ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. พร้อมชี้แจงความจำเป็นมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.
กล่าวว่า หลังจากที่ ธปท. ได้ออกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ทำให้เงินบาทแข็งค่าน้อยลงเหลือร้อยละ 7 เทียบกับก่อนมีมาตรการคือทั้งปี 49
เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 17 และเป็นการแข็งค่าขึ้นมากกว่าทุกสกุลในภูมิภาค นอกจากนี้ นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า
ร้อยละ 2 ถือว่า ธปท. สามารถดูแลค่าเงินบาทให้สอดคล้องไปกับค่าเงินในเอเชีย ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้มีการปรับตัวรองรับ
การเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้ดีขึ้นทั้งจากการกระจายตลาดและการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ด้าน นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ
ผอส.ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. กล่าวว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ ก.คลังจะต้องชั่งน้ำหนักดูว่าเมื่อยกเลิกมาตรการกันสำรอง
แล้วจะคุ้มหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีความผันผวนมาก แต่หลังจากใช้มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 สำหรับเงินทุนนำเข้าระยะสั้น
สามารถช่วยสกัดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจนส่งผลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผิดปกติได้ ขณะเดียวกันช่วย
ดูแลให้เงินที่ไหลเข้ามาเพื่อการลงทุนจริงสร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจไทยด้วย ดังนั้น มาตรการกันสำรองนี้ช่วยให้เงินทุนไหลเข้าออก
ไทยมีความสมดุลมากขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
2. เกณฑ์การกำกับแบบรวมกุล่มอาจกระทบสถาบันการเงินบ้าง นายพงศ์อดุล กฤษณะราช ผอส.ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ
ธปท. กล่าวว่า การนำเกณฑ์กำกับแบบรวมกลุ่มมาใช้กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินซึ่งจะกำกับลงไปถึงบริษัทลูก และห้าม ธ.พาณิชย์ปล่อยกู้
ผู้บริหาร กรรมการ ผู้เกี่ยวข้องงานบริหาร รวมทั้งปล่อยกู้รายใหญ่ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนนั้นอาจจะกระทบต่อการขยายสินเชื่อของ
ธ.พาณิชย์ ซึ่งการกำกับแบบนี้เพื่อให้ ธ.พาณิชย์ที่มีบริษัทลูกควรมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะคุ้มความเสี่ยงไม่ว่าจะด้านเครดิต ด้านปฏิบัติการ
และด้านการตลาดของบริษัทลูกด้วย โดยเฉพาะบริษัทลูกที่เป็นกลุ่มการเงินซึ่งธนาคารถือหุ้นเกินร้อยละ 50 หรือเกินร้อยละ 75 เพราะถึง
ที่สุดบริษัทแม่ก็ต้องแบกรับบริษัทลูกได้ ดังนั้น ธ.พาณิชย์ที่มีเงินกองทุนใกล้เคียงตามเกณฑ์ร้อยละ 8.5 แต่ต้องมาแบกรับบริษัทลูกด้วยก็คงลำบากขึ้น
ผลที่ตามมาก็คือการขยายสินเชื่อ ขยายธุรกิจ การรุกไปรายใหม่ก็จะลำบากขึ้น แต่ธนาคารที่แข็งแรงมีทุนมากคงไม่มีปัญหา ปัจจุบันมี
2 — 3 ธนาคารที่น่าห่วง เช่น ธ.ทหารไทย ธ.นครหลวงไทย เพราะแม้จะมีเงินทุนตามเกณฑ์ แต่ถ้าต้องอุ้มบริษัทลูกด้วยคงจะลำบาก ซึ่งถ้า
ธนาคารไหนไม่ไหวจะปรับอยู่ต่อไปหรือต้องรวมกับพันธมิตรใหม่ก็คงเห็นกันภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การอยู่รอดของธนาคารคงไม่ได้อยู่ที่
เงินกองทุนอย่างเดียว แต่อยู่ที่การปรับตัวทางธุรกิจด้วย เพราะต่อไปต้องปรับตัวในการแข่งขันมาก โดยกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินจะมี
ผลในทางปฏิบัติในวันที่ 3 ส.ค.นี้ ทำให้ ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย และสถาบันการเงินขนาดเล็กต้องปรับตัวมากพอสมควร (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังกำหนดนำเงินตราต่างประเทศเข้าหรือออกเกิน 20,000 ดอลลาร์ สรอ. ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ก.คลังได้ออกประกาศ ก.คลัง เรื่อง กำหนดวงเงินตราต่างประเทศที่ผู้นำเงินตราต่างประเทศออกไปนอก
หรือเข้ามาในประเทศต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศ กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสำแดงเงินตราต่างประเทศสำหรับบุคคลที่นำ
เงินตราต่างประเทศที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์อันมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 20,000 ดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่า เดินทางออกไปนอก
