ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลัง และ ธปท. มีมาตรการรองรับการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ ธปท. ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อให้นักลงทุนและ
ผู้ประกอบการได้ศึกษาข้อมูลในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ในตลาดเงินตลาดทุนไม่ผันผวนมากเกินไป และคาดว่าจะไม่
ทำนักลงทุนตื่นตระหนก เพราะตลาดได้รับทราบกระแสข่าวในช่วงที่ผ่านมาบ้างแล้ว สำหรับค่าเงินบาทนั้น ธปท. จะดูแลอย่างใกล้ชิด
และคาดว่าคงไม่ทำให้เงินบาทแข็งค่าไปถึง 31.20 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. เพราะ ก.คลัง และ ธปท. มีมาตรการรองรับเพียงพอ
และทำให้ตลาดมีความมั่นใจเมื่อรัฐบาลได้ส่งสัญญาณว่าประเทศไทยต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ การตอบรับในเชิงบวกน่าจะมีชัดเจน
ดังนั้น แม้ค่าเงินบาทจะปรับตัวบ้างก็คงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และมาตรการที่ออกมาน่าจะทำให้เกิดความมั่นใจต่อการดูแลค่าเงินบาทได้
มากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากมาตรการทางการคลังที่ได้เร่งเปลี่ยนหนี้สกุลต่างประเทศเป็นหนี้เงินบาทที่จะเริ่มในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ยังมีมาตรการ
ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกซื้อดอลลาร์ สรอ. ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกสบายใจมากขึ้น และจะให้ผู้ส่งออกที่มีสัญญา
ส่งมอบเงินจากการขายสินค้าในช่วง 6 เดือนข้างหน้าไม่ต้องมาเร่งซื้อขายดอลลาร์ สรอ. ในช่วงนี้จนทำให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป
โดยในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ธปท. จะประชุมร่วมกับ ธ.พาณิชย์เพื่อชี้แจงให้ ธ.พาณิชย์รับทราบแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับ
ภาคเอกชน ทั้งนี้ ก่อนประกาศยกเลิกกันสำรองร้อยละ 30 ได้มีการหารือกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง ก.คลัง กับ ธปท. เพื่อหามาตรการ
รองรับให้สอดคล้องกัน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น กระแสข่าวเรื่องการปลดผู้ว่าการ ธปท. รวมทั้งการกดดันให้ ธปท. ประกาศ
ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 จึงไม่เป็นความจริง และยืนยันว่าไม่มีบุคคลภายนอกรู้ข้อมูลการประกาศยกเลิกมาตรการเพื่อนำไป
เก็งกำไร เพราะเป็นชั้นความลับระหว่าง รมว.คลัง และ ผู้ว่าการ ธปท. จึงไม่มีการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาประโยชน์จากการประกาศ
ยกเลิกมาตรการดังกล่าว (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. สิ้นปี 50 เงินทุนไหลออกสุทธิ 925 ล้านดอลลาร์ สรอ. ธปท. รายงานภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายรวมทั้งปี 50 พบว่ามี
เงินทุนไหลออกสุทธิ 925 ล้านดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนแปลงจากปี 49 ที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิมากถึง 5,719 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเงิน
ที่ไหลออกไปต่างประเทศมากที่สุดเป็นการออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ 3,269 ล้านดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนแปลงอย่างมากจากปี 49 ที่มีเงินทุน
ไหลเข้ามาลงทุน 1,642 ล้านดอลลาร์ สอร. ทั้งนี้ การไหลออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้สอดคล้องกับมาตรการสนับสนุน
ให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศได้มากขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลของเงินทุนไหลเข้าและไหลอออกให้มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อ
ค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม นอกจากเงินทุนไหลออกไปลงทุนในหลักทรัพย์แล้ว ในปี 50 จำนวนเงินที่ให้สินเชื่อการค้าของธุรกิจที่ไม่ใช่
ธนาคารก็มีเงินทุนไหลออกไป 1,408 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นเงินไหลออกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีเงินทุนไหลออก 284 ล้านดอลลาร์ สรอ.
