ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนธันวาคม 2550 โดยรวมขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงตามราคาพืชหลักและผลผลิตที่ชะลอตัว ขณะที่การผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวดีโดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออก ขณะที่ภาคบริการขยายตัวจากเดือนก่อนตามฤดูกาล ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเร่งตัวจากเดือนก่อนเนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวและกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การส่งออกกลับมาขยายตัวจากที่ลดลงในเดือนก่อน ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐชะลอตัว การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการก่อสร้างยังคงลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคทรงตัวจากเดือนก่อน ส่วนเงินฝากและสินเชื่อชะลอลง
ปี 2550 ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน โดยด้านอุปทาน ผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยกว่าปีก่อนที่ประสบปัญหาอุทกภัย แต่รายได้เกษตรกรชะลอลงจากปัจจัยด้านราคาพืชผลที่เพิ่มไม่มากเท่าปีก่อน ภาคอุตสาหกรรมลดลงตามการผลิตเพื่อการส่งออก ส่วนการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการผลิตเครื่องดื่มและน้ำตาล ขณะที่ภาคบริการขยายตัวเล็กน้อย ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวตามการระมัดระวังการใช้จ่ายของประชาชน ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐเร่งตัวทั้งงบประจำและงบลงทุน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนตามการลงทุนหมวดก่อสร้าง ด้านการส่งออกและนำเข้าลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอลงจากปีก่อน สำหรับเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราชะลอลง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคาพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เดือนก่อน ตามราคาข้าวเปลือกเหนียวที่ลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมากและคุณภาพด้อยลง อย่างไรก็ตามราคาพืชสำคัญชนิดอื่นขยายตัวได้ดี เช่น ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ตามความต้องการเพื่อส่งออก ด้านราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ร้อยละ 16.9 และร้อยละ 82.0 ตามลำดับ จากความต้องการใช้เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากข้าวนาปี ถั่วเขียว และมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ร้อยละ 0.2 และร้อยละ 5.9 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรเพิ่มการผลิตตามแรงจูงใจด้านราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดีและไม่ประสบปัญหาอุทกภัยเช่นปีก่อน ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 4.2 เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน
ปี 2550 รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ชะลอลงจากปีก่อน เป็นผลจากราคาพืชสำคัญที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากร้อยละ 15.0 ปีก่อน ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง และลำไยที่ลดลงร้อยละ 2.7 ร้อยละ 5.1 และร้อยละ 6.5 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ราคาอ้อยโรงงานลดลงร้อยละ 3.4 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 จากความต้องการเพื่อส่งออกโดยเฉพาะตลาดจีน ข้าวโพดและถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของราคาในตลาดโลก ถั่วเขียวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น กระเทียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามราคาตลาดโลกและผลผลิตที่ลดลงมาก และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เนื่องจากความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ ทางด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.9 ปีก่อน เป็นผลจากผลผลิตข้าวนาปีและลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และร้อยละ 6.4 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยกว่าปีก่อนที่ประสบปัญหาอุทกภัย ข้าวนาปรังและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และร้อยละ 21.4 ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่เพาะปลูก อ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นปีก่อนอยู่ในเกณฑ์สูงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่ข้าวโพดและถั่วเหลืองลดลงร้อยละ 4.2 และร้อยละ 1.0 เนื่องจากการปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน กระเทียมลดลงร้อยละ 8.7 เป็นผลจากมาตรการลดพื้นที่เพาะปลูกของภาครัฐ
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เป็น 159.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการผลิตเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 จากความต้องการที่ขยายตัวในประเทศจีนและมาเลเซีย การผลิตอัญมณีเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวตามความต้องการในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตส่วนประกอบ Hard disk drive และเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าลดลงร้อยละ 17.0 และร้อยละ 6.9 โดยเฉพาะแผงวงจรหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผลกระทบด้านการแข่งขันที่อยู่ในระดับสูง ด้านการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เป็น 323.7 พันเมตริกตัน ตามอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ด้านอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงตามการลงทุนก่อสร้างที่ซบเซา การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 3.6 เหลือ 238.1 ล้านบาท
