ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูฯ เปิดประมูลหุ้นของสถาบันการเงินที่ล้มละลาย 56 แห่ง รวม 33 บริษัท นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส.ฝ่ายบริหาร
กองทุน ธปท. ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กล่าวว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เปิดให้ผู้สนใจยื่นซองประกวดราคาซื้อหลักทรัพย์ประเภท
หุ้นสามัญที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันการเงินที่ล้มละลาย 56 แห่ง รวม 33 บริษัท ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถจำหน่ายออกไปได้ทั้งหมด เพราะกองทุน
ฟื้นฟูฯ ได้เปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยแยกเป็น 2 ประเภท คือ สำหรับผู้สนใจประมูลซื้อหุ้นเพียงหนึ่งบริษัท และ
สำหรับการยื่นประมูลซื้อมากกว่าหนึ่งบริษัท นอกจากนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ ยังออกเดินสายและให้รายละเอียดของสินทรัพย์ดังกล่าวแก่ผู้ที่สนใจ
ทั้งนี้ หุ้นของทั้ง 33 บริษัท ส่วนใหญ่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ในเกณฑ์ดีและบางบริษัทหากซื้อหุ้นไปแล้วจะได้สิทธิเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เนื่องจากหุ้น
ที่นำออกจำหน่ายมีสัดส่วนที่สูงมาก โดยผู้สนใจสามารถประเมินราคาได้จากรายละเอียดงบการเงินที่ ธปท. เผยแพร่ อย่างไรก็ตาม แม้หุ้นของ
ทั้ง 33 บริษัท จะเคยถูกนำออกมาขายหลายรอบแล้วแต่ไม่ได้สามารถจำหน่ายได้ แต่ครั้งนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้พยายามให้คำแนะนำมากขึ้นจึงน่า
จะช่วยให้การจำหน่ายดีขึ้น (มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท. คาดว่าราคาที่อยู่อาศัยของไทยปีนี้จะปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้นมาก ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ ธปท. ออกบทวิจัยเรื่อง ราคาบ้าน
ในเอเชียแปซิฟิกสูงเกินไปหรือไม่ โดยระบุว่าการลดลงของราคาบ้านอย่างรวดเร็วและรุนแรงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจาก
การสำรวจราคาบ้าน 9 ประเทศ ในเอเชียแปซิฟิก พบว่าราคาบ้านมีความผันผวน ขณะที่ราคาบ้านในฮ่องกงและเกาหลีใต้จะเริ่มสูงกว่ามูลค่า
ที่แท้จริงแต่ยังไม่พบปัญหาฟองสบู่หรือเข้าสู่โซนอันตราย สำหรับประเทศที่เหลือรวมทั้งไทยยังไม่พบว่าราคาบ้านสูงเกินมูลค่าที่แท้จริง แต่ในส่วน
ของบ้านหรูพบว่าราคาบ้านเริ่มสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงบ้าง อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ยอมรับว่าการเก็งกำไรราคาบ้านในเอเชียและไทย
มีอยู่จริงในที่อยู่อาศัยบางประเภท เช่น ที่อยู่ในเมือง แต่ภาพรวมยังอยู่ในภาวะปกติ ซึ่ง ธปท. ยังจำเป็นที่จะต้องจับตาปริมาณของบ้านในเมือง
ทั้งบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าใจความเป็นไปได้ที่จะเกิดฟองสบู่ในอสังหาฯ ประเภทนี้ ทั้งนี้ ธปท. คาดว่าราคาที่อยู่อาศัย
ของไทยปีนี้จะปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้นมากจากราคาวัสดุก่อสร้างและราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
3. สินเชื่อของระบบ ธ.พาณิชย์ไทยเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.01 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานตัวเลขสินเชื่อและ
เงินฝากในระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ 31 ม.ค.51 มียอดคงค้างสินเชื่อจำนวน 5,156,711 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 618 ล้านบาท
หรือร้อยละ 0.01 แต่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.59 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงจากเดือน
ก่อนหน้า 6,974 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.21 โดยเป็นการลดลงของ ธ.ไทยพาณิชย์แห่งเดียว 23,877 ล้านบาท ขณะที่ ธ.กสิกรไทย
ธ.กรุงไทย และ ธ.กรุงเทพ มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง มีสินเชื่อรวมปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
1,954 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.18 จากการลดลงของสินเชื่อ ธ.ทหารไทย 4,039 ล้านบาท ขณะที่ ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.นครหลวงไทย
มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 9,546 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.36 ด้านเงินฝากในระบบ
ธ.พาณิชย์ไทยเดือน ม.ค.51 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,043,993 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 115,246 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.94
แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.69 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
39,306 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.01 ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 24,369 ล้านบาท และ
กลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 51,571 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.10 (ผัจัดการรายวัน)
4. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ ก.คลังช่วยหามาตรการเชิญชวนบริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนเพิ่มขึ้น นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา
ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า ในการหารือกับ รมว.คลังครั้งที่ผ่านมา ได้ขอให้ ก.คลังช่วยหามาตรการสนับสนุนเพื่อเชิญชวน
บริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น โดยหนึ่งในมาตรการที่เสนอคือ มาตรการภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
(ซีจี) ซึ่งถ้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีซีจีที่ดีอยู่แล้วควรให้บริษัทเหล่านี้ได้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น อาจไม่จำเป็นที่เจ้าหน้าที่
ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบงบการเงินอย่างละเอียดมากนัก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้บ้าง นอกจากนี้ ยังขอให้ ก.คลังช่วยศึกษาแนวทางสนับสนุน
การควบรวมกิจการของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้การควบรวมกิจการของบริษัทจดทะเบียนมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมทั้งขอให้ ก.คลังแก้
กฎหมายเกี่ยวกับการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะหากตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องทำการแปรรูปตัวองค์กรจริง แต่กฎหมายยังไม่มีการแก้ไข การ
ดำเนินการในเรื่องเหล่านี้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก ส่วนแผนการเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้นได้เสนอให้ ก.คลังศึกษาแนวทางการ
จัดตั้งกองทุนบำนาญแห่งชาติขึ้นมาและให้กองทุนนี้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเหมือนกับที่สิงคโปร์ทำอยู่ในปัจจุบัน และเชื่อว่ากองทุนลักษณะนี้
จะเพิ่มบทบาทให้กับตลาดหุ้นไทยได้อย่างมาก นอกจากนี้ ยังเสนอให้ ก.คลังจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนด้วย เพื่อร่วมกันพัฒนาตลาดทุนไทย
อย่างจริงจัง พร้อมขอให้ รมว.คลัง เป็นประธานในคณะกรรมการชุดดังกล่าว ขณะเดียวกันจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
เช่น ตลาดหลักทรัพย์ฯ กลต. ธปท. หรือ สภาพัฒน์ ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ในเดือน ก.พ. 51 ราคาบ้านในอังกฤษเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อปีในอัตราต่ำสุดในรอบ 22 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ
25 ก.พ.51 บริษัทวิจัยตลาดบ้าน Hometrack รายงานราคาบ้านในอังกฤษและเวลส์ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนในเดือน ก.พ.51 นับเป็น
การลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และหากเทียบต่อปีแล้ว ราคาบ้านเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 หลังจาก
ในเดือน ม.ค.51 ราคาบ้านลดลงร้อยละ 0.3 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อปี โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 8.5 สัปดาห์ในการขายบ้าน
แต่ละยูนิต นานสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจดังกล่าวในปี 44 แต่อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ซื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 8
เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว โดยส่วนใหญ่อยู่ในลอนดอนซึ่งตัวเลขผู้จดทะเบียนรายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เป็นสัญญาณว่าความ
ต้องการในตลาดบ้านเริ่มดีขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าเป็นผลมาจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษถึง 2 ครั้งในช่วง
3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี แต่ตลาดการเงินคาดว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลงไป
เหลือร้อยละ 4.75 ต่อปีภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราว่างงานในสหภาพยุโรปจะลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 7 ในปีนี้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 22 ก.พ.51
คณะกรรมาธิการสภายุโรปคาดว่าภายในปี 52 จะมีงานใหม่เกิดขึ้น 5 ล้านตำแหน่งในสหภาพยุโรปหรือ EU และคาดว่าอัตราว่างงานในปีนี้ของ EU
ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศจะลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 7 นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการดังกล่าวยังรายงานอัตราการจ้างงาน
ในปัจจุบันของ EU อยู่ที่ร้อยละ 66 เข้าใกล้อัตราร้อยละ 70 ที่ตั้งเป้าไว้ภายในปี 53 โดยต้องมีการสร้างงานใหม่ 20 ล้านตำแหน่งภายในช่วง
3 ปีข้างหน้าจึงจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น แต่อย่างไรก็ดีคณะกรรมาธิการได้แสดงความกังวลกับการว่างงานในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยซึ่งหลาย
ประเทศรายงานว่ามีอัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 17.4 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนงบสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการ
ศึกษาและการฝึกอบรม (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจยูโรโซนมีสัญญาณการฟื้นตัวจาก PMI ภาคบริการปรับตัวดีขึ้นในรอบ 4 ปีครึ่ง รายงานจากลอนดอนเมื่อ 22 ก.พ.51
รอยเตอร์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนแสดงสัญญาณการฟื้นตัว เห็นได้จากดัชนีที่สะท้อนความเชื่อมั่นของภาคบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 4 ปีครึ่ง
แม้ว่าความเชื่อมั่นของภาคการผลิตจะชะลอลงเล็กน้อยก็ตาม โดยจากการเปิดเผยของ RBS/NTC พบว่า Services Purchasing Managers