และแม้ว่าเงินที่ไหลออกไปเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และสินเชื่อการค้าจะมีจำนวนมาก แต่หากพิจารณายอดเงินทุนเคลื่อนย้ายรวมของภาค
ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารในปี 50 กลับมีจำนวนเงินไหลเข้าสุทธิ โดยมีเงินทุนไหลเข้า 2,245 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งหากเทียบกับปี 49
ที่มีเงินทุนไหลเข้ามากถึง 13,616 ล้านดอลลาร์ สรอ. จะพบว่าจำนวนเงินทุนไหลเข้าส่วนของธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารลดลงอย่างมากจากปีก่อน
โดยปัจจัยที่ทำให้เงินทุนในส่วนของธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารไหลเข้าสุทธิคือ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวน 8,120 ล้านดอลลาร์ สรอ.
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับยอดเงินลงทุนโดยตรงสุทธิของปี 49 จะเห็นว่าในปี 49 มีเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนโดยตรงมากกว่า โดยมีเงิน
เข้ามาลงทุนถึง 10,031 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับภาคธุรกิจธนาคารมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิในปี 50 จำนวน 368 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้าที่มีเงินทุนไหลออกสูงถึง 7,409 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยครึ่งแรกของปีมีเงินทุนไหลออก 6,052 ล้านดอลลาร์สรอ.
แต่กลับมีเงินทุนไหลเข้ามาในครึ่งหลังของปี 6,420 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายของ ธปท. ปี 50 มีเงินทุนไหลออก
619 ล้านดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนแปลงจากปี 49 ที่มีเงินทุนไหลเข้า 416 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ภาครัฐวิสาหกิจมีเงินไหลออก
880 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีเงินทุนไหลออก 337 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ จำนวนเงินทุนที่ไหลออกสุทธิ
925 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดังกล่าวเมื่อรวมกับดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 50 ที่เกินดุล 14,923 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลการชำระเงิน
ของไทยในปี 50 มีจำนวนสุทธิ 17,102 ล้านดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ)
3. เอ็นพีแอลมีแนวโน้มลดลงในไตรมาส 3 หากเศรษฐกิจฟื้นตัว นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า
แนวโน้มเอ็นพีแอลหลังจากผ่านจุดสูงสุดมาแล้วในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา จะทรงตัวในไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ ก่อนที่จะปรับลดลงใน
ไตรมาส 3 เป็นต้นไปหากเศรษฐกิจฟื้นตัว ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ถือว่าเลวร้ายเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเอ็นพีแอล
ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นในลูกค้ารายกลางและรายเล็กเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ลูกค้ารายใหญ่แทบไม่เป็นเอ็นพีแอลเลย สะท้อนจาก
ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดี ส่วนลูกค้ารายกลางและเล็กแม้จะไม่ได้ขยายการลงทุน แต่ก็เป็นเอ็นพีแอลเพราะขายสินค้า
ไม่ได้เนื่องจากผู้บริโภคขาดความมั่นใจ แตกต่างจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เอ็นพีแอลเกิดในกลุ่มธุรกิจก่อสร้างเนื่องจากมีอุปทานสูงเกินไป
แต่หลังจากไอเอ็มเอฟเข้ามามีการดำเนินนโยบายที่ผิด ทำให้เอ็นพีแอลที่กระจุกตัวในกลุ่มก่อสร้างลามออกไปจนเกิดเอ็นพีแอลไปทั้งระบบ
(โพสต์ทูเดย์)
4. คนว่างงาน ณ เดือน ธ.ค. 50 มีจำนวน 3.2 แสนคน รายงานข่าวจาก สนง.สถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจการทำงาน
ของคนไทยในเดือน ธ.ค.50 ว่า มีคนว่างงานประมาณ 3.2 แสนคน หรือร้อยละ 0.8 ของผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานทั่วประเทศ 37.80 ล้านคน
ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4 หมื่นคน หรือลดลงร้อยละ 0.2 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในเดือนนี้ปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ที่ว่างงานส่วนใหญ่
เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.3 แสนคน หรือร้อยละ 40.6 ของผู้ว่างงานทั้งหมด ที่เหลือเป็นผู้ว่างงานที่ที่เคยทำงานมาก่อน 1.9 แสนคน
ทั้งนี้ แยกเป็นผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรม 4 หมื่นคน ที่เหลืออยู่ในภาคการผลิตประมาณ 1 แสนคน และอีกประมาณ 6 หมื่นคน อยู่ใน
ภาคบริการ โดยภาคกลางและภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.1 ภาคเหนือร้อยละ 0.8 กรุงเทพฯ ร้อยละ 0.7 และ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.7 (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. PMI ของจีนในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.4 จากระดับ 53.0 ในเดือน ม.ค. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 51