ปี 2550 การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง โดยการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.0 เหลือ 1,893.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ปีก่อน การผลิตลดลงตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 แต่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี การผลิตเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าลดลงร้อยละ 25.4 ตามการผลิตที่ลดลงของแผงวงจรหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่ การผลิตส่วนประกอบ Hard disk drive ชะลอลงตลอดทั้งปีโดยลดลงร้อยละ 21.7 จากผลกระทบด้านการแข่งขันสูง อย่างไรก็ตามการผลิตเลนส์กล้องถ่ายรูปขยายตัวร้อยละ 10.3 ตามเทคโนยีของกล้องถ่ายรูปที่พัฒนาขึ้น การผลิตอัญมณีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัวส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตลาดส่งออก รวมทั้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรทางการแพทย์ขยายตัวดี สำหรับเครื่องชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากปีก่อนตามการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนโดยเฉพาะหมู่บ้านจัดสรรที่ซบเซาและการก่อสร้างภาครัฐที่มีโครงการใหม่เกิดขึ้นน้อย การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 34.3 เป็น 2,139.4 พันเมตริกตัน จากพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงจากปีก่อนที่มีมหกรรมฟุตบอลโลก ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เป็น 2,831.7 ล้านบาท
3. ภาคบริการ ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามฤดูกาล แต่ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เป็นช่วงการจัดงานพืชสวนโลก อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจากการผนวกโปรแกรมท่องเที่ยวภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ภูเก็ตและสมุย ให้อยู่ในโปรแกรมเดียวกับของกลุ่มโรงแรมระดับบนในภาคเหนือ โดยเครื่องชี้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.3 ส่วนจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน อัตราการเข้าพักของโรงแรม และราคาห้องพักของโรงแรมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 7.1 ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ
ปี 2550 ภาคบริการขยายตัวจากปีก่อนเล็กน้อย โดยเฉพาะการขยายตัวในช่วงไตรมาสแรกของปีจากผลของการจัดงานพืชสวนโลก อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสองได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย อาทิ ปัญหาหมอกควัน นอกจากนี้ในช่วงปี 2550 ราคาน้ำมันได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้นักท่องเที่ยวในประเทศระมัดระวังการใช้จ่ายในการเดินทาง อย่างไรก็ตาม โรงแรมและภัตตาคารบางส่วนได้รับผลดีจากการจัดกิจกรรมประชุมสัมมนาของภาครัฐและเอกชน อีกทั้งนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูงขยายตัวเนื่องจากการส่งเสริมการขายของกลุ่มโรงแรมระดับบน โดยเครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.5 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ส่วนอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยใกล้เคียงกับปีก่อนโดยอยู่ที่ร้อยละ 53.7
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เร่งตัวขึ้นจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.6 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวทำให้มีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เร่งใช้กิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายในเดือนสุดท้ายของปี โดยเครื่องชี้กิจกรรมการอุปโภคบริโภคสำคัญได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ปรับตัวดีขึ้นเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ ตามการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 21.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 17.1 เดือนก่อน
ปี 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของประชาชน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอลงส่งผลให้ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 ปีก่อน สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 4.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.6 ปีก่อน จำแนกเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.4 ปีก่อน รถยนต์เชิงพาณิชย์ลดลงร้อยละ 7.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.2 ปีก่อน ส่วนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 21.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.9 ปีก่อน ทางด้านการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ปีก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนสอดคล้องกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่ลดลงร้อยละ 29.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เดือนก่อน โดยลดลงทุกประเภทยกเว้นประเภทอื่นๆ ซึ่งมีการขออนุญาตก่อสร้างของสถาบันการศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก อย่างไรก็ตามภาวะการลงทุนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากจำนวนรายการซื้อขายที่ดินและค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนที่ดินเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 และ 10.2 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย มูลค่าการลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 2,595.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว เป็นผลจากการลงทุนเพื่อผลิตเอทานอลและการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน
ปี 2550 การลงทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะการก่อสร้างลดลงจากปีก่อน ตามการลงทุนในหมวดก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนไปมากในช่วงก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งเลื่อนการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนทางการเมือง อย่างไรก็ดีในจังหวัดหลักของภาคการลงทุนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และพิษณุโลก โดยมีการขยายสาขาร้านค้าส่งค้าปลีกขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นหลายแห่ง ด้านเครื่องชี้ภาวะการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือลดลงร้อยละ 5.6 ต่ำกว่าเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.3 ปีก่อน ตามการลดลงของการก่อสร้างประเภทพาณิชยกรรม และประเภทบริการและขนส่งที่ลดลงเนื่องจากการก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ใกล้เสร็จสิ้นเกือบทั้งหมด ทางด้านจำนวนรายและค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินลดลงร้อยละ 5.2 และลดลงร้อยละ 4.1 ตามลำดับ การจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน อย่างไรก็ตามภาวะการลงทุนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.8 เร่งตัวขึ้นจากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร หมวดอุตสาหกรรมเบา หมวดบริการและสาธารณูปโภค และหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
6. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 10,623.9 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เดือนก่อน ตามรายจ่ายงบลงทุนที่ลดลงร้อยละ 5.6 หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะหมวดค่าครุภัณฑ์และที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ลดลงร้อยละ 42.3 และ 10.7 ขณะที่หมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทั้งนี้จังหวัดสำคัญที่มีการเบิกจ่ายสูงได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ แม่ฮ่องสอนและเชียงราย ส่วนรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ตามการเบิกจ่ายในงบบุคลากรและงบดำเนินงานที่เพิ่มร้อยละ 16.4 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ
ปี 2550 (มกราคม — ธันวาคม 2550) การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เป็น 155,833.8 ล้านบาท เร่งตัวจากที่ลดลงร้อยละ 4.6 ปีก่อน โดยมีการเร่งเบิกจ่ายในครึ่งแรกของปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายงบลงทุนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.4 จากที่ลดลงร้อยละ 19.8 ปีก่อน โดยรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นตามหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ร้อยละ 12.0 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ หมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากการเบิกจ่ายขององค์การปกครองท้องถิ่นเป็นสำคัญ ขณะที่งบประจำเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากงบบุคลากรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ตามหมวดค่าตอบแทนพนักงานส่วนราชการและเงินเดือน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นค่าวิทยฐานะของข้าราชการครู ขณะที่งบดำเนินงานลดลงร้อยละ 5.2
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 เหลือ 356.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกเพิ่มขึ้นแต่การนำเข้าลดลง โดยการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เป็น 233.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.3 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งออกผ่านด่านชายแดนที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 94.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อน ตามการส่งออกไปจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวเป็น 41.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ ยางแผ่นรมควัน น้ำมันปาล์ม ประกอบกับการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.3 ส่วนการส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 7.8 ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปตลาดอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 34.2 สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและมอเตอร์ ตลาดส่งออกที่ลดลง เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง เป็นต้น
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงร้อยละ 16.3 เหลือ 122.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 2.6 ตามการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 29.2 เป็นผลจากระยะเดียวกันปีก่อนมีการนำเข้าอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เป็นมูลค่าสูง ประกอบกับการนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบลดลงร้อยละ 9.7 ด้านการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 19.3 ตามการนำเข้าเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 จากการนำเข้าอัญมณีเพื่อเจียระไนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 แต่การนำเข้าวัตถุดิบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 27.9 สำหรับการนำเข้าผ่านด่านชายแดนลดลงร้อยละ 9.2 เหลือ 9.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงทั้งการนำเข้าจากพม่า ลาว และจีนตอนใต้ ร้อยละ 6.7 ร้อยละ 20.4 และร้อยละ 4.0 ตามลำดับ
