ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เงินบาทยังแข็งค่าในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่า
น่าจะเกิดจากการคาดการณ์ว่าจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นด้วยก็ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่าเงินของหลาย
ประเทศก็มีการทำนิวไฮสลับกันไป เงินบาทก็ทำนิวไฮเป็นครั้งคราว หากต้องการทราบว่า ธปท. เข้าแทรกแซงเงินบาทในช่วงนี้หรือไม่ให้
ดูข้อมูลปริมาณทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจากเว็บไซต์ ธปท. ก็จะทราบว่า ธปท. เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทมากเพียงใด และย้ำว่า
นโยบายการดูแลบริหารจัดการของ ธปท. ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนกรณีที่ กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้นั้น กนง. มีหน้าที่ดูแลอัตรา
ดอกเบี้ยซึ่งต้องพิจารณาภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ถือเป็นเรื่องปรกติ และการที่ กลต. มองว่า ธปท. ไม่มีความเด็ดขาดหรือชัดเจน
ในการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นั้นเป็นเพียงมุมมอง แต่ ธปท. จะดำเนินการอะไรก็ต้องพิจารณาให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
มากที่สุด (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยกเลิกตั้งเป้าลดเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินเหลือร้อยละ 2 นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับ
สถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้ยกเลิกเป้าลดเอ็นพีแอลของทั้งระบบสถาบันการเงินให้เหลือร้อยละ 2 หลังมองว่าเอ็นพีแอลที่ค้าง
อยู่แก้ไขได้ยากเพราะติดขัดกระบวนการทางกฎหมาย แต่ยืนยันไม่น่าเป็นห่วงเพราะเอ็นพีแอลใหม่เพิ่มน้อย โดยยอดหนี้เสียสุทธิที่หักกันสำรอง
แล้วในปีนี้จะใกล้เคียงกับปีก่อนประมาณร้อยละ 4 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับระบบธนาคาร ทั้งนี้ มั่นใจว่าการปล่อยสินเชื่อของ
ธ.พาณิชย์ปีนี้จะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5 หลังเศรษฐกิจและการลงทุนมีแนวโน้มฟื้นตัว รวมทั้งมีแรงหนุนจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ
และยังมองว่ากำไรของธนาคารทั้งระบบปีนี้จะดีกว่าปีก่อนหลังหมดภาระสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่แล้ว สำหรับแนวโน้มเอ็นพีแอลก่อน
หักสำรองปีนี้น่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อนที่สิ้นปีอยู่ที่ร้อยละ 7.28 ส่วนเอ็นพีแอลใหม่ขณะนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างที่หลายฝ่ายวิตก ซึ่งแสดง
ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้ชะลอตัวมากอย่างที่คิด แต่ก็มีเพิ่มขึ้นบ้างในส่วนสินเชื่อรายย่อยที่ ธ.พาณิชย์ได้ตั้งสำรองในส่วนนี้อย่างรวดเร็ว
อยู่แล้ว ขณะที่สภาพคล่องในระบบการเงินขณะนี้ยังมีเพียงพอรองรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่จะเริ่มต้นขึ้น แต่คงไม่สามารถรองรับ
ได้ตลอดทั้งโครงการ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นมาสนับสนุนในระยะยาว ทั้งนี้ ธนาคารต่าง ๆ ต้องระมัดระวังความเสี่ยงด้าน
สภาพคล่องในระยะต่อไปจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยจะต้องมองหาช่องทางระดมทุนใหม่ ๆ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารหลายแห่งเริ่มมีการ
ออกหุ้นกู้ หรือตั๋วแลกเงิน หรือ บี/อี ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้ออมเงินและยังเป็นการรองรับการตั้งสถาบันประกันเงินฝากในอนาคตด้วย
ส่วนการลงทุนในตราสารซีดีโอของ ธ.พาณิชย์ไทยมีเพียง 4 ธนาคาร และแต่ละแห่งได้ตั้งสำรองไว้ทั้งหมดแล้ว จึงไม่กระทบต่อความมั่นคง
ของระบบธนาคารของไทย แต่อาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรบ้าง (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังเตรียมปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้เป็นร้อยละ 6 นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค.51 ขยายตัวได้อย่างสมดุลมากขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศผ่านการ
ลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน และส่งผลให้การนำเข้าปรับตัวดีขึ้นมาก ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออก
ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง นอกจากนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี
แต่ยังมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สศค. มีแผนที่จะปรับประมาณการเศรษฐกิจในช่วงเดือน มี.ค.
