ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ให้ ธพ.จัดทำแผนการดูแลสภาพคล่องเพื่อรองรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก นายพงศ์อดุล กฤษณะราช
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้สั่งการให้ ธพ.ทุกแห่งจัดทำแผน
การดูแลสภาพคล่องของธนาคารเพื่อรองรับกับการบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ขณะนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมี
ผลบังคับใช้ในเดือน ส.ค.51 เพราะถึงแม้การลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล.บาทจะมีผลในอีก 4 ปีข้างหน้า แต่ ธปท.เป็นห่วงว่า
ระหว่างที่วงเงินคุ้มครองทยอยปรับลดลง ผู้ฝากเงินของธนาคารอาจจะถอนเงินออกไป จนทำให้สภาพคล่องของ ธพ.ได้รับผลกระทบตามมา
โดยจากการประเมินเบื้องต้นเห็นว่า ธพ.ขนาดใหญ่ไม่น่าจะมีปัญหาดังกล่าว ขณะที่ ธพ.ขนาดกลางบางแห่งอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นบ้าง แต่กลุ่ม
ธพ.ขนาดเล็กน่าจะเป็นกลุ่มที่อาจเกิดปัญหามากที่สุด ทั้งนี้ การบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพื่อให้ลูกค้าติดตามฐานะการดำเนินงาน
ของ ธพ.มากยิ่งขึ้น ส่วน ธพ.เองก็จะต้องพัฒนาธุรกิจให้มีฐานะมั่นคงแข็งแกร่ง และมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยลดภาระของ ธปท.และ
รัฐบาลในการค้ำประกันเงินฝากด้วย (มติชน, ไทยโพสต์)
2. ธปท.ชี้นโยบายรัฐที่ชัดเจนช่วยสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจ
ในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาเป็นสัญญาณที่ดี ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจและ
ความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านการบริโภคภายในประเทศ และทำให้
ภาคเอกชนมีการลงทุนมากขึ้น คือการเร่งเดินหน้าผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่หรือเมกะโปรเจกต์ให้เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศ
ที่ดีทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. เครดิตบูโรศึกษาแนวทางการจัดเก็บข้อมูลเครดิตของต่างประเทศ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต
กำลังศึกษาการทำงานของเครดิตบูโรในต่างประเทศ เพื่อพิจารณานำมาปรับใช้กับการเก็บข้อมูลของประเทศ เช่น การเก็บข้อมูลการปล่อย
สินเชื่อในกลุ่มสหกรณ์ หรือข้อมูลการชำระเงินของค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่บางประเทศรายงานเป็นข้อมูลเครดิตด้วย สำหรับกรณีระยะเวลา
การเก็บข้อมูลนั้น ระยะเวลา 3 ปีที่ใช้อยู่เป็นเวลาที่เหมาะสม เพราะหากเวลาน้อยเกินไป จะทำให้สถาบันการเงินต้องหาข้อมูลอื่นเพิ่มใน
การปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะกลายเป็นต้นุทนของสถาบันการเงินได้ นอกจากนี้ ผู้จัดการใหญ่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ กล่าวว่า ได้มีการหารือ
เบื้องต้นของคณะกรรมการเครดิตกับ ธปท. ถึงการนำข้อมูลเครดิตสกอริ่ง มาใช้ในการจัดกลุ่มสถาบันการเงินตามเกณฑ์บาเซิล 2 ที่ใน
ระยะ 1-2 ปีข้างหน้า สถาบันการเงินอาจจะต้องพัฒนาไปใช้วิธีประเมินความเสี่ยงที่ซับซ้อน (IRB Approach) มากขึ้น ทำให้ต้องใช้ข้อมูล
เครดิตในการแบ่งกลุ่มลูกหนี้มากขึ้น ซึ่ง ธปท.เห็นด้วยกับหลักการนี้แล้ว (มติชน, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
4. ธปท.สรุปยอดซื้อ พธบ.ธปท.ครั้งที่ 1 ปี 51 วันแรกมีการจองซื้อ 30% ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการ
จองซื้อ พธบ.ออมทรัพย์ ธปท. ปี 2551 ครั้งที่ 1 ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองวันแรกวานนี้ (18 ก.พ.) ปรากฎว่า มียอดจองซื้อกว่า 30%
หรือประมาณ 15,000 ล.บาท ของวงเงิน 50,000 ล.บาท ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจสามารถจองซื้อได้จนถึงวันที่ 26 ก.พ. ที่ ธพ.ตัวแทน
จำหน่ายทุกแห่ง (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าญี่ปุ่นจะได้เปรียบดุลการค้าในเดือน ม.ค.51 35.0 พันล้านเยน รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ
วันที่ 19 ก.พ.51 อัตราการเติบโตในภาคการส่งออกของญี่ปุ่นเดือน ม.ค.51 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการขนส่งสินค้าลดลงในช่วงวันหยุดปีใหม่
หลายวัน ขณะที่ยอดเกินดุลการค้าในเดือน ธ.ค.50 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอัตราการเติบโตของการส่งออก
