ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.คาดการณ์ราคาที่อยู่อาศัยปี 51 ปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
จากข้อมูลรายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือน ธ.ค.50 ธปท.คาดการณ์ว่าปี 51 ราคาที่อยู่อาศัยจะปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบ
การต้องเผชิญกับต้นทุนก่อสร้างที่สูงขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้างและค่าขนส่ง ทำให้ต้องปรับตัวมากขึ้นหากเทียบกับปี 50 ที่ราคาปรับขึ้นค่อนข้างน้อย
เพราะการแข่งขันสูงขณะที่อุปสงค์ชะลอตัว สำหรับแนวโน้มของตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น จากการที่ ธปท.ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ถือเป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ นอกจากนี้ การ
ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และการยกเลิกมาตรการปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนที่อยู่อาศัย อาจมีผลให้ธุรกิจซื้อขาย
อสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวช้าจนถึงช่วงกลางปี 51 (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ออก พธบ.ออมทรัพย์รุ่นที่ 2 วงเงิน 50,000 ล.บาทจำหน่ายประชาชนทั่วไป รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมเปิดขาย พธบ.ออมทรัพย์ ธปท.รุ่นที่ 2 วงเงิน 50,000 ล.บาท อายุ 4 และ 7 ปี แก่ประชาชนทั่วไป
ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.พ. ผ่านสาขาของธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง โดยจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจในวันที่ 7 ก.พ.นี้ ทั้งนี้
อัตราดอกเบี้ย พธบ. รุ่นที่ 2 ทุกอายุ จะมีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ย พธบ.รุ่นแรกประมาณ 70% หรือต่ำกว่าระดับ 4.25% ต่อปี สำหรับอายุ 4 ปี
และ 5.0% ต่อปีสำหรับอายุ 7 ปี เนื่องจากผลตอบแทน พธบ.รัฐบาลอยู่ในตลาดมีระดับต่ำมาก ทั้งนี้ การออก พธบ.ดังกล่าวเป็นเครื่องมือใน
การดูดซับสภาพคล่องในตลาดเงินเพื่อดูแลค่าเงินบาท ซึ่งในปีนี้คาดว่า ธปท.จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อแทรกแซงในปริมาณสูงกว่าปีก่อน นอกจากนี้
ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระบุว่า กองทุนฟื้นฟูฯ จะเปิดขาย พธบ.กองทุนฟื้นฟูฯ ปี งปม. 51 ครั้งที่ 3 วงเงิน 7,000 ล.บาท เพื่อเพิ่ม
ปริมาณ พธบ.กองทุนฟื้นฟูฯ ในปี งปม. 50 ครั้งที่ 2 ทำให้วงเงินรวมของ พธบ.รุ่นนี้เป็น 48,000 ล.บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่ 5.12% ต่อปี
(ไทยโพสต์)
3. อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้น 0.8% เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้น 4.3% เทียบต่อปี นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.51 อยู่ที่ระดับ 119.9 สูงขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.50
เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.6% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก และดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและ
เครื่องดื่มสูงขึ้น 0.2% ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (ม.ค.50) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 4.3% ซึ่งเป็นระดับเงินเฟ้อสูงที่สุดใน
รอบ 18 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค.49 ที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 4.4% เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 4.8%
และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.9% ทั้งนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.จะปรับตัวสูงขึ้น แต่ ก.พาณิชย์ยังคง
ยืนเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปีที่กำหนดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตรา 3-3.5% ไว้เช่นเดิม เพราะขณะนี้ สมมติฐานต่างๆ ยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก
(กรุงเทพธุรกิจ 2, ข่าวสด 2, ผู้จัดการรายวัน 2-3)
4. ผลการสำรวจพบว่าดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยลดลง ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบคโพลล์ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์ และพบว่าประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.2 หันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับ
มากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 34.5 ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับปานกลาง และร้อยละ 19.3 ใช้เพียงเล็กน้อยถึงไม่ใช้เลย สำหรับความสุข
มวลรวมของคนไทยในพื้นที่ที่ศึกษาครั้งนี้อยู่ที่ 6.47 คะแนน น้อยกว่าคะแนนความสุขมวลรวมในเดือน ต.ค.50 ที่เคยอยู่ที่ 6.90 (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของ สรอ. ในเดือน ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้นแล็กน้อย รายงานจากกรุงนิวยอร์ก ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 4 ก.พ.51
Economic Cycle Research Institute ของ สรอ. ผู้จัดทำดัชนีชี้วัดอัตราเงินเฟ้อในอนาคต (Future Inflation Guage - USFIG)
เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของ สรอ. ในเดือน ม.ค.51 ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 117.9 จาก 117.4 ในเดือน ธ.ค. เนื่องจากราคาสินค้า
ที่ปรับเพิ่มขึ้นรวมทั้งมาตรการอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งได้ถูกชดเชยโดยมาตรการการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับ
เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ดัชนี USFIG ก็ยังคงอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 31 เดือน จึงคาดว่าแรงกดดันจากอัตรา