จากเดิมที่เคยคาดการณไว้ร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยจะนำปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงกว่าประมาณการเดิมและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกมาเชื่อว่าจะทำให้จีดีพีในปีนี้ขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 6 (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ต่างประเทศมีแนวโน้มปรับเครดิตประเทศไทยเป็นบวก นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส ผอ.กลุ่มการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค
สนง.เศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า เมื่อกลางเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา บ.มูดี้ส์ อินเวสเตอร์เซอร์วิส ได้เดินทางมาเก็บข้อมูลจาก ก.คลัง นอกจากนี้
ในเดือน มี.ค. สถาบันจัดอันดับ J & C และ ฟิทซ์ เรทติ้งส์ รวมทั้ง บ.เอสแอนด์พี จะเข้ามาเก็บข้อมูล ซึ่งเชื่อว่าทุกแห่งน่าจะปรับมุมมอง
เครดิตของประเทศเป็นบวกทั้งหมด ขณะที่สถาบันจัดอันดับ R & I ของญี่ปุ่นได้ประกาศยืนยันเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ
อยู่ระดับ BBB+ โดยปรับแนวโน้มของเครดิตจากระดับที่มีเสถียรภาพเป็นระดับที่เป็นบวก และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงิน
ต่างประเทศอยู่ที่ระดับ A-2 นอกจากนี้ ยังยืนระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ A- โดยปรับแนวโน้มของเครดิตจากระดับ
ที่มีเสถียรภาพเป็นระดับที่เป็นบวก ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเพิ่มระดับเครดิตของประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้ R & I ให้เหตุผล
ของการยืนยันระดับเครดิตของไทยว่า การเมืองในประเทศไทยเริ่มกลับเข้าสู่รัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย การฟื้นตัวของการบริโภคภาย
ในประเทศก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ ส่วนภาระผูกพันที่เกิดจากหนี้สาธารณะลดลงและเงินทุนสำรองฯ ยังคงอยู่ใน
ระดับที่สูงเกินกว่าภาระหนี้ต่างประเทศ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 รายงานจากโตเกียว เมื่อ
วันที่ 29 ก.พ. 51 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน core Consumer Price Index — coreCPI) ที่ไม่นับ
รวมราคาอาหารสดแต่นับรวมผลิตภัณฑ์น้ำมัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว และเท่ากับ
เดือน มี.ค. 41 ที่ coreCPI ทำสถิติสูงสุด อย่างไรก็ตาม coreCPI ยังต่ำกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
สำหรับ coreCPI เฉพาะในเขตกรุงโตเกียวในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.4 ต่ำกว่าคาดการณ์ก่อนหน้านั้นว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (รอยเตอร์)
2. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน ก.พ. ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 23 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 51
ก. แรงงานเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.จำนวนคนว่างงานลดลง 75,000 คนส่งผลให้การว่างงานโดยรวมลดลงอยู่ที่ 3.336 ล้านคน
และลดลงมากกว่าที่รอยเตอร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงจำนวน 50,000 คน และเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 23 แต่
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าแนวโน้มการว่างงานดังกล่าวจะชะลอลงอีกเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตัวเลขของสำนักงานสถิติ
Bundesbank ชี้ว่าอัตราการว่างงานในเดือน ก.พ.อยู่ที่ร้อยละ 8.0 ลดลงจากร้อยละ 8.1 ในเดือน ม.ค. และอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่
เดือน พ.ย. 35 (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษในเดือน ก.พ.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 28 ก.พ.51 ดัชนีชี้
วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษจากผลสำรวจโดยบริษัทวิจัย GfK ลดลงมาอยู่ที่ระดับ — 17 ในเดือน ก.พ.51 จากระดับ — 13 ใน
เดือนก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.37 และต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลงเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ — 14 ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวอังกฤษ
มีความเชื่อมั่นในฐานะการเงินของตนเองและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมน้อยลง จากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงินและอัตราเงินเฟ้อ
ที่สูงขึ้น แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 2 ครั้งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาก็ตาม ทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันลดลง
มาอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี (รอยเตอร์)
4. ในเดือน ม.ค.51 เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากสุดในรอบ 11 ปี รายงานจากโซล เมื่อ 28 ก.พ.51 ตัวเลขเบื้องต้น
ของ ธ.กลางเกาหลีใต้ชี้ว่าเกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.51 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วจำนวน 2.03 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
มากสุดนับตั้งแต่ขาดดุลจำนวน 2.21 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.พ.40 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งขาดดุลจำนวน 1.07 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยเป็นผลจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น เช่นน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารและวัตถุดิบ ในขณะที่ยอดส่งออกกลับชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก
สอดคล้องกับผลสำรวจของหอการค้าและอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ที่ชี้ว่าภาคธุรกิจแสดงความกังวลมากขึ้นในอนาคตธุรกิจของตน โดยดัชนีลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 97 สำหรับไตรมาสที่ 2 ปีนี้จากระดับ 99 สำหรับไตรมาสแรก และเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลเตรียมที่จะลดภาษีนิติบุคคล
และภาษีขายน้ำมันคิดเป็นมูลค่ารวมถึง 3.3 ล้านล้านวอนหรือประมาณ 3.52 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคในประเทศ
แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะได้ผลในวงจำกัด เนื่องจากความเสี่ยงหลักมาจากปัจจัยนอกประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ก.พ. 51 28 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.001 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.7912/32.1297 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 842.12/19.54 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,500/14,600 14,400/14,500 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 92.11 95.46 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เงินบาทยังแข็งค่าในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่า
น่าจะเกิดจากการคาดการณ์ว่าจะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นด้วยก็ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่าเงินของหลาย
ประเทศก็มีการทำนิวไฮสลับกันไป เงินบาทก็ทำนิวไฮเป็นครั้งคราว หากต้องการทราบว่า ธปท. เข้าแทรกแซงเงินบาทในช่วงนี้หรือไม่ให้
ดูข้อมูลปริมาณทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจากเว็บไซต์ ธปท. ก็จะทราบว่า ธปท. เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทมากเพียงใด และย้ำว่า
นโยบายการดูแลบริหารจัดการของ ธปท. ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนกรณีที่ กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้นั้น กนง. มีหน้าที่ดูแลอัตรา
ดอกเบี้ยซึ่งต้องพิจารณาภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ถือเป็นเรื่องปรกติ และการที่ กลต. มองว่า ธปท. ไม่มีความเด็ดขาดหรือชัดเจน
ในการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นั้นเป็นเพียงมุมมอง แต่ ธปท. จะดำเนินการอะไรก็ต้องพิจารณาให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
มากที่สุด (โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยกเลิกตั้งเป้าลดเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินเหลือร้อยละ 2 นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับ
สถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้ยกเลิกเป้าลดเอ็นพีแอลของทั้งระบบสถาบันการเงินให้เหลือร้อยละ 2 หลังมองว่าเอ็นพีแอลที่ค้าง
อยู่แก้ไขได้ยากเพราะติดขัดกระบวนการทางกฎหมาย แต่ยืนยันไม่น่าเป็นห่วงเพราะเอ็นพีแอลใหม่เพิ่มน้อย โดยยอดหนี้เสียสุทธิที่หักกันสำรอง
แล้วในปีนี้จะใกล้เคียงกับปีก่อนประมาณร้อยละ 4 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับระบบธนาคาร ทั้งนี้ มั่นใจว่าการปล่อยสินเชื่อของ
ธ.พาณิชย์ปีนี้จะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 5 หลังเศรษฐกิจและการลงทุนมีแนวโน้มฟื้นตัว รวมทั้งมีแรงหนุนจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ
และยังมองว่ากำไรของธนาคารทั้งระบบปีนี้จะดีกว่าปีก่อนหลังหมดภาระสำรองตามมาตรฐานบัญชีใหม่แล้ว สำหรับแนวโน้มเอ็นพีแอลก่อน
หักสำรองปีนี้น่าจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อนที่สิ้นปีอยู่ที่ร้อยละ 7.28 ส่วนเอ็นพีแอลใหม่ขณะนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างที่หลายฝ่ายวิตก ซึ่งแสดง
ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้ชะลอตัวมากอย่างที่คิด แต่ก็มีเพิ่มขึ้นบ้างในส่วนสินเชื่อรายย่อยที่ ธ.พาณิชย์ได้ตั้งสำรองในส่วนนี้อย่างรวดเร็ว
อยู่แล้ว ขณะที่สภาพคล่องในระบบการเงินขณะนี้ยังมีเพียงพอรองรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่จะเริ่มต้นขึ้น แต่คงไม่สามารถรองรับ
ได้ตลอดทั้งโครงการ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นมาสนับสนุนในระยะยาว ทั้งนี้ ธนาคารต่าง ๆ ต้องระมัดระวังความเสี่ยงด้าน
สภาพคล่องในระยะต่อไปจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยจะต้องมองหาช่องทางระดมทุนใหม่ ๆ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารหลายแห่งเริ่มมีการ
ออกหุ้นกู้ หรือตั๋วแลกเงิน หรือ บี/อี ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้ออมเงินและยังเป็นการรองรับการตั้งสถาบันประกันเงินฝากในอนาคตด้วย
ส่วนการลงทุนในตราสารซีดีโอของ ธ.พาณิชย์ไทยมีเพียง 4 ธนาคาร และแต่ละแห่งได้ตั้งสำรองไว้ทั้งหมดแล้ว จึงไม่กระทบต่อความมั่นคง
ของระบบธนาคารของไทย แต่อาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรบ้าง (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังเตรียมปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้เป็นร้อยละ 6 นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค.51 ขยายตัวได้อย่างสมดุลมากขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศผ่านการ
ลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน และส่งผลให้การนำเข้าปรับตัวดีขึ้นมาก ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออก
ยังคงขยายตัวได้ในระดับสูง นอกจากนี้ การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี
แต่ยังมีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สศค. มีแผนที่จะปรับประมาณการเศรษฐกิจในช่วงเดือน มี.ค.
จากเดิมที่เคยคาดการณไว้ร้อยละ 4.5 — 5.5 โดยจะนำปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงกว่าประมาณการเดิมและเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกมาเชื่อว่าจะทำให้จีดีพีในปีนี้ขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 6 (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. ต่างประเทศมีแนวโน้มปรับเครดิตประเทศไทยเป็นบวก นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส ผอ.กลุ่มการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค
สนง.เศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า เมื่อกลางเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา บ.มูดี้ส์ อินเวสเตอร์เซอร์วิส ได้เดินทางมาเก็บข้อมูลจาก ก.คลัง นอกจากนี้
ในเดือน มี.ค. สถาบันจัดอันดับ J & C และ ฟิทซ์ เรทติ้งส์ รวมทั้ง บ.เอสแอนด์พี จะเข้ามาเก็บข้อมูล ซึ่งเชื่อว่าทุกแห่งน่าจะปรับมุมมอง
เครดิตของประเทศเป็นบวกทั้งหมด ขณะที่สถาบันจัดอันดับ R & I ของญี่ปุ่นได้ประกาศยืนยันเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ
อยู่ระดับ BBB+ โดยปรับแนวโน้มของเครดิตจากระดับที่มีเสถียรภาพเป็นระดับที่เป็นบวก และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงิน
ต่างประเทศอยู่ที่ระดับ A-2 นอกจากนี้ ยังยืนระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ A- โดยปรับแนวโน้มของเครดิตจากระดับ
ที่มีเสถียรภาพเป็นระดับที่เป็นบวก ซึ่งแสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเพิ่มระดับเครดิตของประเทศไทยในอนาคต ทั้งนี้ R & I ให้เหตุผล
ของการยืนยันระดับเครดิตของไทยว่า การเมืองในประเทศไทยเริ่มกลับเข้าสู่รัฐบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย การฟื้นตัวของการบริโภคภาย
ในประเทศก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ ส่วนภาระผูกพันที่เกิดจากหนี้สาธารณะลดลงและเงินทุนสำรองฯ ยังคงอยู่ใน
ระดับที่สูงเกินกว่าภาระหนี้ต่างประเทศ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 รายงานจากโตเกียว เมื่อ
วันที่ 29 ก.พ. 51 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน core Consumer Price Index — coreCPI) ที่ไม่นับ
รวมราคาอาหารสดแต่นับรวมผลิตภัณฑ์น้ำมัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว และเท่ากับ
