ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ยังมีเครื่องมือเพียงพอในการดูแลสภาพคล่องในระบบและอัตราแลกเปลี่ยน นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ ธปท. ยังมีเครื่องมือเพียงพอที่จะดูแลสภาพคล่องในระบบและอัตราแลกเปลี่ยน และยังเหลือวงเงิน
เพียงพอที่จะออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบ ปัจจุบัน ธปท. มีวงเงินสำหรับการออกพันธบัตรถึง 2 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ หาก
พรบ.ธปท. มีผลบังคับใช้จะทำให้ ธปท. มีช่องทางการดูแลสภาพคล่องเพิ่มขึ้นด้วยการรับฝากเงินจาก ธ.พาณิชย์โดยตรงและสามารถจ่าย
ดอกเบี้ยตอบแทนได้ด้วย ทำให้มีเครื่องมือเพียงพอที่จะดูแลไม่ใช่มีแค่การทำสวอป (โพสต์ทูเดย์)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ ไถ่ถอน พธบ.ครบภาระหนี้ในตลาดอาร์พี นางพวงทิพย์ ปรมาพจน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารธุรกิจและการเงิน
สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ทยอยออก พธบ.ใน
วงเงินที่เคยกู้ยืมอยู่ในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) ขายให้กับ ธปท.ครบหมดแล้ว ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีหนี้สินคงค้างเหลือในตลาดอาร์พี ทั้งนี้
เดิมกองทุนฟื้นฟูฯ กู้ยืมเงินในตลาดอาร์พีจำนวน 1.8 แสน ล.บาท แต่เนื่องจากตลาดอาร์พีจะปิดตัวลงในวันที่ 13 ก.พ.นี้ ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ
ต้องปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ โดยออก พธบ.ระยะยาวสองส่วนคือ พธบ.ออมทรัพย์อายุ 2 ปี และ 4 ปี ขายให้กับนักลงทุนรายย่อยจำนวน
73,000 ล.บาท และ พธบ.อายุ 3 ปีและ 6 ปี ขายให้กับ ธปท.วงเงินรวม 93,000 ล.บาท ส่วน พธบ.ที่เหลืออีก 14,000 ล.บาท กองทุน
ฟื้นฟูฯ ได้ไถ่ถอนออกจากตลาดอาร์พี โดยใช้เงินที่สถาบันการเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูฯ รอบครึ่งปีจำนวนประมาณ 12,000 ล.บาท และเงินจาก
รายได้อื่นอีกประมาณ 2,000 ล.บาท และหลังจากหมดภาระหนี้ระยะสั้นในตลาดอาร์พี จนถึงกำหนดปิดกองทุนฟื้นฟูฯ ในปี 56 กองทุนฟื้นฟูฯ
เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาการเงินที่ทำให้ ก.คลังต้องออก พธบ.เพิ่มเติมอีก แม้ว่าจะยังมีวงเงิน พธบ.ที่ ก.คลังสามารถออกให้เพื่อชดเชยความ
เสียหายอีกประมาณ 87,000 ล.บาทก็ตาม (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, มติชน)
3. คาดว่าเศรษฐกิจภาคใต้ปีนี้จะขยายตัวต่อเนื่องจากปลายปีก่อน นายนิรุธ รักษาเสรี ผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ไตรมาสที่ 4 ปี 50 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจใต้ปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
โดยมีปัจจัยบวกด้านภาคการเกษตรและการท่องเที่ยว แต่ปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันยังส่งผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อน รวมถึงปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ส่วนภาคการเกษตรผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ขณะที่ภาคการประมงหดตัวจากภาวะต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นผู้ประกอบการประมงจึงหยุด
ทำการประมง ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับไตรมาสสุดท้ายมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา
ในประเทศ 894,303 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.8 ภาวการณ์ท่องเที่ยวเริ่มดีขึ้นเนื่องจากนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจ
ในความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งปัจจัยบวกทั้งราคาผลผลิตการเกษตรและการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นทำให้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนปรับตัว
ดีขึ้นเช่นกันโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบกับไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและสถานการณ์
ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคส่วนหนึ่ง ด้านภาวการณ์ลงทุนเอกชนยังหดตัว มี
โครงการที่รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสนี้ 14 โครงการ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 5 โครงการ เงินลงทุนรวม
4.407.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลทั้งจำนวนรายและทุนจดทะเบียนลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 5.8 และ 19.5 ตามลำดับ ขณะที่การค้าต่างประเทศลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.3 ขณะที่การส่งออกผ่าน
ด่านศุลกากรมีมูลค่ารวม 2,631.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำระบบ e-Customs มาใช้ ด้านการนำเข้ามี
มูลค่ารวม 1,449.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือน ธ.ค.50 มีเงินฝากคงค้างของสาขา ธ.พาณิชย์
392,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.0 สินเชื่อคงค้างมีประมาณ 334,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6
ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับเศรษฐกิจและการเงินของภาคใต้ในปี 51 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปลายปี 50 เนื่องจากการเมือง
เริ่มมีความชัดเจน ตลอดจนได้รับเงินงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงคือราคาน้ำมันและปัญหาซับไพรม์
ของ สรอ.(ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเตรียมศึกษาการออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนใช้ในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.
บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า สบน. ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรขายให้บริษัทประกัน อายุ 30 ปี เพื่อระดมทุนมาใช้
ในการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์และโครงการขนส่งระบบราง มูลค่า 5 แสนล้านบาท ตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ ซึ่งได้มีการหารือ
กับกลุ่มบริษัทประกันภัยมาแล้วและภาคเอกชนก็เสนอให้ทำเพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนระยะยาว สำหรับการออกพันธบัตรสามารถทยอยออกได้
ตลอดเวลาปีละประมาณ 1 — 2 แสนล้านบาท จึงไม่กระทบต่อตลาดตราสารหนี้โดยรวม เนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่ละสายคาดว่าจะ
ใช้เวลา 3 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงต้องสูงกว่าร้อยละ 5 หากเป็นพันธบัตรระยะยาว 30 ปี ซึ่ง ก.คลังจะหารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบใน
การระดมทุน (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ามาตรฐานการให้สินเชื่อของ ธพ. สรอ. จะเข้มงวดขึ้นอีกในเร็วๆนี้ รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 51
ผลการสำรวจของ ธ.กลาง สรอ. ชี้ว่า ธพ. ต่างๆใน สรอ. จะเพิ่มความเข้มงวดในมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อแก่ธุรกิจและครัวเรือน
เนื่องจากแนวโน้มการมีหนี้เสียเพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ไตรมาสสุดท้ายเมื่อ
ปีที่แล้วเติบโตเพียงร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ในการสำรวจสินเชื่อของ ธ.กลาง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินเพื่อที่จะปรับ
ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บ่งชี้ว่าความต้องการสินเชื่อสำหรับธุรกิจและครัวเรือนเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
อ่อนตัวลง ทำให้ธ.กลางต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงรวมร้อยละ 1.25 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เมื่อ 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ธ.ค.