ดุลการค้า ในเดือนธันวาคม 2550 เกินดุล 111.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 64.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 89.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ปี 2550 มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.5 เหลือ 4,082.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงทั้งการส่งออกและนำเข้า โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 4.3 เหลือ 2,535.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 โดยการส่งออกได้ปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ต้นปีแต่เริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงปลายปี เป็นผลจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 18.5 ตามการส่งออกสินค้าส่วนประกอบ Hard Disk Drive จอโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมอเตอร์ที่ลดลงเป็นสำคัญ ประกอบกับปีก่อนมีการส่งออกชุดสายไฟมูลค่าสูง ส่วนการส่งออกเลนส์กล้องถ่ายรูปขยายตัวร้อยละ 10.3 และอัญมณีเพิ่มขี้นกว่าเท่าตัว ด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 เป็น 677.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากการส่งออกไปพม่าและจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 และร้อยละ 51.1 ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ อาหารแปรรูปไม่บรรจุกระป๋อง และยางแผ่นรมควัน เป็นต้น ส่วนการส่งออกไปลาวลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.9
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.9 เหลือ 1,546.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ปีก่อน การนำเข้าลดลงเกือบตลอดทั้งปี ตามการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 6.5 โดยมีการนำเข้าส่วนประกอบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 21.1 และร้อยละ 59.0 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 29.5 จากการนำเข้าเครื่องใช้ในครัวเรือนลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ต่อเนื่องจากปีก่อน ตามการนำเข้าอัญมณีและพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ตลาดนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ การนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็น 107.4 ล้านดอลลาร์ สรอ.เป็นผลจากการนำเข้าจากลาวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 สินค้านำเข้าได้แก่ ถ่านหินลิกไนท์ ไม้แปรรูป และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 2.7 และการนำเข้าจากจีนตอนใต้เท่ากับปีก่อน
ดุลการค้า ปี 2550 เกินดุล 988.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุล 932.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 เท่ากับเดือนก่อน แม้ว่าราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นร้อยละ 23.6 รวมทั้งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซหุงต้มร้อยละ 5.3 แต่ราคาสินค้าหมวดอาหารเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เดือนก่อน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
ปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
ปีก่อน เนื่องจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2550 ราคาน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปโดยรวมชะลอลง โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ปีก่อน โดยราคาเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวเหนียว ผักและผลไม้ เป็ด ไก่ และไข่ ทางด้านสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ปีก่อน ตามการชะลอลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ปีก่อน และผลิตภัณฑ์ยาสูบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ปีก่อน
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวมจำนวน 6.65 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.57 ล้านคน คิดเป็นอัตราการมีงานทำเท่ากับร้อยละ 98.9 สูงกว่าร้อยละ 98.1 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของแรงงานนอกภาคเกษตรในสาขาโรงแรมและภัตตาคารร้อยละ 5.1 การก่อสร้างร้อยละ 3.5 และการผลิตร้อยละ 2.3 ส่วนแรงงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 2.7 ทางด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.64 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.0 ต่ำกว่าร้อยละ 1.3 เดือนก่อน และร้อยละ 1.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวน 0.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.1 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550
