ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. รัฐบาลไม่มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นระบบคงที่ นายสมัคร สุนทรเวช นรม. กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีแนวคิด
เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นระบบคงที่ แต่ที่กล่าวเรื่องนี้เพราะต้องการให้ ธปท. ไปศึกษาการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ
เพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ที่เงินริงกิตคงที่ที่ 3.8 ริงกิต ต่อดอลลาร์ สรอ. เงินหยวน จากเดิม 7.5 หยวน ต่อดอลลาร์สรอ. มาอยู่ที่
4.5 หยวน ต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งไม่ได้พูดว่าจะให้ค่าเงินบาทไปใช้ระบบคงที่และจะไม่พูดเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและมาตรการกันสำรองร้อยละ 30
อีก เพราะถือว่าเป็นเรื่องของ ก.คลัง และ ธปท. ขณะที่ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ไทยใช้ระบบการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนแบบมีการจัดการ
ถือว่าเป็นระบบที่เหมาะสมและใช้มานานกว่า 10 ปี โดยที่ ธปท. สามารถดูแลได้ตามลำดับ หากกลับไปใช้ระบบตายตัวคงเป็นเรื่องที่ลำบาก
(โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, เดลินิวส์, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
2. มูดี้ส์คาดว่า ธปท. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ บ.มูดี้ส์ อินเวสเตอร์เซอร์วิส คาดว่า ธปท. จะลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.25 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 5.5
หลังจากที่ปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 4.8 ทั้งนี้ ไทยจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่จะมีอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วกว่าเดิมในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจ
ที่ย่ำแย่ในปี 50 จากปัญหาทางการเมือง หลังจากที่ไทยได้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีเสถียรภาพและความแน่นอนมากขึ้น ขณะที่
นักลงทุนต่างชาติที่ไม่มั่นใจกับรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติจะกลับมาเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและลงทุนมากขึ้น ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
บลจ.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า การประชุม กนง. วันนี้ (27 ก.พ.) มีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดลง แต่ต้องดูเรื่องการยกเลิก
มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ด้วย เพราะหากยกเลิกมาตรการดังกล่าวก็จะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อป้องกันการไหลเข้าของ
เงินทุนต่างชาติที่จะส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ก็น่าจะคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 เนื่องจากปัจจุบันภาวะเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงเหนือระดับร้อยละ 4 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. ครม. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ครม. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล จำนวน 5 คณะ โดยแต่ละคณะจะมี นรม. เป็น
ประธาน มี รมต. และ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นรองประธานและกรรมการ เพื่อดำเนินการใน 5 เรื่อง ที่เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่คือ
ด้านระบบขนส่ง รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟในภูมิภาค สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินในภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อทำให้ระบบขนส่งทาง
อากาศมีประสิทธิภาพ ด้านบริหารจัดการน้ำและระบบชลประทานที่เกี่ยวข้องกับ ก.เกษตรฯ และ ก.ทรัพยากรธรรมชาติฯ นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง
การพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ทั้งการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ เป็นต้น และ
ระบบการจัดการเรื่องสุขภาพ สาธารณสุข การพัฒนาแพทย์เฉพาะทาง และระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้นพบว่า
ทั้ง 5 โครงการนี้จะใช้เงินทุนทั้งหมดประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ภายใน 4 ปี ซึ่งอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตามความเหมาะสม
ในแต่ละโครงการต่อไป โดยปีแรกจะใช้งบประมาณไม่มากนักเพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของโครงการและเป็นการติดตามในรายละเอียด แต่จะ
เริ่มใช้งบประมาณมากขึ้นในปีที่ 2 และ 3 โดยแหล่งเงินมาจากงบประมาณ เงินกู้จากองค์กรต่างประเทศและในประเทศ รวมถึงการร่วมลงทุน
กับเอกชน (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
4. ไทยยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการ บีโอไอ
เปิดเผยว่า ผู้บริหารของ ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดเผยผลสำรวจการลงทุนและการประกอบกิจการของ
บริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศปี 50 พบว่า ไทยยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นในเกณฑ์ดีเนื่องจากมีความพร้อมในหลายด้าน ทั้งเรื่องต้นทุน
