงและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนจนกระทบต่อการส่งออก แต่คาดว่าแรงกดดัน
ค่าเงินจากดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลงเหลือไม่เกิน 7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากช่วง 2 ปีก่อนที่มีกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ลดลงที่ระดับ 87.9 จากระดับ 90.6 ในเดือนก่อนหน้า รายงานจาก
นิวยอร์กเมื่อ 29 ม.ค.51 The Conference Board เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ว่า
ลดลงที่ระดับ 87.9 จากระดับ 90.6 ในเดือนก่อนหน้า ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะอยู่ที่ระดับ 87.5
บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในทิศทางที่ลดลงในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ ความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์ทางธุรกิจและการ
จ้างงาน ก็มีทิศทางเช่นเดียวกัน รวมถึงความเชื่อมั่นฯ เกี่ยวกับรายได้ก็ลดลง และอาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการใช้จ่าย โดยดัชนีความ
เชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 115.3 จากระดับ 112.9 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความคาดหวัง
ของผู้บริโภคลดลงที่ระดับ 69.6 จากระดับ 75.8 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของผู้บริโภคที่มีความเห็นว่า การหางานทำเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก
ลดลงที่ร้อยละ 20.1 จากร้อยละ 22.7 ในเดือนก่อนหน้า ส่วนความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในช่วง 1 ปี อยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 5.3 จากร้อยละ 5.5 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 30 ม.ค.51
ก.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบต่อเดือน
เทียบกับที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ขณะที่ผลผลิตโรงงาน (ซึ่งเป็นดัชนีองค์ประกอบของผลผลิตอุตสาหกรรม) คาดว่า
จะลดลงร้อยละ 0.4 และร้อยละ 2.2 ในเดือน ม.ค.และ ก.พ.51 ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 50 (ต.ค.-ธ.ค.50)
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อไตรมาส นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ รมว.เศรษฐกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลผลิตอุตสาหกรรม
ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวอย่างมาก ขณะที่ก่อนหน้านี้มีอัตราการเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง (รอยเตอร์)
3. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.51 ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 14 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 ม.ค.51
ดัชนีชี้วัดยอดค้าปลีกของอังกฤษจากผลสำรวจโดยสภาอุตสาหกรรมอังกฤษหรือ CBI ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +4 ในเดือน ม.ค.51 ต่ำสุดในรอบ
14 เดือนนับตั้งแต่เดือน พ.ย.49 หลังจากอยู่ที่ระดับ +8 ในเดือนก่อน แต่ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ในระดับ 0 หรือไม่ขยายตัวเลย ชี้ให้เห็นว่า
ความต้องการของผู้บริโภคยังคงขยายตัวแม้จะมีความกังวลว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัวลงก็ตาม โดยยอดขายของร้านขายของชำและของจำเป็น
ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ผู้บริโภคลดการซื้อสินค้าที่มีราคาแพงอย่างเช่นโทรทัศน์และเครื่องซักผ้า สอดคล้องกับผลสำรวจที่ชี้ว่าผู้ค้าปลีก
ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นว่าแนวโน้มยอดขายจะไปในทางบวก โดยดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ +10 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมีความเห็น
ตรงกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในสัปดาห์หน้า แต่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยหลังจากนั้นยังไม่แน่นอนว่าจะไปในทิศทางใด
ในขณะที่ ธ.กลางอังกฤษแสดงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้จากราคาน้ำมัน (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.50 จำนวน 742.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากโซล เมื่อ 30 ม.ค.51
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค.50 เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 742.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย.50
ที่ขาดดุลจำนวน 563.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ทั้งปี 50 เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 5.95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับปี 49
ที่เกินดุลจำนวน 5.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ในเดือน ธ.ค.50 เกาหลีใต้ยังมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศสุทธิลดลงอยู่ที่จำนวน
6.54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่กู้ยืมเงินฯ เพิ่มขึ้นจำนวน 8.31 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
5. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ
วันที่ 29 ม.ค. 51 ในการประชุมนโยบายการเงิน ธ.กลางมาเลเซียเมื่อวานนี้ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.50 ต่อไปอีก
เป็นเดือนที่ 14 ซึ่งเป็นไปตามที่ได้มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านั้น เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นล่วงหน้าจากที่คาดการณ์
กันว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป ทั้งนี้ในระยะกลางมีความเสี่ยงจากการสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ธ.กลางเห็นว่ามีความเสี่ยง
ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและระดับราคาภายในประเทศที่จะต้องเฝ้าติดตามอย่างรอบคอบและมีมาตรการที่ดำเนินการได้ทันทีหากมี
ความจำเป็น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ม.ค. 51 29 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.28656 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 754.87/14.55 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,300/14,400 14,300/14,400 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.11 85.47 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.49/28.94 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--