ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เงินทุนต่างประเทศยังไม่ไหลเข้าไทยหลังเฟดลดดอกเบี้ย นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผอ.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.
กล่าวว่า ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ลงอีกร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 3.0 จากที่ลดไปแล้วเมื่อสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 0.75 ทำให้ ธปท. ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพราะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหลายช่องทาง แต่จะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ของไทยปรับลงตามหรือไม่ต้องรอการตัดสินใจของ กนง. ที่จะประชุมในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ส่วนจะมีผลทำให้เงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นและกดดัน
ให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกหรือไม่นั้น เท่าที่ติดตามดูขณะนี้ข้อมูลการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังไม่ชัดเจนว่าไหลเข้าหรือออกมากกว่า เพราะผลจาก
การลดดอกเบี้ยของเฟดทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายได้ทั้ง 2 ทาง จึงต้องดูต่อว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไรบ้าง สำหรับผลกระทบที่จะ
ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีกหรือไม่เชื่อว่าคงกระทบต่อค่าเงินทุกสกุล แต่จะทำให้ค่าเงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดต้องดูทั้งปัจจัยภายนอก
ประเทศและพื้นฐานของเศรษฐกิจประเทศนั้นประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นช่วงนี้มีส่วนมาจากทั้งปัจจัยภายนอก
และภายในด้วย และเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้นเพราะผลจากปัญหาซับไพรม์ของ สรอ. (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ปัญหาซับไพรม์ของ สรอ. ไม่กระทบภาคการส่งออกของไทย นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผอ.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.
กล่าวว่า แม้ สรอ. จะเกิดปัญหาซับไพรม์ในช่วงไตรมาส 4 ปี 50 แต่ยอดการส่งออกของไทยในตลาด สรอ. ยังขยายตัวได้ร้อยละ 5.3 สูงกว่า
ไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 2 ขณะที่ไตรมาส 2 ลดลงร้อยละ 1.7 และไตรมาส 3 ลดลงร้อยละ 9.7 เนื่องจากปี 50 ผู้ส่งออกของไทยมี
การขยายไปสู่ตลาดอื่นมากขึ้น เช่น ตลาดอียูใหม่ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 60.4 ตะวันออกลางเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 และอินเดียเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 47.2 ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ธ.ค.50 ยังสะท้อนการขยายตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามเครื่องชี้การลงทุนและการส่งออก
แม้เครื่องชี้ด้านการบริโภคจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ช่วงครึ่งแรกของปี 50 เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 4.3 แต่ครึ่งปีหลังน่าจะเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 5.0 ทำให้มั่นใจได้ว่าในปีนี้จะมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปจากดัชนีเครื่องชี้การบริโภคที่สูงขึ้น การใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น
และการขอรับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับปี 50 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 18.1 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว
ร้อยละ 17 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.6 จากร้อยละ 7.9 ในปีก่อนหน้า ส่งผลให้ปีที่ผ่านมาไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
1.49 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมปี 50 ขยายตัว
ร้อยละ 8.2 จากร้อยละ 7.4 ในปีก่อนหน้า (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. การทำธุรกิจในปีนี้มีความยากขึ้นอันเป็นผลจากเศรษฐกิจของ สรอ. มีปัญหา นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า การทำธุรกิจในปีนี้มีความยากมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจของ สรอ. มีปัญหาและเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมาก ส่งผล
ให้ตลาดทั่วโลกทั้งใน สรอ. และยุโรป ชะลอไปหมด ดังนั้น ปัจจัยที่มีความเสี่ยงจากนอกประเทศเป็นโจทย์ที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ
ส่วนปัจจัยการเมืองในประเทศยังไม่มีอะไรต้องรอให้รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศก่อน และดูว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจอย่างไร