หรือเข้ามาในประเทศต้องแจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะผ่านด่านศุลกากรทุกแห่ง โดยจะมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.51 เป็นต้นไป ซึ่งกรมศุลกากรได้ให้ สนง. และด่านศุลกากรที่เกี่ยวข้องทุกแห่งติดป้ายประชาสัมพันธ์ทั้งภาษาไทย
และอังกฤษ เพื่อแจ้งให้ผู้เดินทางทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทราบแล้ว (โลกวันนี้)
4. เงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.54 ตามภูมิภาค สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สรุปสถานการณ์ค่าเงินบาทช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน
มาพบว่า ดัชนีค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 11 สกุลเงิน ณ วันที่ 8 ก.พ.51 คือ ดอลลาร์ สรอ. ยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง
ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ แข็งค่าขึ้นมากจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 6.54 และแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 49 ที่ร้อยละ 7.05 แม้ว่า ธปท. จะเข้าแทรกแซงค่าเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้น
เมื่อเทียบกับเงินรูเปียห์อินโดนีเซียร้อยละ 16.3 ดอลลาร์ฮ่องกงร้อยละ 15.7 ดอลลาร์ สรอ.ร้อยละ 15.2 ดอลลาร์ไต้หวันร้อยละ 13.4
วอนเกาหลีร้อยละ 13.4 ปอนด์สเตอร์ลิงร้อยละ 9.3 เยนร้อยละ 6.2 หยวนร้อยละ 3.9 ดอลลาร์สิงคโปร์ร้อยละ 3 และริงกิตมาเลเซีย
ร้อยละ 1.5 แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโรร้อยละ 0.3 และเปโซฟิลิปปินส์ร้อยละ 8.7 (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G7 ในเดือน ธ.ค. ลดลง รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 51 องค์การเพื่อ
ความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่าแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7)
จะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน ธ.ค. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Composite Leading Indicator - CLI) ของประเทศในกลุ่ม G7
ลดลงอยู่ที่ระดับ 99.0 จากระดับ 99.4 ในเดือน พ.ย. ส่วนใหญ่ที่ลดลงได้แก่ สรอ. ที่ลดลงถึง 0.7 จุด ส่วนญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 97
จากระดับ 96.2 ในเดือน พ.ย. แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าอยู่ถึง 4.5 จุด เนื่องจากที่อยู่อาศัยซึ่ง
เป็นส่วนประกอบหนึ่งของดัชนีลดลงอย่างมากในไตรมาสที่ 3 ปีที่แล้ว และจากการเปลี่ยงแปลงกฎหมายมาตรฐานการก่อสร้างของญี่ปุ่น ทำให้
ไตรมาสที่ 4 การก่อสร้างบ้านใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการปรับปรุงกระบวนการทางกฎหมายการก่อสร้าง (รอยเตอร์)
2. สินค้าคงคลังในระดับค้าส่งของ สรอ. ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นอย่างมาก รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 51
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. สินค้าคงคลังในระดับค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อยู่ที่ 411.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือ
เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.8 มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เนื่องจาก
ยอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 0.7 อยู่ที่ 376.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเดือน พ.ย. ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์
กล่าวว่าการที่สินค้าคงคลังในระดับค้าส่งเพิ่มขึ้นอย่างมากบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวแข็งแกร่งมากกว่าที่ทางการได้คาดการณ์
ไว้ก่อนหน้านั้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หรืออาจเป็นเพราะการชะลอตัวของภาคธุรกิจทำให้มีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นอย่างมากได้เช่นเดียวกัน (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.พ.51 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อสัปดาห์ แต่ลดลงต่ำสุดในรอบ 75 เดือน
เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 8 ก.พ.51 The Economic Cycle Research Institute สำนักวิจัยชั้นนำของ สรอ. เปิดเผย
ผลการสำรวจ Weekly Leading Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.พ.51 ว่า เพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 133.5 จากระดับ 131.1 ในสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นผลจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การขอรับสวัสดิการว่างงานลดลง
ประกอบกับราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นชดเชยกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ เมื่อเทียบต่อปีกลับลดลงต่ำสุดในรอบ 75 เดือน โดย
ติดลบร้อยละ 7.9 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.44 ซึ่งดัชนีฯ ติดลบร้อยละ 9.2 (รอยเตอร์)
4. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 ลดลงร้อยละ 3.2 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 8 ก.พ.51 คำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานของภาคเอกชนในญี่ปุ่นซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการลงทุนของภาคเอกชนในอีก 6 — 9 เดือนข้างหน้า
ลดลงร้อยละ 3.2 ในเดือน ธ.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.9 หลังจากลดลงร้อยละ 2.8
ในเดือน พ.ย.50 แต่อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตส่วนใหญ่เชื่อว่าคำสั่งซื้อดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 แต่แนวโน้มระยะยาวในช่วงปีที่ผ่านมาไม่ขยายตัว ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคบริการ
จากผลสำรวจความเห็นของผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคบริการของญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ที่ระดับ 31.8 ในเดือน ม.ค.51 จากระดับ 36.6 ในเดือน ธ.ค.50
อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.44 นักวิเคราะห์จึงคาดว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ ธ.กลางญี่ปุ่นอาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยซึ่ง
ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ก.พ. 51 8 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.926 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6891/33.0372 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 806.44/12.04 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,250/14,350 n.a. 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.79 83.84 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. พร้อมชี้แจงความจำเป็นมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.
กล่าวว่า หลังจากที่ ธปท. ได้ออกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ทำให้เงินบาทแข็งค่าน้อยลงเหลือร้อยละ 7 เทียบกับก่อนมีมาตรการคือทั้งปี 49
เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 17 และเป็นการแข็งค่าขึ้นมากกว่าทุกสกุลในภูมิภาค นอกจากนี้ นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า
ร้อยละ 2 ถือว่า ธปท. สามารถดูแลค่าเงินบาทให้สอดคล้องไปกับค่าเงินในเอเชีย ขณะที่ภาคการผลิตและการส่งออกได้มีการปรับตัวรองรับ
การเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้ดีขึ้นทั้งจากการกระจายตลาดและการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ด้าน นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ
ผอส.ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. กล่าวว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ ก.คลังจะต้องชั่งน้ำหนักดูว่าเมื่อยกเลิกมาตรการกันสำรอง
แล้วจะคุ้มหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีความผันผวนมาก แต่หลังจากใช้มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 สำหรับเงินทุนนำเข้าระยะสั้น
สามารถช่วยสกัดเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจนส่งผลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผิดปกติได้ ขณะเดียวกันช่วย
ดูแลให้เงินที่ไหลเข้ามาเพื่อการลงทุนจริงสร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจไทยด้วย ดังนั้น มาตรการกันสำรองนี้ช่วยให้เงินทุนไหลเข้าออก
ไทยมีความสมดุลมากขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
2. เกณฑ์การกำกับแบบรวมกุล่มอาจกระทบสถาบันการเงินบ้าง นายพงศ์อดุล กฤษณะราช ผอส.ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ
ธปท. กล่าวว่า การนำเกณฑ์กำกับแบบรวมกลุ่มมาใช้กำกับตรวจสอบสถาบันการเงินซึ่งจะกำกับลงไปถึงบริษัทลูก และห้าม ธ.พาณิชย์ปล่อยกู้
ผู้บริหาร กรรมการ ผู้เกี่ยวข้องงานบริหาร รวมทั้งปล่อยกู้รายใหญ่ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุนนั้นอาจจะกระทบต่อการขยายสินเชื่อของ