Index หรือ PMI ของภาคบริการ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาคบริการ ในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.3 จาก
ระดับ 50.6 ในเดือนก่อนหน้าซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง และเหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่
ระดับ 50.7 และดัชนีฯ อยู่เหนือ 50 ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวของภาคบริการ ขณะที่ Manufacturing Purchasing Managers
Index หรือ PMI ของภาคการผลิต ลดลงเล็กน้อยที่ระดับ 52.3 จากระดับ 52.8 ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50
ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวของภาคการผลิต(รอยเตอร์)
4. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือน ธ.ค. ชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 51
สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 3.6 บ่งชี้ว่ามีความ
เป็นไปได้ที่ผลผลิตอุตสาหกรรมจะลดลงในเดือนหน้า ทั้งนี้ คำสั่งซื้อเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่ำกว่าผลการสำรวจ
โดยรอยเตอร์ก่อนหน้านั้นที่คาดว่าคำสั่งซื้อจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบต่อปี ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือนคาดว่าจะชะลอลงเพียงร้อยละ 1.0
ทั้งนี้ David Brown หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Bear Stearns International เห็นว่าการลดลงอย่างมากของคำสั่งซื้อใหม่ในสินค้า
อุตสาหกรรมเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอลงอย่างรวดเร็วซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ปรับลดประมาณการ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปีนี้เหลือร้อยละ 1.8 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.2 ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างวิตกว่า
ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขนส่งและอุปกรณ์ที่คำสั่งซื้อลดลงถึงร้อยละ 10(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ก.พ. 51 22 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.348 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.1705/32.4993 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26375 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 826.86/14.71 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,350/14,450 14,350/14,450 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 91.69 93.70 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.19*/29.54* 33.19*/29.54* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กองทุนฟื้นฟูฯ เปิดประมูลหุ้นของสถาบันการเงินที่ล้มละลาย 56 แห่ง รวม 33 บริษัท นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส.ฝ่ายบริหาร
กองทุน ธปท. ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กล่าวว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เปิดให้ผู้สนใจยื่นซองประกวดราคาซื้อหลักทรัพย์ประเภท
หุ้นสามัญที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันการเงินที่ล้มละลาย 56 แห่ง รวม 33 บริษัท ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถจำหน่ายออกไปได้ทั้งหมด เพราะกองทุน
ฟื้นฟูฯ ได้เปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยแยกเป็น 2 ประเภท คือ สำหรับผู้สนใจประมูลซื้อหุ้นเพียงหนึ่งบริษัท และ
สำหรับการยื่นประมูลซื้อมากกว่าหนึ่งบริษัท นอกจากนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ ยังออกเดินสายและให้รายละเอียดของสินทรัพย์ดังกล่าวแก่ผู้ที่สนใจ
ทั้งนี้ หุ้นของทั้ง 33 บริษัท ส่วนใหญ่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ในเกณฑ์ดีและบางบริษัทหากซื้อหุ้นไปแล้วจะได้สิทธิเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เนื่องจากหุ้น
ที่นำออกจำหน่ายมีสัดส่วนที่สูงมาก โดยผู้สนใจสามารถประเมินราคาได้จากรายละเอียดงบการเงินที่ ธปท. เผยแพร่ อย่างไรก็ตาม แม้หุ้นของ
ทั้ง 33 บริษัท จะเคยถูกนำออกมาขายหลายรอบแล้วแต่ไม่ได้สามารถจำหน่ายได้ แต่ครั้งนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้พยายามให้คำแนะนำมากขึ้นจึงน่า
จะช่วยให้การจำหน่ายดีขึ้น (มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท. คาดว่าราคาที่อยู่อาศัยของไทยปีนี้จะปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้นมาก ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ ธปท. ออกบทวิจัยเรื่อง ราคาบ้าน
ในเอเชียแปซิฟิกสูงเกินไปหรือไม่ โดยระบุว่าการลดลงของราคาบ้านอย่างรวดเร็วและรุนแรงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจาก
การสำรวจราคาบ้าน 9 ประเทศ ในเอเชียแปซิฟิก พบว่าราคาบ้านมีความผันผวน ขณะที่ราคาบ้านในฮ่องกงและเกาหลีใต้จะเริ่มสูงกว่ามูลค่า
ที่แท้จริงแต่ยังไม่พบปัญหาฟองสบู่หรือเข้าสู่โซนอันตราย สำหรับประเทศที่เหลือรวมทั้งไทยยังไม่พบว่าราคาบ้านสูงเกินมูลค่าที่แท้จริง แต่ในส่วน
ของบ้านหรูพบว่าราคาบ้านเริ่มสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงบ้าง อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ยอมรับว่าการเก็งกำไรราคาบ้านในเอเชียและไทย
มีอยู่จริงในที่อยู่อาศัยบางประเภท เช่น ที่อยู่ในเมือง แต่ภาพรวมยังอยู่ในภาวะปกติ ซึ่ง ธปท. ยังจำเป็นที่จะต้องจับตาปริมาณของบ้านในเมือง
