ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ผ่อนคลายระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังธนาคารพาณิชย์และ ธนาคารเฉพาะกิจทุกแห่ง เพื่อให้ผ่อนคลายระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพิ่มเติม โดย
ขยายเวลาถือครองเงินดอลลาร์ สรอ.จากเดิมไม่เกิน 120 วันเป็น 360 วัน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับแจ้งจากนิติบุคคลนั้นว่า มีเงินโอนเข้า
หรือวันที่นำเข้าเงินตราต่างประเทศแล้วแต่กรณี เพื่อให้ธุรกิจไทยมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น เป็นการ
เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ 17, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
2. ธปท.สำรองธนบัตร 3 แสน ล.บาทสำหรับการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้สำรองธนบัตรรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลตรุษจีนจำนวน 301,094 ล.บาท ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ม.ค.
เพื่อรองรับความต้องการใช้ธนบัตรของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยจากการสำรวจความต้องการของประชาชนพบว่า แม้เศรษฐกิจจะ
ชะลอตัว แต่คนไทยเชื้อสายจีนยังมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวตามปกติ อีกทั้ง ตรุษจีนปีนี้ราคาสินค้าแพงขึ้น ทำให้จำนวนเงิน
สะพัดมากขึ้นตาม โดยคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายจริงรวม 134,500 ล.บาท ด้านผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัย
หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,202 ราย เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วง
เทศกาลตรุษจีนปี 51 พบว่าจะมีการใช้จ่ายทั่วประเทศ 33,600 ล.บาท เพิ่มขึ้น 5.74% จากปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าปีนี้สูงขึ้น ทำให้
ประชาชนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยคนส่วนใหญ่ 62% เห็นว่าราคาสินค้าแพงขึ้นทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 40% (โลกวันนี้, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
3. คาดว่าปี 50 บจ.มีผลกำไรสุทธิลดลง 13% นายวิเชษฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า ในปี 50
ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแนวโน้มว่าจะทำกำไรสุทธิรวมกันลดลงประมาณ 13% เมื่อเทียบกับปี 49 ซึ่งมี
กำไรสุทธิอยู่ที่ 4.69 แสน ล.บาท เนื่องจากผลกระทบจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ทั้งราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่
อยู่ในระดับสูง และเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งผลประกอบการของ บจ.ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 50 มีกำไรสุทธิลดลง 15% ส่วน
แนวโน้มการทำกำไรสุทธิของ บจ.ในปี 51 คาดว่าจะเป็นไปตามที่สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ประเมินไว้ว่า จะขยายตัว 20% เนื่องจาก
ได้รับผลดีความชัดเจนด้านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศ อีกทั้งภาคเอกชนสามารถปรับตัวกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ทั้งค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันได้แล้ว โดยประเมินว่า บจ.ที่กำไรขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (กรุงเทพธุรกิจ,
ไทยโพสต์, มติชน)
4. คาดว่าราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลอาจปรับลดลง 40 สตางค์/ลิตรใน 1-2 วันนี้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ในช่วง 1-2 วันนี้ ผู้ค้าน้ำมันอาจจะพิจารณาปรับลดราคาขายปลีกน้ำมัน
ทั้งเบนซินและดีเซลลงอีก 40 สตางค์/ลิตร หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในระดับทรงตัวหรือปรับตัวลดลง โดยล่าสุดค่าการ
ตลาดน้ำมันดีเซลและเบนซินเพิ่งจะปรับตัวดีขึ้น และยังไม่มีแผนที่จะเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมอีก เนื่องจากระดับนี้เป็นอัตราที่
เหมาะสม มีเงินไหลเข้ากองทุน 1 พัน ล.บาท/เดือน คาดว่าจะทำให้เงินกองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ 1-1.3 หมื่น ล.บาทในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งจะ
นำมาใช้ในยามฉุกเฉินและอุดหนุนพลังงานทดแทน (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคบริการของ สรอ. เดือน ม.ค. ลดลงอย่างรุนแรง ชี้นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย รายงานจากกรุงนิวยอร์ค
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 5 ก.พ.51 ดัชนีภาคบริการของ Institute for Supply Management เดือน ม.ค.51 ลดลงไปอยู่ที่ระดับ
41.9 จาก 54.4 ในเดือน ธ.ค.50 นับเป็นการลดลงรายเดือนมากที่สุดตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 44 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์
คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53.0 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่าเป็นสัญญาณการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่ดัชนีการจ้างงานลดลงไปอยู่ที่
ระดับ 43.9 จาก 51.8 แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานมีการชะลอตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี ส่วนการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