China Federation of Logistics and Purchasing เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ. Purchasing Manager Index — PMI เพิ่มขึ้น
อยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับ 53.0 เมื่อเดือน ม.ค. บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนได้ฟื้นตัวจากพายุฤดูหนาวแล้ว ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าว
อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน โดยดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 หมายถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่ดัชนี
ที่ต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าหดตัว ทั้งนี้ Zhang Liqun นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและพัฒนาที่รายงานผลการสำรวจโดยตรงต่อสภาจีน กล่าวว่า
ผลการสำรวจที่บ่งชี้ PMI ค่อนข้างสูงแสดงถึงความมีเสถียรภาพในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติ
อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และวิกฤติจากฤดูหนาวที่เลวร้ายที่สุดของจีนเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ทำลาย
พืชผลและการขนส่งของจีนก็ตาม (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.51 จะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนรายงานจากโซล เมื่อ 28 ก.พ.51
ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.51 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี ชะลอตัว
ลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.9 ต่อปีในเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปี
สำหรับช่วงปี 50 — 52 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาน้ำมันและราคาผลผลิตทางการเกษตรในตลาดโลกที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะค่อย ๆ ชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง ในขณะที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้มีกำหนดจะประชุมเพื่อกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 7 มี.ค.51 นี้ 4 วัน
หลังการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ โดยในการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจ
คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน (รอยเตอร์)
3. คาดว่าในเดือน ก.พ.51 เกาหลีใต้จะส่งออกเพิ่มขึ้นแต่ดุลการค้าจะยังคงขาดดุลเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน รายงานจากโซล
เมื่อ 28 ก.พ.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.51 จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 16.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.4 และ 14.8 ต่อปีในเดือน ม.ค.51 และ ธ.ค.50 ตามลำดับ ผลจากความต้องการจาก
ต่างประเทศเช่นจีนและประเทศในตะวันออกกลางยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.ชะลอตัวลงก็ตาม ในขณะที่คาดว่า
ยอดนำเข้าในเดือน ก.พ.51 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 และ 23.2 ต่อปีในเดือน ม.ค.51 และ ธ.ค.50
ตามลำดับ นักวิเคราะห์จึงคาดว่าเกาหลีใต้อาจขาดดุลการค้าในเดือน ก.พ.51 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากขาดดุลการค้าสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์ถึง 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ที่ผ่านมา โดยในช่วง 20 วันแรกของเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เกาหลีใต้ขาด
ดุลการค้าแล้วคิดเป็นมูลค่า 3.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้นซึ่งส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นถึง
ร้อยละ 24.2 ต่อปี หลังจากในเดือน ม.ค.51 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันและเหล็กกล้าของเกาหลีใต้สูงขึ้นร้อยละ 78 และร้อยละ 52.1 ต่อปี
ตามลำดับ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ของสิงคโปร์จะทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 25 ปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 51 ผลสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 13 คน คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์จะทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 25 ปี แต่ธ.กลางสิงคโปร์จะยังไม่ดำเนินนโยบาย
การเงินตึงตัวเนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่แข็งแกร่ง ทั้งนี้บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์อาจจะสูงถึงร้อยละ 5.4
ในปีนี้และอยู่ในช่วงสูงที่ทางการสิงคโปร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5 — 5.5 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จำนวน
11 คนคาดว่า ธ.กลางจะยังไม่ดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงโดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.