ทั้งบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าใจความเป็นไปได้ที่จะเกิดฟองสบู่ในอสังหาฯ ประเภทนี้ ทั้งนี้ ธปท. คาดว่าราคาที่อยู่อาศัย
ของไทยปีนี้จะปรับขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้นมากจากราคาวัสดุก่อสร้างและราคาค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
3. สินเชื่อของระบบ ธ.พาณิชย์ไทยเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.01 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานตัวเลขสินเชื่อและ
เงินฝากในระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ 31 ม.ค.51 มียอดคงค้างสินเชื่อจำนวน 5,156,711 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 618 ล้านบาท
หรือร้อยละ 0.01 แต่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.59 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงจากเดือน
ก่อนหน้า 6,974 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.21 โดยเป็นการลดลงของ ธ.ไทยพาณิชย์แห่งเดียว 23,877 ล้านบาท ขณะที่ ธ.กสิกรไทย
ธ.กรุงไทย และ ธ.กรุงเทพ มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง มีสินเชื่อรวมปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
1,954 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.18 จากการลดลงของสินเชื่อ ธ.ทหารไทย 4,039 ล้านบาท ขณะที่ ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.นครหลวงไทย
มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 9,546 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.36 ด้านเงินฝากในระบบ
ธ.พาณิชย์ไทยเดือน ม.ค.51 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,043,993 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 115,246 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.94
แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.69 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
39,306 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.01 ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 24,369 ล้านบาท และ
กลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 51,571 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.10 (ผัจัดการรายวัน)
4. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ ก.คลังช่วยหามาตรการเชิญชวนบริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนเพิ่มขึ้น นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา
ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยว่า ในการหารือกับ รมว.คลังครั้งที่ผ่านมา ได้ขอให้ ก.คลังช่วยหามาตรการสนับสนุนเพื่อเชิญชวน
บริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น โดยหนึ่งในมาตรการที่เสนอคือ มาตรการภาษีสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
(ซีจี) ซึ่งถ้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีซีจีที่ดีอยู่แล้วควรให้บริษัทเหล่านี้ได้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น อาจไม่จำเป็นที่เจ้าหน้าที่
ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบงบการเงินอย่างละเอียดมากนัก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้บ้าง นอกจากนี้ ยังขอให้ ก.คลังช่วยศึกษาแนวทางสนับสนุน
การควบรวมกิจการของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้การควบรวมกิจการของบริษัทจดทะเบียนมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมทั้งขอให้ ก.คลังแก้
กฎหมายเกี่ยวกับการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะหากตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องทำการแปรรูปตัวองค์กรจริง แต่กฎหมายยังไม่มีการแก้ไข การ
ดำเนินการในเรื่องเหล่านี้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก ส่วนแผนการเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้นได้เสนอให้ ก.คลังศึกษาแนวทางการ
จัดตั้งกองทุนบำนาญแห่งชาติขึ้นมาและให้กองทุนนี้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเหมือนกับที่สิงคโปร์ทำอยู่ในปัจจุบัน และเชื่อว่ากองทุนลักษณะนี้
จะเพิ่มบทบาทให้กับตลาดหุ้นไทยได้อย่างมาก นอกจากนี้ ยังเสนอให้ ก.คลังจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนด้วย เพื่อร่วมกันพัฒนาตลาดทุนไทย
อย่างจริงจัง พร้อมขอให้ รมว.คลัง เป็นประธานในคณะกรรมการชุดดังกล่าว ขณะเดียวกันจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
เช่น ตลาดหลักทรัพย์ฯ กลต. ธปท. หรือ สภาพัฒน์ ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ในเดือน ก.พ. 51 ราคาบ้านในอังกฤษเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อปีในอัตราต่ำสุดในรอบ 22 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ
25 ก.พ.51 บริษัทวิจัยตลาดบ้าน Hometrack รายงานราคาบ้านในอังกฤษและเวลส์ลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือนในเดือน ก.พ.51 นับเป็น
การลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และหากเทียบต่อปีแล้ว ราคาบ้านเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 หลังจาก
ในเดือน ม.ค.51 ราคาบ้านลดลงร้อยละ 0.3 ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ต่อปี โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 8.5 สัปดาห์ในการขายบ้าน
