ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.25 น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน
ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 หลังจากได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและ
แนวโน้มในระยะต่อไปพบว่าอุปสงค์ในประเทศเร่งตัวขึ้นทั้งจากการบริโภคและการลงทุน การส่งออกขยายตัวได้ดี ขณะที่ความเชื่อมั่นของ
ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนให้การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศมีความต่อเนื่อง
ซึ่งในระยะต่อไปจะช่วยชดเชยผลกระทบจากความเสี่ยงที่การส่งออกจะชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตาม
มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและอาจเร่งตัวต่อไปอีกระยะหนึ่งจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัย
ที่ ธปท. ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แม้ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะมีส่วนช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากราคาสินค้าในตลาดโลก
ลงได้บ้างก็ตาม แต่ราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูง ทั้งนี้ ธปท. ยังมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในเป้าหมาย 8 ไตรมาสข้างหน้า
และอัตราเงินเฟ้ออาจลดลงได้ในช่วงต่อไป ส่วนการที่อัตราดอกเบี้ยของไทยสูงกว่า สรอ. เชื่อว่าไม่มีผลต่อการไหลเข้าของเงินทุนมากนัก
เพราะอัตราดอกเบี้ยไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำสุดในเอเชียอยู่แล้ว ขณะที่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้
เงินทุนยังคงไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และสาเหตุที่เงินทุนไหลเข้าและทำให้เงินบาทแข็งค่ามาจากการที่ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่
ผู้ส่งออกนำดอลลาร์ สรอ. มาขายเป็นเงินบาทจึงเป็นแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ย (โลกวันนี้,
โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. เลขาธิการ กลต. เสนอ 4 แนวทางดูแลค่าเงินบาท นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ กลต. กล่าวว่า รัฐบาล
ควรจะเร่งดำเนินการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เพื่อเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติโดยเร็ว และหลังจากยกเลิกควรออก
มาตรการมาดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินไป แนวทางแรกคือ การกำหนดค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับคู่แข่ง โดย ธปท. และ
ก.คลัง ควรหารือร่วมกันให้ได้ว่าภายใน 1 — 3 ปี ค่าเงินบาทควรที่จะอยู่ในระดับใด กรอบการเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นอย่างไร แนวทางที่ 2
ควรคงมาตรการประกันความเสี่ยงเต็มจำนวน เพื่อป้องกันการเก็งกำไรและการไหลเข้าของเงินทุน โดยต้องเพิ่มต้นทุนให้กับเงินที่เข้ามา
เก็งกำไรในตลาดตราสารหนี้ แนวทางที่ 3 รัฐต้องสนับสนุนให้นักลงทุนในประเทศนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้สะดวกและเสรีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา
ธปท. ยังไม่ได้อนุมัติให้ขยายเพดานการออกไปลงทุนในต่างประเทศของบุคคลไทย เพราะยังติดปัญหาด้านกฎหมาย และแนวทางทางที่ 4
ให้ปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเป็นการชั่วคราว โดยอาศัยอำนาจของ พรบ.เงินตรา มาตรา 8 เพื่อกำหนด
กรอบการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนในการบริหารค่าเงินบาทไม่ใช่การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ แต่ทำ
เหมือนกับในสิงคโปร์ที่ใช้ Basket Band and Crawl กำหนดช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงิน เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างค่อย
เป็นค่อยไป (โพสต์ทูเดย์)
3. ข้อเสนอปรับระบบดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า
ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้ เพราะจะต้องศึกษารายละเอียดอีกมาก นอกจากนี้
ข้อเสนอให้รัฐบาลใช้มาตรา 8 ใน พรบ.เงินตรา มาปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารค่าเงินบาทหรือใช้ถ่วงน้ำหนักก็จะต้องมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
มากกว่านี้และต้องอาศัยการพิจารณาจากหลายฝ่าย อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้คือ การเร่งสร้างความ
เชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ขณะที่การดูแลเรื่องเสถียรภาพค่าเงินเป็นเรื่องต่อไปที่จะพิจารณา (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง
ตลาดทุนไทย...ใครจะผ่าตัด ว่า ภายใน 1 — 2 สัปดาห์นี้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งจะมี รมว.คลัง เป็นประธาน และ
คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้ว่าการ ธปท. เลขาธิการ สศช. กลต. และ ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง โดยภารกิจแรกที่จะเร่งทำคือ
จัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนที่มีเป้าหมายผลักดันขนาดมาร์เก็ตแคปของตลาดหลักทรัพย์ไทยให้มีขนาดถึงร้อยละ 140 ของจีดีพี จากปัจจุบันอยู่ที่
ประมาณร้อยละ 80 ของจีดีพี อีกทั้งมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่น ๆ ที่เอื้ออำนวยให้เกิดธรรมาภิบาลและเชื่อว่าจะเป็นมาตรการที่จูงใจ
ให้มีบริษัทไม่น้อยกว่า 140 — 150 แห่ง ต้องการจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนเรื่องการผลักดันรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์ จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพและระบบการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีความน่าสนใจก่อน จึงยังไม่น่าจะมีการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจใด ๆ ในระยะนี้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รอยเตอร์คาดว่าประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ.ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.7
รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 27 ก.พ.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจของ สรอ.ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 ซึ่งมีกำหนดจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ก.พ.51 นี้จะอยู่ที่ร้อยละ 0.7 สูงกว่า
ประมาณการครั้งแรกในเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.6 แต่ลดลงมากเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.9 โดย
สาเหตุที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการขยายตัวจะดีขึ้นมาจากตัวเลขการขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.50 ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรก
เมื่อเทียบต่อปีในรอบ 6 ปีจากยอดส่งออกที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าราคาน้ำมันนำเข้าสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกันก็ตาม (รอยเตอร์)
2. IMF คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 1.5 ลดลงจากร้อยละ 2.5 เมื่อปีที่แล้ว รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 51 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 ลดลง
จากร้อยละ 2.5 เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. และการอ่อนตัวของการค้าโลก ทั้งนี้การแข็งค่า
ของเงินยูโร และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ภาคการผลิตชะลอลง อย่างไรก็ตามมีการฟื้นตัวของการบริโภคอย่างต่อเนื่องจากการจ้างงานที่
เพิ่มขึ้นขณะที่ค่าจ้างแรงงานยังไม่สูงมากนัก แต่ยังคงขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะซึ่งต้องมีการปฏิรูปการศึกษา และการฝึกทักษะฝีมือแรงงาน
หรืออาจเร่งนำเข้าแรงงานที่มีฝีมือ นอกจากนั้น IMF พึงพอใจที่เยอรมนีมีความพยายามปรับปรุงฐานะการเงินของประเทศโดยเห็นว่าทำ
ได้ดีที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการรวมประเทศในปี 33 แม้ว่านโยบายการปฏิรูปจะยังไม่บรรลุผลก็ตาม ส่วนแนวโน้มในระยะสั้นเห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนี
จะชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น อย่างไรก็ตามคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะชะลอตัวลงที่ร้อยละ 2.2 อนึ่ง IMF เห็นว่าเยอรมนีมีความ
จำเป็นต้องปฏิรูปภาคการเงินการธนาคารเพื่อที่จะทำให้ภาคการเงินเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.51 ลดลงร้อยละ 2.0 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.พ.51
The Ministry of Economy, Trade and Industry เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.51 ลดลงต่อเนื่องเป็น
เดือนที่สองร้อยละ 2.0 เทียบต่อเดือน เหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะลดลงเพียงร้อยละ 0.8 ส่งผลให้ราคา
หุ้นลดลง และก่อให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอาจประสบภาวะชะลอตัวในช่วงไตรมาสแรกของปี นอกจากนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์
ยังคาดการณ์ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปี 51 อาจจะปรับตัวลดลง สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ที่ระดับเดิมต่อไป หรือหากจะมีการปรับลดก็คงเป็นช่วงปลายปี ขณะที่บรรดาผู้ประกอบการผลิตต่างคาดการณ์ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง
2 เดือนต่อไปว่าจะลดลงร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.พ. และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ในเดือน มี.ค.51 และจะส่งผลให้ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง
ไตรมาสแรกของปี ลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งจะเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 44 ที่ลดลงร้อยละ 2.6 อย่างไรก็ตาม ข้อมูล
ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.51 กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี ตรงข้ามกับการคาดการณ์ของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า
จะทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายปลีกดังกล่าว เป็นสัญญาณแสดงถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น แม้ความ
เชื่อมั่นของผู้บริโภคจะชะลอลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาอาหารก็ตาม (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้สำหรับเดือน มี.ค.51 อยู่ในระดับคงที่เท่ากับเดือนก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 28 ก.พ.51
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้จากผลสำรวจโดย ธ.กลางเกาหลีใต้หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอยู่ที่ระดับ 86 สำหรับเดือน
มี.ค.51 เท่ากับเดือนก่อน ลดลงต่อเนี่อง 3 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 93 ในเดือน พ.ย.50 โดยดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า
จำนวนผู้ผลิตที่คาดว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนเองจะเลวลงมีมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในการประชุมในวันที่ 7 มี.ค.51 นี้ หลังจากคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งก่อนไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ก.พ. 51 27 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.179 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.9692/32.3075 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 832.04/15.07 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,400/14,500 14,400/14,500 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 95.46 92.68 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.19/29.54 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.25 น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน
ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 หลังจากได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและ
แนวโน้มในระยะต่อไปพบว่าอุปสงค์ในประเทศเร่งตัวขึ้นทั้งจากการบริโภคและการลงทุน การส่งออกขยายตัวได้ดี ขณะที่ความเชื่อมั่นของ
ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนให้การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศมีความต่อเนื่อง
ซึ่งในระยะต่อไปจะช่วยชดเชยผลกระทบจากความเสี่ยงที่การส่งออกจะชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตาม
มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
ที่ปรับสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและอาจเร่งตัวต่อไปอีกระยะหนึ่งจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัย
ที่ ธปท. ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แม้ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจะมีส่วนช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากราคาสินค้าในตลาดโลก
ลงได้บ้างก็ตาม แต่ราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูง ทั้งนี้ ธปท. ยังมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในเป้าหมาย 8 ไตรมาสข้างหน้า
และอัตราเงินเฟ้ออาจลดลงได้ในช่วงต่อไป ส่วนการที่อัตราดอกเบี้ยของไทยสูงกว่า สรอ. เชื่อว่าไม่มีผลต่อการไหลเข้าของเงินทุนมากนัก
เพราะอัตราดอกเบี้ยไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำสุดในเอเชียอยู่แล้ว ขณะที่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบประมาณร้อยละ 1 ทั้งนี้
เงินทุนยังคงไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และสาเหตุที่เงินทุนไหลเข้าและทำให้เงินบาทแข็งค่ามาจากการที่ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่
ผู้ส่งออกนำดอลลาร์ สรอ. มาขายเป็นเงินบาทจึงเป็นแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ย (โลกวันนี้,
โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. เลขาธิการ กลต. เสนอ 4 แนวทางดูแลค่าเงินบาท นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ กลต. กล่าวว่า รัฐบาล
ควรจะเร่งดำเนินการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เพื่อเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติโดยเร็ว และหลังจากยกเลิกควรออก
มาตรการมาดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินไป แนวทางแรกคือ การกำหนดค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับคู่แข่ง โดย ธปท. และ
ก.คลัง ควรหารือร่วมกันให้ได้ว่าภายใน 1 — 3 ปี ค่าเงินบาทควรที่จะอยู่ในระดับใด กรอบการเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นอย่างไร แนวทางที่ 2
ควรคงมาตรการประกันความเสี่ยงเต็มจำนวน เพื่อป้องกันการเก็งกำไรและการไหลเข้าของเงินทุน โดยต้องเพิ่มต้นทุนให้กับเงินที่เข้ามา
เก็งกำไรในตลาดตราสารหนี้ แนวทางที่ 3 รัฐต้องสนับสนุนให้นักลงทุนในประเทศนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้สะดวกและเสรีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา
ธปท. ยังไม่ได้อนุมัติให้ขยายเพดานการออกไปลงทุนในต่างประเทศของบุคคลไทย เพราะยังติดปัญหาด้านกฎหมาย และแนวทางทางที่ 4
ให้ปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเป็นการชั่วคราว โดยอาศัยอำนาจของ พรบ.เงินตรา มาตรา 8 เพื่อกำหนด
กรอบการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนในการบริหารค่าเงินบาทไม่ใช่การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ แต่ทำ
เหมือนกับในสิงคโปร์ที่ใช้ Basket Band and Crawl กำหนดช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงิน เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างค่อย
เป็นค่อยไป (โพสต์ทูเดย์)
3. ข้อเสนอปรับระบบดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า
ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องพิจารณาในขณะนี้ เพราะจะต้องศึกษารายละเอียดอีกมาก นอกจากนี้
ข้อเสนอให้รัฐบาลใช้มาตรา 8 ใน พรบ.เงินตรา มาปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารค่าเงินบาทหรือใช้ถ่วงน้ำหนักก็จะต้องมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
มากกว่านี้และต้องอาศัยการพิจารณาจากหลายฝ่าย อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้คือ การเร่งสร้างความ
เชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ขณะที่การดูแลเรื่องเสถียรภาพค่าเงินเป็นเรื่องต่อไปที่จะพิจารณา (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.คลังเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง
ตลาดทุนไทย...ใครจะผ่าตัด ว่า ภายใน 1 — 2 สัปดาห์นี้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งจะมี รมว.คลัง เป็นประธาน และ
คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้ว่าการ ธปท. เลขาธิการ สศช. กลต. และ ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง โดยภารกิจแรกที่จะเร่งทำคือ
จัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนที่มีเป้าหมายผลักดันขนาดมาร์เก็ตแคปของตลาดหลักทรัพย์ไทยให้มีขนาดถึงร้อยละ 140 ของจีดีพี จากปัจจุบันอยู่ที่
ประมาณร้อยละ 80 ของจีดีพี อีกทั้งมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่น ๆ ที่เอื้ออำนวยให้เกิดธรรมาภิบาลและเชื่อว่าจะเป็นมาตรการที่จูงใจ
ให้มีบริษัทไม่น้อยกว่า 140 — 150 แห่ง ต้องการจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนเรื่องการผลักดันรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์ จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพและระบบการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีความน่าสนใจก่อน จึงยังไม่น่าจะมีการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจใด ๆ ในระยะนี้ (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. รอยเตอร์คาดว่าประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ.ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.7