เงินเฟ้อของ สรอ. ยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 51 ผลการสำรวจความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคโดยรอยเตอร์ และม.มิชิแกนพบว่า ในเดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 78.4 สูงกว่าเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 75.5
น้อยกว่าผลการสำรวจที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นที่ระดับ 79.0 อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังคงมีความวิตกเรื่องตลาดหุ้นที่ชะลอตัวลงอย่างมาก
และอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตัวเลขโดยรวมยังคงสอดคล้องกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 1.75 ในปีนี้ หรือเติบโต
ร้อยละ 1.0 ในไตรมาสแรก และคาดว่าการลงทุนในประเทศจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายปีนี้ จากนั้นจะขยายตัวอย่างช้าๆ ซึ่ง
3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่า ผู้บริโภคใช้จ่ายลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว และมีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่เห็นว่าภาวะ
ดังกล่าวจะเลวลงในปีต่อไป (รอยเตอร์)
3. ดัชนีผลผลิตโรงงานของ สรอ. ในเดือน ม.ค. ขยายตัวเพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 51 ก.อุตสาหกรรม
สรอ. เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค. ผลผลิตโรงงานเติบโตอย่างผิดคาด ฟื้นตัวจากที่หดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน
มิ.ย. ทั้งนี้ดัชนี ISM ซึ่งใช้ชี้วัดผลผลิตโรงงานในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.7 จากระดับ 48.4 เมื่อเดือน ธ.ค. และสูงกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะอยู่ที่ระดับ 47.3 ซึ่งดัชนี ISM ที่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัว สำหรับ
prices paid index ในเดือน ม.ค.อยู่ที่ระดับ 76.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 68.0 เมื่อเดือน ธ.ค. และอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน
ก.ค. 49 ส่วนคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 50 อยู่ที่ระดับ 49.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 46.9 ในเดือน ธ.ค. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของ Euro zone ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนรายงานจากลอนดอน เมื่อ 1 ก.พ.51
ดัชนีชี้วัดผลผลิตโรงงานจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของธุรกิจใน Euro zone หรือ PMI เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.8
ในเดือน ม.ค.51 จากระดับ 52.6 ในเดือนก่อน ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 52.6 โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่
สามอันดับแรกคือ เยอรมนีฝรั่งเศสและอิตาลี ในขณะที่ผลผลิตโรงงานของสเปนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 หดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อใน Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือน ม.ค.51 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัด
ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 64.8 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.50 ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ดัชนีชี้วัดราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ใน
ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ระดับ 55.6 สูงขึ้นมากจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.7 อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ และคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงประมาณกลางปีนี้เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์)
5. ยอดขาดดุลการค้าของเกาหลีใต้เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 1 ก.พ.51 ทางการเกาหลีใต้เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากปีก่อนคิดเป็นมูลค่า 32.86 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 คิดเป็นมูลค่า 36.24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้มียอดขาดดุลการค้า 3.38 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สูงสุดในรอบ 11 ปี ซึ่งทางการกล่าวว่าการส่งออกสินค้าของเกาหลีใต้ยังเติบโตได้ดีแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. จะชะลอตัว แต่นักเศรษฐศาสตร์
หลายคนกล่าวว่าไม่ช้าก็เร็วเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเกาหลีใต้อย่างแน่นอน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและ
ส่งผลต่ออัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอาจทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้อีกหลายเดือน แม้ว่าช่วงห่างของอัตราดอกเบี้ย
เกาหลีใต้กับ สรอ. จะเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 3.9 สูงสุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เดือน ก.ย.47 และสูงกว่าผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.8 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ก.พ. 51 1 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.965 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.7772/33.1052 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 810.86/26.63 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,100/14,200 14,300/14,400 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.09 87.29 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.คาดการณ์ราคาที่อยู่อาศัยปี 51 ปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