ค่าเงินบาทและอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าทุกรัฐบาลเข้ามาต้องกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ต้อง
ติดตามดูว่าจะบริหารความเสี่ยงอย่างไร ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น รวมถึง สรอ. ที่เป็นตลาดใหญ่
มีปัญหาทำให้กำลังซื้อลดลง อย่างไรก็ตาม สรอ. ได้พยายามแก้ไขปัญหาเห็นได้จาก ธ.กลาง สรอ. ปรับลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงและออก
มาตรการหลายอย่างมาแก้ไขปัญหา สำหรับมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของไทย หากมีการยกเลิกอาจทำให้เงินบาทแข็งค่าเพราะมี
เงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรและจะกระทบต่อการส่งออก ก็จะมีทั้งคนที่พอใจและไม่พอใจ (ไทยรัฐ,เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าปีนี้ ธ.พาณิชย์จะแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดเงินฝากมากขึ้น นายรัตน์ พานิชพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร
ธ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กล่าวว่า ในปีนี้การแข่งขันเรื่องเงินฝากคงมีความรุนแรง เนื่องจากธนาคารขนาดใหญ่และขนาดกลางแข่งขันกันจ่าย
ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง รวมทั้งออกผลิตภัณฑ์เงินฝากแบบเป็นแพ็กเกจ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดอกเบี้ยเงินฝากแพงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ส่งผลให้ธนาคาร
ขนาดเล็กต้องสร้างผลิตภัณฑ์เงินฝากใหม่ ๆ ออกมาแข่งขัน สำหรับทิศทางดอกเบี้ยในปีนี้หลังจากที่ ธ.กลาง สรอ. ปรับลดอกเบี้ยลงในช่วง
2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมร้อยละ 1.25 สะท้อนภาพเศรษฐกิจของ สรอ. ได้เป็นอย่างดี ซึ่งคิดว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยควรจะปรับลดลงเช่นเดียวกัน
เพราะอัตราดอกเบี้ยของไทยไม่ควรสูงกว่าของ สรอ. ทั้งนี้ ที่ผ่านมาดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าของ สรอ. ยังประสบปัญหาค่าเงินบาทแข็ง
แต่ถ้าตอนนี้ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยของไทยสูงกว่า สรอ. อาจจะได้เห็นค่าเงินบาทแตะระดับ 30 บาท ต่อดอลลาร์สรอ. ในเร็ว ๆ นี้ (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ม.ค.51 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปีสูงสุดในรอบ 11 ปีรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
31 ม.ค.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปีในเดือน
ม.ค.51 สูงสุดนับตั้งแต่มีการเก็บตัวเลขดังกล่าวในเดือน ม.ค.40 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะคงที่อยู่ที่ระดับ 3.1 เท่ากับเดือน ธ.ค.และ
พ.ย.50 ทั้งนี้ Eurostat ไม่ได้แจกแจงรายละเอียดของอัตราเงินเฟ้อดังกล่าว แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเป็นผลมาจากราคาอาหารและ
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และนักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นร้อยละ 3.3 ต่อปีในช่วงเดือน ก.พ./มี.ค.51 นี้
อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นสร้างความกังวลให้ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ซึ่งต้องการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี
แต่ต้องชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากสัญญาณว่าเศรษฐกิจของ Euro zone กำลังชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจากปัญหาซับไพร์ม
ใน สรอ. ในขณะเดียวกันผลสำรวจคณะกรรมาธิการสภายุโรปชี้ว่าความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 49
ที่ระดับ 101.7 จากระดับ 103.4 ในเดือน ธ.ค.และระดับ 104.1 ในเดือน พ.ย.50 โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน Euro zone ลดลง
มาอยู่ที่ระดับ -12 จากระดับ -9 แม้ว่าอัตราว่างงานจะยังคงอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 7.2 ก็ตาม (รอยเตอร์)
2. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของยูโรโซนในเดือน ม.ค.51 ชะลอลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง รายงานจาก
บรัสเซลส์เมื่อ 31 ม.ค.51 The European Commission เปิดเผยว่า ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของยูโรโซน ซึ่งทำการสำรวจจากกลุ่ม
ผู้บริหารธุรกิจ ลดลงที่ระดับ 0.78 ในเดือน ม.ค.51 จากระดับ 0.89 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของบรรดา
นักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 0.86 ทั้งนี้ การที่ดัชนีฯ ในเดือน ม.ค.51 ชะลอตัว เป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาค
การผลิตเกี่ยวกับคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งสะท้อนว่าการดำเนินธุรกิจในภาคการผลิตของยูโรโซน