ระบบสาธารณูปโภค ความพร้อมของอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทญี่ปุ่นยกให้ไทยอยู่ในอันดับ 1 ที่จะ
ขยายการลงทุน เพราะบริษัทรถยนต์ที่ตั้งอยู่ในไทยมีกำไรสูงสุดเมื่อเทียบกับบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่น แต่ในด้านความน่าสนใจที่
จะเข้าไปลงทุนแล้ว ไทยจัดอยู่ในอันดับ 4 รองจากจีน อินเดีย และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ตลาดในประเทศ
ขยายตัวมาก นักลงทุนจึงเข้าไปลงทุนเพื่อรองรับตลาดในประเทศเป็นหลัก หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 7 — 8 ก็น่าสนใจสำหรับการลงทุน
อย่างไรก็ตาม โดยรวมนักลงทุนญี่ปุ่นยังพอใจการลงทุนในไทยแม้ว่าผลประกอบการจะลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง และแม้ว่าค่าเงินบาทจะเป็นปัญหา
ซึ่งการจะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทคงที่หรือไม่ไม่สำคัญเท่ากับขอให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ ส่วนสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนสนใจเวียดนามมากขึ้น
เพราะไทยเริ่มมีค่าแรงแพงขึ้น ขณะที่เวียดนามมีการพัฒนาแรงงานมากขึ้น ซึ่งในช่วงปี 50 มีบริษัทญี่ปุ่นแสดงความสนใจถอนการลงทุนจากไทย
ไปเวียดนามแล้ว 1 ราย (มติชน, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาสินค้าธุรกิจของจีนในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.4 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
วันที่ 26 ก.พ. 51 ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. ดัชนีราคาสินค้าของธุรกิจ (corporate goods price index — CGPI)
ซึ่งเป็นมาตรวัดราคาสินค้าที่ธุรกิจต้องจ่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบนำเข้าในการผลิตสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 และเมื่อ
เทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ทำสถิติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอย่างมากทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปีที่ร้อยละ 7.1 และอัตราเงินเฟ้อของสินค้าอุตสาหกรรมหน้าโรงงานเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.1 นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากเป็นผลกระทบจากพายุหิมะที่สร้างความเสียหายในตอนกลางและ
ตอนใต้ของจีนเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง และทำให้พืชผลเสียหาย ทั้งนี้ราคาสินค้าเกษตรที่ธุรกิจใช้เป็นวัตถุดิบนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8
จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วขณะที่ต้นทุนอาหารสูงขึ้นร้อยละ 14.3 ส่วนอาหารเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ราคาพืชผัก เมล็ดพืชที่ผ่าน
กระบวนการแล้ว และน้ำมันพืชต่างเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 8.5 5.7 และ 34.7 ตามลำดับ สำหรับเนื้อสุกร เนื้อวัว และเนื้อแกะ
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 68.2 50.1 และ 40.8 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ.51 ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 26 ก.พ.51
The Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ.51 ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปีที่ระดับ 75.0
จากระดับ 87.3 ในเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 82.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่น
เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ลดลงที่ระดับ 100.6 จาก ระดับ 114.3 และดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคลดลงต่ำสุดในรอบ
17 ปีที่ระดับ 57.9 จากระดับ 69.3 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นและดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคที่ลดลงในเดือน ก.พ. ถือเป็นการลดลงใน
อัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.48 ซึ่งเป็นช่วงที่ สรอ.ประสบภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคน Katrina เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ
สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.44 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ สรอ.ประสบภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ทุกตัวที่ปรับลดลงในเดือน ก.พ. ได้ส่งผลต่อแนวโน้มตลาดแรงงานของ สรอ.ด้วย โดยดัชนีที่สะท้อนว่าการ
หางานทำอยู่ในภาวะยากลำบาก เพิ่มขึ้นที่ระดับ 23.8 จากระดับ 20.6 ในเดือนก่อนหน้า เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ขณะที่
ดัชนีที่สะท้อนว่ามีงานเพียงพอสำหรับการจ้างงานกลับลดลงที่ระดับ 20.6 จากระดับ 23.8 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.48 ซึ่งล้วนเป็นปัจจัย
ที่ก่อให้เกิดความกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ได้เข้าสู่ภาวะซบเซาแล้ว (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นจากที่คาดว่าจะลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 26 ก.พ.51
ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจประมาณ 7,000 แห่งโดย Ifo เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 104.1 ในเดือน ก.พ.51
จากระดับ 103.4 ในเดือน ม.ค.51 ผิดจากที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 102.8 โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกซึ่ง
ชะลอตัวลงถึงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 และมีส่วนทำให้ในไตรมาสดังกล่าวเศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 หลังจากขยายตัว
ร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่ 3 ปี 50 ทั้งนี้ ผู้บริโภคในเยอรมนีไม่ยอมที่จะเพิ่มการใช้จ่ายแม้ว่าอัตราการว่างงานได้ลดลงแล้วก็ตาม จากความ
กังวลว่าการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมจะทำให้การดำรงชีวิตในวัยเกษียณมีความยากลำบากขึ้น ส่งผลให้อัตราการออมเพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาส
สุดท้ายปี 50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.7 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 37 (รอยเตอร์)
4. ในเดือน ก.พ.51 การค้าปลีกของอังกฤษชะลอตัวลงในขณะที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น รายงานจากลอนดอน เมื่อ 26 ก.พ.51
ดัชนีชี้วัดธุรกิจค้าปลีกจากผลสำรวจโดยสภาอุตสาหกรรมอังกฤษลดลงมาอยู่ที่ระดับ —3 ในเดือน ก.พ.51 จากระดับ +4 ในเดือนก่อน ลดลง
เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปีนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปีก่อน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ +4 ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคยังไม่ยินดีที่จะใช้จ่ายจากผลกระทบ
ของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน ในขณะเดียวกันดัชนีชี้วัดราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +48 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.39 ซึ่งสร้างความกังวล
ให้ ธ.กลางอังกฤษว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.พ. 51 26 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.266 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.0535/32.3993 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 834.67/22.66 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,400/14,500 14,200/14,300 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 92.68 93.29 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.19*/29.54* 33.19*/29.54* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. รัฐบาลไม่มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นระบบคงที่ นายสมัคร สุนทรเวช นรม. กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีแนวคิด
เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นระบบคงที่ แต่ที่กล่าวเรื่องนี้เพราะต้องการให้ ธปท. ไปศึกษาการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศ
เพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ที่เงินริงกิตคงที่ที่ 3.8 ริงกิต ต่อดอลลาร์ สรอ. เงินหยวน จากเดิม 7.5 หยวน ต่อดอลลาร์สรอ. มาอยู่ที่
4.5 หยวน ต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งไม่ได้พูดว่าจะให้ค่าเงินบาทไปใช้ระบบคงที่และจะไม่พูดเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและมาตรการกันสำรองร้อยละ 30
อีก เพราะถือว่าเป็นเรื่องของ ก.คลัง และ ธปท. ขณะที่ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ไทยใช้ระบบการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนแบบมีการจัดการ
ถือว่าเป็นระบบที่เหมาะสมและใช้มานานกว่า 10 ปี โดยที่ ธปท. สามารถดูแลได้ตามลำดับ หากกลับไปใช้ระบบตายตัวคงเป็นเรื่องที่ลำบาก
(โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, เดลินิวส์, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
2. มูดี้ส์คาดว่า ธปท. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ บ.มูดี้ส์ อินเวสเตอร์เซอร์วิส คาดว่า ธปท. จะลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3.25 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 5.5
หลังจากที่ปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 4.8 ทั้งนี้ ไทยจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่จะมีอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วกว่าเดิมในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจ
ที่ย่ำแย่ในปี 50 จากปัญหาทางการเมือง หลังจากที่ไทยได้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีเสถียรภาพและความแน่นอนมากขึ้น ขณะที่
นักลงทุนต่างชาติที่ไม่มั่นใจกับรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติจะกลับมาเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและลงทุนมากขึ้น ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
บลจ.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า การประชุม กนง. วันนี้ (27 ก.พ.) มีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดลง แต่ต้องดูเรื่องการยกเลิก
มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ด้วย เพราะหากยกเลิกมาตรการดังกล่าวก็จะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อป้องกันการไหลเข้าของ
เงินทุนต่างชาติที่จะส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ก็น่าจะคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 เนื่องจากปัจจุบันภาวะเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงเหนือระดับร้อยละ 4 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
3. ครม. แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ครม. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล จำนวน 5 คณะ โดยแต่ละคณะจะมี นรม. เป็น
ประธาน มี รมต. และ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นรองประธานและกรรมการ เพื่อดำเนินการใน 5 เรื่อง ที่เป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่คือ
ด้านระบบขนส่ง รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟในภูมิภาค สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินในภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อทำให้ระบบขนส่งทาง
อากาศมีประสิทธิภาพ ด้านบริหารจัดการน้ำและระบบชลประทานที่เกี่ยวข้องกับ ก.เกษตรฯ และ ก.ทรัพยากรธรรมชาติฯ นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง
การพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ทั้งการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ เป็นต้น และ
ระบบการจัดการเรื่องสุขภาพ สาธารณสุข การพัฒนาแพทย์เฉพาะทาง และระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้นพบว่า
ทั้ง 5 โครงการนี้จะใช้เงินทุนทั้งหมดประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ภายใน 4 ปี ซึ่งอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตามความเหมาะสม
ในแต่ละโครงการต่อไป โดยปีแรกจะใช้งบประมาณไม่มากนักเพราะเป็นช่วงเริ่มต้นของโครงการและเป็นการติดตามในรายละเอียด แต่จะ
เริ่มใช้งบประมาณมากขึ้นในปีที่ 2 และ 3 โดยแหล่งเงินมาจากงบประมาณ เงินกู้จากองค์กรต่างประเทศและในประเทศ รวมถึงการร่วมลงทุน
กับเอกชน (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
4. ไทยยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการ บีโอไอ
เปิดเผยว่า ผู้บริหารของ ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดเผยผลสำรวจการลงทุนและการประกอบกิจการของ
บริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศปี 50 พบว่า ไทยยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นในเกณฑ์ดีเนื่องจากมีความพร้อมในหลายด้าน ทั้งเรื่องต้นทุน
ระบบสาธารณูปโภค ความพร้อมของอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทญี่ปุ่นยกให้ไทยอยู่ในอันดับ 1 ที่จะ
ขยายการลงทุน เพราะบริษัทรถยนต์ที่ตั้งอยู่ในไทยมีกำไรสูงสุดเมื่อเทียบกับบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่น แต่ในด้านความน่าสนใจที่
จะเข้าไปลงทุนแล้ว ไทยจัดอยู่ในอันดับ 4 รองจากจีน อินเดีย และเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ตลาดในประเทศ
ขยายตัวมาก นักลงทุนจึงเข้าไปลงทุนเพื่อรองรับตลาดในประเทศเป็นหลัก หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 7 — 8 ก็น่าสนใจสำหรับการลงทุน
อย่างไรก็ตาม โดยรวมนักลงทุนญี่ปุ่นยังพอใจการลงทุนในไทยแม้ว่าผลประกอบการจะลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง และแม้ว่าค่าเงินบาทจะเป็นปัญหา
ซึ่งการจะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทคงที่หรือไม่ไม่สำคัญเท่ากับขอให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ ส่วนสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนสนใจเวียดนามมากขึ้น
เพราะไทยเริ่มมีค่าแรงแพงขึ้น ขณะที่เวียดนามมีการพัฒนาแรงงานมากขึ้น ซึ่งในช่วงปี 50 มีบริษัทญี่ปุ่นแสดงความสนใจถอนการลงทุนจากไทย
ไปเวียดนามแล้ว 1 ราย (มติชน, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาสินค้าธุรกิจของจีนในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.4 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
วันที่ 26 ก.พ. 51 ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. ดัชนีราคาสินค้าของธุรกิจ (corporate goods price index — CGPI)
ซึ่งเป็นมาตรวัดราคาสินค้าที่ธุรกิจต้องจ่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบนำเข้าในการผลิตสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 และเมื่อ
เทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ทำสถิติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอย่างมากทำสถิติสูงสุดในรอบ 11 ปีที่ร้อยละ 7.1 และอัตราเงินเฟ้อของสินค้าอุตสาหกรรมหน้าโรงงานเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.1 นักเศรษฐศาสตร์หลายคนกล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากเป็นผลกระทบจากพายุหิมะที่สร้างความเสียหายในตอนกลางและ
ตอนใต้ของจีนเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง และทำให้พืชผลเสียหาย ทั้งนี้ราคาสินค้าเกษตรที่ธุรกิจใช้เป็นวัตถุดิบนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8
จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วขณะที่ต้นทุนอาหารสูงขึ้นร้อยละ 14.3 ส่วนอาหารเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ราคาพืชผัก เมล็ดพืชที่ผ่าน
กระบวนการแล้ว และน้ำมันพืชต่างเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 8.5 5.7 และ 34.7 ตามลำดับ สำหรับเนื้อสุกร เนื้อวัว และเนื้อแกะ
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 68.2 50.1 และ 40.8 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ.51 ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 26 ก.พ.51
The Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ.51 ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปีที่ระดับ 75.0
จากระดับ 87.3 ในเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับ 82.0 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่น
เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ลดลงที่ระดับ 100.6 จาก ระดับ 114.3 และดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคลดลงต่ำสุดในรอบ
17 ปีที่ระดับ 57.9 จากระดับ 69.3 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นและดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคที่ลดลงในเดือน ก.พ. ถือเป็นการลดลงใน
อัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.48 ซึ่งเป็นช่วงที่ สรอ.ประสบภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคน Katrina เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ
สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.44 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ สรอ.ประสบภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ทุกตัวที่ปรับลดลงในเดือน ก.พ. ได้ส่งผลต่อแนวโน้มตลาดแรงงานของ สรอ.ด้วย โดยดัชนีที่สะท้อนว่าการ
หางานทำอยู่ในภาวะยากลำบาก เพิ่มขึ้นที่ระดับ 23.8 จากระดับ 20.6 ในเดือนก่อนหน้า เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 ขณะที่
ดัชนีที่สะท้อนว่ามีงานเพียงพอสำหรับการจ้างงานกลับลดลงที่ระดับ 20.6 จากระดับ 23.8 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.48 ซึ่งล้วนเป็นปัจจัย
ที่ก่อให้เกิดความกังวลว่าภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ได้เข้าสู่ภาวะซบเซาแล้ว (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นจากที่คาดว่าจะลดลง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 26 ก.พ.51
ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจประมาณ 7,000 แห่งโดย Ifo เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 104.1 ในเดือน ก.พ.51
จากระดับ 103.4 ในเดือน ม.ค.51 ผิดจากที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 102.8 โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของธุรกิจค้าปลีกซึ่ง
ชะลอตัวลงถึงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 และมีส่วนทำให้ในไตรมาสดังกล่าวเศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 หลังจากขยายตัว
ร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่ 3 ปี 50 ทั้งนี้ ผู้บริโภคในเยอรมนีไม่ยอมที่จะเพิ่มการใช้จ่ายแม้ว่าอัตราการว่างงานได้ลดลงแล้วก็ตาม จากความ
กังวลว่าการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมจะทำให้การดำรงชีวิตในวัยเกษียณมีความยากลำบากขึ้น ส่งผลให้อัตราการออมเพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาส
สุดท้ายปี 50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.7 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 37 (รอยเตอร์)
4. ในเดือน ก.พ.51 การค้าปลีกของอังกฤษชะลอตัวลงในขณะที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น รายงานจากลอนดอน เมื่อ 26 ก.พ.51
ดัชนีชี้วัดธุรกิจค้าปลีกจากผลสำรวจโดยสภาอุตสาหกรรมอังกฤษลดลงมาอยู่ที่ระดับ —3 ในเดือน ก.พ.51 จากระดับ +4 ในเดือนก่อน ลดลง
เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปีนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปีก่อน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ +4 ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคยังไม่ยินดีที่จะใช้จ่ายจากผลกระทบ
ของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน ในขณะเดียวกันดัชนีชี้วัดราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +48 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.39 ซึ่งสร้างความกังวล
ให้ ธ.กลางอังกฤษว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มสูงขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.พ. 51 26 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.266 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 32.0535/32.3993 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 834.67/22.66 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,400/14,500 14,200/14,300 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 92.68 93.29 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.19*/29.54* 33.19*/29.54* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--