ทำสถิติสูงสุดถึงร้อยละ 6.6 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการสูงขึ้นของราคาพลังงาน ราคาสินค้า และตลาดบ้านที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
รวมทั้งค่าโดยสารรถแท็กซี่ และภาษีการขายที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้คาดว่าจะอยู่
ระหว่างร้อยละ 4 — 6 ชะลอตัวจากร้อยละ 7.7 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 มี.ค. 51 29 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.868 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.6861/32.0151 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 845.76/24.57 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,450/14,550 14,500/14,600 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 94.70 92.11 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลัง และ ธปท. มีมาตรการรองรับการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ ธปท. ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เมื่อวันที่ 29 ก.พ. ที่ผ่านมา เพื่อให้นักลงทุนและ
ผู้ประกอบการได้ศึกษาข้อมูลในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ในตลาดเงินตลาดทุนไม่ผันผวนมากเกินไป และคาดว่าจะไม่
ทำนักลงทุนตื่นตระหนก เพราะตลาดได้รับทราบกระแสข่าวในช่วงที่ผ่านมาบ้างแล้ว สำหรับค่าเงินบาทนั้น ธปท. จะดูแลอย่างใกล้ชิด
และคาดว่าคงไม่ทำให้เงินบาทแข็งค่าไปถึง 31.20 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. เพราะ ก.คลัง และ ธปท. มีมาตรการรองรับเพียงพอ
และทำให้ตลาดมีความมั่นใจเมื่อรัฐบาลได้ส่งสัญญาณว่าประเทศไทยต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ การตอบรับในเชิงบวกน่าจะมีชัดเจน
ดังนั้น แม้ค่าเงินบาทจะปรับตัวบ้างก็คงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และมาตรการที่ออกมาน่าจะทำให้เกิดความมั่นใจต่อการดูแลค่าเงินบาทได้
มากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากมาตรการทางการคลังที่ได้เร่งเปลี่ยนหนี้สกุลต่างประเทศเป็นหนี้เงินบาทที่จะเริ่มในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ยังมีมาตรการ
ส่งเสริมให้ผู้ส่งออกซื้อดอลลาร์ สรอ. ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกสบายใจมากขึ้น และจะให้ผู้ส่งออกที่มีสัญญา
ส่งมอบเงินจากการขายสินค้าในช่วง 6 เดือนข้างหน้าไม่ต้องมาเร่งซื้อขายดอลลาร์ สรอ. ในช่วงนี้จนทำให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป
โดยในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ธปท. จะประชุมร่วมกับ ธ.พาณิชย์เพื่อชี้แจงให้ ธ.พาณิชย์รับทราบแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับ
ภาคเอกชน ทั้งนี้ ก่อนประกาศยกเลิกกันสำรองร้อยละ 30 ได้มีการหารือกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง ก.คลัง กับ ธปท. เพื่อหามาตรการ
รองรับให้สอดคล้องกัน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น กระแสข่าวเรื่องการปลดผู้ว่าการ ธปท. รวมทั้งการกดดันให้ ธปท. ประกาศ
ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 จึงไม่เป็นความจริง และยืนยันว่าไม่มีบุคคลภายนอกรู้ข้อมูลการประกาศยกเลิกมาตรการเพื่อนำไป
เก็งกำไร เพราะเป็นชั้นความลับระหว่าง รมว.คลัง และ ผู้ว่าการ ธปท. จึงไม่มีการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาประโยชน์จากการประกาศ
ยกเลิกมาตรการดังกล่าว (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. สิ้นปี 50 เงินทุนไหลออกสุทธิ 925 ล้านดอลลาร์ สรอ. ธปท. รายงานภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายรวมทั้งปี 50 พบว่ามี
เงินทุนไหลออกสุทธิ 925 ล้านดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนแปลงจากปี 49 ที่มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิมากถึง 5,719 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเงิน
ที่ไหลออกไปต่างประเทศมากที่สุดเป็นการออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ 3,269 ล้านดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนแปลงอย่างมากจากปี 49 ที่มีเงินทุน
ไหลเข้ามาลงทุน 1,642 ล้านดอลลาร์ สอร. ทั้งนี้ การไหลออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นนี้สอดคล้องกับมาตรการสนับสนุน
ให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศได้มากขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลของเงินทุนไหลเข้าและไหลอออกให้มากขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อ
ค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม นอกจากเงินทุนไหลออกไปลงทุนในหลักทรัพย์แล้ว ในปี 50 จำนวนเงินที่ให้สินเชื่อการค้าของธุรกิจที่ไม่ใช่
ธนาคารก็มีเงินทุนไหลออกไป 1,408 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นเงินไหลออกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีเงินทุนไหลออก 284 ล้านดอลลาร์ สรอ.