ที่เริ่มมาเป็นเวลาประมาณ 2 ปี ได้เริ่มส่งผลกระทบสู่ภาคการธนาคารแล้วจากการให้สินเชื่อที่ไม่รัดกุมและผู้กู้เริ่มมีการขาดส่งการชำระเงินกู้
(รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกใน Euro zone ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงผิดจากที่คาดไว้เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงรายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 5 ก.พ.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดค้าปลีกใน Euro zone ลดลงในเดือน ธ.ค.50
ร้อยละ 0.1 ต่อเดือนและลดลงร้อยละ 2.0 ต่อปี แม้ว่าได้รวมยอดค้าปลีกในช่วงเทศกาลคริสต์มาสแล้วก็ตาม ผิดจากที่ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือนและลดลงเพียงร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยนับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เป็นสัญญาณ
ชี้ว่าความต้องการของภาคครัวเรือนชะลอตัวลงจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงฐานะการเงินส่วนบุคคล
ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความยุ่งยากใจให้ ธ.กลางยุโรป
หรือ ECB ที่ด้านหนึ่งเผชิญกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งต้องจัดการกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่
ปี 40 ที่ร้อยละ 3.2 เมื่อเดือน ม.ค.51 ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์แนะว่า ECB ควรรีบลดอัตราดอกเบี้ยก่อนที่เศรษฐกิจชะลอ
ตัวลงมากกว่านี้ (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังเติบโตได้ดี แต่อัตราเงินเฟ้อกำลังเร่งตัวเพิ่มขึ้น รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 5 ก.พ.51 Lim Young-rok รมช.คลัง กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบ
ต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ แต่รัฐบาลยังไม่ได้ตรวจสอบว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจภายในประเทศหรือไม่ ส่วน
ผลกระทบโดยตรงจากปัญหาซับไพรม์ของ สรอ. ก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ แต่ในขณะนี้
ยังไม่มีผลกระทบรุนแรงแต่อย่างใด และคาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปีนี้จะเติบโตใกล้เคียงกับปี 50 ที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.9
ลดลงเล็กน้อยจากปี 49 ที่เติบโตร้อยละ 5.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อรายปีในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 เป็นเวลาหลายเดือน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียจะขยายตัวในเดือน ธ.ค.50 ร้อยละ 2.3 ต่อปีต่ำสุดในรอบ 4 เดือน รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 5 ก.พ.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งรวมผลผลิตโรงงาน
การผลิตกระแสไฟฟ้าและผลผลิตจากการทำเหมืองของมาเลเซียจะขยายเพียงร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 ที่ผ่านมา ต่ำสุดนับตั้งแต่
ขยายตัวร้อยละ 1.1 ในเดือน ส.ค.50 ทั้งนี้ คาดว่าความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของมาเลเซียไปยัง สรอ.
ซึ่งเป็นตลาดหลักจะชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจของ สรอ. แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขึ้นเงินเดือน
ข้าราชการถึงร้อยละ 35 เมื่อเดือน ก.ค.50 ที่ผ่านมาจะช่วยสนับสนุนให้ผลผลิตโรงงานยังคงขยายตัว แต่นักวิเคราะห์บางคนเกรงว่าอัตรา
เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 2.4 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 สูงสุดในรอบ 10 เดือนจากราคาอาหารและค่าขนส่งอาจทำให้ผู้บริโภคชะลอการ
ใช้จ่ายลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.พ. 51 5 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.910 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6964/33.0410 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27781 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 807.68/21.50 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,800/13,900 14,050/14,150 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.46 85.02 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ผ่อนคลายระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
ธปท.ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังธนาคารพาณิชย์และ ธนาคารเฉพาะกิจทุกแห่ง เพื่อให้ผ่อนคลายระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพิ่มเติม โดย
ขยายเวลาถือครองเงินดอลลาร์ สรอ.จากเดิมไม่เกิน 120 วันเป็น 360 วัน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับแจ้งจากนิติบุคคลนั้นว่า มีเงินโอนเข้า
หรือวันที่นำเข้าเงินตราต่างประเทศแล้วแต่กรณี เพื่อให้ธุรกิจไทยมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น เป็นการ
เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ 17, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
2. ธปท.สำรองธนบัตร 3 แสน ล.บาทสำหรับการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้สำรองธนบัตรรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลตรุษจีนจำนวน 301,094 ล.บาท ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ม.ค.
