ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า
การหารือกับ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าจะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 หรือไม่ เนื่องจาก
ต้องการข้อมูลจาก ธปท. เพิ่มเติม ซึ่งไม่สามารถบอกกรอบเวลาที่จะตัดสินใจได้จนกว่าจะเข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้และข้อมูลที่ครบถ้วน
เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การชะลอการตัดสินใจออกไปไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและมีผลต่อค่าเงินบาท เพราะมาตรการ
กันสำรองร้อยละ 30 ใช้มานานแล้วคงไม่ต้องเร่งรีบตัดสินใจ ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 จะไม่เข้าไปแทรกแซง
การทำงานของ ธปท. จะให้เป็นการตัดสินใจของผู้ว่าการ ธปท. ส่วนแนวทางการลดอัตราดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นหากยกเลิกมาตรการนั้น ต้อง
ดูหลายด้านให้รอบคอบ เพราะไม่อยากให้เป็นการแก้ไขปัญหาหนึ่งแล้วไปเกิดปัญหาอีกด้าน (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้, มติชน)
2. เอ็นพีแอลของสินเชื่อส่วนบุคคลปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.74 จากปีก่อน รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า เอ็นพีแอลเฉพาะ
สินเชื่อส่วนบุคคลในระบบปี 50 มีสูงถึง 9,230 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,224 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.74 โดยเป็นหนี้ของ ธ.พาณิชย์ไทย
3,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 79.73 สาขาธนาคารต่างประเทศ 1,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.64 และนันแบงก์
4,155 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ทั้งนี้ หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ค่าครองชีพสูงขึ้น ทั้งค่าโดยสาร
ราคาน้ำมัน และราคาสินค้า สำหรับยอดสินเชื่อบุคคลคงค้างมีจำนวนทั้งสิ้น 204,514 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19,977 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 10.83 โดยสินเชื่อคงค้างของ ธ.พาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นสูงสุด 87,879 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.91 สาขาธนาคารต่างประเทศ
เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเหลือ 23,023 ลดลงร้อยละ 1.59 และนันแบงก์ 93,612 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 ในขณะที่เอ็นพีแอลของ
บัตรเครดิตทั้งระบบในปี 50 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,850 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.49 ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างของบัตรเครดิตทั้งระบบอยู่ที่
179,275 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.83 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, มติชน)
3. การยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ควรทำในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้ว นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์
เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า เห็นด้วยหากรัฐบาลจะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เพื่อส่งสัญญาณว่าไทยไม่ได้ปิดกั้น
เงินทุนไหลเข้าอย่างเสรี เนื่องจากมาตรการดังกล่าวทำให้ไทยเสียโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งเงินที่จะเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ตาม การยกเลิก
ต้องทำในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้วประมาณกลางไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 หรือตั้งแต่เดือน พ.ค.51 เป็นต้นไป ขณะเดียวกัน
หลังจากยกเลิกแล้วรัฐบาลจะต้องมีมาตรการบริหารจัดการที่เหมาะสมและเป็นมาตรการที่ส่งสัญญาณในเชิงบวกมากกว่ามาตรการกันสำรอง
ร้อยละ 30 โดยในระยะสั้น ธปท. ต้องทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ลงอีกร้อยละ 0.25 — 0.50
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. เพื่อชะลอเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไร
ส่วนในระยะกลางจะต้องมีมาตรการเสริมในการดูแลเงินทุนไหลเข้า และในระยะยาวรัฐบาลจะต้องบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ให้เหมือนกับกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์หรือกองทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน รวมถึงรัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศ
หรืออนุญาตให้กองทุนต่าง ๆ ไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเอาเงินออกนอกประเทศ (ไทยรัฐ)
4. คาดว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอีก 5 — 6 เดือนข้างหน้า นายนิวัตต์ จิตตาลาน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.บัตรกรุงไทย จก. เปิดเผยว่า ในอีก 5 — 6 เดือนข้างหน้าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะกลับคืนมา เพราะรัฐบาล
ชุดใหม่จะเริ่มแถลงนโยบายในสัปดาห์หน้า ซึ่งคงจะมีการสานต่อโครงการขนาดใหญ่ จึงเชื่อว่าภาพโดยรวมในปีนี้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
น่าจะดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่กลับคืนมาทั้งหมด เพราะตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมากำลังซื้อในระบบหายไปร้อยละ 50 หลังจากมีมาตรการชำระ
ขั้นต่ำร้อยละ 10 ของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ดังนั้น ในปีนี้การเติบโตจึงยังยากอยู่เพราะตลาดแคบลง (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 51 สำนักงาน
สถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ม.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลง
ร้อยละ 0.7 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.50 แต่ลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า
นั้นว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ไม่นับรวมราคาอาหาร พลังงาน น้ำมัน และยาสูบลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.3 อยู่ในระดับ
ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 49 ทั้งนี้นาย David Brown นักเศรษฐศาสตร์จาก Bear Stearns กล่าวว่าภาวะเงินเฟ้อเมื่อไม่นับรวมราคา
อาหารและพลังงานยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม คาดว่าดัชนีดังกล่าวจะถูกนำเสนอต่อผู้ดำเนินนโยบายการเงิน ธ.กลางอังกฤษภายหลังจากที่
อัตราเงินเฟ้อของสินค้าหน้าโรงงานเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 16 ปี ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง เนื่องจากบรรดานักลงทุนต่าง
คาดกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามคาดว่าในเดือนหน้าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีก ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมาตรการราคาแก๊ส และไฟฟ้า (รอยเตอร์)
2. ในเดือน ก.พ.51 ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน รายงานจากเมนเฮล์ม เยอรมนี
เมื่อ 12 ก.พ.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 314 คนโดย
สถาบันวิจัย ZEW เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ — 39.5 ในเดือน ก.พ.51 จากระดับ — 41.6 ในเดือนก่อน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ค.50
และดีกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ — 45.0 ในขณะที่ดัชนีในส่วนที่ชี้วัดสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบันกลับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 33.7
จากระดับ 56.6 ในเดือน ม.ค.51 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ที่ระดับ 50.8 ชี้ให้เห็นความเห็นของนักลงทุนส่วนใหญ่ว่าความวุ่นวายในตลาดการเงิน
ทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันแต่คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นภายในกลางปีนี้ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 จากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่ 3 โดยประเมินจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลง
ในไตรมาสสุดท้ายและยอดส่งออกที่ไม่ขยายตัวในเดือน ธ.ค.50 โดยทางการมีกำหนดจะเผยแพร่ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน
ไตรมาสสุดท้ายปี 50 ในวันที่ 14 ก.พ.51 นี้ (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ
12 ก.พ.51 The National Statistical Office เปิดเผยว่า ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 ลดลงสู่ระดับ
ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน สะท้อนว่าความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ.จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ โดย
Consumer expectation index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายในช่วง
6 เดือนข้างหน้า ลดลงที่ระดับ 103.3 จากระดับ 105.1 และ 103.9 ในเดือน ธ.ค.และ พ.ย.50 ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.50 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 101.4 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 100 สะท้อนว่าผู้บริโภคมีความคาดหวังในระดับที่ดี
ทั้งนี้ ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของจีดีพี (รอยเตอร์)
4. การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.50 ขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมายร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์
เมื่อ 12 ก.พ.51 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.50 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี ต่ำกว่าความ
คาดหมายของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 4.8 และเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เดือน
ก.ย.50 ที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 2.0 สาเหตุหลักจากมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักชะลอตัว ขณะที่มูลค่า
การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.7 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าลดลงที่
ระดับ 9.6 พัน ล.ริงกิต จาก 11.58 พัน ล.ริงกิตในช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่ายอดเกินดุล
การค้าของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.จะมีมูลค่า 10.1 พัน ล.ริงกิต (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ก.พ. 51 12 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.890 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6891/33.0254 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27797 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 817.49/25.68 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,000/14,100 14,250/14,350 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 89.22 87.57 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลังยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า