จะยังคงขยายตัวในระดับที่แข็งแกร่งต่อไปได้ แม้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 จะขยายตัวชะลอลงก็ตาม (รอยเตอร์)
3. PMI ของจีนในเดือน ม.ค.51 ลดลงที่ระดับ 53.0 จากระดับ 55.3 ในเดือนก่อนหน้า รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 1 ก.พ.51
The China Federation of Logistics and Purchasing ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจาก The National Bureau of
Statistics ในการสำรวจดัชนี PMI (Purchasing managers’ index) เปิดเผยผลการสำรวจ PMI ในเดือน ม.ค.51 ว่าลดลงที่
ระดับ 53.0 จากระดับ 55.3 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากดัชนีที่เป็นส่วนประกอบชะลอลงทุกตัว ที่สำคัญได้แก่ New export orders ลดลง
ที่ระดับ 49.0 จากระดับ 54.3 ซึ่งเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี สะท้อนว่า การส่งออกอาจชะลอตัวต่อเนื่องต่อไป
และอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ Suppliers delivery times ลดลงที่ระดับ 49.7 จากระดับ 52.4
อย่างไรก็ตาม PMI ในเดือน ม.ค.ดังกล่าว ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมของจีน (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 51 ของเยอรมนีต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 51 บรรดา
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่ายังคงมีความเชื่อมั่นในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงานเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปว่าจะสามารถ
ช่วยให้การใช้จ่ายบริโภคเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงจะช่วยบรรเทาความวิตกในเรื่องการสูงขึ้นของราคาอาหารและพลังงานได้ ทั้งนี้
ก.แรงงานเปิดเผยว่าจำนวนผู้ว่างงานในเดือน ม.ค. ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ร้อยละ 8.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี นับ
เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 22 อยู่ที่จำนวน3.412 ล้านคน ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 36 สำหรับอัตราเงินเฟ้อใน
เดือนม.ค. อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในเดือน ธ.ค. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 ก.พ. 51 31 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.027 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8088/33.1502 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 784.23/33.87 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,300/14,400 14,250/14,350 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.29 87.75 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เงินทุนต่างประเทศยังไม่ไหลเข้าไทยหลังเฟดลดดอกเบี้ย นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผอ.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.
กล่าวว่า ผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ลงอีกร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 3.0 จากที่ลดไปแล้วเมื่อสัปดาห์
ก่อนร้อยละ 0.75 ทำให้ ธปท. ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพราะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหลายช่องทาง แต่จะมีผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ของไทยปรับลงตามหรือไม่ต้องรอการตัดสินใจของ กนง. ที่จะประชุมในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ส่วนจะมีผลทำให้เงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นและกดดัน
ให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกหรือไม่นั้น เท่าที่ติดตามดูขณะนี้ข้อมูลการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังไม่ชัดเจนว่าไหลเข้าหรือออกมากกว่า เพราะผลจาก
การลดดอกเบี้ยของเฟดทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายได้ทั้ง 2 ทาง จึงต้องดูต่อว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไรบ้าง สำหรับผลกระทบที่จะ
ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีกหรือไม่เชื่อว่าคงกระทบต่อค่าเงินทุกสกุล แต่จะทำให้ค่าเงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดต้องดูทั้งปัจจัยภายนอก
ประเทศและพื้นฐานของเศรษฐกิจประเทศนั้นประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นช่วงนี้มีส่วนมาจากทั้งปัจจัยภายนอก
และภายในด้วย และเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคที่แข็งค่าขึ้นเพราะผลจากปัญหาซับไพรม์ของ สรอ. (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ปัญหาซับไพรม์ของ สรอ. ไม่กระทบภาคการส่งออกของไทย นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผอ.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.