ธ.พาณิชย์ ซึ่งการกำกับแบบนี้เพื่อให้ ธ.พาณิชย์ที่มีบริษัทลูกควรมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะคุ้มความเสี่ยงไม่ว่าจะด้านเครดิต ด้านปฏิบัติการ
และด้านการตลาดของบริษัทลูกด้วย โดยเฉพาะบริษัทลูกที่เป็นกลุ่มการเงินซึ่งธนาคารถือหุ้นเกินร้อยละ 50 หรือเกินร้อยละ 75 เพราะถึง
ที่สุดบริษัทแม่ก็ต้องแบกรับบริษัทลูกได้ ดังนั้น ธ.พาณิชย์ที่มีเงินกองทุนใกล้เคียงตามเกณฑ์ร้อยละ 8.5 แต่ต้องมาแบกรับบริษัทลูกด้วยก็คงลำบากขึ้น
ผลที่ตามมาก็คือการขยายสินเชื่อ ขยายธุรกิจ การรุกไปรายใหม่ก็จะลำบากขึ้น แต่ธนาคารที่แข็งแรงมีทุนมากคงไม่มีปัญหา ปัจจุบันมี
2 — 3 ธนาคารที่น่าห่วง เช่น ธ.ทหารไทย ธ.นครหลวงไทย เพราะแม้จะมีเงินทุนตามเกณฑ์ แต่ถ้าต้องอุ้มบริษัทลูกด้วยคงจะลำบาก ซึ่งถ้า
ธนาคารไหนไม่ไหวจะปรับอยู่ต่อไปหรือต้องรวมกับพันธมิตรใหม่ก็คงเห็นกันภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การอยู่รอดของธนาคารคงไม่ได้อยู่ที่
เงินกองทุนอย่างเดียว แต่อยู่ที่การปรับตัวทางธุรกิจด้วย เพราะต่อไปต้องปรับตัวในการแข่งขันมาก โดยกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินจะมี
ผลในทางปฏิบัติในวันที่ 3 ส.ค.นี้ ทำให้ ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย และสถาบันการเงินขนาดเล็กต้องปรับตัวมากพอสมควร (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังกำหนดนำเงินตราต่างประเทศเข้าหรือออกเกิน 20,000 ดอลลาร์ สรอ. ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ก.คลังได้ออกประกาศ ก.คลัง เรื่อง กำหนดวงเงินตราต่างประเทศที่ผู้นำเงินตราต่างประเทศออกไปนอก
หรือเข้ามาในประเทศต้องสำแดงรายการเงินตราต่างประเทศ กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสำแดงเงินตราต่างประเทศสำหรับบุคคลที่นำ
เงินตราต่างประเทศที่เป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์อันมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 20,000 ดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่า เดินทางออกไปนอก
หรือเข้ามาในประเทศต้องแจ้งรายการเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรขณะผ่านด่านศุลกากรทุกแห่ง โดยจะมี
ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.51 เป็นต้นไป ซึ่งกรมศุลกากรได้ให้ สนง. และด่านศุลกากรที่เกี่ยวข้องทุกแห่งติดป้ายประชาสัมพันธ์ทั้งภาษาไทย
และอังกฤษ เพื่อแจ้งให้ผู้เดินทางทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทราบแล้ว (โลกวันนี้)
4. เงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.54 ตามภูมิภาค สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สรุปสถานการณ์ค่าเงินบาทช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน
มาพบว่า ดัชนีค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับคู่ค้าหลัก 11 สกุลเงิน ณ วันที่ 8 ก.พ.51 คือ ดอลลาร์ สรอ. ยูโร เยน หยวน ดอลลาร์ฮ่องกง
ดอลลาร์ไต้หวัน วอนเกาหลี ดอลลาร์สิงคโปร์ รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ แข็งค่าขึ้นมากจากสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 6.54 และแข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 49 ที่ร้อยละ 7.05 แม้ว่า ธปท. จะเข้าแทรกแซงค่าเงินอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้น
เมื่อเทียบกับเงินรูเปียห์อินโดนีเซียร้อยละ 16.3 ดอลลาร์ฮ่องกงร้อยละ 15.7 ดอลลาร์ สรอ.ร้อยละ 15.2 ดอลลาร์ไต้หวันร้อยละ 13.4
วอนเกาหลีร้อยละ 13.4 ปอนด์สเตอร์ลิงร้อยละ 9.3 เยนร้อยละ 6.2 หยวนร้อยละ 3.9 ดอลลาร์สิงคโปร์ร้อยละ 3 และริงกิตมาเลเซีย
ร้อยละ 1.5 แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโรร้อยละ 0.3 และเปโซฟิลิปปินส์ร้อยละ 8.7 (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G7 ในเดือน ธ.ค. ลดลง รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 51 องค์การเพื่อ
ความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่าแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7)
จะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน ธ.ค. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Composite Leading Indicator - CLI) ของประเทศในกลุ่ม G7
ลดลงอยู่ที่ระดับ 99.0 จากระดับ 99.4 ในเดือน พ.ย. ส่วนใหญ่ที่ลดลงได้แก่ สรอ. ที่ลดลงถึง 0.7 จุด ส่วนญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 97