เพื่อรองรับความต้องการใช้ธนบัตรของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยจากการสำรวจความต้องการของประชาชนพบว่า แม้เศรษฐกิจจะ
ชะลอตัว แต่คนไทยเชื้อสายจีนยังมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวตามปกติ อีกทั้ง ตรุษจีนปีนี้ราคาสินค้าแพงขึ้น ทำให้จำนวนเงิน
สะพัดมากขึ้นตาม โดยคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายจริงรวม 134,500 ล.บาท ด้านผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัย
หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,202 ราย เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วง
เทศกาลตรุษจีนปี 51 พบว่าจะมีการใช้จ่ายทั่วประเทศ 33,600 ล.บาท เพิ่มขึ้น 5.74% จากปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าปีนี้สูงขึ้น ทำให้
ประชาชนใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยคนส่วนใหญ่ 62% เห็นว่าราคาสินค้าแพงขึ้นทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 40% (โลกวันนี้, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
3. คาดว่าปี 50 บจ.มีผลกำไรสุทธิลดลง 13% นายวิเชษฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า ในปี 50
ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแนวโน้มว่าจะทำกำไรสุทธิรวมกันลดลงประมาณ 13% เมื่อเทียบกับปี 49 ซึ่งมี
กำไรสุทธิอยู่ที่ 4.69 แสน ล.บาท เนื่องจากผลกระทบจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ทั้งราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่
อยู่ในระดับสูง และเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งผลประกอบการของ บจ.ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 50 มีกำไรสุทธิลดลง 15% ส่วน
แนวโน้มการทำกำไรสุทธิของ บจ.ในปี 51 คาดว่าจะเป็นไปตามที่สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ประเมินไว้ว่า จะขยายตัว 20% เนื่องจาก
ได้รับผลดีความชัดเจนด้านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศ อีกทั้งภาคเอกชนสามารถปรับตัวกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ทั้งค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันได้แล้ว โดยประเมินว่า บจ.ที่กำไรขยายตัวมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (กรุงเทพธุรกิจ,
ไทยโพสต์, มติชน)
4. คาดว่าราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลอาจปรับลดลง 40 สตางค์/ลิตรใน 1-2 วันนี้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ในช่วง 1-2 วันนี้ ผู้ค้าน้ำมันอาจจะพิจารณาปรับลดราคาขายปลีกน้ำมัน
ทั้งเบนซินและดีเซลลงอีก 40 สตางค์/ลิตร หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในระดับทรงตัวหรือปรับตัวลดลง โดยล่าสุดค่าการ
ตลาดน้ำมันดีเซลและเบนซินเพิ่งจะปรับตัวดีขึ้น และยังไม่มีแผนที่จะเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมอีก เนื่องจากระดับนี้เป็นอัตราที่
เหมาะสม มีเงินไหลเข้ากองทุน 1 พัน ล.บาท/เดือน คาดว่าจะทำให้เงินกองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ 1-1.3 หมื่น ล.บาทในเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งจะ
นำมาใช้ในยามฉุกเฉินและอุดหนุนพลังงานทดแทน (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคบริการของ สรอ. เดือน ม.ค. ลดลงอย่างรุนแรง ชี้นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย รายงานจากกรุงนิวยอร์ค
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 5 ก.พ.51 ดัชนีภาคบริการของ Institute for Supply Management เดือน ม.ค.51 ลดลงไปอยู่ที่ระดับ
41.9 จาก 54.4 ในเดือน ธ.ค.50 นับเป็นการลดลงรายเดือนมากที่สุดตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 44 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์
คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53.0 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่าเป็นสัญญาณการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่ดัชนีการจ้างงานลดลงไปอยู่ที่
ระดับ 43.9 จาก 51.8 แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานมีการชะลอตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี ส่วนการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์