และแม้ว่าเงินที่ไหลออกไปเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และสินเชื่อการค้าจะมีจำนวนมาก แต่หากพิจารณายอดเงินทุนเคลื่อนย้ายรวมของภาค
ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารในปี 50 กลับมีจำนวนเงินไหลเข้าสุทธิ โดยมีเงินทุนไหลเข้า 2,245 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งหากเทียบกับปี 49
ที่มีเงินทุนไหลเข้ามากถึง 13,616 ล้านดอลลาร์ สรอ. จะพบว่าจำนวนเงินทุนไหลเข้าส่วนของธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารลดลงอย่างมากจากปีก่อน
โดยปัจจัยที่ทำให้เงินทุนในส่วนของธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารไหลเข้าสุทธิคือ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวน 8,120 ล้านดอลลาร์ สรอ.
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับยอดเงินลงทุนโดยตรงสุทธิของปี 49 จะเห็นว่าในปี 49 มีเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนโดยตรงมากกว่า โดยมีเงิน
เข้ามาลงทุนถึง 10,031 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับภาคธุรกิจธนาคารมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิในปี 50 จำนวน 368 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้าที่มีเงินทุนไหลออกสูงถึง 7,409 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยครึ่งแรกของปีมีเงินทุนไหลออก 6,052 ล้านดอลลาร์สรอ.
แต่กลับมีเงินทุนไหลเข้ามาในครึ่งหลังของปี 6,420 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายของ ธปท. ปี 50 มีเงินทุนไหลออก
619 ล้านดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนแปลงจากปี 49 ที่มีเงินทุนไหลเข้า 416 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ภาครัฐวิสาหกิจมีเงินไหลออก
880 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีเงินทุนไหลออก 337 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ จำนวนเงินทุนที่ไหลออกสุทธิ
925 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดังกล่าวเมื่อรวมกับดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 50 ที่เกินดุล 14,923 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลการชำระเงิน
ของไทยในปี 50 มีจำนวนสุทธิ 17,102 ล้านดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ)
3. เอ็นพีแอลมีแนวโน้มลดลงในไตรมาส 3 หากเศรษฐกิจฟื้นตัว นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า
แนวโน้มเอ็นพีแอลหลังจากผ่านจุดสูงสุดมาแล้วในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา จะทรงตัวในไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ ก่อนที่จะปรับลดลงใน
ไตรมาส 3 เป็นต้นไปหากเศรษฐกิจฟื้นตัว ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ถือว่าเลวร้ายเมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเอ็นพีแอล
ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นในลูกค้ารายกลางและรายเล็กเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ลูกค้ารายใหญ่แทบไม่เป็นเอ็นพีแอลเลย สะท้อนจาก
ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดี ส่วนลูกค้ารายกลางและเล็กแม้จะไม่ได้ขยายการลงทุน แต่ก็เป็นเอ็นพีแอลเพราะขายสินค้า
ไม่ได้เนื่องจากผู้บริโภคขาดความมั่นใจ แตกต่างจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เอ็นพีแอลเกิดในกลุ่มธุรกิจก่อสร้างเนื่องจากมีอุปทานสูงเกินไป
แต่หลังจากไอเอ็มเอฟเข้ามามีการดำเนินนโยบายที่ผิด ทำให้เอ็นพีแอลที่กระจุกตัวในกลุ่มก่อสร้างลามออกไปจนเกิดเอ็นพีแอลไปทั้งระบบ
(โพสต์ทูเดย์)
4. คนว่างงาน ณ เดือน ธ.ค. 50 มีจำนวน 3.2 แสนคน รายงานข่าวจาก สนง.สถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจการทำงาน
ของคนไทยในเดือน ธ.ค.50 ว่า มีคนว่างงานประมาณ 3.2 แสนคน หรือร้อยละ 0.8 ของผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานทั่วประเทศ 37.80 ล้านคน
ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4 หมื่นคน หรือลดลงร้อยละ 0.2 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในเดือนนี้ปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ที่ว่างงานส่วนใหญ่
เป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.3 แสนคน หรือร้อยละ 40.6 ของผู้ว่างงานทั้งหมด ที่เหลือเป็นผู้ว่างงานที่ที่เคยทำงานมาก่อน 1.9 แสนคน
ทั้งนี้ แยกเป็นผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรม 4 หมื่นคน ที่เหลืออยู่ในภาคการผลิตประมาณ 1 แสนคน และอีกประมาณ 6 หมื่นคน อยู่ใน
ภาคบริการ โดยภาคกลางและภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.1 ภาคเหนือร้อยละ 0.8 กรุงเทพฯ ร้อยละ 0.7 และ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 0.7 (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. PMI ของจีนในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.4 จากระดับ 53.0 ในเดือน ม.ค. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 51
China Federation of Logistics and Purchasing เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ. Purchasing Manager Index — PMI เพิ่มขึ้น
อยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับ 53.0 เมื่อเดือน ม.ค. บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนได้ฟื้นตัวจากพายุฤดูหนาวแล้ว ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าว
อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน โดยดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 หมายถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ขณะที่ดัชนี
ที่ต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าหดตัว ทั้งนี้ Zhang Liqun นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและพัฒนาที่รายงานผลการสำรวจโดยตรงต่อสภาจีน กล่าวว่า
ผลการสำรวจที่บ่งชี้ PMI ค่อนข้างสูงแสดงถึงความมีเสถียรภาพในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติ
อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และวิกฤติจากฤดูหนาวที่เลวร้ายที่สุดของจีนเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ทำลาย
พืชผลและการขนส่งของจีนก็ตาม (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.51 จะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนรายงานจากโซล เมื่อ 28 ก.พ.51
ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.51 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี ชะลอตัว
ลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.9 ต่อปีในเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปี
สำหรับช่วงปี 50 — 52 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาน้ำมันและราคาผลผลิตทางการเกษตรในตลาดโลกที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะค่อย ๆ ชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง ในขณะที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
จะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้มีกำหนดจะประชุมเพื่อกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 7 มี.ค.51 นี้ 4 วัน
หลังการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ โดยในการประชุมครั้งก่อนเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจ
คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน (รอยเตอร์)
3. คาดว่าในเดือน ก.พ.51 เกาหลีใต้จะส่งออกเพิ่มขึ้นแต่ดุลการค้าจะยังคงขาดดุลเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน รายงานจากโซล
เมื่อ 28 ก.พ.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.51 จะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 16.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.4 และ 14.8 ต่อปีในเดือน ม.ค.51 และ ธ.ค.50 ตามลำดับ ผลจากความต้องการจาก
ต่างประเทศเช่นจีนและประเทศในตะวันออกกลางยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.ชะลอตัวลงก็ตาม ในขณะที่คาดว่า
ยอดนำเข้าในเดือน ก.พ.51 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 และ 23.2 ต่อปีในเดือน ม.ค.51 และ ธ.ค.50
ตามลำดับ นักวิเคราะห์จึงคาดว่าเกาหลีใต้อาจขาดดุลการค้าในเดือน ก.พ.51 เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากขาดดุลการค้าสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์ถึง 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ที่ผ่านมา โดยในช่วง 20 วันแรกของเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เกาหลีใต้ขาด
ดุลการค้าแล้วคิดเป็นมูลค่า 3.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้นซึ่งส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นถึง
ร้อยละ 24.2 ต่อปี หลังจากในเดือน ม.ค.51 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันและเหล็กกล้าของเกาหลีใต้สูงขึ้นร้อยละ 78 และร้อยละ 52.1 ต่อปี
ตามลำดับ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ของสิงคโปร์จะทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 25 ปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 51 ผลสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 13 คน คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์จะทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 25 ปี แต่ธ.กลางสิงคโปร์จะยังไม่ดำเนินนโยบาย
การเงินตึงตัวเนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่แข็งแกร่ง ทั้งนี้บรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์อาจจะสูงถึงร้อยละ 5.4
ในปีนี้และอยู่ในช่วงสูงที่ทางการสิงคโปร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5 — 5.5 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จำนวน
11 คนคาดว่า ธ.กลางจะยังไม่ดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงโดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.
ทำสถิติสูงสุดถึงร้อยละ 6.6 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการสูงขึ้นของราคาพลังงาน ราคาสินค้า และตลาดบ้านที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
รวมทั้งค่าโดยสารรถแท็กซี่ และภาษีการขายที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้คาดว่าจะอยู่
ระหว่างร้อยละ 4 — 6 ชะลอตัวจากร้อยละ 7.7 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 มี.ค. 51 29 ก.พ. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.868 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.6861/32.0151 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 845.76/24.57 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,450/14,550 14,500/14,600 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 94.70 92.11 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--