สินค้าไปจีนและยุโรปกำลังชะลอตัว ส่วนการส่งออกสินค้าไป สรอ. ก็ลดลงเช่นกัน ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยกลางจากการพยากรณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
คาดว่าญี่ปุ่นจะได้เปรียบดุลการค้าในเดือน ม.ค.51 จำนวน 35.0 พันล้านเยน (324.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับที่ขาดดุลการค้า
3.49 พันล้านเยน (ข้อมูลยังไม่ได้ปรับตัวเลข) ในเดือน ม.ค.50 (รอยเตอร์)
2. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเกาหลีใต้ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากจากกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.51
เมื่อวานนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ออกจำหน่ายพันธบัตรอายุ 182 วันที่มีผลตอบแทนต่ำที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี พร้อมกันนี้ ธ.กลางยังได้ออกขาย MSBs
(monetary stabilisation bonds) จำนวน 500 พัน ล. วอน (529.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ที่มีระยะเวลา 91 วัน และ 63 วัน ที่มี
ผลตอบแทนร้อยละ 4.90 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 45 ที่มีการจำหน่ายพันธบัตรดังกล่าวที่มีผลตอบแทนร้อยละ 4.89 ท่ามกลางการคาดการณ์
ของบรรดานักวิเคราะห์ที่คาดว่า ธ.กลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้นเดือนหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีครึ่งเช่นกัน (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่ำที่สุดในรอบกว่า 5 ปี รายงานจากกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 51 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค.อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 3.1
ในเดือน ธ.ค. และอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบกว่า 5 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 45 แม้ว่าจะมีความวิตกว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะชะลอตัวลง
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ สรอ. ทั้งนี้นับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปีที่แล้วอัตราการว่างงานของเกาหลีใต้อยู่ระหว่างร้อยละ 3.1
ถึงร้อยละ 3.4 ซึ่งตัวเลขการว่างงานดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยภายหลังจาก 1 สัปดาห์ ที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ที่ร้อยละ 5.0 เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันหลังจากที่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ที่ผ่านมา
สำหรับจำนวนการจ้างงานของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 23.59 ล้านคน จาก 23.55 ล้านคน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา
(รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ต่อเดือนสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 18 ก.พ.51
ยอดส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันซึ่งมีสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 8.4
ในเดือน ม.ค.51 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากลดลงต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.5 ต่อเดือน หลังจากลดลงร้อยละ 1.8 ต่อเดือนในเดือนก่อน โดยหากเทียบต่อปี ยอดส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
มีมูลค่ารวม 15.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 5.7 ต่อปี หลังจากลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปีในเดือนก่อน ทั้งนี้
เป็นผลจากยอดส่งออกที่สูงขึ้นของปิโตรเคมีและฮาร์ดดิสก์ โดยยอดส่งออกปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.3 ต่อปี ในขณะที่ยอดส่งออกสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์และยาลดลงร้อยละ 1.8 และร้อยละ 26.7 ต่อปีตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.พ. 51 18 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.517 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.2960/32.6371 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27141 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 824.99/15.01 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,900/14,000 13,900/14,000 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 90.78 90.94 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ให้ ธพ.จัดทำแผนการดูแลสภาพคล่องเพื่อรองรับการบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก นายพงศ์อดุล กฤษณะราช
