ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. พร้อมชี้แจง ก.คลังเกี่ยวกับมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่ากาด้ถ้านเสถียรภาพการเงิน
ธปท. กล่าวว่า ธปท. พร้อมนำข้อมูลชี้แจง รมว.คลังเกี่ยวกับมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้นร้อยละ 30 รวมทั้งประเมินสถานการณ์ว่าหลังจาก
ที่นำมาตรการนี้มาใช้แล้วมีผลดีอย่างไรบ้าง ส่วนจะยกเลิกมาตรการนี้หรือไม่ต้องหารือกันก่อน ขณะที่ นางภัทรียา เบญจพลชัย กก.และ ผจก.
ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า หากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อจิตวิทยาการลงทุนในภาพรวม ส่วนเงินที่เข้ามา
ลงทุนนั้นต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ การจะยกเลิกมาตรการนี้หรือไม่นั้นต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าจะมีมาตรการใดออกมา
ใช้หลังจากนี้ เพื่อดูแลการไหลเข้าออกของเงินอย่างรอบคอบ ด้านนายวรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยที่ ก.คลัง และ ธปท. จะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 แต่ต้องเป็นเวลาที่เหมาะสม
โดยดูจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับที่รับได้ และเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระดับเดียวกับค่าเงินของเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ ซึ่งอาจ
ทยอยยกเลิกหรือยกเลิกในครั้งเดียวก็ตาม แต่ขณะเดียวกันต้องหามาตรการอื่นมารองรับด้วย (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
2. ธปท. ให้ ธ.พาณิชย์จัดทำแผนธุรกิจส่ง ธปท. พิจารณาภายในไตรมาสแรกปีนี้ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสาย
กำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ได้ส่งหนังสือถึง ธ.พาณิชย์ไทยทุกแห่งให้จัดทำแผนธุรกิจส่ง ธปท. พิจารณาภายในไตรมาสแรกของปีนี้
เพื่อพิจารณาว่าธนาคารแต่ละแห่งมีแผนดำเนินงานอย่างไร และถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงธนาคารจะต้องประเมินด้วยว่าจะมีมาตรการรองรับ
อย่างไร สำหรับกรณี ธ.ไทยธนาคาร ธปท. ได้ให้จัดส่งแผนธุรกิจเหมือนกับ ธ.พาณิชย์แห่งอื่น ส่วนจะเสนอแผนเพิ่มทุนหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร
ของธนาคาร แต่ยืนยันว่า ธปท. ไม่ได้สั่งให้ ธ.ไทยธนาคารเพิ่มทุน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจากการตรวจสอบฐานะทางการเงิน
ของธนาคาร เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 10 สูงกว่าที่ ธปท. กำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ทั้งนี้ ถือเป็นปกติทุกปีที่ ธปท.
ได้ให้ ธ.พาณิชย์จัดทำแผนธุรกิจ หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และอัตราการเติบโตในอนาคตให้ ธปท. พิจารณา และถ้าธนาคารแห่งไหนต้องการ
เพิ่มทุนให้ส่งข้อมูลมาที่ ธปท. และยืนยันว่า ธ.พาณิชย์ไทยไม่มีปัญหาเรื่องฐานะทางการเงิน เพราะบีไอเอสของแต่ละแห่งครอบคลุมบริษัท
ลูกตามกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. ไม่ห้ามบริษัทลีสซิ่งในเครือธนาคารปล่อยกู้จำนำทะเบียนรถยนต์ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบัน
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ไม่ได้ห้าม ธ.พาณิชย์และบริษัทเช่าซื้อหรือลีสซิ่งในเครือ ธ.พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ แต่ ธปท.
