ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. แนะให้ใช้มาตรการการคลังฟื้นการลงทุน เนื่องจากเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้น นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ
ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. แสดงปาฐกถาที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในหัวข้อเรื่องการผสมผสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
ว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้นนโยบายการเงินและนโยบายการคลังมีการประสานงานและเป็นส่วนสำคัญในการดูแลการขยายตัวของเศรษฐกิจ
โดย ธปท. ได้ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่องในปี 2543 — 2546 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ และกลับมาใช้นโยบาย
การเงินเข้มงวดตั้งแต่ปี 2547 — 2548 แต่ในปี 2549 ที่ผ่านมานโยบายการเงินได้กลับมาอยู่ในช่วงผ่อนคลายอีกครั้งเพื่อกระตุ้นการขยายตัว
ของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ความท้าทายของการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของไทยในปี 2551 และ 2552 นั้น ธปท. มองว่าการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจ สรอ. จะเป็นสาเหตุให้การส่งออกของไทยในปีนี้ขยายตัวลดลง จากที่ขยายตัวดีและเป็นส่วนช่วยในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ในปีที่ผ่านมา ขณะที่การฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคในประเทศยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ขณะเดียวกันมีความเสี่ยงในด้านการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
จากราคาน้ำมันในตลาดโลก และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นยังคงมีอยู่ต่อไปและเป็นข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5 — 6 โดยสิ่งที่จะต้องมีคือการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน
จะต้องอยู่ที่ร้อยละ 5 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐในปีนี้จะต้องเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของ
ปีก่อนอย่างน้อยร้อยละ 8 เพื่อให้ความแข็งแกร่งของการใช้จ่ายภาครัฐไปฟื้นการขยายตัวของภาคธุรกิจและความเชื่อมั่นของประชาชนใน
การบริโภค โดยการขาดดุลงบประมาณปี 52 ควรจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง และควรจะมีความชัดเจนในการลงทุนด้านการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟฟ้า
และโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐในโครงการอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงต่อไปยังต้อง
ระมัดระวังในเรื่องอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ขณะเดียวกันหากในช่วงต่อไปแรงกดดันทางด้านราคาลดลงกว่าที่ ธปท. คาดการณ์ไว้จากการ
แข็งค่าขึ้นของเงินบาท หรือราคาน้ำมันโลกที่ปรับลดลง รวมทั้งหากเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวมากจนเป็นสาเหตุให้การขยายตัวของการ
ส่งออกในปีนี้ลดต่ำลงกว่าที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ นโยบายการเงินก็พร้อมที่จะเข้าไปช่วยดูแลการขยายตัวของเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
(ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
2. ยอดหนี้สาธารณะ ณ 31 ธ.ค.50 มีจำนวน 3.1 ล้านล้านบาท ลดลง 2.5 หมื่นล้านบาท รายงานข่าวจาก ก.คลังแจ้งว่า
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ธ.ค.50 มีจำนวน 3,183,776 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.96 ของจีดีพี ลดลงจากเดือนก่อน 25,266 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,051,140 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 939,271 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
166,572 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 26,793 ล้านบาท ซึ่งแยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 399,143 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.54
และหนี้ในประเทศ 2,784,633 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.46 โดยเป็นหนี้ระยะยาว 3,000,048 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.23 และหนี้
ระยะสั้น 183,728 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.77 ทั้งนี้ หนี้สาธารณะที่ลดลงส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ลดลง
15,846 ล้านบาท หนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันลดลง 5,776 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่
สถาบันการเงินที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลง 5,040.35 ล้านบาท (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. สศช. ปรับเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 — 5.5 นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5 สูงกว่าประมาณการ
ล่าสุดในช่วงปลายปีที่ผ่านมาที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4 — 5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่า
จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 6.7 เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.4 ขณะที่กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมหลายตัวเพิ่มขึ้น เช่น
กลุ่มยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มสูงกว่าร้อยละ 90 ประกอบกับตัวเลขที่นักลงทุนแจ้งความประสงค์ผ่านทางบีโอไอในปีนี้มีมูลค่ากว่า
7.25 แสนล้านบาท ส่วนนโยบายของรัฐบาล เช่น การทำโครงการเอสเอ็มแอล กองทุนหมู่บ้าน และธนาคารประชาชน จะมีผลต่อการ
กระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานราก ทั้งนี้ การคำนวณอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวยังไม่นับรวมเงินที่จะลงทุนในโครงการขนาดใหญ่
เนื่องจากยังไม่มีการแถลงมูลค่าการลงทุนที่ชัดเจน สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 50 มีอัตราการเติบโตร้อยละ 4.8 โดยได้รับ
การสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.51 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นร้อยละ 7
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
4. คาดว่า กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย นายสมชัย จิตสุชน ผอ.วิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้
ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ในการประชุม กนง. ของ ธปท. ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ เชื่อว่า กนง. จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม
ร้อยละ 3.25 เนื่องจากยังมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไม่เชื่อว่า ธปท. จะใช้นโยบายลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในภาวะที่เงินเฟ้อน่าเป็นห่วง ขณะที่แนวโน้มต้นทุนการกู้เงินของภาครัฐและเอกชนก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตาม โดยเฉพาะการกู้เงินของรัฐบาลที่
จะมีการตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เป็นภาระกับเงินงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า
กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เช่นกัน ท่ามกลางปัจจัยภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4
ปี 50 ที่เติบโตถึงร้อยละ 5.7 สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น และรัฐบาลกำลังจะผลักดันมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจออกมา ด้านนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารต่างชาติกล่าวว่า ธปท. คงจะไม่ลดดอกเบี้ยนโยบายเพราะเงินเฟ้อยังกดดันอยู่มาก
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมที่ร้อยละ 3.5 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 51
ในการประชุมนโยบายการเงิน ธ.กลางมาเลเซียเมื่อวานนี้ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมที่ร้อยละ 3.5 ต่อไปอีก เนื่องจาก
เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงในขณะที่มีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้การ
คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวนั้นเนื่องจากเห็นว่านโยบายการเงินในปัจจุบันยังคงสามารถสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างสมดุล
ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ โดย ธ.กลางคาดว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจยังคงขยายตัวดีเนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่เติบโต
อย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ธ.กลางเสริมว่ายังคงมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศรวมทั้งการสูงขึ้นของราคาสินค้าและอาหาร
ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่คาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ทั้งนี้เศรษฐกิจมาเลเซียชะลอตัวลง แต่ราคาสินค้านำเข้ากลับเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาอาหารและพลังงาน อย่างไรก็ตามทางการ
มาเลเซียได้ควบคุมระดับราคาสินค้าอย่างเข้มงวดด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐที่เข้าแทรกแซงราคาน้ำมันและต้นทุนน้ำตาล แต่อัตราเงินเฟ้อ
ยังคงเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงอีก แหล่งข่าวรอยเตอร์คาดว่า ประมาณการตัวเลข
การเติบโตทางเศรษฐกิจจของ ธ.กลางยุโรปในเดือนหน้าจะมีการปรับลดตัวเลขดังกล่าวลงจากเดิมที่เคยคาดการณ์เมื่อเดือน ธ.ค. ว่าจะอยู่ที่
ร้อยละ 2.0 (คาดการณ์อยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 — 2.5) ในขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เปลี่ยนแปลงคืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 (คาดการณ์อยู่
ระหว่าง 2.0 — 3.0) หรือสูงกว่านั้น ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อของยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูงโดยคาดว่าตัวเลขในเดือน ม.ค. จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2
และยุโรปยังคงต้องเผชิญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลงในขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทำให้ความหวังที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน
ระยะใกล้ๆนี้เป็นไปได้ยากขึ้น (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ต่อปีสูงสุดในรอบ 25 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
25 ก.พ.51 ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ต่อปีในเดือน ม.ค.51 สูงสุดในรอบ 25 ปี ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาอาหาร
ค่าเดินทาง และค่าที่อยู่อาศัยที่พุ่งสูงขึ้น สอดคล้องกับประมาณการของ ก.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคตลอด
ทั้งปี 51 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 — 5.5 ต่อปี และความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ม.ค.51
จะอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 6 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังปีนี้จะชะลอตัวลง ทั้งนี้ หากเทียบกับเดือนก่อน ดัชนี
ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว (รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.51 จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 ต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 25 ก.พ.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อเดือน
และร้อยละ 7.5 ต่อปีในเดือน ม.ค.51 หลังจากลดลงร้อยละ 4.7 ต่อเดือนและร้อยละ 1.7 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 โดยเป็นผลจาการเพิ่มขึ้น
ของผลผลิตยาและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยก่อนหน้านี้มีรายงานว่ายอดส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันในเดือน ม.ค.51 ซึ่งรวมถึงยาและโทรศัพท์มือถือ
เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วถึงร้อยละ 8.4 ต่อเดือน สูงกว่าที่คาดไว้ อันเป็นผลจากยอดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 16.8 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้อาจ
ชะลอตัวลงโดยขยายตัวระหว่างร้อยละ 4 — 6 ต่อปี หลังจากขยายตัวร้อยละ 7.7 ในปี 50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.พ. 51 25 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.292 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.0791/32.4234 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26625 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 838.74/16.52 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,200/14,300 14,350/14,450 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 93.29 91.69 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 33.19*/29.54* 33.19*/29.54* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. แนะให้ใช้มาตรการการคลังฟื้นการลงทุน เนื่องจากเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้น นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ
ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. แสดงปาฐกถาที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในหัวข้อเรื่องการผสมผสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
ว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้นนโยบายการเงินและนโยบายการคลังมีการประสานงานและเป็นส่วนสำคัญในการดูแลการขยายตัวของเศรษฐกิจ
โดย ธปท. ได้ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่องในปี 2543 — 2546 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ และกลับมาใช้นโยบาย
การเงินเข้มงวดตั้งแต่ปี 2547 — 2548 แต่ในปี 2549 ที่ผ่านมานโยบายการเงินได้กลับมาอยู่ในช่วงผ่อนคลายอีกครั้งเพื่อกระตุ้นการขยายตัว
ของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ความท้าทายของการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของไทยในปี 2551 และ 2552 นั้น ธปท. มองว่าการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจ สรอ. จะเป็นสาเหตุให้การส่งออกของไทยในปีนี้ขยายตัวลดลง จากที่ขยายตัวดีและเป็นส่วนช่วยในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ในปีที่ผ่านมา ขณะที่การฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคในประเทศยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ขณะเดียวกันมีความเสี่ยงในด้านการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ
จากราคาน้ำมันในตลาดโลก และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นยังคงมีอยู่ต่อไปและเป็นข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ ด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5 — 6 โดยสิ่งที่จะต้องมีคือการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน
จะต้องอยู่ที่ร้อยละ 5 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐในปีนี้จะต้องเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของ
ปีก่อนอย่างน้อยร้อยละ 8 เพื่อให้ความแข็งแกร่งของการใช้จ่ายภาครัฐไปฟื้นการขยายตัวของภาคธุรกิจและความเชื่อมั่นของประชาชนใน
การบริโภค โดยการขาดดุลงบประมาณปี 52 ควรจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง และควรจะมีความชัดเจนในการลงทุนด้านการขนส่งมวลชน เช่น รถไฟฟ้า
และโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐในโครงการอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงต่อไปยังต้อง
ระมัดระวังในเรื่องอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก ขณะเดียวกันหากในช่วงต่อไปแรงกดดันทางด้านราคาลดลงกว่าที่ ธปท. คาดการณ์ไว้จากการ
แข็งค่าขึ้นของเงินบาท หรือราคาน้ำมันโลกที่ปรับลดลง รวมทั้งหากเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวมากจนเป็นสาเหตุให้การขยายตัวของการ
ส่งออกในปีนี้ลดต่ำลงกว่าที่ ธปท. คาดการณ์ไว้ นโยบายการเงินก็พร้อมที่จะเข้าไปช่วยดูแลการขยายตัวของเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
(ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
2. ยอดหนี้สาธารณะ ณ 31 ธ.ค.50 มีจำนวน 3.1 ล้านล้านบาท ลดลง 2.5 หมื่นล้านบาท รายงานข่าวจาก ก.คลังแจ้งว่า
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ธ.ค.50 มีจำนวน 3,183,776 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.96 ของจีดีพี ลดลงจากเดือนก่อน 25,266 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,051,140 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 939,271 ล้านบาท หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
166,572 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 26,793 ล้านบาท ซึ่งแยกออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 399,143 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.54
และหนี้ในประเทศ 2,784,633 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.46 โดยเป็นหนี้ระยะยาว 3,000,048 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.23 และหนี้
ระยะสั้น 183,728 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.77 ทั้งนี้ หนี้สาธารณะที่ลดลงส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ลดลง
15,846 ล้านบาท หนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันลดลง 5,776 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่
สถาบันการเงินที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลง 5,040.35 ล้านบาท (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. สศช. ปรับเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 — 5.5 นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5 สูงกว่าประมาณการ
ล่าสุดในช่วงปลายปีที่ผ่านมาที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4 — 5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการลงทุนภาครัฐและเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่า
จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 6.7 เทียบกับปีก่อนที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 1.4 ขณะที่กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมหลายตัวเพิ่มขึ้น เช่น
กลุ่มยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มสูงกว่าร้อยละ 90 ประกอบกับตัวเลขที่นักลงทุนแจ้งความประสงค์ผ่านทางบีโอไอในปีนี้มีมูลค่ากว่า
7.25 แสนล้านบาท ส่วนนโยบายของรัฐบาล เช่น การทำโครงการเอสเอ็มแอล กองทุนหมู่บ้าน และธนาคารประชาชน จะมีผลต่อการ
กระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานราก ทั้งนี้ การคำนวณอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจดังกล่าวยังไม่นับรวมเงินที่จะลงทุนในโครงการขนาดใหญ่
เนื่องจากยังไม่มีการแถลงมูลค่าการลงทุนที่ชัดเจน สำหรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 50 มีอัตราการเติบโตร้อยละ 4.8 โดยได้รับ
การสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.51 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นร้อยละ 7
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
4. คาดว่า กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย นายสมชัย จิตสุชน ผอ.วิจัยการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้
ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ในการประชุม กนง. ของ ธปท. ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ เชื่อว่า กนง. จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม
ร้อยละ 3.25 เนื่องจากยังมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งไม่เชื่อว่า ธปท. จะใช้นโยบายลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในภาวะที่เงินเฟ้อน่าเป็นห่วง ขณะที่แนวโน้มต้นทุนการกู้เงินของภาครัฐและเอกชนก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตาม โดยเฉพาะการกู้เงินของรัฐบาลที่
จะมีการตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เป็นภาระกับเงินงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า
กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เช่นกัน ท่ามกลางปัจจัยภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4
ปี 50 ที่เติบโตถึงร้อยละ 5.7 สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก ขณะที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น และรัฐบาลกำลังจะผลักดันมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจออกมา ด้านนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารต่างชาติกล่าวว่า ธปท. คงจะไม่ลดดอกเบี้ยนโยบายเพราะเงินเฟ้อยังกดดันอยู่มาก
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมที่ร้อยละ 3.5 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 51
ในการประชุมนโยบายการเงิน ธ.กลางมาเลเซียเมื่อวานนี้ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับเดิมที่ร้อยละ 3.5 ต่อไปอีก เนื่องจาก
เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงในขณะที่มีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้การ
คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวนั้นเนื่องจากเห็นว่านโยบายการเงินในปัจจุบันยังคงสามารถสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างสมดุล
ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ โดย ธ.กลางคาดว่าในระยะสั้นเศรษฐกิจยังคงขยายตัวดีเนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่เติบโต
อย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ธ.กลางเสริมว่ายังคงมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศรวมทั้งการสูงขึ้นของราคาสินค้าและอาหาร
ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่คาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
ทั้งนี้เศรษฐกิจมาเลเซียชะลอตัวลง แต่ราคาสินค้านำเข้ากลับเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาอาหารและพลังงาน อย่างไรก็ตามทางการ
มาเลเซียได้ควบคุมระดับราคาสินค้าอย่างเข้มงวดด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐที่เข้าแทรกแซงราคาน้ำมันและต้นทุนน้ำตาล แต่อัตราเงินเฟ้อ
ยังคงเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงอีก แหล่งข่าวรอยเตอร์คาดว่า ประมาณการตัวเลข
การเติบโตทางเศรษฐกิจจของ ธ.กลางยุโรปในเดือนหน้าจะมีการปรับลดตัวเลขดังกล่าวลงจากเดิมที่เคยคาดการณ์เมื่อเดือน ธ.ค. ว่าจะอยู่ที่
ร้อยละ 2.0 (คาดการณ์อยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 — 2.5) ในขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เปลี่ยนแปลงคืออยู่ที่ร้อยละ 2.5 (คาดการณ์อยู่
ระหว่าง 2.0 — 3.0) หรือสูงกว่านั้น ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อของยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูงโดยคาดว่าตัวเลขในเดือน ม.ค. จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2
และยุโรปยังคงต้องเผชิญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ลดลงในขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นทำให้ความหวังที่จะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยใน
ระยะใกล้ๆนี้เป็นไปได้ยากขึ้น (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ต่อปีสูงสุดในรอบ 25 ปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
25 ก.พ.51 ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ต่อปีในเดือน ม.ค.51 สูงสุดในรอบ 25 ปี ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาอาหาร
ค่าเดินทาง และค่าที่อยู่อาศัยที่พุ่งสูงขึ้น สอดคล้องกับประมาณการของ ก.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคตลอด
ทั้งปี 51 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 — 5.5 ต่อปี และความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์บางคนที่คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ม.ค.51
จะอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 6 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังปีนี้จะชะลอตัวลง ทั้งนี้ หากเทียบกับเดือนก่อน ดัชนี
ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว (รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.51 จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 ต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 25 ก.พ.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อเดือน
และร้อยละ 7.5 ต่อปีในเดือน ม.ค.51 หลังจากลดลงร้อยละ 4.7 ต่อเดือนและร้อยละ 1.7 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 โดยเป็นผลจาการเพิ่มขึ้น
ของผลผลิตยาและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยก่อนหน้านี้มีรายงานว่ายอดส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันในเดือน ม.ค.51 ซึ่งรวมถึงยาและโทรศัพท์มือถือ
เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วถึงร้อยละ 8.4 ต่อเดือน สูงกว่าที่คาดไว้ อันเป็นผลจากยอดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 16.8 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้อาจ
ชะลอตัวลงโดยขยายตัวระหว่างร้อยละ 4 — 6 ต่อปี หลังจากขยายตัวร้อยละ 7.7 ในปี 50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.พ. 51 25 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.292 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.0791/32.4234 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26625 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 838.74/16.52 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,200/14,300 14,350/14,450 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 93.29 91.69 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 33.19*/29.54* 33.19*/29.54* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--