จากข้อมูลรายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือน ธ.ค.50 ธปท.คาดการณ์ว่าปี 51 ราคาที่อยู่อาศัยจะปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบ
การต้องเผชิญกับต้นทุนก่อสร้างที่สูงขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้างและค่าขนส่ง ทำให้ต้องปรับตัวมากขึ้นหากเทียบกับปี 50 ที่ราคาปรับขึ้นค่อนข้างน้อย
เพราะการแข่งขันสูงขณะที่อุปสงค์ชะลอตัว สำหรับแนวโน้มของตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น จากการที่ ธปท.ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ถือเป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ นอกจากนี้ การ
ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และการยกเลิกมาตรการปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนที่อยู่อาศัย อาจมีผลให้ธุรกิจซื้อขาย
อสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวช้าจนถึงช่วงกลางปี 51 (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.ออก พธบ.ออมทรัพย์รุ่นที่ 2 วงเงิน 50,000 ล.บาทจำหน่ายประชาชนทั่วไป รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมเปิดขาย พธบ.ออมทรัพย์ ธปท.รุ่นที่ 2 วงเงิน 50,000 ล.บาท อายุ 4 และ 7 ปี แก่ประชาชนทั่วไป
ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ก.พ. ผ่านสาขาของธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง โดยจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจในวันที่ 7 ก.พ.นี้ ทั้งนี้
อัตราดอกเบี้ย พธบ. รุ่นที่ 2 ทุกอายุ จะมีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ย พธบ.รุ่นแรกประมาณ 70% หรือต่ำกว่าระดับ 4.25% ต่อปี สำหรับอายุ 4 ปี
และ 5.0% ต่อปีสำหรับอายุ 7 ปี เนื่องจากผลตอบแทน พธบ.รัฐบาลอยู่ในตลาดมีระดับต่ำมาก ทั้งนี้ การออก พธบ.ดังกล่าวเป็นเครื่องมือใน
การดูดซับสภาพคล่องในตลาดเงินเพื่อดูแลค่าเงินบาท ซึ่งในปีนี้คาดว่า ธปท.จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อแทรกแซงในปริมาณสูงกว่าปีก่อน นอกจากนี้
ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระบุว่า กองทุนฟื้นฟูฯ จะเปิดขาย พธบ.กองทุนฟื้นฟูฯ ปี งปม. 51 ครั้งที่ 3 วงเงิน 7,000 ล.บาท เพื่อเพิ่ม
ปริมาณ พธบ.กองทุนฟื้นฟูฯ ในปี งปม. 50 ครั้งที่ 2 ทำให้วงเงินรวมของ พธบ.รุ่นนี้เป็น 48,000 ล.บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่ 5.12% ต่อปี
(ไทยโพสต์)
3. อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้น 0.8% เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้น 4.3% เทียบต่อปี นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.51 อยู่ที่ระดับ 119.9 สูงขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.50
เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.6% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก และดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและ
เครื่องดื่มสูงขึ้น 0.2% ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (ม.ค.50) อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 4.3% ซึ่งเป็นระดับเงินเฟ้อสูงที่สุดใน
รอบ 18 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค.49 ที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 4.4% เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 4.8%
และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.9% ทั้งนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.จะปรับตัวสูงขึ้น แต่ ก.พาณิชย์ยังคง
ยืนเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปีที่กำหนดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตรา 3-3.5% ไว้เช่นเดิม เพราะขณะนี้ สมมติฐานต่างๆ ยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก
(กรุงเทพธุรกิจ 2, ข่าวสด 2, ผู้จัดการรายวัน 2-3)
4. ผลการสำรวจพบว่าดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยลดลง ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบคโพลล์ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์ และพบว่าประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.2 หันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับ
มากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 34.5 ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับปานกลาง และร้อยละ 19.3 ใช้เพียงเล็กน้อยถึงไม่ใช้เลย สำหรับความสุข
มวลรวมของคนไทยในพื้นที่ที่ศึกษาครั้งนี้อยู่ที่ 6.47 คะแนน น้อยกว่าคะแนนความสุขมวลรวมในเดือน ต.ค.50 ที่เคยอยู่ที่ 6.90 (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของ สรอ. ในเดือน ม.ค. ปรับเพิ่มขึ้นแล็กน้อย รายงานจากกรุงนิวยอร์ก ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 4 ก.พ.51
Economic Cycle Research Institute ของ สรอ. ผู้จัดทำดัชนีชี้วัดอัตราเงินเฟ้อในอนาคต (Future Inflation Guage - USFIG)
เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของ สรอ. ในเดือน ม.ค.51 ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 117.9 จาก 117.4 ในเดือน ธ.ค. เนื่องจากราคาสินค้า
ที่ปรับเพิ่มขึ้นรวมทั้งมาตรการอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งได้ถูกชดเชยโดยมาตรการการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับ
เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ดัชนี USFIG ก็ยังคงอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 31 เดือน จึงคาดว่าแรงกดดันจากอัตรา