ต้องการดูแลเรื่องความเสี่ยงของธุรกิจในเครือที่อาจส่งผลกระทบต่อฐานะของธนาคาร ดังนั้น ธปท. จึงจะพิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการเป็นกรณีไป
หากบริษัทลูกของ ธ.พาณิชย์รายใดจะทำธุรกิจนี้ก็สามารถขออนุญาตเข้ามาได้ ทั้งนี้ ธปท. จำเป็นต้องกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของ
ธ.พาณิชย์ แต่ไม่ได้กำกับดูแลบริษัทลีสซิ่งทั่วไปที่ไม่รับฝากเงินของประชาชน โดยจะเน้นดูแลความเสี่ยงเป็นสำคัญว่า ธ.พาณิชย์ที่เป็นบริษัทแม่
กำกับดูแลบริษัทลูกดีหรือไม่ การปล่อยกู้มีการตีราคาสูงเกินไปหรือไม่ มีการติดตามทวงถามหนี้ที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ รวมทั้งมีการติดตามควบคุม
ที่ดีหรือไม่ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อ ธ.พาณิชย์ (โพสต์ทูเดย์)
4. ธปท. ตั้งทริส เรทติ้ง เป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกตามกรอบบาเซิล 2 บ.ทริส เรทติ้ง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ก.พ.51
ธปท. ได้ให้ความเห็นชอบให้ ทริส เรทติ้ง เป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก หรือ External Credit Assessment Institution(ECAI)
ตามกรอบของบาเซิล 2 ซึ่งมีผลให้สถาบันการเงินสามารถใช้อันดับเครดิตของทริส เรทติ้งในการคำนวณน้ำหนักความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์การ
ดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี Standardised Approach (SA) ซึ่ง ธปท. จะนำมาบังคับใช้ในสิ้นปีนี้ โดย
ในการให้ความเห็นชอบแก่ทริส เรทติ้งดังกล่าว ธปท. ได้พิจารณาจากเกณฑ์ 6 ประการ คือ ความชัดเจนและเป็นระบบของวิธีการจัดอันดับ
เครดิต ความเป็นอิสระ ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล บุคลากร และฐานะทางการเงินและความน่าเชื่อถือ ซึ่งทริส เรทติ้งได้ผ่านหลักเกณฑ์
ทั้ง 6 ข้อ ทั้งนี้ ธปท. จะเริ่มบังคับใช้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนตามบาเซิล 2 กับ ธ.พาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการ ธ.พาณิชย์ตั้งแต่
สิ้นปี 51 ซึ่งในการคำนวณการดำรงเงินทุนขั้นต่ำสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA นั้น สถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะใช้อันดับเครดิต
ของลูกหนี้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณได้ แต่จะต้องเป็นอันดับเครดิตที่เป็น ECAI เท่านั้น โดย ธปท. กำหนดน้ำหนักความเสี่ยงที่ร้อยละ 20 — 150
โดยขึ้นอยู่กับอันดับเครดิตของลูกหนี้แต่ละราย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยูโรโซนแจ้งให้ฝรั่งเศสลดการขาดดุลงบประมาณลงเพื่อให้งบประมาณสมดุลในปี 53 รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 51
นาย Jean-Claude Juncker ประธานกลุ่มสหภาพยุโรปเปิดเผยภายหลังการพบปะกันระหว่างบรรดารมว.คลังประเทศ 15 ชาติที่ใช้เงินสกุลยูโร
และได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้แจ้งแก่ฝรั่งเศสเพื่อให้เข้มงวดในการปรับลดการขาดดุลงบประมาณลงตามเป้าหมายงบประมาณสมดุลในปี 53 แม้ว่า
ฝรั่งเศสจะยังไม่เห็นด้วยก็ตาม และเน้นว่าฝรั่งเศสต้องเข้มงวดในการจัดการกับงบประมาณขาดดุลในปีนี้ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎการเติบโตอย่าง
มีเสถียรภาพของสหภาพยุโรป (EU’Stability and Growth Pact) ที่ประเทศต่างๆในยูโรโซนจะต้องปรับลดการขาดดุลงบประมาณลง
ร้อยละ 0.5 ต่อปีเป็นอย่างน้อยจนกระทั่งงบประมาณใกล้เคียงสมดุลหรือเกินดุลในปี 53 เป็นอย่างช้า แต่ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสเคยประกาศว่า
ต้องการใช้เวลาในการปรับลดงบประมาณดังกล่าวถึงปี 55 เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.51 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากลอนดอนเมื่อ 12 ก.พ.51
The British Retail Consortium เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของร้านค้าปลีกในอังกฤษเมื่อเทียบกับร้านเดียวกันในปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
ในเดือน ม.ค.51 เช่นเดียวกับยอดขายปลีกโดยรวมซึ่งรวมพื้นที่ขายเปิดใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เทียบต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของยอดขายสินค้าอาหาร รวมถึงยอดขาย
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเฟอร์นิเจอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเป็นฤดูกาลลดราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ยอดขายสินค้าประเภทเสื้อผ้า
กลับลดลงต่อเนื่องเป็น 4 เดือนติดต่อกันแม้จะเป็นฤดูกาลลดราคาก็ตาม (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเดือน ธ.ค.50 มาเลเซียจะเกินดุลการค้าลดลง เนื่องจากการส่งออกขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 11 ก.พ.51 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า มูลค่าการส่งออกของมาเลเซีย
ในเดือน ธ.ค.50 จะขยายตัวร้อยละ 4.8 เทียบต่อปี นับเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย. ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0
เป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังคงชะลอตัว ประกอบกับผลผลิตน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของมาเลเซียลดลงอย่างมาก
เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในฤดูมรสุม ขณะที่คาดว่ามูลค่าการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 เทียบต่อปี สาเหตุจากการนำเข้า
สินค้าทุนเพื่อใช้ในโครงการแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปีของทางการ ซึ่งจะส่งผลให้มาเลเซียเกินดุลการค้าจำนวน 10.1 พัน ล.ริงกิต
(3.13 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงจากจำนวน 11.6 พัน ล.ริงกิต ในเดือนเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจสิงคโปร์อาจหดตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 11 ก.พ.51 ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์อาจหดตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 นับเป็นการหดตัวครั้งแรกเมื่อเทียบต่อไตรมาสนับตั้งแต่ปี 46 และหดตัว
มากกว่าประมาณการเบื้องต้นของรัฐบาลซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะหดตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 ทั้งนี้ เป็นผลจากตัวเลข
ผลผลิตโรงงานซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของผลผลิตในประเทศลดลงอย่างไม่คาดมาก่อนหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 4.7 ใน
เดือน ธ.ค.50 จากผลผลิตยาที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 50 จะขยายตัว
ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.9 ในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าในปี 50 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 7.5 ลดลง
เล็กน้อยจากปี 49 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี นอกจากนี้ ยังคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัวลงโดยขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปีอันเป็น
ผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่ง IMF คาดว่าในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 4.1 จากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน
ทั่วโลกอันเป็นสืบเนื่องจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.พ. 51 11 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.920 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6947/33.0396 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 804.15/16.03 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,250/14,350 14,250/14,350 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.57 84.79 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. พร้อมชี้แจง ก.คลังเกี่ยวกับมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่ากาด้ถ้านเสถียรภาพการเงิน
ธปท. กล่าวว่า ธปท. พร้อมนำข้อมูลชี้แจง รมว.คลังเกี่ยวกับมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้นร้อยละ 30 รวมทั้งประเมินสถานการณ์ว่าหลังจาก
ที่นำมาตรการนี้มาใช้แล้วมีผลดีอย่างไรบ้าง ส่วนจะยกเลิกมาตรการนี้หรือไม่ต้องหารือกันก่อน ขณะที่ นางภัทรียา เบญจพลชัย กก.และ ผจก.
ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า หากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อจิตวิทยาการลงทุนในภาพรวม ส่วนเงินที่เข้ามา
ลงทุนนั้นต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ การจะยกเลิกมาตรการนี้หรือไม่นั้นต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าจะมีมาตรการใดออกมา
ใช้หลังจากนี้ เพื่อดูแลการไหลเข้าออกของเงินอย่างรอบคอบ ด้านนายวรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยที่ ก.คลัง และ ธปท. จะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 แต่ต้องเป็นเวลาที่เหมาะสม
โดยดูจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับที่รับได้ และเมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระดับเดียวกับค่าเงินของเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ ซึ่งอาจ
ทยอยยกเลิกหรือยกเลิกในครั้งเดียวก็ตาม แต่ขณะเดียวกันต้องหามาตรการอื่นมารองรับด้วย (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
2. ธปท. ให้ ธ.พาณิชย์จัดทำแผนธุรกิจส่ง ธปท. พิจารณาภายในไตรมาสแรกปีนี้ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสาย
กำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ได้ส่งหนังสือถึง ธ.พาณิชย์ไทยทุกแห่งให้จัดทำแผนธุรกิจส่ง ธปท. พิจารณาภายในไตรมาสแรกของปีนี้
เพื่อพิจารณาว่าธนาคารแต่ละแห่งมีแผนดำเนินงานอย่างไร และถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงธนาคารจะต้องประเมินด้วยว่าจะมีมาตรการรองรับ
อย่างไร สำหรับกรณี ธ.ไทยธนาคาร ธปท. ได้ให้จัดส่งแผนธุรกิจเหมือนกับ ธ.พาณิชย์แห่งอื่น ส่วนจะเสนอแผนเพิ่มทุนหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร
ของธนาคาร แต่ยืนยันว่า ธปท. ไม่ได้สั่งให้ ธ.ไทยธนาคารเพิ่มทุน อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจากการตรวจสอบฐานะทางการเงิน
ของธนาคาร เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 10 สูงกว่าที่ ธปท. กำหนดไว้ที่ร้อยละ 8.5 ทั้งนี้ ถือเป็นปกติทุกปีที่ ธปท.