ที่เริ่มมาเป็นเวลาประมาณ 2 ปี ได้เริ่มส่งผลกระทบสู่ภาคการธนาคารแล้วจากการให้สินเชื่อที่ไม่รัดกุมและผู้กู้เริ่มมีการขาดส่งการชำระเงินกู้
(รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกใน Euro zone ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงผิดจากที่คาดไว้เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงรายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 5 ก.พ.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดค้าปลีกใน Euro zone ลดลงในเดือน ธ.ค.50
ร้อยละ 0.1 ต่อเดือนและลดลงร้อยละ 2.0 ต่อปี แม้ว่าได้รวมยอดค้าปลีกในช่วงเทศกาลคริสต์มาสแล้วก็ตาม ผิดจากที่ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือนและลดลงเพียงร้อยละ 0.6 ต่อปี โดยนับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เป็นสัญญาณ
ชี้ว่าความต้องการของภาคครัวเรือนชะลอตัวลงจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงฐานะการเงินส่วนบุคคล
ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความยุ่งยากใจให้ ธ.กลางยุโรป
หรือ ECB ที่ด้านหนึ่งเผชิญกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งต้องจัดการกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่
ปี 40 ที่ร้อยละ 3.2 เมื่อเดือน ม.ค.51 ที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์แนะว่า ECB ควรรีบลดอัตราดอกเบี้ยก่อนที่เศรษฐกิจชะลอ
ตัวลงมากกว่านี้ (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังเติบโตได้ดี แต่อัตราเงินเฟ้อกำลังเร่งตัวเพิ่มขึ้น รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 5 ก.พ.51 Lim Young-rok รมช.คลัง กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นกำลังส่งผลกระทบ
ต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ แต่รัฐบาลยังไม่ได้ตรวจสอบว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจภายในประเทศหรือไม่ ส่วน
ผลกระทบโดยตรงจากปัญหาซับไพรม์ของ สรอ. ก็มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ แต่ในขณะนี้
ยังไม่มีผลกระทบรุนแรงแต่อย่างใด และคาดว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปีนี้จะเติบโตใกล้เคียงกับปี 50 ที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.9
ลดลงเล็กน้อยจากปี 49 ที่เติบโตร้อยละ 5.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อรายปีในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 เป็นเวลาหลายเดือน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียจะขยายตัวในเดือน ธ.ค.50 ร้อยละ 2.3 ต่อปีต่ำสุดในรอบ 4 เดือน รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 5 ก.พ.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งรวมผลผลิตโรงงาน
การผลิตกระแสไฟฟ้าและผลผลิตจากการทำเหมืองของมาเลเซียจะขยายเพียงร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 ที่ผ่านมา ต่ำสุดนับตั้งแต่
ขยายตัวร้อยละ 1.1 ในเดือน ส.ค.50 ทั้งนี้ คาดว่าความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของมาเลเซียไปยัง สรอ.
ซึ่งเป็นตลาดหลักจะชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจของ สรอ. แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขึ้นเงินเดือน
ข้าราชการถึงร้อยละ 35 เมื่อเดือน ก.ค.50 ที่ผ่านมาจะช่วยสนับสนุนให้ผลผลิตโรงงานยังคงขยายตัว แต่นักวิเคราะห์บางคนเกรงว่าอัตรา
เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 2.4 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 สูงสุดในรอบ 10 เดือนจากราคาอาหารและค่าขนส่งอาจทำให้ผู้บริโภคชะลอการ
ใช้จ่ายลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.พ. 51 5 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.910 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6964/33.0410 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27781 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 807.68/21.50 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,800/13,900 14,050/14,150 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 85.46 85.02 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--