เงินเฟ้อของ สรอ. ยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 51 ผลการสำรวจความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคโดยรอยเตอร์ และม.มิชิแกนพบว่า ในเดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 78.4 สูงกว่าเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 75.5
น้อยกว่าผลการสำรวจที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นที่ระดับ 79.0 อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังคงมีความวิตกเรื่องตลาดหุ้นที่ชะลอตัวลงอย่างมาก
และอสังหาริมทรัพย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตัวเลขโดยรวมยังคงสอดคล้องกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 1.75 ในปีนี้ หรือเติบโต
ร้อยละ 1.0 ในไตรมาสแรก และคาดว่าการลงทุนในประเทศจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายปีนี้ จากนั้นจะขยายตัวอย่างช้าๆ ซึ่ง
3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่า ผู้บริโภคใช้จ่ายลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว และมีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่เห็นว่าภาวะ
ดังกล่าวจะเลวลงในปีต่อไป (รอยเตอร์)
3. ดัชนีผลผลิตโรงงานของ สรอ. ในเดือน ม.ค. ขยายตัวเพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 51 ก.อุตสาหกรรม
สรอ. เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค. ผลผลิตโรงงานเติบโตอย่างผิดคาด ฟื้นตัวจากที่หดตัวเมื่อเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน
มิ.ย. ทั้งนี้ดัชนี ISM ซึ่งใช้ชี้วัดผลผลิตโรงงานในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.7 จากระดับ 48.4 เมื่อเดือน ธ.ค. และสูงกว่าที่
นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะอยู่ที่ระดับ 47.3 ซึ่งดัชนี ISM ที่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัว สำหรับ
prices paid index ในเดือน ม.ค.อยู่ที่ระดับ 76.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 68.0 เมื่อเดือน ธ.ค. และอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน
ก.ค. 49 ส่วนคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 50 อยู่ที่ระดับ 49.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 46.9 ในเดือน ธ.ค. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของ Euro zone ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนรายงานจากลอนดอน เมื่อ 1 ก.พ.51
ดัชนีชี้วัดผลผลิตโรงงานจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของธุรกิจใน Euro zone หรือ PMI เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.8
ในเดือน ม.ค.51 จากระดับ 52.6 ในเดือนก่อน ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 52.6 โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่
สามอันดับแรกคือ เยอรมนีฝรั่งเศสและอิตาลี ในขณะที่ผลผลิตโรงงานของสเปนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 หดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อใน Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือน ม.ค.51 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัด
ราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 64.8 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.50 ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ดัชนีชี้วัดราคาผลผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ใน
ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ระดับ 55.6 สูงขึ้นมากจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.7 อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ และคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงประมาณกลางปีนี้เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์)
5. ยอดขาดดุลการค้าของเกาหลีใต้เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 ปี รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 1 ก.พ.51 ทางการเกาหลีใต้เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากปีก่อนคิดเป็นมูลค่า 32.86 พันล้านดอลลาร์
สรอ. ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 คิดเป็นมูลค่า 36.24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้มียอดขาดดุลการค้า 3.38 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สูงสุดในรอบ 11 ปี ซึ่งทางการกล่าวว่าการส่งออกสินค้าของเกาหลีใต้ยังเติบโตได้ดีแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. จะชะลอตัว แต่นักเศรษฐศาสตร์
หลายคนกล่าวว่าไม่ช้าก็เร็วเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเกาหลีใต้อย่างแน่นอน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและ
ส่งผลต่ออัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอาจทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้อีกหลายเดือน แม้ว่าช่วงห่างของอัตราดอกเบี้ย
เกาหลีใต้กับ สรอ. จะเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 3.9 สูงสุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่เดือน ก.ย.47 และสูงกว่าผลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.8 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 ก.พ. 51 1 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.965 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.7772/33.1052 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 810.86/26.63 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,100/14,200 14,300/14,400 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.09 87.29 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--