ได้ให้ ธ.พาณิชย์จัดทำแผนธุรกิจ หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และอัตราการเติบโตในอนาคตให้ ธปท. พิจารณา และถ้าธนาคารแห่งไหนต้องการ
เพิ่มทุนให้ส่งข้อมูลมาที่ ธปท. และยืนยันว่า ธ.พาณิชย์ไทยไม่มีปัญหาเรื่องฐานะทางการเงิน เพราะบีไอเอสของแต่ละแห่งครอบคลุมบริษัท
ลูกตามกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. ไม่ห้ามบริษัทลีสซิ่งในเครือธนาคารปล่อยกู้จำนำทะเบียนรถยนต์ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบัน
การเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ไม่ได้ห้าม ธ.พาณิชย์และบริษัทเช่าซื้อหรือลีสซิ่งในเครือ ธ.พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ แต่ ธปท.
ต้องการดูแลเรื่องความเสี่ยงของธุรกิจในเครือที่อาจส่งผลกระทบต่อฐานะของธนาคาร ดังนั้น ธปท. จึงจะพิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการเป็นกรณีไป
หากบริษัทลูกของ ธ.พาณิชย์รายใดจะทำธุรกิจนี้ก็สามารถขออนุญาตเข้ามาได้ ทั้งนี้ ธปท. จำเป็นต้องกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงของ
ธ.พาณิชย์ แต่ไม่ได้กำกับดูแลบริษัทลีสซิ่งทั่วไปที่ไม่รับฝากเงินของประชาชน โดยจะเน้นดูแลความเสี่ยงเป็นสำคัญว่า ธ.พาณิชย์ที่เป็นบริษัทแม่
กำกับดูแลบริษัทลูกดีหรือไม่ การปล่อยกู้มีการตีราคาสูงเกินไปหรือไม่ มีการติดตามทวงถามหนี้ที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ รวมทั้งมีการติดตามควบคุม
ที่ดีหรือไม่ด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อ ธ.พาณิชย์ (โพสต์ทูเดย์)
4. ธปท. ตั้งทริส เรทติ้ง เป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอกตามกรอบบาเซิล 2 บ.ทริส เรทติ้ง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ก.พ.51
ธปท. ได้ให้ความเห็นชอบให้ ทริส เรทติ้ง เป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตภายนอก หรือ External Credit Assessment Institution(ECAI)
ตามกรอบของบาเซิล 2 ซึ่งมีผลให้สถาบันการเงินสามารถใช้อันดับเครดิตของทริส เรทติ้งในการคำนวณน้ำหนักความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์การ
ดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี Standardised Approach (SA) ซึ่ง ธปท. จะนำมาบังคับใช้ในสิ้นปีนี้ โดย
ในการให้ความเห็นชอบแก่ทริส เรทติ้งดังกล่าว ธปท. ได้พิจารณาจากเกณฑ์ 6 ประการ คือ ความชัดเจนและเป็นระบบของวิธีการจัดอันดับ
เครดิต ความเป็นอิสระ ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล บุคลากร และฐานะทางการเงินและความน่าเชื่อถือ ซึ่งทริส เรทติ้งได้ผ่านหลักเกณฑ์
ทั้ง 6 ข้อ ทั้งนี้ ธปท. จะเริ่มบังคับใช้หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนตามบาเซิล 2 กับ ธ.พาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการ ธ.พาณิชย์ตั้งแต่
สิ้นปี 51 ซึ่งในการคำนวณการดำรงเงินทุนขั้นต่ำสำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตโดยวิธี SA นั้น สถาบันการเงินสามารถเลือกที่จะใช้อันดับเครดิต
ของลูกหนี้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณได้ แต่จะต้องเป็นอันดับเครดิตที่เป็น ECAI เท่านั้น โดย ธปท. กำหนดน้ำหนักความเสี่ยงที่ร้อยละ 20 — 150
โดยขึ้นอยู่กับอันดับเครดิตของลูกหนี้แต่ละราย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยูโรโซนแจ้งให้ฝรั่งเศสลดการขาดดุลงบประมาณลงเพื่อให้งบประมาณสมดุลในปี 53 รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 51
นาย Jean-Claude Juncker ประธานกลุ่มสหภาพยุโรปเปิดเผยภายหลังการพบปะกันระหว่างบรรดารมว.คลังประเทศ 15 ชาติที่ใช้เงินสกุลยูโร
และได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้แจ้งแก่ฝรั่งเศสเพื่อให้เข้มงวดในการปรับลดการขาดดุลงบประมาณลงตามเป้าหมายงบประมาณสมดุลในปี 53 แม้ว่า
ฝรั่งเศสจะยังไม่เห็นด้วยก็ตาม และเน้นว่าฝรั่งเศสต้องเข้มงวดในการจัดการกับงบประมาณขาดดุลในปีนี้ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎการเติบโตอย่าง
มีเสถียรภาพของสหภาพยุโรป (EU’Stability and Growth Pact) ที่ประเทศต่างๆในยูโรโซนจะต้องปรับลดการขาดดุลงบประมาณลง
ร้อยละ 0.5 ต่อปีเป็นอย่างน้อยจนกระทั่งงบประมาณใกล้เคียงสมดุลหรือเกินดุลในปี 53 เป็นอย่างช้า แต่ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสเคยประกาศว่า