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้สั่งการให้ ธพ.ทุกแห่งจัดทำแผน
การดูแลสภาพคล่องของธนาคารเพื่อรองรับกับการบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ขณะนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมี
ผลบังคับใช้ในเดือน ส.ค.51 เพราะถึงแม้การลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล.บาทจะมีผลในอีก 4 ปีข้างหน้า แต่ ธปท.เป็นห่วงว่า
ระหว่างที่วงเงินคุ้มครองทยอยปรับลดลง ผู้ฝากเงินของธนาคารอาจจะถอนเงินออกไป จนทำให้สภาพคล่องของ ธพ.ได้รับผลกระทบตามมา
โดยจากการประเมินเบื้องต้นเห็นว่า ธพ.ขนาดใหญ่ไม่น่าจะมีปัญหาดังกล่าว ขณะที่ ธพ.ขนาดกลางบางแห่งอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นบ้าง แต่กลุ่ม
ธพ.ขนาดเล็กน่าจะเป็นกลุ่มที่อาจเกิดปัญหามากที่สุด ทั้งนี้ การบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพื่อให้ลูกค้าติดตามฐานะการดำเนินงาน
ของ ธพ.มากยิ่งขึ้น ส่วน ธพ.เองก็จะต้องพัฒนาธุรกิจให้มีฐานะมั่นคงแข็งแกร่ง และมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยลดภาระของ ธปท.และ
รัฐบาลในการค้ำประกันเงินฝากด้วย (มติชน, ไทยโพสต์)
2. ธปท.ชี้นโยบายรัฐที่ชัดเจนช่วยสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจ
ในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาเป็นสัญญาณที่ดี ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจและ
ความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านการบริโภคภายในประเทศ และทำให้
ภาคเอกชนมีการลงทุนมากขึ้น คือการเร่งเดินหน้าผลักดันโครงการลงทุนขนาดใหญ่หรือเมกะโปรเจกต์ให้เกิดขึ้นจริง เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศ
ที่ดีทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. เครดิตบูโรศึกษาแนวทางการจัดเก็บข้อมูลเครดิตของต่างประเทศ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต
กำลังศึกษาการทำงานของเครดิตบูโรในต่างประเทศ เพื่อพิจารณานำมาปรับใช้กับการเก็บข้อมูลของประเทศ เช่น การเก็บข้อมูลการปล่อย
สินเชื่อในกลุ่มสหกรณ์ หรือข้อมูลการชำระเงินของค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่บางประเทศรายงานเป็นข้อมูลเครดิตด้วย สำหรับกรณีระยะเวลา
การเก็บข้อมูลนั้น ระยะเวลา 3 ปีที่ใช้อยู่เป็นเวลาที่เหมาะสม เพราะหากเวลาน้อยเกินไป จะทำให้สถาบันการเงินต้องหาข้อมูลอื่นเพิ่มใน
การปล่อยสินเชื่อ ซึ่งจะกลายเป็นต้นุทนของสถาบันการเงินได้ นอกจากนี้ ผู้จัดการใหญ่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ กล่าวว่า ได้มีการหารือ
เบื้องต้นของคณะกรรมการเครดิตกับ ธปท. ถึงการนำข้อมูลเครดิตสกอริ่ง มาใช้ในการจัดกลุ่มสถาบันการเงินตามเกณฑ์บาเซิล 2 ที่ใน
ระยะ 1-2 ปีข้างหน้า สถาบันการเงินอาจจะต้องพัฒนาไปใช้วิธีประเมินความเสี่ยงที่ซับซ้อน (IRB Approach) มากขึ้น ทำให้ต้องใช้ข้อมูล
เครดิตในการแบ่งกลุ่มลูกหนี้มากขึ้น ซึ่ง ธปท.เห็นด้วยกับหลักการนี้แล้ว (มติชน, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
4. ธปท.สรุปยอดซื้อ พธบ.ธปท.ครั้งที่ 1 ปี 51 วันแรกมีการจองซื้อ 30% ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการ
จองซื้อ พธบ.ออมทรัพย์ ธปท. ปี 2551 ครั้งที่ 1 ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองวันแรกวานนี้ (18 ก.พ.) ปรากฎว่า มียอดจองซื้อกว่า 30%
หรือประมาณ 15,000 ล.บาท ของวงเงิน 50,000 ล.บาท ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจสามารถจองซื้อได้จนถึงวันที่ 26 ก.พ. ที่ ธพ.ตัวแทน
จำหน่ายทุกแห่ง (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าญี่ปุ่นจะได้เปรียบดุลการค้าในเดือน ม.ค.51 35.0 พันล้านเยน รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ
วันที่ 19 ก.พ.51 อัตราการเติบโตในภาคการส่งออกของญี่ปุ่นเดือน ม.ค.51 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการขนส่งสินค้าลดลงในช่วงวันหยุดปีใหม่
หลายวัน ขณะที่ยอดเกินดุลการค้าในเดือน ธ.ค.50 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอัตราการเติบโตของการส่งออก
สินค้าไปจีนและยุโรปกำลังชะลอตัว ส่วนการส่งออกสินค้าไป สรอ. ก็ลดลงเช่นกัน ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยกลางจากการพยากรณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