แต่ละยูนิต นานสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจดังกล่าวในปี 44 แต่อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ซื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 8
เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว โดยส่วนใหญ่อยู่ในลอนดอนซึ่งตัวเลขผู้จดทะเบียนรายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เป็นสัญญาณว่าความ
ต้องการในตลาดบ้านเริ่มดีขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าเป็นผลมาจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษถึง 2 ครั้งในช่วง
3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี แต่ตลาดการเงินคาดว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลงไป
เหลือร้อยละ 4.75 ต่อปีภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราว่างงานในสหภาพยุโรปจะลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 7 ในปีนี้ รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 22 ก.พ.51
คณะกรรมาธิการสภายุโรปคาดว่าภายในปี 52 จะมีงานใหม่เกิดขึ้น 5 ล้านตำแหน่งในสหภาพยุโรปหรือ EU และคาดว่าอัตราว่างงานในปีนี้ของ EU
ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศจะลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 7 นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการดังกล่าวยังรายงานอัตราการจ้างงาน
ในปัจจุบันของ EU อยู่ที่ร้อยละ 66 เข้าใกล้อัตราร้อยละ 70 ที่ตั้งเป้าไว้ภายในปี 53 โดยต้องมีการสร้างงานใหม่ 20 ล้านตำแหน่งภายในช่วง
3 ปีข้างหน้าจึงจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น แต่อย่างไรก็ดีคณะกรรมาธิการได้แสดงความกังวลกับการว่างงานในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยซึ่งหลาย
ประเทศรายงานว่ามีอัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 17.4 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนงบสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการ
ศึกษาและการฝึกอบรม (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจยูโรโซนมีสัญญาณการฟื้นตัวจาก PMI ภาคบริการปรับตัวดีขึ้นในรอบ 4 ปีครึ่ง รายงานจากลอนดอนเมื่อ 22 ก.พ.51
รอยเตอร์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนแสดงสัญญาณการฟื้นตัว เห็นได้จากดัชนีที่สะท้อนความเชื่อมั่นของภาคบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 4 ปีครึ่ง
แม้ว่าความเชื่อมั่นของภาคการผลิตจะชะลอลงเล็กน้อยก็ตาม โดยจากการเปิดเผยของ RBS/NTC พบว่า Services Purchasing Managers
Index หรือ PMI ของภาคบริการ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาคบริการ ในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.3 จาก
ระดับ 50.6 ในเดือนก่อนหน้าซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง และเหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่
ระดับ 50.7 และดัชนีฯ อยู่เหนือ 50 ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวของภาคบริการ ขณะที่ Manufacturing Purchasing Managers
Index หรือ PMI ของภาคการผลิต ลดลงเล็กน้อยที่ระดับ 52.3 จากระดับ 52.8 ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50
ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวของภาคการผลิต(รอยเตอร์)
4. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือน ธ.ค. ชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 51
สำนักงานสถิติแห่งชาติสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 3.6 บ่งชี้ว่ามีความ
เป็นไปได้ที่ผลผลิตอุตสาหกรรมจะลดลงในเดือนหน้า ทั้งนี้ คำสั่งซื้อเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่ำกว่าผลการสำรวจ
โดยรอยเตอร์ก่อนหน้านั้นที่คาดว่าคำสั่งซื้อจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบต่อปี ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือนคาดว่าจะชะลอลงเพียงร้อยละ 1.0
ทั้งนี้ David Brown หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Bear Stearns International เห็นว่าการลดลงอย่างมากของคำสั่งซื้อใหม่ในสินค้า
อุตสาหกรรมเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอลงอย่างรวดเร็วซึ่งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ปรับลดประมาณการ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในปีนี้เหลือร้อยละ 1.8 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 2.2 ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างวิตกว่า
ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขนส่งและอุปกรณ์ที่คำสั่งซื้อลดลงถึงร้อยละ 10(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ก.พ. 51 22 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.348 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.1705/32.4993 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26375 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 826.86/14.71 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,350/14,450 14,350/14,450 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 91.69 93.70 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.19*/29.54* 33.19*/29.54* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--