มียอดคงค้างทั้งสิ้น 343,981 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เดือนก่อน จากการถอนเงินฝากเพื่อลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า และการถอนเงินฝากของส่วนราชการ เงินฝากลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ เชียงใหม่ พิษณุโลก และเชียงราย ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 284,825 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เดือนก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นตามความต้องการของธุรกิจค้าพืชไร่ที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลกและเพชรบูรณ์ และการใช้สินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดพะเยา ตากและแพร่ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 82.8 สูงขึ้นจากร้อยละ 80.9 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณนุกุล มุกลีมาศ โทร. 0-5393-1142 e-mail: nukulm@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ปี 2550 ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน โดยด้านอุปทาน ผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยกว่าปีก่อนที่ประสบปัญหาอุทกภัย แต่รายได้เกษตรกรชะลอลงจากปัจจัยด้านราคาพืชผลที่เพิ่มไม่มากเท่าปีก่อน ภาคอุตสาหกรรมลดลงตามการผลิตเพื่อการส่งออก ส่วนการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการผลิตเครื่องดื่มและน้ำตาล ขณะที่ภาคบริการขยายตัวเล็กน้อย ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวตามการระมัดระวังการใช้จ่ายของประชาชน ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐเร่งตัวทั้งงบประจำและงบลงทุน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนตามการลงทุนหมวดก่อสร้าง ด้านการส่งออกและนำเข้าลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอลงจากปีก่อน สำหรับเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราชะลอลง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคาพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เดือนก่อน ตามราคาข้าวเปลือกเหนียวที่ลดลงร้อยละ 10.9 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมากและคุณภาพด้อยลง อย่างไรก็ตามราคาพืชสำคัญชนิดอื่นขยายตัวได้ดี เช่น ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ตามความต้องการเพื่อส่งออก ด้านราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ร้อยละ 16.9 และร้อยละ 82.0 ตามลำดับ จากความต้องการใช้เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากข้าวนาปี ถั่วเขียว และมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ร้อยละ 0.2 และร้อยละ 5.9 ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรเพิ่มการผลิตตามแรงจูงใจด้านราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดีและไม่ประสบปัญหาอุทกภัยเช่นปีก่อน ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 4.2 เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน
ปี 2550 รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ชะลอลงจากปีก่อน เป็นผลจากราคาพืชสำคัญที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากร้อยละ 15.0 ปีก่อน ตามราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง และลำไยที่ลดลงร้อยละ 2.7 ร้อยละ 5.1 และร้อยละ 6.5 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ราคาอ้อยโรงงานลดลงร้อยละ 3.4 ตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 จากความต้องการเพื่อส่งออกโดยเฉพาะตลาดจีน ข้าวโพดและถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของราคาในตลาดโลก ถั่วเขียวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น กระเทียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามราคาตลาดโลกและผลผลิตที่ลดลงมาก และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เนื่องจากความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ ทางด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.9 ปีก่อน เป็นผลจากผลผลิตข้าวนาปีและลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และร้อยละ 6.4 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยกว่าปีก่อนที่ประสบปัญหาอุทกภัย ข้าวนาปรังและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และร้อยละ 21.4 ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่เพาะปลูก อ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นปีก่อนอยู่ในเกณฑ์สูงจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่ข้าวโพดและถั่วเหลืองลดลงร้อยละ 4.2 และร้อยละ 1.0 เนื่องจากการปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน กระเทียมลดลงร้อยละ 8.7 เป็นผลจากมาตรการลดพื้นที่เพาะปลูกของภาครัฐ
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เป็น 159.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการผลิตเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 จากความต้องการที่ขยายตัวในประเทศจีนและมาเลเซีย การผลิตอัญมณีเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวตามความต้องการในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่การผลิตส่วนประกอบ Hard disk drive และเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าลดลงร้อยละ 17.0 และร้อยละ 6.9 โดยเฉพาะแผงวงจรหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผลกระทบด้านการแข่งขันที่อยู่ในระดับสูง ด้านการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เป็น 323.7 พันเมตริกตัน ตามอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ด้านอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงตามการลงทุนก่อสร้างที่ซบเซา การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 3.6 เหลือ 238.1 ล้านบาท