คาดว่าญี่ปุ่นจะได้เปรียบดุลการค้าในเดือน ม.ค.51 จำนวน 35.0 พันล้านเยน (324.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.) เทียบกับที่ขาดดุลการค้า
3.49 พันล้านเยน (ข้อมูลยังไม่ได้ปรับตัวเลข) ในเดือน ม.ค.50 (รอยเตอร์)
2. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเกาหลีใต้ต่ำที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี รายงานจากจากกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 18 ก.พ.51
เมื่อวานนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ออกจำหน่ายพันธบัตรอายุ 182 วันที่มีผลตอบแทนต่ำที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี พร้อมกันนี้ ธ.กลางยังได้ออกขาย MSBs
(monetary stabilisation bonds) จำนวน 500 พัน ล. วอน (529.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.) ที่มีระยะเวลา 91 วัน และ 63 วัน ที่มี
ผลตอบแทนร้อยละ 4.90 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 45 ที่มีการจำหน่ายพันธบัตรดังกล่าวที่มีผลตอบแทนร้อยละ 4.89 ท่ามกลางการคาดการณ์
ของบรรดานักวิเคราะห์ที่คาดว่า ธ.กลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายต้นเดือนหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีครึ่งเช่นกัน (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่ำที่สุดในรอบกว่า 5 ปี รายงานจากกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 51 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค.อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 3.1
ในเดือน ธ.ค. และอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบกว่า 5 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 45 แม้ว่าจะมีความวิตกว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะชะลอตัวลง
เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ สรอ. ทั้งนี้นับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปีที่แล้วอัตราการว่างงานของเกาหลีใต้อยู่ระหว่างร้อยละ 3.1
ถึงร้อยละ 3.4 ซึ่งตัวเลขการว่างงานดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยภายหลังจาก 1 สัปดาห์ ที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ที่ร้อยละ 5.0 เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันหลังจากที่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ที่ผ่านมา
สำหรับจำนวนการจ้างงานของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 23.59 ล้านคน จาก 23.55 ล้านคน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา
(รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ต่อเดือนสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 18 ก.พ.51
ยอดส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันซึ่งมีสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 8.4
ในเดือน ม.ค.51 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากลดลงต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.5 ต่อเดือน หลังจากลดลงร้อยละ 1.8 ต่อเดือนในเดือนก่อน โดยหากเทียบต่อปี ยอดส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
มีมูลค่ารวม 15.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 5.7 ต่อปี หลังจากลดลงร้อยละ 4.5 ต่อปีในเดือนก่อน ทั้งนี้
เป็นผลจากยอดส่งออกที่สูงขึ้นของปิโตรเคมีและฮาร์ดดิสก์ โดยยอดส่งออกปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.3 ต่อปี ในขณะที่ยอดส่งออกสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์และยาลดลงร้อยละ 1.8 และร้อยละ 26.7 ต่อปีตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.พ. 51 18 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.517 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.2960/32.6371 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.27141 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 824.99/15.01 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,900/14,000 13,900/14,000 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 90.78 90.94 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 32.79*/29.14* 32.79*/29.14* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มเมื่อ 30 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--