จากระดับ 96.2 ในเดือน พ.ย. แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าอยู่ถึง 4.5 จุด เนื่องจากที่อยู่อาศัยซึ่ง
เป็นส่วนประกอบหนึ่งของดัชนีลดลงอย่างมากในไตรมาสที่ 3 ปีที่แล้ว และจากการเปลี่ยงแปลงกฎหมายมาตรฐานการก่อสร้างของญี่ปุ่น ทำให้
ไตรมาสที่ 4 การก่อสร้างบ้านใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการปรับปรุงกระบวนการทางกฎหมายการก่อสร้าง (รอยเตอร์)
2. สินค้าคงคลังในระดับค้าส่งของ สรอ. ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นอย่างมาก รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 51
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. สินค้าคงคลังในระดับค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อยู่ที่ 411.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือ
เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.8 มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เนื่องจาก
ยอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 0.7 อยู่ที่ 376.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเดือน พ.ย. ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์
กล่าวว่าการที่สินค้าคงคลังในระดับค้าส่งเพิ่มขึ้นอย่างมากบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวแข็งแกร่งมากกว่าที่ทางการได้คาดการณ์
ไว้ก่อนหน้านั้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หรืออาจเป็นเพราะการชะลอตัวของภาคธุรกิจทำให้มีสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นอย่างมากได้เช่นเดียวกัน (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.พ.51 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อสัปดาห์ แต่ลดลงต่ำสุดในรอบ 75 เดือน
เมื่อเทียบต่อปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 8 ก.พ.51 The Economic Cycle Research Institute สำนักวิจัยชั้นนำของ สรอ. เปิดเผย
ผลการสำรวจ Weekly Leading Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ก.พ.51 ว่า เพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 133.5 จากระดับ 131.1 ในสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นผลจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การขอรับสวัสดิการว่างงานลดลง
ประกอบกับราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นชดเชยกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ เมื่อเทียบต่อปีกลับลดลงต่ำสุดในรอบ 75 เดือน โดย
ติดลบร้อยละ 7.9 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.44 ซึ่งดัชนีฯ ติดลบร้อยละ 9.2 (รอยเตอร์)
4. คำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.50 ลดลงร้อยละ 3.2 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 8 ก.พ.51 คำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานของภาคเอกชนในญี่ปุ่นซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการลงทุนของภาคเอกชนในอีก 6 — 9 เดือนข้างหน้า
ลดลงร้อยละ 3.2 ในเดือน ธ.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.9 หลังจากลดลงร้อยละ 2.8
ในเดือน พ.ย.50 แต่อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตส่วนใหญ่เชื่อว่าคำสั่งซื้อดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 แต่แนวโน้มระยะยาวในช่วงปีที่ผ่านมาไม่ขยายตัว ในขณะเดียวกันก็มีรายงานว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคบริการ
จากผลสำรวจความเห็นของผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคบริการของญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ที่ระดับ 31.8 ในเดือน ม.ค.51 จากระดับ 36.6 ในเดือน ธ.ค.50
อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.44 นักวิเคราะห์จึงคาดว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ ธ.กลางญี่ปุ่นอาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยซึ่ง
ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 ก.พ. 51 8 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.926 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6891/33.0372 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 806.44/12.04 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,250/14,350 n.a. 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 84.79 83.84 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--