รายงานจากนิวยอร์ค เมื่อ 27 ก.พ.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าประมาณการเบื้องต้นอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจของ สรอ.ในไตรมาสสุดท้ายปี 50 ซึ่งมีกำหนดจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ก.พ.51 นี้จะอยู่ที่ร้อยละ 0.7 สูงกว่า
ประมาณการครั้งแรกในเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.6 แต่ลดลงมากเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.9 โดย
สาเหตุที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการขยายตัวจะดีขึ้นมาจากตัวเลขการขาดดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.50 ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรก
เมื่อเทียบต่อปีในรอบ 6 ปีจากยอดส่งออกที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าราคาน้ำมันนำเข้าสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกันก็ตาม (รอยเตอร์)
2. IMF คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 1.5 ลดลงจากร้อยละ 2.5 เมื่อปีที่แล้ว รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 51 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 ลดลง
จากร้อยละ 2.5 เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. และการอ่อนตัวของการค้าโลก ทั้งนี้การแข็งค่า
ของเงินยูโร และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ภาคการผลิตชะลอลง อย่างไรก็ตามมีการฟื้นตัวของการบริโภคอย่างต่อเนื่องจากการจ้างงานที่
เพิ่มขึ้นขณะที่ค่าจ้างแรงงานยังไม่สูงมากนัก แต่ยังคงขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะซึ่งต้องมีการปฏิรูปการศึกษา และการฝึกทักษะฝีมือแรงงาน
หรืออาจเร่งนำเข้าแรงงานที่มีฝีมือ นอกจากนั้น IMF พึงพอใจที่เยอรมนีมีความพยายามปรับปรุงฐานะการเงินของประเทศโดยเห็นว่าทำ
ได้ดีที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการรวมประเทศในปี 33 แม้ว่านโยบายการปฏิรูปจะยังไม่บรรลุผลก็ตาม ส่วนแนวโน้มในระยะสั้นเห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนี
จะชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น อย่างไรก็ตามคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะชะลอตัวลงที่ร้อยละ 2.2 อนึ่ง IMF เห็นว่าเยอรมนีมีความ
จำเป็นต้องปฏิรูปภาคการเงินการธนาคารเพื่อที่จะทำให้ภาคการเงินเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.51 ลดลงร้อยละ 2.0 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.พ.51
The Ministry of Economy, Trade and Industry เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.51 ลดลงต่อเนื่องเป็น
เดือนที่สองร้อยละ 2.0 เทียบต่อเดือน เหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะลดลงเพียงร้อยละ 0.8 ส่งผลให้ราคา
หุ้นลดลง และก่อให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอาจประสบภาวะชะลอตัวในช่วงไตรมาสแรกของปี นอกจากนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์
ยังคาดการณ์ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปี 51 อาจจะปรับตัวลดลง สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ที่ระดับเดิมต่อไป หรือหากจะมีการปรับลดก็คงเป็นช่วงปลายปี ขณะที่บรรดาผู้ประกอบการผลิตต่างคาดการณ์ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง
2 เดือนต่อไปว่าจะลดลงร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.พ. และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ในเดือน มี.ค.51 และจะส่งผลให้ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง
ไตรมาสแรกของปี ลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งจะเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 44 ที่ลดลงร้อยละ 2.6 อย่างไรก็ตาม ข้อมูล
ยอดขายปลีกของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.51 กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบต่อปี ตรงข้ามกับการคาดการณ์ของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า
จะทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของยอดขายปลีกดังกล่าว เป็นสัญญาณแสดงถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น แม้ความ
เชื่อมั่นของผู้บริโภคจะชะลอลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาอาหารก็ตาม (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้สำหรับเดือน มี.ค.51 อยู่ในระดับคงที่เท่ากับเดือนก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 28 ก.พ.51
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้จากผลสำรวจโดย ธ.กลางเกาหลีใต้หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอยู่ที่ระดับ 86 สำหรับเดือน
มี.ค.51 เท่ากับเดือนก่อน ลดลงต่อเนี่อง 3 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 93 ในเดือน พ.ย.50 โดยดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า
จำนวนผู้ผลิตที่คาดว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนเองจะเลวลงมีมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายในการประชุมในวันที่ 7 มี.ค.51 นี้ หลังจากคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งก่อนไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ก.พ. 51 27 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.179 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.9692/32.3075 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 832.04/15.07 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,400/14,500 14,400/14,500 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 95.46 92.68 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.19/29.54 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--