ต้องการใช้เวลาในการปรับลดงบประมาณดังกล่าวถึงปี 55 เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.51 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากลอนดอนเมื่อ 12 ก.พ.51
The British Retail Consortium เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของร้านค้าปลีกในอังกฤษเมื่อเทียบกับร้านเดียวกันในปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
ในเดือน ม.ค.51 เช่นเดียวกับยอดขายปลีกโดยรวมซึ่งรวมพื้นที่ขายเปิดใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เทียบต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของยอดขายสินค้าอาหาร รวมถึงยอดขาย
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเฟอร์นิเจอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเป็นฤดูกาลลดราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม ยอดขายสินค้าประเภทเสื้อผ้า
กลับลดลงต่อเนื่องเป็น 4 เดือนติดต่อกันแม้จะเป็นฤดูกาลลดราคาก็ตาม (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเดือน ธ.ค.50 มาเลเซียจะเกินดุลการค้าลดลง เนื่องจากการส่งออกขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 11 ก.พ.51 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า มูลค่าการส่งออกของมาเลเซีย
ในเดือน ธ.ค.50 จะขยายตัวร้อยละ 4.8 เทียบต่อปี นับเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย. ที่ขยายตัวร้อยละ 2.0
เป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังคงชะลอตัว ประกอบกับผลผลิตน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของมาเลเซียลดลงอย่างมาก
เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในฤดูมรสุม ขณะที่คาดว่ามูลค่าการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 เทียบต่อปี สาเหตุจากการนำเข้า
สินค้าทุนเพื่อใช้ในโครงการแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปีของทางการ ซึ่งจะส่งผลให้มาเลเซียเกินดุลการค้าจำนวน 10.1 พัน ล.ริงกิต
(3.13 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ธ.ค.50 ลดลงจากจำนวน 11.6 พัน ล.ริงกิต ในเดือนเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจสิงคโปร์อาจหดตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 11 ก.พ.51 ผลสำรวจรอยเตอร์
คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์อาจหดตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 นับเป็นการหดตัวครั้งแรกเมื่อเทียบต่อไตรมาสนับตั้งแต่ปี 46 และหดตัว
มากกว่าประมาณการเบื้องต้นของรัฐบาลซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะหดตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 ทั้งนี้ เป็นผลจากตัวเลข
ผลผลิตโรงงานซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของผลผลิตในประเทศลดลงอย่างไม่คาดมาก่อนหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 4.7 ใน
เดือน ธ.ค.50 จากผลผลิตยาที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 50 จะขยายตัว
ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบต่อปี ชะลอตัวลงจากร้อยละ 8.9 ในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าในปี 50 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 7.5 ลดลง
เล็กน้อยจากปี 49 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี นอกจากนี้ ยังคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะชะลอตัวลงโดยขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปีอันเป็น
ผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่ง IMF คาดว่าในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 4.1 จากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน
ทั่วโลกอันเป็นสืบเนื่องจากปัญหาซับไพร์มใน สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.พ. 51 11 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.920 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6947/33.0396 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27922 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 804.15/16.03 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,250/14,350 14,250/14,350 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 87.57 84.79 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--