กล่าวว่า แม้ สรอ. จะเกิดปัญหาซับไพรม์ในช่วงไตรมาส 4 ปี 50 แต่ยอดการส่งออกของไทยในตลาด สรอ. ยังขยายตัวได้ร้อยละ 5.3 สูงกว่า
ไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 2 ขณะที่ไตรมาส 2 ลดลงร้อยละ 1.7 และไตรมาส 3 ลดลงร้อยละ 9.7 เนื่องจากปี 50 ผู้ส่งออกของไทยมี
การขยายไปสู่ตลาดอื่นมากขึ้น เช่น ตลาดอียูใหม่ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 60.4 ตะวันออกลางเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 และอินเดียเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 47.2 ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ธ.ค.50 ยังสะท้อนการขยายตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามเครื่องชี้การลงทุนและการส่งออก
แม้เครื่องชี้ด้านการบริโภคจะลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ช่วงครึ่งแรกของปี 50 เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 4.3 แต่ครึ่งปีหลังน่าจะเพิ่มขึ้น
เป็นร้อยละ 5.0 ทำให้มั่นใจได้ว่าในปีนี้จะมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปจากดัชนีเครื่องชี้การบริโภคที่สูงขึ้น การใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น
และการขอรับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับปี 50 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 18.1 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว
ร้อยละ 17 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.6 จากร้อยละ 7.9 ในปีก่อนหน้า ส่งผลให้ปีที่ผ่านมาไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด
1.49 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมปี 50 ขยายตัว
ร้อยละ 8.2 จากร้อยละ 7.4 ในปีก่อนหน้า (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
3. การทำธุรกิจในปีนี้มีความยากขึ้นอันเป็นผลจากเศรษฐกิจของ สรอ. มีปัญหา นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า การทำธุรกิจในปีนี้มีความยากมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจของ สรอ. มีปัญหาและเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อมาก ส่งผล
ให้ตลาดทั่วโลกทั้งใน สรอ. และยุโรป ชะลอไปหมด ดังนั้น ปัจจัยที่มีความเสี่ยงจากนอกประเทศเป็นโจทย์ที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ
ส่วนปัจจัยการเมืองในประเทศยังไม่มีอะไรต้องรอให้รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศก่อน และดูว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจอย่างไร
ค่าเงินบาทและอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าทุกรัฐบาลเข้ามาต้องกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ต้อง
ติดตามดูว่าจะบริหารความเสี่ยงอย่างไร ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น รวมถึง สรอ. ที่เป็นตลาดใหญ่
มีปัญหาทำให้กำลังซื้อลดลง อย่างไรก็ตาม สรอ. ได้พยายามแก้ไขปัญหาเห็นได้จาก ธ.กลาง สรอ. ปรับลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงและออก
มาตรการหลายอย่างมาแก้ไขปัญหา สำหรับมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของไทย หากมีการยกเลิกอาจทำให้เงินบาทแข็งค่าเพราะมี
เงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรและจะกระทบต่อการส่งออก ก็จะมีทั้งคนที่พอใจและไม่พอใจ (ไทยรัฐ,เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าปีนี้ ธ.พาณิชย์จะแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดเงินฝากมากขึ้น นายรัตน์ พานิชพันธ์ ประธานกรรมการบริหาร
ธ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กล่าวว่า ในปีนี้การแข่งขันเรื่องเงินฝากคงมีความรุนแรง เนื่องจากธนาคารขนาดใหญ่และขนาดกลางแข่งขันกันจ่าย
ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง รวมทั้งออกผลิตภัณฑ์เงินฝากแบบเป็นแพ็กเกจ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดอกเบี้ยเงินฝากแพงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ส่งผลให้ธนาคาร
ขนาดเล็กต้องสร้างผลิตภัณฑ์เงินฝากใหม่ ๆ ออกมาแข่งขัน สำหรับทิศทางดอกเบี้ยในปีนี้หลังจากที่ ธ.กลาง สรอ. ปรับลดอกเบี้ยลงในช่วง
2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมร้อยละ 1.25 สะท้อนภาพเศรษฐกิจของ สรอ. ได้เป็นอย่างดี ซึ่งคิดว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยควรจะปรับลดลงเช่นเดียวกัน
เพราะอัตราดอกเบี้ยของไทยไม่ควรสูงกว่าของ สรอ. ทั้งนี้ ที่ผ่านมาดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าของ สรอ. ยังประสบปัญหาค่าเงินบาทแข็ง
แต่ถ้าตอนนี้ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยของไทยสูงกว่า สรอ. อาจจะได้เห็นค่าเงินบาทแตะระดับ 30 บาท ต่อดอลลาร์สรอ. ในเร็ว ๆ นี้ (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ม.ค.51 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปีสูงสุดในรอบ 11 ปีรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
31 ม.ค.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปีในเดือน
ม.ค.51 สูงสุดนับตั้งแต่มีการเก็บตัวเลขดังกล่าวในเดือน ม.ค.40 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะคงที่อยู่ที่ระดับ 3.1 เท่ากับเดือน ธ.ค.และ
พ.ย.50 ทั้งนี้ Eurostat ไม่ได้แจกแจงรายละเอียดของอัตราเงินเฟ้อดังกล่าว แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเป็นผลมาจากราคาอาหารและ
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และนักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นร้อยละ 3.3 ต่อปีในช่วงเดือน ก.พ./มี.ค.51 นี้
อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นสร้างความกังวลให้ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ซึ่งต้องการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี
แต่ต้องชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากสัญญาณว่าเศรษฐกิจของ Euro zone กำลังชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกจากปัญหาซับไพร์ม
ใน สรอ. ในขณะเดียวกันผลสำรวจคณะกรรมาธิการสภายุโรปชี้ว่าความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 49
ที่ระดับ 101.7 จากระดับ 103.4 ในเดือน ธ.ค.และระดับ 104.1 ในเดือน พ.ย.50 โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน Euro zone ลดลง
มาอยู่ที่ระดับ -12 จากระดับ -9 แม้ว่าอัตราว่างงานจะยังคงอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 7.2 ก็ตาม (รอยเตอร์)
2. ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของยูโรโซนในเดือน ม.ค.51 ชะลอลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง รายงานจาก
บรัสเซลส์เมื่อ 31 ม.ค.51 The European Commission เปิดเผยว่า ดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของยูโรโซน ซึ่งทำการสำรวจจากกลุ่ม
ผู้บริหารธุรกิจ ลดลงที่ระดับ 0.78 ในเดือน ม.ค.51 จากระดับ 0.89 ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของบรรดา
นักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 0.86 ทั้งนี้ การที่ดัชนีฯ ในเดือน ม.ค.51 ชะลอตัว เป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาค
การผลิตเกี่ยวกับคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งสะท้อนว่าการดำเนินธุรกิจในภาคการผลิตของยูโรโซน
จะยังคงขยายตัวในระดับที่แข็งแกร่งต่อไปได้ แม้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย.50 จะขยายตัวชะลอลงก็ตาม (รอยเตอร์)
3. PMI ของจีนในเดือน ม.ค.51 ลดลงที่ระดับ 53.0 จากระดับ 55.3 ในเดือนก่อนหน้า รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 1 ก.พ.51
The China Federation of Logistics and Purchasing ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจาก The National Bureau of
Statistics ในการสำรวจดัชนี PMI (Purchasing managers’ index) เปิดเผยผลการสำรวจ PMI ในเดือน ม.ค.51 ว่าลดลงที่
ระดับ 53.0 จากระดับ 55.3 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากดัชนีที่เป็นส่วนประกอบชะลอลงทุกตัว ที่สำคัญได้แก่ New export orders ลดลง
ที่ระดับ 49.0 จากระดับ 54.3 ซึ่งเป็นการลดลงต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี สะท้อนว่า การส่งออกอาจชะลอตัวต่อเนื่องต่อไป
และอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ Suppliers delivery times ลดลงที่ระดับ 49.7 จากระดับ 52.4
อย่างไรก็ตาม PMI ในเดือน ม.ค.ดังกล่าว ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมของจีน (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 51 ของเยอรมนีต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 51 บรรดา
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่ายังคงมีความเชื่อมั่นในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของตลาดแรงงานเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปว่าจะสามารถ
ช่วยให้การใช้จ่ายบริโภคเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงจะช่วยบรรเทาความวิตกในเรื่องการสูงขึ้นของราคาอาหารและพลังงานได้ ทั้งนี้
ก.แรงงานเปิดเผยว่าจำนวนผู้ว่างงานในเดือน ม.ค. ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ร้อยละ 8.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี นับ
เป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 22 อยู่ที่จำนวน3.412 ล้านคน ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 36 สำหรับอัตราเงินเฟ้อใน
เดือนม.ค. อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากร้อยละ 2.8 ในเดือน ธ.ค. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 ก.พ. 51 31 ม.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.027 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.8088/33.1502 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 784.23/33.87 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,300/14,400 14,250/14,350 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.29 87.75 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--