เพื่อป้องกันเศรษฐกิจ สรอ. ให้พ้นจากภาวะถดถอย (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนใน Euro zone ในเดือน ก.พ.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 4 ก.พ.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากผลสำรวจความเห็นของนักลงทุน 849 คนโดยสำนักวิจัย Sentix ในระหว่าง
วันที่ 31 ม.ค.ถึง 2 ก.พ.51 ลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 4.3 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.48 จากระดับ 8.2 ในเดือน ม.ค.51
และต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 5.7 สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับปริมาณธุรกรรมในอีก 6 เดือนข้าง
หน้าที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ — 17.5 จากระดับ — 16.25 ในเดือน ม.ค.51 และดัชนีชี้วัดสภาวะธุรกิจในปัจจุบัน
ที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 28.75 จากระดับ 36.0 ในเดือน ม.ค.51 โดย Sentix ชี้ว่าเป็นผลจากความรู้สึกของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่คาดว่าเศรษฐกิจ
สรอ.จะชะลอตัวลงจากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มและวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน (รอยเตอร์)
3. ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 การบริโภคในญี่ปุ่นไม่ขยายตัวซึ่งคาดว่าอาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 4 ก.พ.51 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานการบริโภคส่วนบุคคลของญี่ปุ่นไม่ขยายตัวในไตรมาสสุดท้ายปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน หลังจากขยายตัว
ร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 3 และต่ำกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ก่อนคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อไตรมาสหรือร้อยละ 1.3 ต่อปี
หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 50 อาจชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นมีกำหนดจะรายงานตัวเลขเบื้องต้นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 50 ในวันที่ 13 ก.พ.51 นี้ (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้เดือน ม.ค.51 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 4 ก.พ.51 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 ลดลง 350 ล้านดอลลาร์
สรอ. ไปอยู่ที่ระดับ 261.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 262.22 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ธ.ค.50 นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ
7 เดือน เนื่องจากธนาคารผู้ให้กู้หลายแห่งได้ถอนเงินตราต่างประเทศบางส่วนที่ฝากไว้ที่ ธ.กลางเกาหลีใต้เมื่อเดือน ธ.ค.50 เพื่อจัดการ
ความเสี่ยงในสินทรัพย์ของธนาคารให้ได้สัดส่วนกับทุนในช่วงปิดบัญชีตอนสิ้นปี ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้กล่าวว่า ร้อยละ 87 ของทุนสำรองฯ
ทั้งหมดเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ และร้อยละ 12.8 ฝากไว้กับสถาบันการเงินต่างๆ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ก.พ. 51 4 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.910 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6921/33.0333 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 811.56/36.31 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,050/14,150 14,100/14,200 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.02 87.09 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ยังมีเครื่องมือเพียงพอในการดูแลสภาพคล่องในระบบและอัตราแลกเปลี่ยน นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ ธปท. ยังมีเครื่องมือเพียงพอที่จะดูแลสภาพคล่องในระบบและอัตราแลกเปลี่ยน และยังเหลือวงเงิน
เพียงพอที่จะออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบ ปัจจุบัน ธปท. มีวงเงินสำหรับการออกพันธบัตรถึง 2 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ หาก
พรบ.ธปท. มีผลบังคับใช้จะทำให้ ธปท. มีช่องทางการดูแลสภาพคล่องเพิ่มขึ้นด้วยการรับฝากเงินจาก ธ.พาณิชย์โดยตรงและสามารถจ่าย
ดอกเบี้ยตอบแทนได้ด้วย ทำให้มีเครื่องมือเพียงพอที่จะดูแลไม่ใช่มีแค่การทำสวอป (โพสต์ทูเดย์)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ ไถ่ถอน พธบ.ครบภาระหนี้ในตลาดอาร์พี นางพวงทิพย์ ปรมาพจน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารธุรกิจและการเงิน
สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ทยอยออก พธบ.ใน
วงเงินที่เคยกู้ยืมอยู่ในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) ขายให้กับ ธปท.ครบหมดแล้ว ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีหนี้สินคงค้างเหลือในตลาดอาร์พี ทั้งนี้
เดิมกองทุนฟื้นฟูฯ กู้ยืมเงินในตลาดอาร์พีจำนวน 1.8 แสน ล.บาท แต่เนื่องจากตลาดอาร์พีจะปิดตัวลงในวันที่ 13 ก.พ.นี้ ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ
ต้องปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ โดยออก พธบ.ระยะยาวสองส่วนคือ พธบ.ออมทรัพย์อายุ 2 ปี และ 4 ปี ขายให้กับนักลงทุนรายย่อยจำนวน
73,000 ล.บาท และ พธบ.อายุ 3 ปีและ 6 ปี ขายให้กับ ธปท.วงเงินรวม 93,000 ล.บาท ส่วน พธบ.ที่เหลืออีก 14,000 ล.บาท กองทุน
ฟื้นฟูฯ ได้ไถ่ถอนออกจากตลาดอาร์พี โดยใช้เงินที่สถาบันการเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูฯ รอบครึ่งปีจำนวนประมาณ 12,000 ล.บาท และเงินจาก
รายได้อื่นอีกประมาณ 2,000 ล.บาท และหลังจากหมดภาระหนี้ระยะสั้นในตลาดอาร์พี จนถึงกำหนดปิดกองทุนฟื้นฟูฯ ในปี 56 กองทุนฟื้นฟูฯ
เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาการเงินที่ทำให้ ก.คลังต้องออก พธบ.เพิ่มเติมอีก แม้ว่าจะยังมีวงเงิน พธบ.ที่ ก.คลังสามารถออกให้เพื่อชดเชยความ
เสียหายอีกประมาณ 87,000 ล.บาทก็ตาม (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, มติชน)
3. คาดว่าเศรษฐกิจภาคใต้ปีนี้จะขยายตัวต่อเนื่องจากปลายปีก่อน นายนิรุธ รักษาเสรี ผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ไตรมาสที่ 4 ปี 50 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจใต้ปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
โดยมีปัจจัยบวกด้านภาคการเกษตรและการท่องเที่ยว แต่ปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันยังส่งผลกระทบต่อด้านต่าง ๆ ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อน รวมถึงปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ส่วนภาคการเกษตรผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ขณะที่ภาคการประมงหดตัวจากภาวะต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นผู้ประกอบการประมงจึงหยุด
ทำการประมง ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับไตรมาสสุดท้ายมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา
ในประเทศ 894,303 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.8 ภาวการณ์ท่องเที่ยวเริ่มดีขึ้นเนื่องจากนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจ
ในความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งปัจจัยบวกทั้งราคาผลผลิตการเกษตรและการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นทำให้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนปรับตัว
ดีขึ้นเช่นกันโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบกับไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงและสถานการณ์
ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคส่วนหนึ่ง ด้านภาวการณ์ลงทุนเอกชนยังหดตัว มี
โครงการที่รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสนี้ 14 โครงการ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 5 โครงการ เงินลงทุนรวม
4.407.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลทั้งจำนวนรายและทุนจดทะเบียนลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อนร้อยละ 5.8 และ 19.5 ตามลำดับ ขณะที่การค้าต่างประเทศลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.3 ขณะที่การส่งออกผ่าน
ด่านศุลกากรมีมูลค่ารวม 2,631.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการนำระบบ e-Customs มาใช้ ด้านการนำเข้ามี
มูลค่ารวม 1,449.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือน ธ.ค.50 มีเงินฝากคงค้างของสาขา ธ.พาณิชย์
392,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.0 สินเชื่อคงค้างมีประมาณ 334,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6
ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับเศรษฐกิจและการเงินของภาคใต้ในปี 51 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปลายปี 50 เนื่องจากการเมือง
เริ่มมีความชัดเจน ตลอดจนได้รับเงินงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงคือราคาน้ำมันและปัญหาซับไพรม์
ของ สรอ.(ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเตรียมศึกษาการออกพันธบัตรเพื่อระดมทุนใช้ในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.
บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า สบน. ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรขายให้บริษัทประกัน อายุ 30 ปี เพื่อระดมทุนมาใช้
ในการก่อสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์และโครงการขนส่งระบบราง มูลค่า 5 แสนล้านบาท ตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ ซึ่งได้มีการหารือ
กับกลุ่มบริษัทประกันภัยมาแล้วและภาคเอกชนก็เสนอให้ทำเพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนระยะยาว สำหรับการออกพันธบัตรสามารถทยอยออกได้
ตลอดเวลาปีละประมาณ 1 — 2 แสนล้านบาท จึงไม่กระทบต่อตลาดตราสารหนี้โดยรวม เนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่ละสายคาดว่าจะ
ใช้เวลา 3 ปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงต้องสูงกว่าร้อยละ 5 หากเป็นพันธบัตรระยะยาว 30 ปี ซึ่ง ก.คลังจะหารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบใน
การระดมทุน (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ามาตรฐานการให้สินเชื่อของ ธพ. สรอ. จะเข้มงวดขึ้นอีกในเร็วๆนี้ รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 51
ผลการสำรวจของ ธ.กลาง สรอ. ชี้ว่า ธพ. ต่างๆใน สรอ. จะเพิ่มความเข้มงวดในมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อแก่ธุรกิจและครัวเรือน
เนื่องจากแนวโน้มการมีหนี้เสียเพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ไตรมาสสุดท้ายเมื่อ
ปีที่แล้วเติบโตเพียงร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ในการสำรวจสินเชื่อของ ธ.กลาง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินเพื่อที่จะปรับ
ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บ่งชี้ว่าความต้องการสินเชื่อสำหรับธุรกิจและครัวเรือนเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
อ่อนตัวลง ทำให้ธ.กลางต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงรวมร้อยละ 1.25 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เมื่อ 2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ธ.ค.
เพื่อป้องกันเศรษฐกิจ สรอ. ให้พ้นจากภาวะถดถอย (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนใน Euro zone ในเดือน ก.พ.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 4 ก.พ.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนจากผลสำรวจความเห็นของนักลงทุน 849 คนโดยสำนักวิจัย Sentix ในระหว่าง
วันที่ 31 ม.ค.ถึง 2 ก.พ.51 ลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 4.3 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.48 จากระดับ 8.2 ในเดือน ม.ค.51
และต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 5.7 สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับปริมาณธุรกรรมในอีก 6 เดือนข้าง
หน้าที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ — 17.5 จากระดับ — 16.25 ในเดือน ม.ค.51 และดัชนีชี้วัดสภาวะธุรกิจในปัจจุบัน
ที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 28.75 จากระดับ 36.0 ในเดือน ม.ค.51 โดย Sentix ชี้ว่าเป็นผลจากความรู้สึกของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่คาดว่าเศรษฐกิจ
สรอ.จะชะลอตัวลงจากผลกระทบของปัญหาซับไพร์มและวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน (รอยเตอร์)
3. ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 การบริโภคในญี่ปุ่นไม่ขยายตัวซึ่งคาดว่าอาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 4 ก.พ.51 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานการบริโภคส่วนบุคคลของญี่ปุ่นไม่ขยายตัวในไตรมาสสุดท้ายปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน หลังจากขยายตัว
ร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 3 และต่ำกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์เมื่อสัปดาห์ก่อนคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อไตรมาสหรือร้อยละ 1.3 ต่อปี
หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 50 อาจชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นมีกำหนดจะรายงานตัวเลขเบื้องต้นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 50 ในวันที่ 13 ก.พ.51 นี้ (รอยเตอร์)
4. ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้เดือน ม.ค.51 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 4 ก.พ.51 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 ลดลง 350 ล้านดอลลาร์
สรอ. ไปอยู่ที่ระดับ 261.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 262.22 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ธ.ค.50 นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ
7 เดือน เนื่องจากธนาคารผู้ให้กู้หลายแห่งได้ถอนเงินตราต่างประเทศบางส่วนที่ฝากไว้ที่ ธ.กลางเกาหลีใต้เมื่อเดือน ธ.ค.50 เพื่อจัดการ
ความเสี่ยงในสินทรัพย์ของธนาคารให้ได้สัดส่วนกับทุนในช่วงปิดบัญชีตอนสิ้นปี ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้กล่าวว่า ร้อยละ 87 ของทุนสำรองฯ
ทั้งหมดเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ และร้อยละ 12.8 ฝากไว้กับสถาบันการเงินต่างๆ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ก.พ. 51 4 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.910 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6921/33.0333 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 811.56/36.31 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,050/14,150 14,100/14,200 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.02 87.09 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--