ปี 2550 การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง โดยการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.0 เหลือ 1,893.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ปีก่อน การผลิตลดลงตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 แต่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี การผลิตเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าลดลงร้อยละ 25.4 ตามการผลิตที่ลดลงของแผงวงจรหน้าจอโทรศัพท์เคลื่อนที่ การผลิตส่วนประกอบ Hard disk drive ชะลอลงตลอดทั้งปีโดยลดลงร้อยละ 21.7 จากผลกระทบด้านการแข่งขันสูง อย่างไรก็ตามการผลิตเลนส์กล้องถ่ายรูปขยายตัวร้อยละ 10.3 ตามเทคโนยีของกล้องถ่ายรูปที่พัฒนาขึ้น การผลิตอัญมณีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัวส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตลาดส่งออก รวมทั้งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทแผงวงจรทางการแพทย์ขยายตัวดี สำหรับเครื่องชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากปีก่อนตามการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนโดยเฉพาะหมู่บ้านจัดสรรที่ซบเซาและการก่อสร้างภาครัฐที่มีโครงการใหม่เกิดขึ้นน้อย การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 34.3 เป็น 2,139.4 พันเมตริกตัน จากพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงจากปีก่อนที่มีมหกรรมฟุตบอลโลก ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เป็น 2,831.7 ล้านบาท
3. ภาคบริการ ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามฤดูกาล แต่ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เป็นช่วงการจัดงานพืชสวนโลก อีกทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจากการผนวกโปรแกรมท่องเที่ยวภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ภูเก็ตและสมุย ให้อยู่ในโปรแกรมเดียวกับของกลุ่มโรงแรมระดับบนในภาคเหนือ โดยเครื่องชี้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.3 ส่วนจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน อัตราการเข้าพักของโรงแรม และราคาห้องพักของโรงแรมลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 7.1 ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ
ปี 2550 ภาคบริการขยายตัวจากปีก่อนเล็กน้อย โดยเฉพาะการขยายตัวในช่วงไตรมาสแรกของปีจากผลของการจัดงานพืชสวนโลก อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสองได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย อาทิ ปัญหาหมอกควัน นอกจากนี้ในช่วงปี 2550 ราคาน้ำมันได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่งผลให้นักท่องเที่ยวในประเทศระมัดระวังการใช้จ่ายในการเดินทาง อย่างไรก็ตาม โรงแรมและภัตตาคารบางส่วนได้รับผลดีจากการจัดกิจกรรมประชุมสัมมนาของภาครัฐและเอกชน อีกทั้งนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูงขยายตัวเนื่องจากการส่งเสริมการขายของกลุ่มโรงแรมระดับบน โดยเครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.5 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ส่วนอัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยใกล้เคียงกับปีก่อนโดยอยู่ที่ร้อยละ 53.7
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เร่งตัวขึ้นจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.6 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวทำให้มีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เร่งใช้กิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายในเดือนสุดท้ายของปี โดยเครื่องชี้กิจกรรมการอุปโภคบริโภคสำคัญได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ปรับตัวดีขึ้นเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ ตามการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยลดลงร้อยละ 21.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 17.1 เดือนก่อน
ปี 2550 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงตามการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังของประชาชน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอลงส่งผลให้ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 ปีก่อน สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 4.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.6 ปีก่อน จำแนกเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 5.4 ปีก่อน รถยนต์เชิงพาณิชย์ลดลงร้อยละ 7.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.2 ปีก่อน ส่วนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 21.1 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.9 ปีก่อน ทางด้านการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ปีก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนสอดคล้องกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่ลดลงร้อยละ 29.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เดือนก่อน โดยลดลงทุกประเภทยกเว้นประเภทอื่นๆ ซึ่งมีการขออนุญาตก่อสร้างของสถาบันการศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก อย่างไรก็ตามภาวะการลงทุนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากจำนวนรายการซื้อขายที่ดินและค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนที่ดินเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 และ 10.2 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย มูลค่าการลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 2,595.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว เป็นผลจากการลงทุนเพื่อผลิตเอทานอลและการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับยานยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน
ปี 2550 การลงทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะการก่อสร้างลดลงจากปีก่อน ตามการลงทุนในหมวดก่อสร้างโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนไปมากในช่วงก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งเลื่อนการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนทางการเมือง อย่างไรก็ดีในจังหวัดหลักของภาคการลงทุนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และพิษณุโลก โดยมีการขยายสาขาร้านค้าส่งค้าปลีกขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นหลายแห่ง ด้านเครื่องชี้ภาวะการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลภาคเหนือลดลงร้อยละ 5.6 ต่ำกว่าเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.3 ปีก่อน ตามการลดลงของการก่อสร้างประเภทพาณิชยกรรม และประเภทบริการและขนส่งที่ลดลงเนื่องจากการก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ใกล้เสร็จสิ้นเกือบทั้งหมด ทางด้านจำนวนรายและค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินลดลงร้อยละ 5.2 และลดลงร้อยละ 4.1 ตามลำดับ การจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน อย่างไรก็ตามภาวะการลงทุนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.8 เร่งตัวขึ้นจากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลการเกษตร หมวดอุตสาหกรรมเบา หมวดบริการและสาธารณูปโภค และหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
6. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 10,623.9 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เดือนก่อน ตามรายจ่ายงบลงทุนที่ลดลงร้อยละ 5.6 หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเฉพาะหมวดค่าครุภัณฑ์และที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ลดลงร้อยละ 42.3 และ 10.7 ขณะที่หมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ทั้งนี้จังหวัดสำคัญที่มีการเบิกจ่ายสูงได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ แม่ฮ่องสอนและเชียงราย ส่วนรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ตามการเบิกจ่ายในงบบุคลากรและงบดำเนินงานที่เพิ่มร้อยละ 16.4 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ
ปี 2550 (มกราคม — ธันวาคม 2550) การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เป็น 155,833.8 ล้านบาท เร่งตัวจากที่ลดลงร้อยละ 4.6 ปีก่อน โดยมีการเร่งเบิกจ่ายในครึ่งแรกของปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายงบลงทุนที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.4 จากที่ลดลงร้อยละ 19.8 ปีก่อน โดยรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นตามหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ร้อยละ 12.0 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ หมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากการเบิกจ่ายขององค์การปกครองท้องถิ่นเป็นสำคัญ ขณะที่งบประจำเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากงบบุคลากรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ตามหมวดค่าตอบแทนพนักงานส่วนราชการและเงินเดือน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นค่าวิทยฐานะของข้าราชการครู ขณะที่งบดำเนินงานลดลงร้อยละ 5.2
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 เหลือ 356.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกเพิ่มขึ้นแต่การนำเข้าลดลง โดยการส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เป็น 233.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.3 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งออกผ่านด่านชายแดนที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 94.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อน ตามการส่งออกไปจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวเป็น 41.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ ยางแผ่นรมควัน น้ำมันปาล์ม ประกอบกับการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.3 ส่วนการส่งออกไปลาวลดลงร้อยละ 7.8 ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปตลาดอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 34.2 สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและมอเตอร์ ตลาดส่งออกที่ลดลง เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง เป็นต้น
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงร้อยละ 16.3 เหลือ 122.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 2.6 ตามการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 29.2 เป็นผลจากระยะเดียวกันปีก่อนมีการนำเข้าอุปกรณ์วิทยาศาสตร์เป็นมูลค่าสูง ประกอบกับการนำเข้าเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบลดลงร้อยละ 9.7 ด้านการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 19.3 ตามการนำเข้าเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 จากการนำเข้าอัญมณีเพื่อเจียระไนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 แต่การนำเข้าวัตถุดิบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 27.9 สำหรับการนำเข้าผ่านด่านชายแดนลดลงร้อยละ 9.2 เหลือ 9.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงทั้งการนำเข้าจากพม่า ลาว และจีนตอนใต้ ร้อยละ 6.7 ร้อยละ 20.4 และร้อยละ 4.0 ตามลำดับ