การหารือกับ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าจะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 หรือไม่ เนื่องจาก
ต้องการข้อมูลจาก ธปท. เพิ่มเติม ซึ่งไม่สามารถบอกกรอบเวลาที่จะตัดสินใจได้จนกว่าจะเข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้และข้อมูลที่ครบถ้วน
เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การชะลอการตัดสินใจออกไปไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและมีผลต่อค่าเงินบาท เพราะมาตรการ
กันสำรองร้อยละ 30 ใช้มานานแล้วคงไม่ต้องเร่งรีบตัดสินใจ ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 จะไม่เข้าไปแทรกแซง
การทำงานของ ธปท. จะให้เป็นการตัดสินใจของผู้ว่าการ ธปท. ส่วนแนวทางการลดอัตราดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นหากยกเลิกมาตรการนั้น ต้อง
ดูหลายด้านให้รอบคอบ เพราะไม่อยากให้เป็นการแก้ไขปัญหาหนึ่งแล้วไปเกิดปัญหาอีกด้าน (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้, มติชน)
2. เอ็นพีแอลของสินเชื่อส่วนบุคคลปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.74 จากปีก่อน รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า เอ็นพีแอลเฉพาะ
สินเชื่อส่วนบุคคลในระบบปี 50 มีสูงถึง 9,230 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2,224 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.74 โดยเป็นหนี้ของ ธ.พาณิชย์ไทย
3,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 79.73 สาขาธนาคารต่างประเทศ 1,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.64 และนันแบงก์
4,155 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ทั้งนี้ หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ค่าครองชีพสูงขึ้น ทั้งค่าโดยสาร
ราคาน้ำมัน และราคาสินค้า สำหรับยอดสินเชื่อบุคคลคงค้างมีจำนวนทั้งสิ้น 204,514 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19,977 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 10.83 โดยสินเชื่อคงค้างของ ธ.พาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นสูงสุด 87,879 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.91 สาขาธนาคารต่างประเทศ
เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเหลือ 23,023 ลดลงร้อยละ 1.59 และนันแบงก์ 93,612 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 ในขณะที่เอ็นพีแอลของ
บัตรเครดิตทั้งระบบในปี 50 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,850 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.49 ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างของบัตรเครดิตทั้งระบบอยู่ที่
179,275 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.83 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, มติชน)
3. การยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ควรทำในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้ว นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์
เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า เห็นด้วยหากรัฐบาลจะยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เพื่อส่งสัญญาณว่าไทยไม่ได้ปิดกั้น
เงินทุนไหลเข้าอย่างเสรี เนื่องจากมาตรการดังกล่าวทำให้ไทยเสียโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งเงินที่จะเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ตาม การยกเลิก
ต้องทำในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้วประมาณกลางไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 หรือตั้งแต่เดือน พ.ค.51 เป็นต้นไป ขณะเดียวกัน
หลังจากยกเลิกแล้วรัฐบาลจะต้องมีมาตรการบริหารจัดการที่เหมาะสมและเป็นมาตรการที่ส่งสัญญาณในเชิงบวกมากกว่ามาตรการกันสำรอง
ร้อยละ 30 โดยในระยะสั้น ธปท. ต้องทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ลงอีกร้อยละ 0.25 — 0.50
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. เพื่อชะลอเงินทุนไหลเข้ามาเก็งกำไร
ส่วนในระยะกลางจะต้องมีมาตรการเสริมในการดูแลเงินทุนไหลเข้า และในระยะยาวรัฐบาลจะต้องบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ให้เหมือนกับกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์หรือกองทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน รวมถึงรัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศ
หรืออนุญาตให้กองทุนต่าง ๆ ไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเอาเงินออกนอกประเทศ (ไทยรัฐ)
4. คาดว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอีก 5 — 6 เดือนข้างหน้า นายนิวัตต์ จิตตาลาน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.บัตรกรุงไทย จก. เปิดเผยว่า ในอีก 5 — 6 เดือนข้างหน้าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะกลับคืนมา เพราะรัฐบาล
ชุดใหม่จะเริ่มแถลงนโยบายในสัปดาห์หน้า ซึ่งคงจะมีการสานต่อโครงการขนาดใหญ่ จึงเชื่อว่าภาพโดยรวมในปีนี้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
น่าจะดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่กลับคืนมาทั้งหมด เพราะตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมากำลังซื้อในระบบหายไปร้อยละ 50 หลังจากมีมาตรการชำระ
ขั้นต่ำร้อยละ 10 ของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ดังนั้น ในปีนี้การเติบโตจึงยังยากอยู่เพราะตลาดแคบลง (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 51 สำนักงาน
สถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ม.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลง
ร้อยละ 0.7 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.50 แต่ลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า
นั้นว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ไม่นับรวมราคาอาหาร พลังงาน น้ำมัน และยาสูบลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.3 อยู่ในระดับ
ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 49 ทั้งนี้นาย David Brown นักเศรษฐศาสตร์จาก Bear Stearns กล่าวว่าภาวะเงินเฟ้อเมื่อไม่นับรวมราคา
อาหารและพลังงานยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม คาดว่าดัชนีดังกล่าวจะถูกนำเสนอต่อผู้ดำเนินนโยบายการเงิน ธ.กลางอังกฤษภายหลังจากที่
อัตราเงินเฟ้อของสินค้าหน้าโรงงานเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 16 ปี ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง เนื่องจากบรรดานักลงทุนต่าง
คาดกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามคาดว่าในเดือนหน้าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีก ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมาตรการราคาแก๊ส และไฟฟ้า (รอยเตอร์)
2. ในเดือน ก.พ.51 ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน รายงานจากเมนเฮล์ม เยอรมนี
เมื่อ 12 ก.พ.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 314 คนโดย
สถาบันวิจัย ZEW เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ — 39.5 ในเดือน ก.พ.51 จากระดับ — 41.6 ในเดือนก่อน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ค.50
และดีกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ — 45.0 ในขณะที่ดัชนีในส่วนที่ชี้วัดสถานการณ์ธุรกิจในปัจจุบันกลับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 33.7
จากระดับ 56.6 ในเดือน ม.ค.51 ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ที่ระดับ 50.8 ชี้ให้เห็นความเห็นของนักลงทุนส่วนใหญ่ว่าความวุ่นวายในตลาดการเงิน
ทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันแต่คาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นภายในกลางปีนี้ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 จากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่ 3 โดยประเมินจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลง
ในไตรมาสสุดท้ายและยอดส่งออกที่ไม่ขยายตัวในเดือน ธ.ค.50 โดยทางการมีกำหนดจะเผยแพร่ตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน
ไตรมาสสุดท้ายปี 50 ในวันที่ 14 ก.พ.51 นี้ (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ
12 ก.พ.51 The National Statistical Office เปิดเผยว่า ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 ลดลงสู่ระดับ
ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน สะท้อนว่าความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ.จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ โดย
Consumer expectation index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความคาดหวังของผู้บริโภคเกาหลีใต้เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการใช้จ่ายในช่วง
6 เดือนข้างหน้า ลดลงที่ระดับ 103.3 จากระดับ 105.1 และ 103.9 ในเดือน ธ.ค.และ พ.ย.50 ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.50 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 101.4 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 100 สะท้อนว่าผู้บริโภคมีความคาดหวังในระดับที่ดี
ทั้งนี้ ดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคเป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งของจีดีพี (รอยเตอร์)
4. การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.50 ขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมายร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์
เมื่อ 12 ก.พ.51 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.50 ขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบต่อปี ต่ำกว่าความ
คาดหมายของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 4.8 และเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เดือน
ก.ย.50 ที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 2.0 สาเหตุหลักจากมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักชะลอตัว ขณะที่มูลค่า
การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.7 เทียบต่อปี ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.3 ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าลดลงที่
ระดับ 9.6 พัน ล.ริงกิต จาก 11.58 พัน ล.ริงกิตในช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่ายอดเกินดุล
การค้าของมาเลเซียในเดือน ธ.ค.จะมีมูลค่า 10.1 พัน ล.ริงกิต (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ก.พ. 51 12 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.890 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.6891/33.0254 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27797 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 817.49/25.68 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,000/14,100 14,250/14,350 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 89.22 87.57 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--