เดือน มี.ค. 41 ที่ coreCPI ทำสถิติสูงสุด อย่างไรก็ตาม coreCPI ยังต่ำกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
สำหรับ coreCPI เฉพาะในเขตกรุงโตเกียวในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.4 ต่ำกว่าคาดการณ์ก่อนหน้านั้นว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (รอยเตอร์)
2. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน ก.พ. ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 23 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 51
ก. แรงงานเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.จำนวนคนว่างงานลดลง 75,000 คนส่งผลให้การว่างงานโดยรวมลดลงอยู่ที่ 3.336 ล้านคน
และลดลงมากกว่าที่รอยเตอร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงจำนวน 50,000 คน และเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 23 แต่
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าแนวโน้มการว่างงานดังกล่าวจะชะลอลงอีกเนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ตัวเลขของสำนักงานสถิติ
Bundesbank ชี้ว่าอัตราการว่างงานในเดือน ก.พ.อยู่ที่ร้อยละ 8.0 ลดลงจากร้อยละ 8.1 ในเดือน ม.ค. และอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่
เดือน พ.ย. 35 (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษในเดือน ก.พ.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 28 ก.พ.51 ดัชนีชี้
วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษจากผลสำรวจโดยบริษัทวิจัย GfK ลดลงมาอยู่ที่ระดับ — 17 ในเดือน ก.พ.51 จากระดับ — 13 ใน
เดือนก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.37 และต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลงเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ — 14 ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวอังกฤษ
มีความเชื่อมั่นในฐานะการเงินของตนเองและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมน้อยลง จากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงินและอัตราเงินเฟ้อ
ที่สูงขึ้น แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 2 ครั้งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาก็ตาม ทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันลดลง
มาอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี (รอยเตอร์)
4. ในเดือน ม.ค.51 เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากสุดในรอบ 11 ปี รายงานจากโซล เมื่อ 28 ก.พ.51 ตัวเลขเบื้องต้น
ของ ธ.กลางเกาหลีใต้ชี้ว่าเกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.51 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วจำนวน 2.03 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
มากสุดนับตั้งแต่ขาดดุลจำนวน 2.21 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ก.พ.40 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งขาดดุลจำนวน 1.07 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยเป็นผลจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น เช่นน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารและวัตถุดิบ ในขณะที่ยอดส่งออกกลับชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก
สอดคล้องกับผลสำรวจของหอการค้าและอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ที่ชี้ว่าภาคธุรกิจแสดงความกังวลมากขึ้นในอนาคตธุรกิจของตน โดยดัชนีลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 97 สำหรับไตรมาสที่ 2 ปีนี้จากระดับ 99 สำหรับไตรมาสแรก และเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลเตรียมที่จะลดภาษีนิติบุคคล
และภาษีขายน้ำมันคิดเป็นมูลค่ารวมถึง 3.3 ล้านล้านวอนหรือประมาณ 3.52 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคในประเทศ
แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะได้ผลในวงจำกัด เนื่องจากความเสี่ยงหลักมาจากปัจจัยนอกประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ก.พ. 51 28 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.001 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.7912/32.1297 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 842.12/19.54 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,500/14,600 14,400/14,500 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 92.11 95.46 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--