ดุลการค้า ในเดือนธันวาคม 2550 เกินดุล 111.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 64.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 89.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ปี 2550 มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.5 เหลือ 4,082.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงทั้งการส่งออกและนำเข้า โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 4.3 เหลือ 2,535.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 โดยการส่งออกได้ปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ต้นปีแต่เริ่มกระเตื้องขึ้นในช่วงปลายปี เป็นผลจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 18.5 ตามการส่งออกสินค้าส่วนประกอบ Hard Disk Drive จอโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมอเตอร์ที่ลดลงเป็นสำคัญ ประกอบกับปีก่อนมีการส่งออกชุดสายไฟมูลค่าสูง ส่วนการส่งออกเลนส์กล้องถ่ายรูปขยายตัวร้อยละ 10.3 และอัญมณีเพิ่มขี้นกว่าเท่าตัว ด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 เป็น 677.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากการส่งออกไปพม่าและจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 และร้อยละ 51.1 ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ อาหารแปรรูปไม่บรรจุกระป๋อง และยางแผ่นรมควัน เป็นต้น ส่วนการส่งออกไปลาวลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.9
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.9 เหลือ 1,546.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ปีก่อน การนำเข้าลดลงเกือบตลอดทั้งปี ตามการนำเข้าสินค้าทุนที่ลดลงร้อยละ 6.5 โดยมีการนำเข้าส่วนประกอบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 21.1 และร้อยละ 59.0 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ 29.5 จากการนำเข้าเครื่องใช้ในครัวเรือนลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ต่อเนื่องจากปีก่อน ตามการนำเข้าอัญมณีและพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ตลาดนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ การนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เป็น 107.4 ล้านดอลลาร์ สรอ.เป็นผลจากการนำเข้าจากลาวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.0 สินค้านำเข้าได้แก่ ถ่านหินลิกไนท์ ไม้แปรรูป และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 2.7 และการนำเข้าจากจีนตอนใต้เท่ากับปีก่อน
ดุลการค้า ปี 2550 เกินดุล 988.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุล 932.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 เท่ากับเดือนก่อน แม้ว่าราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นร้อยละ 23.6 รวมทั้งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซหุงต้มร้อยละ 5.3 แต่ราคาสินค้าหมวดอาหารเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เดือนก่อน สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
ปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7
ปีก่อน เนื่องจากในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2550 ราคาน้ำมันอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปโดยรวมชะลอลง โดยราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ปีก่อน โดยราคาเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวเหนียว ผักและผลไม้ เป็ด ไก่ และไข่ ทางด้านสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ปีก่อน ตามการชะลอลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ปีก่อน และผลิตภัณฑ์ยาสูบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ปีก่อน
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวมจำนวน 6.65 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.57 ล้านคน คิดเป็นอัตราการมีงานทำเท่ากับร้อยละ 98.9 สูงกว่าร้อยละ 98.1 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของแรงงานนอกภาคเกษตรในสาขาโรงแรมและภัตตาคารร้อยละ 5.1 การก่อสร้างร้อยละ 3.5 และการผลิตร้อยละ 2.3 ส่วนแรงงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 2.7 ทางด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.64 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.0 ต่ำกว่าร้อยละ 1.3 เดือนก่อน และร้อยละ 1.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวน 0.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.1 และร้อยละ 2.1 ตามลำดับ
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2550
มียอดคงค้างทั้งสิ้น 343,981 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เดือนก่อน จากการถอนเงินฝากเพื่อลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า และการถอนเงินฝากของส่วนราชการ เงินฝากลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ เชียงใหม่ พิษณุโลก และเชียงราย ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 284,825 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เดือนก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นตามความต้องการของธุรกิจค้าพืชไร่ที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลกและเพชรบูรณ์ และการใช้สินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดพะเยา ตากและแพร่ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 82.8 สูงขึ้นจากร้อยละ 80.9 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณนุกุล มุกลีมาศ โทร. 0-5393-1142 e-mail: nukulm@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--